My King. - My King. นิยาย My King. : Dek-D.com - Writer

    My King.

    พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

    ผู้เข้าชมรวม

    472

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    472

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  18 ส.ค. 49 / 13:16 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ....  พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่

       

                         เมื่อวันที่   9   มิถุนายน   พุทธศักราช   2489    ได้มีการประกาศข่าวราชการสำคัญชิ้นหนึ่ง    ดังก้องออกมาจากวิทยุกรมประชาสัมพันธ์    ใจความว่า    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล    ได้สวรรคตเสียแล้ว

                         ........ข่าวชิ้นนี้เหมือนสายอสุนีบาตฟาดเปรี้ยงลงมาในท่ามกลางนครหลวงของไทย     แล้วแผ่รัศมีปกคลุมตลอดทั่วราชอาณาจักร     จึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อวงการเมืองของประเทศไทยในขณะนั้น

                         ครั้นต่อมาในวันเดียวกันนั้นเอง    ก็ได้มีข่าวราชการที่มีความสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง    แพร่ออกมาจากวิทยุกระจายเสียงแห่งเดียวกันว่า     สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ    เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช    ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบรมเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวอานันทมหิดล

                         นี้หมายความว่า     ประเทศไทยได้มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่     ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย    ข่าวนี้ย่อมตรงกับความคาดหมายของประชานิกรชาวไทยทั่วไป     ภายหลังที่ได้มีการประกาศข่าวสวรรคตของรัชกาลที่  8   แล้ว     ประชาชนต่างก็คาดหมายกันว่า     พระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของไทยคงจะได้แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ    เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชเป็นแน่     นี้เป็นสามัญสำนึก   ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น     แม้ตามหลักฐานทางราชการก็ปรากฏว่า     สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพล อดุลยเดช     ทรงดำรงอยู่ในฐานันดรศักดิ์ที่สูงส่ง   คือทรงเป็นรัชทายาทอันดับรองลงมาจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทีเดียว     ดังปรากฏตามบันทึกของกระทรวงวัง     ที่เรียกกันในสมัยรัชกาลที่  7    หรือสำนักพระราชวังในสมัยนี้     ที่ได้นำเสนอรัฐบาลพระยาพหล ฯ   ตอนที่      พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ   จะทรงสละราชสมบัติ     ในบันทึกนี้แสดงให้เห็นว่ามีเจ้านายพระองค์      ใดบ้างที่ทรงดำรงอยู่ในฐานันดรศักดิ์อันคู่ควรแก่รัชทายาทแห่งประเทศไทย   ขอยกมาเพื่อประกอบ        การศึกษาดังต่อไปนี้.-

                         ลำดับเจ้านายผู้ทรงมีสิทธิ์สืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาล  พ.ศ. 2467

      ๑.  สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ    เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์   (สิ้นพระชนม์แล้ว)

      ๒.  พระวรวงศ์เธอ    พระองค์เจ้าอานันทมหิดล

      ๓.  พระวรวงศ์เธอ    พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช

      ๔.  สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ     เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต  (ขณะนั้นประทับอยู่ที่ชวา)

      ๕.  พระเจ้าวรวงศ์เธอ    พระองค์เจ้าจุมภฎพงศ์บริพัตร

      ๖.  สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ    เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร  (สิ้นพระชนม์แล้ว)

      ๗.  พระเจ้าวรวงศ์เธอ   พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล

      ๘.  พระเจ้าวรวงศ์เธอ   พระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ

      ๙.  พระเจ้าพี่ยาเธอ    กรมพระจันทบุรีนฤนาท  (สิ้นพระชนม์แล้ว)

      ๑๐.           หม่อนเจ้าอมรสมานลักษณ์

      ๑๑.           หม่อนเจ้านักขัตมงคล

      ๑๒.           หม่อนเจ้าขจรจบกิติคุณ

      ๑๓.           พระเจ้าพี่ยาเธอ   กรมหลวงปราจิณกิตติบดี  (สิ้นพระชนม์แล้ว)

      ๑๔.           หม่อนเจ้ากัลยาณวงศ์    ประวิตร

      ๑๕.           หม่อนเจ้าจิตรปรีดี

      ๑๖.           หม่อนเจ้าวิกรมสุรสีห์

      ๑๗.           พระเจ้าพี่ยาเธอ    กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช   (สิ้นพระชนม์แล้ว)

      ๑๘.           หม่อนเจ้าประสบศรีจีรประวัติ

      ๑๙.           หม่อนเจ้านิทัศนาธร

      ๒๐.           หม่อนเจ้าขจรจิรพันธุ์

      ๒๑.           พระเจ้าพี่ยาเธอ   กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์   (สิ้นพระชนม์แล้ว)

      ๒๒.           พระเจ้าพี่ยาเธอ   พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา

       

                         เมื่อเราดูตามบัญชีนี้     จะเห็นได้ว่าพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช    ทรงดำรงอยู่ในฐานันดรศักดิ์สูงรองลงมาจากพระบรมเชษฐาธิราช   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล    ดังนั้นการที่พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  8   จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปตามความคาดหมายของประชาชน    ทั้งเข้าอยู่ในข่ายของ  ม.9  แห่งกฏมณเฑียรบาลพุทธศักราช    2467  อีกด้วย    เหตุนี้พระองค์จึงทรงได้รับความยินยอมและเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์    จากคณะรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้นตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่สืบต่อกันโดยสันตติวงศ์โดยลำดับ    มิใช่ด้วยวิธีการเลือกตั้ง   นับเป็นสถาบันที่มีความสำคัญยิ่ง    ทั้งในอดีตและในระบอบประชาธิปไตย     กาลปัจจุบัน      จึงควรแก่การศึกษาของประชาชนชาวไทยทั่วไป.....

       

      ....  พระปฐมวัย

       

                         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระมหากษัตริย์ไทย    รัชกาลที่ 9  แห่งราชวงศ์จักรีในยุคกรุงรัตนโกสินทร์    พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในสมเด็จพระราชบิดา    เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช    กรมหลวงสงขลานครินทร์  (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    รัชกาลที่  5     และสมเด็จพระศรีสวรินทิรา     พระบรมราชินี   พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)   และสมเด็จพระราชชนนี   ศรีสังวาลย์ในสมัยพระเยาว์วัย   ทรงพระนามในชั้นเดิมว่า   พระวรวงศ์เธอ   พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช

                         พระองค์     พระราชสมภพในวันจันทร์ที่   5   ธันวาคม   พุทธศักราช   2470       เมืองเคมบริดจ์   มลรัฐแมสซาซูเสตต์    ประเทศสหรัฐอเมริกา    ทั้งนี้เนื่องจากสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนีประทับอยู่ในประเทศนั้น     พระองค์ทรงมีพระเชษฐาและเชษฐภคินีร่วมพระบิดาและพระมารดาเดียวกัน  2  พระองค์   คือ

      ๑.  สมเด็จพระพี่นางเธอ    เจ้าฟ้าหญิงกัลยาณีวัฒนา

      ๒.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   อนันทมหิดล

      ส่วนพระองค์เป็นพระโอรสองค์น้อยที่สุด

                         ภายหลังเสด็จนิวัตสู่ประเทศไทย     ซึ่งเป็นมาตุภูมิของพระองค์    พร้อมด้วยสมเด็จพระชนกและสมเด็จพระชนนีในพุทธศักราช   2471    และรุ่งขึ้นอีกปีหนึ่ง   คือในปีพุทธศักราช   2472    สมเด็จพระราชบิดาก็ได้ทิวงคต      กรุงเทพพระมหานคร 

                         ต่อมาพุทธศักราช  2486    โดยสมเด็จพระราชชนนีไปยังทวีปยุโรป     และประทับพำนักอยู่    เมืองโลซานน์    ประเทศสวิสเซอร์แลนด์    เพื่อทรงศึกษาวิชาการ   ขณะนั้นพระชนมายุได้   6   พรรษา

                         ในเดือนกรกฎาคม    พุทธศักราช   2478    ทรงได้รับสถาปนาฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น   สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช     ภายหลังที่สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช     พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลทรงได้รับสถาปนาขึ้นครองราชสมบัติสืบสันตติวงศ์     โดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร    และคณะรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย

                         เมื่อเดือนพฤศจิกายน    พ.ศ. 2481    เสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว     พร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช    สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้าหญิงกัลยาณีวัฒนา     และสมเด็จพระราชชนนี    ประทับอยู่ในประเทศไทย      พระตำหนักจิตลดารโหฐานเป็นเวลานานประมาณ   2   เดือน     และในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน     ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีก     เพื่อทรงศึกษาวิชาการต่อไป

                         ครั้นต่อมาเมื่อมีสงครามโลกครั้งที่  2  เกิดขึ้น     จึงเป็นเหตุให้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยไม่ได้เป็นเวลานานหลายปี    ครั้นสงครามสงบลงแล้ว    รัฐบาลไทยจึงได้อัญเชิญสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดลเสด็จกลับมาประทับเป็นมิ่งขวัญแก่ปวงชนชาวไทย    เนื่องจากทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว     สมควรขึ้นครองราชย์เป็นประมุขของชาติไทยต่อไป

                         ดังนั้น    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จมาพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช    สมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระพี่นางเธอ     สู่ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งนับเป็นครั้งที่  2   เมื่อวันที่    5    ธันวาคม   พ.ศ.2488

