ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #14 : ฃ ขวด กับ ฅ คน หายไปตั้งแต่เมื่อไร

    • อัปเดตล่าสุด 19 ธ.ค. 47






                ฃ ขวด กับ ฅ คน หายไปตั้งแต่เมื่อไร



    .......ไม่ทราบว่า เราเลิกใช้พยัญชนะ ฃ ขวด กับ ฅ คน นานแค่ไหนแล้ว



    .......(ประพนธ์ ตั้งเจริญ / กรุงเทพฯ)





    ..................





    ......รศ. ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล ผู้เขียนหนังสือ ฃ, ฅ หายไปไหน ? ได้ศึกษา ความเป็นมาของพยัญชนะ

    ทั้งสองตัวนี้ และชี้ให้เห็นว่า หากเริ่มนับ ตั้งแต่ที่พบ ฃ, ฅ ในศิลาจารึก สมัยสุโขทัย เป็นครั้งแรก จนถึง

    การประกาศเลิกใช้ ฃ, ฅ ในปทานุกรม พ.ศ. ๒๔๗๐ และพจนานุกรม พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นเกณฑ์ พยัญชนะทั้งสอง

    มีที่ใช้อยู่ในภาษาไทย นานถึง ๗๐๐ ปี หากแต่ อัตราการใช้ และความแม่นยำที่ใช้ แตกต่างกันไป ตามยุคสมัย



    ......เดิม ฃ, ฅ เป็นพยัญชนะแทนเสียง ซึ่งเคยใช้กันมาแต่เดิม (ซึ่งแตกต่างจากเสียง ข และ ค) แต่เสียงนี้ ได้หายไป

    ในระยะหลัง เป็นเหตุให้ พยัญชนะทั้งสองตัว หมดความสำคัญลง ในภาษาไทยปัจจุบัน



    ......เมื่อครั้งที่มีการ ประดิษฐ์พิมพ์ดีด ภาษาไทย ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ๒๔๓๔ ผู้ประดิษฐ์ ได้ตัดตัว ฃ, ฅ ทิ้งไป

    ด้วยเหตุว่า พื้นที่บนแป้นพิมพ์ดีด ไม่เพียงพอ และยังให้เหตุผลว่า เป็นพยัญชนะที่ \"ไม่ค่อยได้ใช้

    และสามารถทดแทนด้วย ตัวพยัญชนะอื่นได้\"



    ......นี่อาจเป็นครั้งแรก ที่พยัญชนะ ฃ, ฅ ถูก \"ตัดทิ้ง\" อย่างเป็นทางการ ส่วนครั้งต่อ ๆ มาก็คือ การประกาศงดใช้ ฃ, ฅ

    สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อครั้ง ปรับปรุงภาษาไทย ให้เจริญก้าวหน้า ในยุครัฐนิยม รวมถึงการประกาศ

    เลิกใช้ในปทานุกรม และพจนานุกรม ดังกล่าวแล้ว



    ......มีข้อน่าสังเกตว่า แต่ก่อน พยัญชนะ ฅ ไม่ได้ใช้ในคำว่า คน เลย (ฅ ใช้ในคำ ฅอ ฅอเสื้อ เป็นอาทิ)

    ความสับสนในเรื่องนี้ คงเกิดมาจาก ก ไก่ คำกลอน ผลงานของ ครูย้วน ทันนิเทศ

    (ในหนังสือ แบบเรียนไว เล่มหนึ่ง ตอนต้น, พ.ศ. ๒๔๗๓) ที่แต่งว่า \"ฅ ฅนโสภา\"

    แล้วต่อมา หนังสือ ก ไก่ ฉบับประชาช่าง ก็แต่งว่า \"ฅ ฅนขังขึง\" ซึ่งเป็น ก ไก่คำกลอน ฉบับที่คนรุ่นปัจจุบัน

    คุ้นเคยที่สุด แล้วก็เลย พลอยเข้าใจว่า ฅ ใช้ในคำว่า คน





    --------------------------------------------------------------------------------



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×