ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วันนี้ในอดีต

    ลำดับตอนที่ #13 : 1 กุมภาพันธ์ (เกร็ดความรู้ประจำเดือน)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 776
      0
      1 ก.พ. 49



                                                  1 กุมภาพันธ์  



    *******************************************************

      กุ
    มภาพันธ์ เป็นเดือนที่ 2 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นเดือนที่มีจำนวนวัน 28 หรือ 29 วัน โดยปกติจะมี 28 วัน ยกเว้นปีอธิกสุรทินที่มี 29 วัน

    ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกุมภาพันธ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกุมภ์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีมีน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำในปลายเดือน

    เดือนกุมภาพันธ์ในภาษาอังกฤษ February มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า Februus ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความบริสุทธิ์ ปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคมมีเดือนเพียง 10 เดือน (304 วัน) โดยไม่มีเดือนในช่วงฤดูหนาว ต่อมาได้มีการเพิ่มเดือน 2 เดือน คือ เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ทำให้ 1 ปีมี 12 เดือน ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนกุมภาพันธ์ในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน


    เกร็ดน่ารู้

    ในประวัติศาสตร์ มีวันที่ 30 กุมภาพันธ์ เกิดขึ้น 3 ครั้ง
    ในปีเดียวกัน วันในสัปดาห์ ของวันแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ตรงกับเดือนมีนาคมและพฤศจิกายนในปีปกติสุรทิน ส่วนในปีอธิกสุรทินจะตรงกับเดือนสิงหาคม
    ดอกไม้ประจำเดือนกุมภาพันธ์ คือ ดอกคาร์เนชัน
    อัญมณีประจำเดือนเกิดของเดือนกุมภาพันธ์ คือ แอเมทิสต์ 





    เหตุการณ์

     1 กุมภาพันธ์ 2460 เยอรมนี เริ่มขยายการปฏิบัติการของเรือดำน้ำในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยจมเรือสินค้าทุกลำที่จะแล่นเข้าหรือออกจากท่าเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร การปฏิบัติการเช่นนี้ ทำให้สหรัฐฯ เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และส่งผลให้เยอรมนีต้องแพ้สงครามในปีต่อมา

     1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2436  การก่อสร้างโรงถ่ายหนัง "แบล็ก มาเรีย" ของ โทมัส เอดิสัน เสร็จเรียบร้อยนับเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์แห่งแรกของโลก และถือเป็นจุดเริ่มต้นของระบบการถ่ายทำภาพยนตร์ในสตูดิโอ 

    1 กุมภาพันธ์ 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัติโรงจำนำ ร.ศ.114 ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย มีผลบังคับใช้ทั่วพระราชอาณาจักร วันที่ 1 กรกฎาคม ร.ศ.120

    1 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1796) - อัปเปอร์แคนาดา ย้ายเมืองหลวงจากนูวัก (ปัจจุบันคือไนแอกะราออนเดอะเลค) ไปยังเมืองยอร์ก (ปัจจุบันคือโทรอนโต) เพื่อลดความเสี่ยงจากการโจมตีของสหรัฐอเมริกา

    1 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1884) - พจนานุกรมออกซฟอร์ดฉบับแรก วางจำหน่าย

    1 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - ทรีฟ ลี (Trygve Lie) นักการเมืองชาวนอร์เวย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการคนแรกของสหประชาชาติ

    1 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - อียิปต์และซีเรียร่วมกันก่อตั้งสาธารณรัฐอาหรับ (United Arab Republic)

    1 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - กระสวยอวกาศโคลัมเบีย ขององค์การนาซา ระเบิดเหนือมลรัฐเทกซัส ระหว่างการเดินทางกลับเข้าสู่บรรยากาศโลก ในเที่ยวบินที่ 28 ของภารกิจ คร่าชีวิตนักบิน 7 คน นักเป็นโศกนาฏกรรมครั้งที่ 2 ของกระสวยอวกาศ


    วันเกิด

    1 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1931) - บอริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีรัสเซีย

    1 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - แบรนดอน ลี นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 31 มีนาคม พ.ศ. 2536)

    1 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - แกเบรียล บาติสตูตา นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา


    วันถึงแก่กรรม

    1 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1851) - แมรี เชลลีย์ นักเขียนชาวอังกฤษ (เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2340)

    1 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน (เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2444)

    1 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - นักบินอวกาศในกระสวยอวกาศโคลัมเบีย: เสียชีวิตประกอบด้วย

    ไมเคิล พี. แอนเดอร์สัน (เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2502) 
      เดวิด เอ็ม. บราวน์ (เกิด 16 เมษายน พ.ศ. 2499)
    คัลพานา ชอว์ลา (เกิด 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504)
    ลอเรล คลาร์ก (เกิด 10 มีนาคม พ.ศ. 2504)
    ริก ดี. ฮัสแบนด์ (เกิด 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2500)
    วิลเลียม ซี. แมกคูล (เกิด 23 กันยายน พ.ศ. 2504)
    อิลัน รามอน (เกิด 20 มิถุนายน พ.ศ. 2497)





    ****************************************************

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×