                         ในการเสด็จพระราชดำเนินนิวัตสู่ประเทศไทยครั้งนี้เสด็จโดยพระราชพาหนะ   เรือเดินสมุทร    ทางรัฐบาลได้จัดเรือรบหลวงแห่งราชนาวีไทยออกไปรับเสด็จในท่ามกลางทะเลหลวง    โดยแปรริ้วขบวนห้อมล้อมเรือเดินสมุทรเข้ามาจนถึงเกาะสีชัง     แล้วอัญเชิญขึ้นประทับบนเรือรบหลวง   นำเสด็จพระราชดำเนินสู่พระนครต่อไป   คือเรือรบได้เคลื่อนเข้าสู่พระนคร    ท่ามกลางเรืออาณาประชาราษฎรที่ไปคอยรับเสด็จ    และประชาชนชาวไทย    และชาวต่างประเทศบน   2   ฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาก็ได้เปล่งเสียงไชโยโห่ร้องแสดงความยินดีอย่างอึงมี่

                         ในการเสด็จนิวัตสู่พระนครคราวนี้    ได้เสด็จไปเยี่ยมเยือนประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ   ,   ปทุมธานี   ,   ปากเกร็ด    ,   นนทบุรี    ,   สมุทรสาคร    ,   ลพบุรี   ,   ประจวบคีรีขันธ์    เป็นต้น

                         อนึ่ง ,    ในระหว่างเสด็จประพาสจังหวัดลพบุรี    ได้มีอุปัทวเหตุร้ายแรงเกิดขึ้น    กล่าวคือ    รถจิ๊ปในขบวนเสด็จพลิกคว่ำ    ยังผลให้พระศราภัยสฤษฎิการสมุหราชองครักษ์ได้รับความบาดเจ็บสาหัส   และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา   แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลอดภัย

                         ในการเสด็จเพื่อเยี่ยมเยือนราษฎรของพระองค์ทุกแห่งได้ทรงเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เข้าเฝ้าใกล้ชิดพระองค์เป็นพิเศษเสมอ    ยังผลให้ประชาชนได้รับความปลาบปลื้มและเพิ่มพูนความจงรักภักดี

                         นอกจากทรงโดยเสด็จพระบรมเชษฐาธิราชไปยังหัวเมืองรอบนอกแล้ว     ยังได้ทรงโดยเสด็จประพาสใจกลางพระนครคือ   สำเพ็ง    อันเป็นไชนาทาวน์แห่งประเทศไทยอีกด้วย    ยังความปลาบปลื้มแก่ชาวจีนเป็นอันมาก    ความขุ่นข้องหมองใจระหว่างชาวไทยและจีนในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2  ก็ได้คลี่คลายไปในทางที่ดี

                         ครั้นต่อมาเมื่อวันที่   20   พฤษภาคม   พ.ศ. 2489   ทรงได้รับยศเป็นร้อยโท     นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่  1   กองพันที่  3   มหาดเล็กรักษาพระองค์    ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

                         กาลเวลาล่วงเลยไปประมาณ  5  เดือนเศษ    สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช    ทรงมีพระราชประสงค์ใคร่เสด็จไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อให้จบตามหลักสูตรเสียก่อน     จึงจะเสด็จกลับมาประทับอยู่    ประเทศไทยต่อไปชั่วนิรันดร

                         หมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์    คือวันที่   13   มิถุนายน   พ.ศ. 2489   แต่ครั้นแล้วก็มีเหตุใหญ่เกิดขึ้นในแผ่นดิน    โดยไม่มีใครคาดฝันมาก่อนเลย     เป็นประดุจสายฟ้าฟาดลงมาบนกระหม่อนของอาณาประชาราษฎรชาวไทยทั่วประเทศ   ทุกคนต้องตะลึงงัน    เมื่อมีข่าวแพร่สะพัดออกมาว่า   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงประสบ   อุปัทวเหตุ    สวรรคตเสียแล้วในเวลา   09.00  นาฬิกาของวันที่    9    มิถุนายน   พ.ศ. 2489   ก่อนจะถึงกำหนดเสด็จพระราชดำเนินสู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง   5   วันเท่านั้น

                         เมื่อมีเหตุปัจจุบันทันด่วนเกิดขึ้นเช่นนี้    คณะรัฐบาลอันมีนายปรีดี    พนมยงค์   เป็นนายกรัฐมนตรี    จึงได้เรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎร    เป็นกรณีพิเศษเมื่อเวลา   21.00  นาฬิกาของคืนวันที่   9   มิถุนายน   พุทธศักราช  2489   ซึ่งเป็นวันเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลสวรรคต

                         รัฐบาลได้แถลงให้ที่ประชุมทราบถึงลำดับการสืบพระราชสันตติวงศ์    โดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาล    ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์    พุทธศักราช   2467  ว่า   ในลำดับแรกนี้   ได้แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ    เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช    สมเด็จพระราชอนุชาร่วมสมเด็จพระราชบิดาและพระราชมารดา

                         ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์และยืนขึ้นเปล่งเสียงไชโยพร้อมเพรียงกัน   เป็นการถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ใหม่    ต่อจากนั้นจึงแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นชั่วคราว   3   ท่าน    เพราะเหตุที่พระบาทสมเด็จอยู่หัวมิได้ทรงบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                         ดังนั้นในวันที่   9   มิถุนายน   2498   พระองค์จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อจากพระบรมเชษฐาธิราช    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล    เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่  9   โดยลำดับในพระบรมราชจักรีวงศ์     เฉลิมพระปรมาภิไธยในภายหลังว่า    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช    มหิตลาธเบศรรามาธิบดี    จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร   (ภ.ป.ร.)

                         ครั้นแล้วในวันที่   19   สิงหาคม   พุทธศักราช   2489    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    พร้อมด้วยสมเด็จพระพี่นางเธอและสมเด็จพระราชชนนีก็ทรงอำลงปวงพสกนิกรและประเทศชาติ   เสด็จไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง    เพื่อทรงศึกษาวิชาการต่อไป

                            ประเทศสวิตเซอร์แลนด์     สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    ทรงประทับอยู่ร่วมกับสมเด็จพระพี่นางเธอและสมเด็จพระราชชนนีโดยตลอดมา     พระตำหนักส่วนพระองค์มีนามว่า   วิลลาวัฒนา    ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนชมบรังเดอเดชซู    แห่งนครโลซานน์    ท่ามกลางภูมิภาพซึ่งมีทิวทัศน์อันงดงามและเป็นที่เจริญตา

       

      พระราชอุปนิสัยและพระราชกรณียกิจอดิเรก

                         การช่างและการดนตรีเป็นสิ่งที่ทรงโปรดพิเศษมากกว่าอย่างอื่น     ทรงมีพร้อมทั้งหีบเสียงและเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ    ทรงสนพระทัยและทรงอ่านหนังสือทั้งหลายบรรดาที่เกี่ยวกับดนตรี     และประวัตินักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลก     นอกจากหนังสือเหล่านั้น     ยังทรงมีแผ่นเสียงเพลงที่บรรเลงโดยนักดนตรีที่มีนามอุโฆษเหล่านั้นด้วย     ทั้งนี้เพื่อที่จะทรงศึกษาและทรงเปรียบดูว่า     ใครเล่นได้ดีที่สุดในเครื่องดนตรีชนิดนั้น        อนึ่งในบรรดาเครื่องดนตรีที่ทรงโปรดนั้นปรากฏว่า    แคลริเนท  ,   แซกโซโพนและทรัมเป็ตเป็นเครื่องดนตรีที่ทรงโปรดมากที่สุด

                         สำหรับด้านการช่างนั้น     ทรงโปรดหุ่นจำลองต่าง ๆ    เช่นเรือใบเรือรบเป็นต้น     ในคราวเสด็จนิวัตเมืองไทย     ตอนก่อนสงครามโลก     ได้ทรงจำลองเรืองรบหลวงศรีอยุธยาจนเป็นผลสำเร็จ    ครั้นแล้วเจ้าพระยารามราฆพก็ได้ทูลขอพระราชทานไปสำหรับให้พ่อค้าประชาชนได้ประมูลราคากันเพื่อเก็บเงินบำรุงโรงพยาบาลปราบวัณโรค    ทรงถ่ายรูปไว้แล้วพระราชทานให้ไปตามประสงค์    ปรากฏว่า  น.ส.เลอลักษณ์    เศรษฐบุตร    ได้ประมูลซื้อไปเป็นเงินถึง  20,000  บาท

                         อนึ่ง    แม้แต่รูปเรือลำนั้นที่ทรงถ่ายโดยฝีพระหัตถ์นายสหัท    มหาคุณ   เป็นผู้ประมูลซื้อไปถึงรูปละ   3,000   บาท

                         พระราชกรณียกิจอดิเรก  (Hobby)    นอกเหนือไปจากที่กล่าวแล้วก็คือ   ทรงพระราชนิพนธ์เพลงต่าง ๆ    ปรากฏว่า   พระองค์ได้ทรงนิพนธ์เพลงต่าง ๆ  ไว้หลายเพลง    มีอาทิเช่น   ๑.  เพลงสายฝน   ๒.  เพลงใกล้รุ่ง    ๓.  เพลงชะตาชีวิต   ๔.  เพลงยามเย็น   ๕.  เพลงแสนเทียน   ๖.  เพลงประจำจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

                         พระราชกรณียกจิอดิเรกที่ทรงโปรดมากอีกประการหนึ่งก็คือ    การเล่นกล้องถ่ายรูป    ปรากฏว่า   ได้ทรงสนพระทัยมาตั้งแต่พระชนมายุได้   8   พรรษา    จวบจนกระทั่งทุกวันนี้   เราอาจกล่าวได้ว่า    พระองค์ทรงเป็นนักถ่ายรูปที่มีความสามารถและฝีพระหัตถ์เยี่ยมด้วยผู้หนึ่ง    พระองค์ทรงมีพร้อมทั้งกล้องธรรมดาและกล้องถ่ายภาพยนตร์    เรื่องนี้เราจะพบเสมอว่า     รูปภาพที่เกี่ยวกับพระบรมราชินี   และพระราชโอรสธิดาที่พระราชทาน  (แจก)   แก่หนังสือพิมพ์ต่าง ๆ  นั้น    เป็นภาพที่ทรงถ่ายโดยฝีพระหัตถ์แทบทั้งนั้น    เราคงจำภาพประทับใจได้ว่า     ในคราวโดยเสด็จพระบรมเชษฐาธิราช    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล    สู่ประเทศไทยในปีพุทธศักราช   2481   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ     เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช     ทรงย่างพระบาทเสด็จจากเรือรบหลวงศรีอยุธยา     เรือพระที่นั่ง   ในชุดฉลองพระองค์สีขาว     พระสนับเพลาสั้นแบบเยาวชน     ทรงมีกล้องห้อยอยู่บนพระศอ     พอทรงก้าวลงจากเรือรบหลวงพระที่นั่ง  ศรีอยุธยา    ก็ทรงยกกล้องถ่ายภาพประชาชนที่ไปคอยรับเสด็จด้วยพระอิริยาบถทะมัดทะแมงและว่องไวยิ่งนัก     บ่งแสดงให้เห็นว่า   ทรงมีความชำนาญมากในเรื่องนี้

                         ฉันเป็นกษัตริย์ก็จริง     แต่ก็มีอาชีพเป็นช่างภาพของ  น.ส.พ.สแตนดาร์ด    ได้เงินเดือน    ละ   100   บาท   ตั้งหลายปีมาแล้ว     จนบัดนี้เขายังไม่ได้ขึ้นเงินเดือนให้สักที   เขาก็คงให้  100  บาท   อยู่เรื่อยมา   พระองค์ตรัสกับผู้ใกล้ชิด

                         ในด้านกีฬานั้น    ปรากฏว่า    พระองค์ทรงสนพระทัยในกีฬาต่าง ๆ  ยิ่งนัก     โดยเฉพาะทรงโปรดกีฬาประเภทที่ใช้ความกล้าหาญและออกกำลังกาย   เช่น   เทนนิสและสกีน้ำเป็นต้น    และทรงเล่นได้อย่างชำนิชำนาญเป็นพิเศษ

                         พระราชอุปนิสัยอีกอย่างหนึ่ง     ที่ทรงแสดงออกบ่อย ๆ   ก็คือไม่ทรงโปรดพิธีรีตรอง   เช่นจะเสด็จไปไหนมาไหน   บางครั้งและบ่อยครั้งเสียด้วยที่ทรงขับรถพระที่นั่งเอง    และทรงขับออกอย่างว่องไว    โดยมิได้ทรงบอกกล่าวให้ใครทราบแม้แต่ทหารหรือตำรวจที่เป็นราชองครักษ์เวร     ทหารเรือตำรวจที่เป็นเวรเฝ้าถวายอารักขา     ต้องคอยจับตาดูพระราชอิริยาบถอยู่ทุกขณะ     แม้กระนั้นก็ยังไม่ค่อยทราบ    หรือกว่าจะทราบ    พระองค์ก็ทรงขับรถออกไปเสียไกลแล้ว     ทหารหรือตำรวจที่เป็นเวรองค์รักษ์ต้องวุ่นวายออกรถติดตามถวายความอารักขาให้จ้าละหวั่นไปทีเดียว

      ....  ทรงศึกษาวิชาการต่าง 

       

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    ภูมิพลอดุลยเดชทรงศึกษาวิชาการเบื้องต้น     โรงเรียนมาแตร์เดอี    ถนนเพลินจิตร    จังหวัดพระนคร    เมื่อพุทธศักราช  2475    เป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว     รัชกาลที่  7    ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช     ทรงมีพระชนมายุ   5   พรรษา

                         พุทธศักราช   2476    ภายหลังที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง    มาเป็นระบอบประชาธิปไตยประมาณปีเศษ     สมเด็จพระราชชนนี      ได้นำเสด็จพระราชดำเนินไปประทับอยู่      นครโลซานน์     ประเทศสวิตเซอร์แลนด์พร้อมด้วยสมเด็จพระเชษฐาธิราช      และสมเด็จพระพี่นางเธอ    เมื่อประทับอยู่    พระตำหนัก   วิลลาวัฒนา   โดยเรียบร้อยแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จเข้าทรงศึกษาวิชาการตามหลักสูตรชั้นต้นตามหลักสูตรวิชาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเมียร์มองต์       นครโลซานน์    ในเดือนกันยายน    พุทธศักราช   2476    ครั้นต่อมาได้ทรงย้ายจากโรงเรียนนี้     ไปอยู่โรงเรียนนูเวล   เดอลาสวิสโรมางค์    ใน พ.ศ.  2488    ทรงสอบไล่ได้ประกาศนียบัติ    บาเซอร์เลียร์   เอส   เลตรส์    ในเดือนตุลาคม    จึงเสด็จเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์    แผนกวิทยาศาสตร์   และในเดือนธันวาคม   พ.ศ. 2488   ได้เสด็จมาถึงประเทศไทยมาพร้อมกับสมเด็จพระบรมเชษฐาอีกครั้งหนึ่ง    ต่อมาเมื่อวันที่   9   มิถุนายน   พ.ศ.2489     ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่  9   ต่อมาได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์    เมื่อวันที่  19   สิงหาคม   พ.ศ. 2489   ได้ทรงศึกษาวิชาใหม่    คือกฎหมาย   และการปกครอง   เนื่องจากต้องรับพระราชภาระเป็นพระมหากษัตริย์

                         ในด้านวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์    ทรงศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ    เกี่ยวกับพื้นฐานและวัฒนธรรมของแต่ละชาติ      เพื่อเป็นแนวปรับปรุงแก้ไขประเทศไทยให้เจริญขึ้นกว่าที่เป็นอยู่     ซึ่งพระองค์ทรงประราชปรารภอยู่เสมอว่า      ประเทศไทยของพระองค์ยังล้าหลังประเทศอื่นอยู่มาก    ทั้งในด้านเศรษฐกิจ   และการศึกษา   ฯลฯ

                         ทางด้านวิชาอักษรศาสตร์ปรากฏว่า     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   ทรงเชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศหลายภาษา    เช่น   ภาษาฝรั่งเศส    อังกฤษ   เยอรมันและลาติน    อันเป็นรากฐานสำคัญให้พระองค์ทรงศึกษาวิชากฎหมายได้อย่างลึกซึ้ง

                         ด้านการปกครอง      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    ทรงสนพระราชหฤทัยในการปกครองของประเทศสวิตเซอร์แลนด์    ซึ่งพระองค์ถือเอาเป็นแนวสังเกต

                         ประเทศสวิตเซอร์แลนด์   เป็นประเทศเล็ก     ตั้งอยู่ท่ามกลางประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ     แต่น่าประหลาดที่สามารถดำรงเอกราชไว้ได้ตลอดมาเป็นเวลานาน    โดยไม่ได้รับการรุกรานจากประเทศอื่น ๆ  เลย    และประชาชนพลเมืองของประเทศนี้ก็มีอยู่หลายชาติหลายภาษา    เช่น   ฝรั่งเศส    อิตาเลียน   และเยอรมัน    เป็นต้น    และเมื่อเทียบส่วนเฉลี่ยแล้วปรากฏว่า    เป็นประเทศที่มีพลเมืองที่ได้รับการศึกษาดีที่สุดในโลก    ขนาดคนที่เลี้ยงแกะอยู่บนเขาสูงก็มักจะเรียนสำเร็จมหาวิทยาลัยแทบทั้งนั้น     ประเทศนี้ปกครองโดยระบอบมหาชนรัฐและก็มีบางรัฐที่ไม่ต้องมีผู้แทนราษฎร    เมื่อจะออกกฎหมาย    ราษฎรก็มาประชุมกันออกกฎหมายเอง     เพราะราษฎรต่างก็มีการศึกษาดีด้วยกันทั้งนั้นเราคนไทยส่วนมากรู้จักประเทศสวิสส์ดี     ในฐานะที่เป็นประเทศผลิตนาฬิกาชั้นเยี่ยมของโลก     แต่มีน้อยคนที่รู้จักประเทศสวิสส์ในฐานะที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ตรงตามความหมาย   มากที่สุดในโลก

                         อย่างไรก็ตาม    ในฐานะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    ทรงดำรงตำแหน่งพระประมุขของชาติจึงเป็นเหตุให้พระองค์ต้องทรงรับพระราชภารกิจอันหนักนับแต่เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นต้นมา      การศึกษาวิชาการเพื่อปกครองประชาชนชาวไทย     ให้อยู่เย็นเป็นสุขในอนาคตนั้นบังคับพระองค์จนไม่มีโอกาสจะทรงสำราญพระราชอิริยาบถหรือทรงพักผ่อนได้อย่างไรเลย    พระองค์ทรงใช้เวลาทั้งหมดคร่ำเคร่งอยู่กับวิชาการ     ด้วยพระวิริยะพากเพียรอย่างยิ่ง      อันเป็นการเสียสละประโยชน์สุขส่วนพระองค์ให้แก่ประเทศชาติ    และประชาชนชาวไทยโดยแท้

                         ตลอดเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเหนื่อยยากตรากตรำศึกษาวิชาการอยู่    ทวีปยุโรปนั้น     ปวงอาณาประชาราษฎรทางประเทศไทย    พากันร่ำร้องเรียกหาพระประมุขของชาติอยู่ทุกวันมิได้ขาด     เพื่อให้พระองค์เสด็จกลับมาประทับอยู่ในประเทศเป็นมิ่งขวัญอบอุ่นเกล้าของชาวประชาสืบไป     ประเทศชาติที่ขาดองค์พระประมุข    ย่อมจะมีแต่ความว้าเหว่าเปล่าเปลี่ยวใจเป็นยิ่งนัก

                         ด้วยเหตุนี้    ในปีพุทธศักราช   2491   ประมาณเดือนสิงหาคม    คณะรัฐบาลจึงได้ตกลงใจกราบบังคมทูล ฯ   อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชให้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาเยี่ยมเยือนประเทศชาติและประชาชนสักชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อน    แล้วจึงค่อยเสด็จ ฯ  กลับไปทรงศึกษาวิชาการตามเดิม     และประการสำคัญยิ่งการเสด็จกลับครั้งนี้     เพื่อพระองค์จะได้ทรงเป็นองค์ประธานในการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล    ในพระบรมโกษด้วยประการหนึ่ง   และเป็นเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว     ซึ่งถึงกาลอันสมควรจะได้รับการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามราชประเพณีที่มีมาแต่เบื้องโบราณ

                         คณะรัฐบาลอันมีจอมพล   ป.  พิบูลสงคราม     อดีตนายกรัฐมนตรีได้นำความบังคมทูล ฯ   อันเชิญเสด็จผ่านทางคณะอภิรัฐมนตรีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์     อันมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ    กรมขุนชัยนาทนเรนทร    เป็นประธานและรอฟังผลพระราชดำรัสตอบ    เพื่อแจ้งแก่ประชาชนและเตรียมพิธีรับเสด็จอย่างมโหฬาร

                         วันที่   1   กันยายน   พุทธศักราช   2491    ประธานองค์อภิรัฐมนตรีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้แจ้งให้คณะรัฐบาลทราบว่า

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   มีพระบรมราชโองการให้แจ้งแก่คณะรัฐบาลว่า    พระองค์ทรงงดการเสด็จกลับไว้พลางก่อนจนกว่าจะทรงศึกษาจบตามหลักสูตรแล้ว

                         เป็นอันว่าพระราชพิธีสำคัญต้องงดชั่วคราวและไพร่ฟ้าประชาชน   ก็รอคอยการเสด็จกลับขององค์พระประมุขแห่งชาติต่อไปอีกดังเดิม

                         ในระยะเวลาอันใกล้ ๆ  กันนั้นเอง     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    ทรงมีพระราชดำรัสทางโทรเลขเรียกองค์คมนตรี    พระเจ้าวรวงศ์เธอ   พระองค์เจ้าธานีนิวัติ   ไปเฝ้า ฯ   ยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์    เพื่อทรงซักถามความเป็นไปของบ้านเมือง   และความทุกข์สุขของปวงอาณาประชาราษฎรของพระองค์   ซึ่งพระองค์ทรงห่วงใยอยู่ในพระราชหฤทัยเป็นนิจ

                         พระองค์เจ้าธานีนิวัติ     เสด็จออกไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์   เมื่อต้นเดือนกันยายน   พุทธศักราช  2491   และเสด็จกลับถึงประเทศไทย  ในปลายเดือนเดียวกัน

                         โอกาสนั้น    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงฝากความห่วงใยในประเทศ   และพสกนิกรของพระองค์มาด้วย   ซึ่งพระองค์เจ้าธานีนิวัติทรงแถลงให้ประชาชนได้ทราบทั่วกัน   โดยผ่านทางหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับความว่า

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสซักถาม   ความเป็นไปของราชการบ้านเมืองอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว     พระองค์ทรงพระราชปรารภถึงประชาชนพลเมืองว่า   เราอยู่ไกล   ประชาชนทุกข์สุขอย่างไรก็ได้แต่ถามด้วยความเป็นห่วงเท่านั้น

                         ส่วนการเสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับอยู่ในประเทศไทย   อาจต้องระงับไว้พลางก่อน    จนกว่าพระองค์จะทรงศึกษาวิชากฎหมายสำเร็จ    ซึ่งในการนี้จะต้องใช้เวลาศึกษาจนกว่าจะทรงสำเร็จ

                         ในระหว่างนั้น    คณะรัฐบาลได้แถลงให้ประชาชนทราบว่า     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจะเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด้จพระบรมเชษฐาธิราช ฯ   ในเดือนกุมภาพันธ์     เมื่อเสร็จแล้วพระองค์จึงจะเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์    เพื่อทรงศึกษาวิชาการต่อไป

       

       

      ....  ทรงประสบอุบัติเหตุ

       

                         ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จ    พระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาอยู่ในประเทศสวิสส์นี้    ก็มีกระแสข่าวแพร่สะพัดอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว      แต่ก็มีข่าวสับสนอยู่พักหนึ่งว่า     พระองค์ท่านได้ทรงงดการเสด็จนิวัติสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว     โดยพระราชทานเหตุผลมายังรัฐบาลเมื่อ   1   กันยายน   พ.ศ. 2491   ว่า   

                         ขณะนี้รัฐบาลยังดำเนินการเกี่ยวกับกรณีสวรรคตยังไม่เสร็จสิ้น    ทรงเข้าพระทัยว่าหากพระองค์จะเสด็จทำพิธีดังกล่าวแล้ว    ในขณะที่ทางรัฐบาลดำเนินการสอบสวนพิจารณาคดีสวรรคตอยู่    อาจจะมีบ่อเกิดให้มีผู้เข้าใจว่า    การดำเนินคดีผันแปรไปเพราะความเกรงกลัวในพระบารมี

                         คณะรัฐมนตรีได้นำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมในวันเดียวกันนั้นและตกลงกันว่า     โดยที่รัฐบาลนี้ถวายความจงรักภักดีโดยจริงใจ    จึงตกลงให้งดพระราชพิธีถวายพระเพลิง     และพิธีบรมราชาภิเษกไว้ชั่วคราว    จนกว่ากรณีสวรรคตจะเสร็จ    ตามความประสงค์

                         นี่เป็นข่าวชิ้นแรก    ที่ประชาชนชาวไทยได้รับเกี่ยวกับการเสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    และเป็นข่าวชิ้นเดียวที่ทำให้ได้รับความผิดหวัง

                         แต่ครั้นต่อมาในวันที่   11   เดือนเดียวกัน   ก็ได้มีกระแสข่าวแพร่ออกมาอีกว่า    ข่าวการเสด็จนิวัตกลับประเทศไทยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น   ยังไม่มีการยืนยันเป็นที่แน่นอน     เพียงแต่พระองค์ท่านได้ทราบว่ารัฐบาลจะได้ทำพิธีต้อนรับอย่างมโหฬาร     จึงทรงเกรงว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองเงินของชาติมากไปโดยใช่เหตุ     กระแสข่าวนั้นยังแจ้งต่อไปว่า     การพิจารณาคดีสวรรคตของพระบรมเชษฐาธิราช    ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่นั้น   ก็มิใช่ปัญหาสำคัญแต่อย่างใดที่จะทำให้พระองค์จำเป็นต้องงดเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการชั่วคราว    ตามที่ได้ตั้งพระทัยไว้แต่แรกแล้ว

                         แต่ข่าวการเสด็จนิวัตของในหลวง   ก็ยังไม่เป็นที่แน่นอนอยู่นั่นเอง     ซึ่งประชาชนคอยฟังข่าวอยู่ตลอดสิ้นเดือนกันยายน   2491

                         ครั้นแล้วอีก   4   วันต่อมา    ข่าวใหญ่ยิ่งที่สุดดุจสายอสุนีบาตฟาดเปรี้ยงลงมาท่ามกลางประเทศไทยว่า  .-

                     ด่วน         :             ในหลวงประสบอุบัติเหตุ

                                                ในหลวงประสบอุบัติเหตุอาการสาหัส

                                                ประธานอภิรัฐ     จะทูลถามอาการในวันนี้

                                           

                         นั่นคือข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ใหญ่      ซึ่งตีพิมพ์จำหน่ายในกรุงเทพ ฯ   เมื่อวันที่   5   ตุลาคม   พ.ศ. 2491   มีเนื้อข่าวด่วนจากวิทยุ   B.B.C.   เมื่อเวลา   13.00  น.   แจ้งว่า

                         สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    ทรงประสบอุบัติเหตุด้วยรถยนต์      ที่แห่งหนึ่งใกล้ ๆ  เมืองโลซานน์    เมื่อค่ำวันที่   3   เดือนนี้    พระอาการค่อนข้างสาหัส

                         หม่อนเจ้านิกรเทวัญ     ราชเลขานุการในพระองค์รับสั่งว่า    ขณะนี้ยังไม่ได้รับข่าว    พระเจ้า วรวงศ์เธอ   กรมขุนชัยนาทนเรนทร    ประธานอภิรัฐมนตรีก็ได้พระประสงค์จะวิทยุโทรศัพท์ทูลถามข้อเท็จจริง    ในเรื่องนี้ไปยังโลซานน์ในขณะนั้น     แต่กรมไปรษณีย์โทรเลขไม่สามารถจัดถวายได้ทันพระประสงค์    เนื่องจากยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่ได้มีการตกลงไว้ระหว่างสถานีวิทยุกรุงเทพ ฯ   และโลซานน์    กำหนดเวลาที่ใช้วิทยุโทรศัพท์ได้คือ   เวลา   20.00  น.   และ  21.00  น.  ในวันนั้น

                         แต่ข่าวโทรเลขในพระองค์จากโลซานน์ที่ล่าที่สุดซึ่งสำนักราชเลขานุการในพระองค์ได้รับทราบก่อนหน้าวันประสบอุบัติเหตุ   2   วันนั้นมีเพียงว่า   ไม่เสด็จปารีสตามพระราชกำหนดเดิมเท่านั้น

                         วันรุ่งขึ้น    วิทยุของรอยเตอร์ก็ส่งรายละเอียดกระจายเสียงไปทั่วโลกว่า

                         (รอยเตอร์)   โลซานน์   25   ตุลาคม   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    กษัตริย์ปัจจุบันผู้มีพรรษาครบ   20   แห่งประเทศไทย   ซึ่งทรงได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสเนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์     เมื่อคืนวานนี้  ( ที่  4)   นั้นในตอนบ่ายวันนี้  ( ที่  5)   มีข่าวว่าทรงมีพระอาการดีขึ้นและพ้นเขตอันตรายแล้ว

                         หลวงประเสริฐราชไมตรี    ราชเลขานุการในพระองค์แถลงว่า   พระราชชนนีศรีสังวาลย์ได้ไปเฝ้าปรนนิบัติอยู่เคียงข้างสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่คืนวาน

                         สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระสติอยู่ตลอดเวลา   และแม้จะได้รับบาดแผลแถบพระเศียร   บาดแผลก็ไม่รุนแรงดังที่หวาดเกรงกันแต่แรก    แต่คาดว่าพระองค์จะต้องนอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลหลายสัปดาห์ทีเดียว

                         ทั้งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   และ   นายอร่าม   รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์  ( บุตรชาย   พลโท   หลวงเสรีเริงฤทธิ์ )   สามีพระพี่นางซึ่งรวมอยู่ภายในรถยนต์ที่คว่ำด้วย    ได้ถูกย้ายออกจากสถานที่ที่ประสบอุบัติเหตุ     นำไปโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในโลซานน์     ปรากฏว่านายอร่าม    รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์    ได้รับบาดเจ็บสาหัสมาก    และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   นายแพทย์ประจำโรงพยาบาลแจ้งว่ามีหวังอยู่เป็นอันมากที่จะหาย

                         รายงานคืบหน้าต่อมาซึ่งได้รับจากทางการโรงพยาบาลที่ตำบลเมอร์เซส   ในวันนั้นแจ้งว่า    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับบาดเจ็บสาหัสแถบพระพักตร์และพระเศียร   แต่ไม่มีพระอัฐิส่วนใดแตกหรือเดาะเลย

                         ขณะนำพระองค์ไปสู่โรงพยาบาล     พระโลหิตตกมากอยู่ตลอดเวลา    แต่ยังมีพระสติดีอยู่   และสามารถแจ้งพระนามของพระองค์ได้    เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเมอร์เซสเสริมว่าพระอาการจะร้ายแรงอยู่อีกเป็นเวลาหลายวัน    ดร.มาเร๊วเกรกซ์   แห่งโรงพยาบาลเมอร์เซสเป็นผู้รักษาพยาบาลทั้งองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   และนายอร่าม    รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์    กล่าวว่าอาการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  ทรง   อยู่

                         อนึ่ง   วิทยุ  บี.บี.ซี.    กระจายข่าวว่าพระสาเหตุที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     ทรงประสบอุปัทวเหตุครั้งนี้เนื่องจากรถยนต์พระที่นั่งชนกับรถบรรทุกคันหนึ่ง   สมเด็จพระอยู่หัว ฯ  กับนายอร่าม   รัตนกุล   ซึ่งเป็นบุคคลเดียวที่โดยเสด็จขึ้นในรถพระที่นั่งนั้นด้วย    สถานที่เกิดเหตุนั้นคือข้างทะเลสาบเจนีวา   เมืองมอนเน   ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

                         รายงานข่าวจากการออกประกาศล่าที่สุดของสถานีวิทยุ บี.บี.ซี.    เมื่อวันที่   6   ตุลาคม   เวลา  14.47  น.    แจ้งว่าพระการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   พ้นอันตรายแล้ว   หลังจากได้รับบาดเจ็บจากถูกรถยนต์บรรทุกชน     เมื่อวันจันทร์ที่แล้ว    อย่างไรก็ดีราชเลขานุการแถลงว่าพระเนตรข้างขวาเศษกระจกเข้าและยังไม่ทราบว่าอีกหลายวันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   จะทรงใช้พระเนตรข้างขวาได้หรือไม่    นายอร่ามได้รับบาดเจ็บกระโหลกศีรษะปริอาการยังตกหนักอยู่

                         หนังสือพิมพ์สยามนิกรฉบับวันที่   8   ตุลาคม   2491   ลงพาดข่าวขนาดใหญ่ว่า

       

                                                   อาจเสียพระเนตร             ใกล้พระเนตรขวาสาหัสที่สุด 

       

                         ตามเนื้อข่าวกล่าวว่า......รายงานข่าวล่าที่สุด    ซึ่งสยามนิกรได้รับเมื่อเช้าวันนี้  ( ที่  7)   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ผู้ทรงเป็นที่รักใคร่ของพสกนิกรชาวไทยได้ทรงบาดเจ็บที่พระเนตรข้างขวา    หลวงประเสริฐราชไมตรี   ราชเลขานุการในพระองค์แถลงข่าวอันน่าเศร้าใจแก่รอยเตอร์ว่าพระองค์อาจเสียพระเนตรข้างขวาก็ได้    วิทยุ  บี.บี.ซี.     ได้กล่าวว่า    รถพระที่นั่งไปชนกับรถบรรทุกอย่างแรง   ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวาดังรายงานข่าวโทรเลขจากโลซานน์   ดังนี้

                         จะยังไม่เป็นที่รู้กันอีกหลายวันทีเดียว    พระเนตรที่รับความกระทบกระเทือนอย่างแรงนี้จะบอดอยู่ตลอดพระชนม์ชีพหรือไม่   ?

                         แต่อย่างไรก็ตามหลวงประเสริฐราชไมตรีราชเลขานุการในพระองค์กล่าวว่าอุปัทวเหตุครั้งนี้    จะไม่ขัดขวางการเสด็จสู่ประเทศไทยของพระองค์ท่าน    ซึ่งกำหนดไว้ในต้นปีหน้าเลย

                         ได้มีการหารือถึงการนิวัติสู่พระนครในระหว่างผู้แทนรัฐบาลเมื่อเร็ว     นี้     บางทีในหลวงจะอยู่ในประเทศไทยสองเดือนและจะได้เข้าร่วมในพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราช    และได้สวรรคตเมื่อ  2  ปีมาแล้ว   หลังจากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จกลับสู่โลซานน์    เพื่อทรงศึกษาวิชากฎหมายให้สำเร็จ

                         เกี่ยวกับพระอาการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   พระวรวงศ์เธอ    พระองค์เจ้าธานีนิวัติ    อภิรัฐมนตรี    จึงได้ประทานโอกาสให้ผู้แทน  น.ส.พ.   ได้เข้าเฝ้าอีกครั้งหนึ่ง

                         ทางด้านอภิรัฐมนตรีมีความห่วงใยในพระอาการอยู่เสมอเรื่อยมา    โดยเฉพาะเสด็จในกรมองค์ประธาน  (ขณะนั้นกรมขุนชัยนาท ฯ)   ก็ได้ทรงโทรศัพท์ทางไกลติดต่อพระอาการอยู่ทุกระยะกับราชเลขานุการที่โลซานน์   แต่ก็รู้เพียงว่าพระอาการดีขึ้นทุกระยะ    ทรงกล่าวแก่ผู้แทนหนังสือพิมพ์       พระองค์เจ้าธานีนิวัติรับสั่งต่อไปว่า   เพื่อที่จะได้ให้ประชาชนได้ทราบพระอาการสมกับความห่วงใยในพระมหากษัตริย์ของเรา    สำนักราชนุการในพระองค์    จะได้ออกแถลงการณ์รายงานข่าวเกี่ยวแก่ในหลวงทุกระยะต่อไป

                         ทางด้านพลโท   หลวงเสรีเริงฤทธิ์   บิดาของนายอร่าม   รัตนกุล    แจ้งว่าข่าวล่าที่สุดที่ได้รับว่า   อาการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  ดีขึ้น    และอาการนายอร่ามหนักแต่ไม่น่าวิตก   หลวงเสรีเริงฤทธิ์กล่าวว่า

                         ผมคิดว่าคงไม่น่าวิตกอะไรมากนัก    เรื่องหมอเมืองนอกแล้วควรไว้ใจเขาได้    ดูแต่ท่านเต้ก  (ม.จ. เจตนากร    วรวรรณ)   รถชนกันยิ่งกว่านี้ไปนอนไม่รู้สึกตัวสลบอยู่โรงพยาบาลถึง  3  อาทิตย์ยังปลอดภัยมาได้พระอาการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงไม่เข้าเขตอันตราย

                         ข่าวล่าที่สุดที่สำนักราชเลขานุการในพระองค์ได้รับจากเลขานุการประจำโลซานน์    เมื่อวันที่  2   ยืนยันว่าพระอาการอยู่ในขั้นพ้นอันตรายแล้ว     แต่นายแพทย์ยังไม่สามารถแจ้งได้ว่าพระเนตรข้างขวาจะเป็นอย่างไร    โดยนายแพทย์ยังปิดพระเนตรข้างขวาอยู่    อาการของนายอร่ามก็ดีขึ้น   วิทยุ บี.บี.ซี.   ซึ่งได้รับฟังเวลา   19.45  น.    วันที่   8   แจ้งต่อไปว่าพระอาการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     กำลังเป็นที่พอใจของนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางตาถวายการรักษา    เหตุการณ์กล่าวว่าอาการของพระเนตรข้างขวาดีขึ้นบ้าง    แต่ยังบอกไม่ได้ว่าจะหายดีดังเก่าหรือไม่     ส่วนอาการของนายอร่ามเป็นอันน่าวิตกอยู่

                         อนึ่ง    ได้มีประกาศทางราชการของรัฐบาลอังกฤษว่า   ข้าราชการทูตอังกฤษในกรุงเบิร์น   ได้รับคำสั่งให้แจ้งแก่อัครราชทูตไทย    แสดงความเสียใจของรัฐบาลอังกฤษในการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  ทรงประสบอุปัทวเหตุ    และได้ถวายพระพรขอให้พระองค์    กลับทรงพระสำราญดังเดิมโดยเร็ว  (ข่าวจาก  ส.ถ.อ.)

                         วันที่   17   เวลา   16.00   น. เศษ   ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์   ได้ส่งโทรศัพท์ทางไกลถามพระอาการอีก   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  มีพระราชดำรัสตอบโดยพระองค์เองจากโรงพยาบาลที่ประทับอยู่นั้นว่า

                         ฉันปลอดภัยแล้ว    ขอฝากความขอบใจมายังคณะผู้สำเร็จราชการ   คณะอภิรัฐมนตรี    คณะรัฐบาล   และประชาชนของฉันที่มีความห่วงใยในอาการป่วยของฉัน

                         ข่าวโทรเลขอีกกระแสหนึ่งมีความว่า    กระจกที่พุ่งเข้าเฉียงใต้หนังพระเนตร    และทะลุเข้าดวงพระเนตรสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  นั้น    นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจักษุได้เอาออกเรียบร้อยแล้ว    และจะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อให้พระเนตรเบื้องขวาใช้การได้   ส่วนนายอร่าม  รัตนกุลอาการดีขึ้นแล้ว

                         เช้าวันที่   9   ตุลาคม   สำนักราชเลขานุการในพระองค์ได้รับโทรเลขจากราชเลขานุการในขบวนเสด็จ      รายงานพระอาการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   เพิ่มเติมรวม  2  ฉบับ    ฉบับแรกวันที่   6   ตุลาคม   2491   มีความว่า   พระอาการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดีขึ้นมากแล้ว     ตรัสได้เป็นปกติ   จักษุแพทย์เชื่อว่าน่าจะยังมีทางที่จะรักษาพระเนตรขวาได้

                         โทรเลขอีกฉบับหนึ่งลงวันที่   7   ตุลาคม   2491   มีความว่า   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ซึ่งมีพระอาการดีขึ้นเป็นลำดับ   ตรัสได้เป็นเวลานาน   ทรงยิ้มแย้มแจ่มใส   จักษุแพทย์   2   นายจะได้ถวายการตรวจพระเนตรในค่ำวันเดียวกัน   อย่างละเอียดซึ่งเมื่อได้ทราบผลก็จะได้รายงานเข้ามาให้ทราบต่อไป

                         พอรุ่งขึ้นสำนักราชเลขานุการในพระองค์ก็ได้รับโทรเลขลงวันที่   8   ตุลาคม   2491   จากราชเลขานุการในขบวนเสด็จมาอีกว่าจักษุแพทย์ได้ถวายการตรวจพระเนตรแล้วแจ้งว่าดีเกินกว่าที่ได้คาดคิดไว้    แต่ว่าเป็นการเร็วด่วนเกินไปที่จะลงความเห็นอย่างหนึ่งอย่างใดไปได้    จักษุแพทย์กล่าวว่าต่อไปอีก  2  สัปดาห์จึงจะอยู่ในฐานะที่จะให้ความเห็นอย่างแน่นอนได้     ในขณะเดียวกันนั้นเองรัฐบาลได้โทรเลขสั่งให้  ม.จ.ปรีดีเทพพงษ์    เทวกุล    รัฐมนตรีว่การกระทรวงการต่างประเทศ    ซึ่งขณะนั้นกำลังไปเข้าประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติอยู่ที่ปารีส    เดินทางไปเฝ้าเยี่ยมพระอาการด่วน   และคณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้พระยาบริรักษ์เวชชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข   กับพลโท   หลวงเสรีเริงฤทธิ์  และม.จ.จักรพันธุ์    เพ็ญศิริ    จักรพันธุ์    เป็นผู้แทนของรัฐบาลไปเฝ้าพระอาการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   และได้ออกเดินทางไปยังโลซานน์โดยเครื่องบิน    ในตอนเช้าวันที่   12   ตุลาคม   2491

                         พร้อมกันนั้นรัฐบาลก็ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯไปกับคณะผู้แทนรัฐบาลด้วย   ดังมีความในหนังสือกราบบังคมทูล   ต่อไปนี้

                                                                                                

                                                                                                                         สำนักนายกรัฐมนตรี

       

                                                           11   ตุลาคม   2491

       

      ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อน 

                         ข้าพระพุทธเจ้ากับคณะรัฐมนตรีได้ทราบข่าวที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงประสบอุปัทวเหตุขณะประทับอยู่ในรถพระที่นั่ง     ด้วยความปริวิตกในพระอาการเป็นอย่างยิ่ง    แม้ต่อมาจะได้ทราบว่าพระอาการไม่เป็นที่น่าวิตกแล้วก็ตาม    ก็หาได้ทำให้ความวิตกกังวลของคณะรัฐมนตรี    และส่วนตัวข้าพระพุทธเจ้าหมดไปไม่

                         ในทันทีที่ได้รับข่าว    ข้าพระพุทธเจ้าได้โทรเลขทูลขอให้   พล  ต. ม.จ.  ปรีดีเทพพงษ์   เทวกุล   รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ    ซึ่งขณะนี้มาปฏิบัติราชการอยู่    ต่างประเทศ    รีบเดินทางกลับมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่โดยใกล้ชิดเพื่อรับพระราชบริหารและถวายความช่วยเหลือพระราชวงศ์ซึ่งประทับอยู่      ที่นี้    หากจะต้องพระราชประสงค์สิ่งใดจักได้ถวายได้ทันท่วงที     แม้กระนั้นก็ตามบรรดารัฐมนตรีและข้าพระพุทธเจ้าก็ยังหาหมดความกังวลไม่     จึงมีความเห็นเป้นเอกฉันท์จัดให้พระยาบริรักษ์เวชชการ   รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข    เป็นผู้แทนรัฐบาลเดินทางจากกรุงเทพ ฯ   มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท    พร้อมด้วย  ม.จ.  จักรพันธุ์    เพ็ญศิริ    จักรพันธุ์    กับ  พล  ท.  จรูญ    เสรีเริงฤทธิ์   เพื่อสนองพระราชประสงค์    บัดนี้แล้ว

                         ข้าพระพุทธเจ้าในนามคณะรัฐมนตรี    ข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งฝ่ายทหารและพลเรือน    ตลอดจนอาณาประชาราษฎรของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท   ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย     และอานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงช่วยอภิบาลรักษาให้หายจากพระอาการที่ทรงพระประชวร    โดยเร็ว   ขอจงทรงพระเกษมสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล     เจริญพระชนมายุเสด็จสถิตสิริสมบัติยืนนาน   ขอเดชะพระพุทธเจ้าผู้ทรงมหิทธิศักดิ์     จงประสิทธิ์ประสาทพระนี้แด่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท    ดังข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตั้งสัตยาธิษฐานถวายความจงรักภักดีนี้ทุกประการ

                         การจะควรกระการใดสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อน   ขอเดชะ

       

                                                                                            ข้าพระพุทธเจ้า    จอมพล   ป. พิบูลสงคราม

                                                                                       นายกรัฐมนตรี

       

                         อีกฉบับหนึ่งเป็นหนังสือกราบทูลสมเด็จพระราชชนนีมีข้อความต่อไปนี้

       

                                                                                                 สำนักนายกรัฐมนตรี

       

                                                           ๑๑    ตุลาคม    ๒๔๖๑

       

      ขอพระราชทานกราบทูล    สมเด็จพระราชชนนี

       

                         ข้าพระพุทธเจ้ากับคณะรัฐมนตรี    ได้ทราบข่าวที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุปัทวเหตุ    ขณะประทับอยู่ในรถพระที่นั่ง   ด้วยความปริวิตกในพระอาการไม่เป็นที่น่าวิตกแล้ว     และได้ขอให้   พล ต. ม.จ.  ปรีดีเทพพงษ์    เทวกุลและหลวงดิฐการภักดี   ไปเฝ้าพระอาการและถวายความสะดวกแล้วก็ตาม    คณะรัฐมนตรีก็หายังคลายความวิตกกังวลไม่  จึงมีความเห็นเป็นเอกฉันท์    จัดให้พระยาบริรักษ์เวชชการ     เดินทางจากกรุงเทพฯ    มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและใต้ฝ่าพระบาท   พร้อมด้วย ม.จ.  จักรพันธ์    เพ็ญศิริ    จักรพันธุ์   กับ   พล  ท.  จรูญ   ส.   เสรีเริงฤทธิ์    เพื่อสนองพระราชประสงค์     บัดนี้แล้ว     

                         ข้าพระพุทธเจ้าในนามคณะรัฐบาล    ขออาราธนาคุรพระศรีรัตนตรัย   และอานุภาพแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย   จงช่วยอภิบาลรักษาพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทให้ทรงประสบความเกษมสำราญ   ทรงพระเจริญด้วย    อายุ   วรรณะ   สุขะ   พละ   สมดังมโนรถปรารถนาทุกประการ

       

                                                                                            ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า 

                                                           ข้าพระพุทธเจ้า     จอมพล   ป.  พิบูลสงคราม

                                                                                             นายกรัฐมนตรี

       

                         ต่อมา    หลวงดิฐการภักดี    อุปทูตประจำสวิตเซอร์แลนด์    ได้รายงานมายังรัฐบาลเกี่ยวกับรายละเอียดที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องประสบอุปัทวเหตุคราวนี้

                         ตามรายงานของอุปทูตประจำสวิสส์กล่าวว่า    ในคืนที่ทรงประสบอุปัทวเหตุนั้น    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    ทรงขับรถพระที่นั่งไปถึงสี่แยกที่มีป้อมจราจรแห่งหนึ่ง    และพอดีกับตำรวจจราจร   ให้สัญญาณหยุดเพื่อให้ทางแก่จักรยานอีก  2  คัน   รถบรรทุกคันหน้าจึงหยุดกึกลงทันทีที่ได้สัญญาณจากตำรวจจราจร   ขณะนั้นประจวบกับมีรถยนต์อีกคันหนึ่งขับสวนขึ้นมาและเปิดไฟหน้าสว่างจ้า    จึงทำให้พระเนตรพร่ามองไม่เห็นรถบรรทุกคันนั้น    รถพระที่นั่งจึงชนเอาท้ายรถบรรทุกโครมใหญ่

                         จากรายงานของอุปทูตประจำสวิสส์นี้เอง    จึงได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นการด่วนพิเศษขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล    เมื่อเช้าวันจันทร์ที่   ๑๘   ตุลาคม   ๒๔๙๑    เพื่อพิจารณาหารือในรายงานฉบับนั้น    ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ออกแถลงการณ์ให้ประชาชนได้ทราบข้อเท็จจริง    และรายละเอียดที่ทรงประสบอุปัทวเหตุครั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดว่า    อุปัทวเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นโดยเล่ห์ทางการเมืองของบุคคลคณะหนึ่งตามที่ได้มีข่าวแพร่โดยทั่วไปอยู่ในขณะนั้น     และแถลงการณ์ของรัฐบาลฉบับนี้ก็ได้ปฏิเสธข่าลือนี้ว่า   ไม่มีมูลความจริงด้วย      

                         หลังจากผู้แทนรัฐบาลไทย   ได้เดินทางไปยังโลซานน์   ประเทศสวิตเซอร์แลนด์    และได้เข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  แล้ว    พระยาบริรักษ์เวชชการ   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ได้โทรเลขรายงานเข้ามาว่า    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     ทรงพระเกษมสำราญดีขึ้นเป็นลำดับ    นายแพทย์ตรวจรักษาพระเนตรข้างขวาเป็นประจำทุกวัน    ต่อมานายแพทย์นำเศษแก้วออกมาจากพระเนตรได้สองชิ้น   ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่พอใจเป็นอย่างยิ่ง

                         ต่อมาข่าวโทรเลขจากต่างประเทศจากโลซานน์เมื่อวันที่   ๒๙    ตุลาคม    ๒๔๙๑    แจ้งว่า   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     ได้ทรงกลับจากโรงพยาบาล   ซึ่งพระองค์ไปประทับรักษาพยาบาลได้แล้วตั้งแต่วันที่    ๒๙    แต่นายแพทย์ประจำพระองค์แถลงว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์ทีเดียว    กว่าจะกำหนดได้ว่า   ความบาดเจ็บที่พระเนตรข้างขวาของพระองค์จะมีผลรุนแรงเพียงใด

                         วันที่   ๒๙   พฤศจิกายน   ๒๔๙๑    พลโท   หลวงเสรีเริงฤทธิ์คนหนึ่งในคณะผู้แทนรัฐบาลไทยที่ส่งไปเฝ้าเยี่ยมพระอาการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว        โลซานน์    ได้กลับมาถึงประเทศไทย   และได้แถลงแก่ผู้แทนหนังสือพิมพ์ว่า

                         นายแพทย์ได้ถวายการรักษาพยาบาลอย่างดีที่สุดเป็นพิเศษ   และขณะนี้ก็ได้ตามมาเฝ้ารักษาที่พระตำหนักอยู่อย่างใกล้ชิด    แพทย์ยังไม่ให้ความเห็นเกี่ยวแก่การรักษาพยาบาลได้ในเวลานี้    แต่จะต้องใช้เวลารักษาพยาบาลไปอีกหลายเดือน   กะว่าจะถึงเดือนกรกฎาคม   ศกหน้า (พ.ศ. ๒๔๙๒)   พระอาการจึงจะเป็นปกติ    ขณะนี้แพทย์ยังไม่ยอมให้ทรงใช้พระเนตร   เพราะเกรงว่าจะได้รับการกระทบกระเทือนเป็นเหตุที่จะทำให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  จำต้องหยุดการศึกษาต่อไปชั่วคราว    และระหว่างนี้จะทรงพระอักษรไม่ได้    แพทย์ขอให้พระองค์ทรงดำรัสแต่น้อย   และไม่ควรเสด็จไปไหนเพื่อป้องกันมิให้พระเนตรที่ประชวรได้รับความกระทบกระเทือน    ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าอาจต้องเลื่อนกำหนดนิวัตประเทศไทย     เพื่อถวายพระเพลิงในหลวงพระบรมโกศต่อไปอีกก็ได้     แต่ทั้งนี้จะต้องรอฟังความเห็นของแพทย์ในระยะเดือนนี้อีกครั้งหนึ่ง    หากไม่เป็นการขัดข้องที่จะเสด็จกลับมาแล้วเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   คงจะเสด็จมาถวายพระเพลิงตามกำหนดไว้ในเดือนกุมภาพันธ์

                         คณะผู้แทนรัฐบาลได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   เพียง  2  คราวเท่านั้น   เพราะนายแพทย์ไม่ยอมให้เข้าเฝ้าพระอาการ     แม้สมเด็จพระราชชนนีก็ยังเยี่ยมไม่ใคร่ได้    ในการเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ที่โรงพยาบาลคราวแรก    เมื่อทรงอ่านสาส์นของรัฐบาลกราบถวายบังคมทูลแล้ว    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ทรงดำรัสเพียงประโยคเดียวว่า   ขอบใจมาก

                         การที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ทรงประสบอุปัทวเหตุครั้งนี้รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้แสดงความเสียใจ    และเอาใจใส่เป็นอย่างดี     ตลอดจนชาวสวิสส์ก็มีความสนใจและกล่าวขวัญไต่ถามพระอาการของพระองค์ท่านอยู่ทั่วไปเสมอ

                         สำหรับสมเด็จพระราชชนนีก็ทรงประชวร    เนื่องจากทรงตกพระทัยมากเกินไปในอุปัทวเหตุของในหลวง    ตามข่าวกล่าวว่า     เมื่อทรงรับโทรศัพท์ทราบเหตุการณ์ที่รถยนต์พระที่นั่งคว่ำ     พระราชชนนีถึงกับสลบหมดพระสติ    ฟุบไปต่อหน้าเครื่องโทรศัพท์นั่นเอง

                         ส่วนนายอร่าม   รัตนกุล    นั้นอาการร้ายแรงมากตามร่างกายมีบาดแผลฉกรรจ์ ๆ ถึง    แห่ง     โดยเฉพาะซี่โครง    ไหปลาหล้า    สะบ้าถึงกับหักและฟัน      ซี่หักหายไป

                            โรงพยาบาลแห่งที่พยาบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  นี้มี   นายแพทย์ซึ่งเป็นคนไทยอยู่ด้วยผู้หนึ่งคือนายแพทย์หม่อนเจ้ารัศมี    สุริยน    ซึ่งเสด็จไปจากเมืองไทยตั้งแต่ทรงเยาว์วัย     และได้ร่วมพยาบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  ด้วย

                         เช้าวันที่   ๑๘   พฤศจิกายน   ๒๔๙๑    ได้รับโทรเลขรายงานจากโลซานน์ถึงกระทรวงต่างประเทศแจ้งว่า    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ได้เสด็จเข้าโรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง    เพื่อให้แพทย์ทำการผ่าพระเนตรข้างขวา     ซึ่งเกิดจากประสบอุปัทวเหตุ    รายละเอียดยังไม่ได้รับแจ้ง

                         อนึ่ง    ทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ถวายเงินค่ารักษาพระเนตร   1   ล้านแฟรงก์   (คิดเป็นเงินไทยประมาณ      แสนบาท)  อีกด้วย

                         ต่อมาเอกอัครราชทูตกรุงเบิร์น    ได้รายงานเข้ามาว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ได้เสด็จออกจากโรงพยาบาล   เมื่อวันที่   ๒๓   พฤศจิกายน   ๒๔๙๑    และนายแพทย์ได้รับความพอใจในผลของการผ่าตัดครั้งนี้    นับว่าอาการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   อยู่ในเกณฑ์ดี

                         ปลายเดือนกุมภาพันธ์   ๒๔๙๒      หม่อนเจ้านิกรเทวัญ   เทวกุล     ราชเลขานุการในพระองค์     ทรงตอบข้อถามแก่ผู้แทนหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับข่าวสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ว่าพระอาการเท่าที่ได้รับรายงานครั้งหลังสุดนั้น      แจ้งว่าพระอาการดีขึ้นเป็นลำดับ      จนนายแพทย์ได้ถวายคำแนะนำให้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เมืองลาโวส     ในต้นเดือนกุมภาพันธ์นั่นเอง

                         และท่านราชเลขา ฯ   ทรงแถลงว่า     ภายหลังที่ต้องเลื่อนกำหนดกลับ     เนื่องจากอุปัทวเหตุดังกล่าวแล้วในชั้นนี้ยังไม่มีกำหนดแน่นอนว่า    จะเสด็จสู่พระนครเมื่อใดแน่

                         วันที่       มีนาคม    ๒๔๙๒     สภาผู้แทนและวุฒิสภาได้มีการเปิดประชุมสมัยสามัญ     พลโท   มังกร    พรหมโยธี     ได้กล่าวเปิดประชุมแทนนายกรัฐมนตรี      ชมเชยวุฒิสภาที่ได้ทำงานเข้มแข็งตลอดมา      นอกจากนั้นได้รายงานให้วุฒิสภาทราบถึงพระอาการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

                         รัฐบาลแถลงว่า     ได้รับรายงานมาว่าพระอาการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ทรงดีขึ้นตามลำดับ     เมื่อต้นเดือนมกราคม     แพทย์ได้ถอดผ้าปิดพระเนตรข้างขวาออกให้ฉลองพระเนตรสีมัวเพื่อให้ค่อย ๆ  ชินขึ้นเป็นลำดับ     ต่อมาในปลายเดือนให้ฉลองพระเนตรปกติ     ทอดพระเนตรเห็นชัดขึ้นทรงเล่นดนตรีได้พอสมควร     เวลาอากาศดีเสด็จประพาสโดยรถยนต์     หรือดำเนินเล่นช้า ๆ   ได้    ระวังไม่ให้ออกกำลังมากเกินไป     เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ตกลงพักที่ลาโวส     ตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อตากอากาศให้มีกำลังแข็งแรงขึ้น

                         วันที่   ๑๑    มีนาคม    พ.ศ. ๒๙๒    พระยาจินดารักษ์    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย     ได้แถลงกับผู้แทนหนังสือพิมพ์ว่า     พระอาการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ดีขึ้นเป็นลำดับจนเข้าขั้นปกติแล้ว     ทรงพระสำราญและทรงพลานามัยอันเลิศ     สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับอากาศและพักผ่อนพระอิริยาบถ      ภูเขาลูกหนึ่งในสวิตเซอร์แลนด์

                         งานถวายพระเพลิงพระบรมศพ     ในหลวงในพระบรมโกศ     ซึ่งเลื่อนกำหนดเรื่อยมานั้น    พระยาจินดารักษ์ได้กล่าวยืนยันว่า     สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  จะเสด็จนิวัติสู่พระนครในแล้งหน้าอย่างแน่นอน      ในโอกาสเดียวกันก็จะได้ประกอบ    พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในพระบรมโกศอีกด้วย

                         ในราวเดือนพฤษภาคม   ๒๔๙๒      หม่อนวิภา    จักรพันธ์   ใน  ม.จ.  จักรพันธุ์    เพ็ญศิริ    จักรพันธุ์     เดินทางกลับโลซานน์ถึงประเทศไทยได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้แทนหนังสือพิมพ์    ลิเบอร์ตี้    ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จกลับประเทศไทยอย่างที่สุด     แต่เป็นด้วยนายแพทย์ไม่ยินยอม

                         หม่อมวิภากล่าวว่า     เมื่อเข้าเฝ้าตอนที่กราบถวายบังคมลากลับนั้น     สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    ตรัสว่า    หวังว่าได้พบกันอีกในประเทศไทยก่อนสิ้นปีนี้     หม่อมวิภาว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    ทรงตั้งพระราชหฤทัย     จะเสด็จกลับมาสู่ประเทศไทยอย่างยิ่ง      เมื่อใดนายแพทย์ยอมให้เสด็จกลับได้แล้ว     ก็จะเสด็จกลับมาโดยเร็ว

                         หม่อมเจ้าจักรพันธุ์      มิได้กลับพร้อมกับหม่อม    โดยอยู่กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ     เกี่ยวกับพระองค์ท่านจะทรงพระนิพนธ์เพลงใหม่ ๆ   หม่อมวิภากล่าวว่า     มีผู้ไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่เนือง      และได้โปรดพระราชทานเลี้ยงแล้วโปรดให้ฉายภาพยนตร์ที่ทรงถ่ายไว้เองให้ชมอีกด้วย

                         หนังสือพิมพ์   นครสาร    ฉบับประจำวันที่   ๒๘    กรกฎาคม   ๒๔๙๒      เสนอข่าวพิเศษจากผู้สื่อข่าวประจำโลซานน์ว่า      พระเนตรของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดีขึ้นมากแต่ยังฝ้าฟางอยู่     และได้ทดลองเสด็จไปศึกษา      สถานศึกษาในวันหนึ่ง    แต่ปรากฏว่า    ทรงปวดพระเศียร    แพทย์ประจำพระองค์จึงถวายคำแนะนำให้หยุด      ทั้งนี้เมื่อยังทรงพระเยาว์อยู่นั้นเคยหกล้มถูก   ไม้ตำพระเนตร   ข้างเดียวกันนั้นมาครั้งหนึ่งแล้ว     จึงส่งผลสะท้อนมาถึงอุปัทวเหตุครั้งนี้ด้วยเป็นอย่างมาก      ขณะนี้แพทย์กำลังทำการหัดประสาทพระจักษุให้คืนดีอย่างเดิมอย่างขมักเขม้น        ส่วนพระพักตร์นั้นด้วยความสามารถอันเลิศของนายแพทย์      ปรากฏว่าเกลี้ยงเกลาปราศจากรอยแผลแม้แต่น้อย    หนังสือพิมพ์   ไทยใหม่    ฉบับประจำวันที่    ๑๗     กันยายน    ๒๔๙๒     เสนอข่าว       หลวงประเสริฐราชไมตรี      ราชเลขานุการในพระองค์    ได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวบริษัทยูไนเต็ดเปรสส์     ที่โลซานน์ว่าแม้นายแพทย์เห็นว่าพระอาการประชวรพอเสด็จนิวัตได้พระองค์ก็จะเสด็จถวายพระเพลิง     พระบรมเชษฐาธิราชภายหลังฤดูมรสุมอย่างแน่นอน

                         หนังสือพิมพ์    ธรรมาธิปัตย์    ฉบับประจำวันที่   ๒๘    กันยายน    ๒๔๙๒     เสนอข่าวว่า     หลวงประเสริฐราชไมตรี     ได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าว   เอ. พี.  ว่า    ตามที่มีข่าวว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมายังประเทศไทย   ฤดูหนาวปีนี้ยังเป็นข่าวที่ไม่แน่นัก       แต่หากพระองค์จะเสด็จมายังประเทศไทยแล้ว      ก็จะประทับอยู่ประมาณ      เดือนอย่างมากที่สุด    หลวงประเสริฐราชไมตรี      กล่าวต่อไปว่า    ในหลวงยังคงจะประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกเป็นเวลา      ปี     และก่อนที่พระองค์จะเสด็จกลับประเทศไทย      นายแพทย์ประจำพระองค์จะต้องถวายการอารักขาพระองค์เป็นอย่างดีที่สุด

                         ขณะที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     สามารถจะทรงพระอักษรด้วยพระเนตรทั้งสองข้างได้แล้ว     แต่สิ่งที่พระองค์รู้สึกว่าลำบากพระราชหฤทัย    ก็คือ    นายแพทย์ถวายความเห็นห้ามมิให้เล่นกีฬาออกแรงหนัก    ฉะนั้น    เทนนิสและสกีซึ่งเป็นกีฬาที่ทรงโปรด     จึงต้องทรงงดในระหว่างที่รักษาพระเนตรนี้

                         พระองค์กำลังทรงศึกษาวิชา   กฎหมาย     เศรษฐกิจ   และการเมือง        มหาวิทยาลัยโลซานน์      แม้ว่าอาการของพระเนตรจะดีขึ้น     แต่เมื่อพระองค์ได้ทรงเตรียมปาฐกถาก็ต้องทำให้พระองค์ปวดพระเศียรไปหลายวัน     และนายแพทย์ประจำพระองค์ก็ถวายความเห็นว่า      ถ้าพระองค์ได้ทรงพักผ่อนเสียขณะนี้พระอาการก็จะดีขึ้น

                         สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้เวลาส่วนมาก     โดยการเสด็จพระราชดำเนินและทรงขับรถรอบ ๆ    ทะเลสาบเจนีวาและทรงพระอักษรเท่าที่สุขภาพของพระองค์จะอำนวยให้และทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงทั้งแบบชาวยุโรป    และตะวันออก

                         ครั้นต่อมาในเดือนตุลาคม   ๒๔๙๒     หม่อมเจ้าจักรพันธุ์     เพ็ญศิริ     จักรพันธุ์ผู้ใกล้ชิดยุคลบาทได้เสด็จกลับจากโลซานน์       ทรงเปิดเผยว่าพระเนตรของในหลวงที่ทรงประสบอุปัทวเหตุนั้น    นับว่าหายสนิทแล้วทรงเสด็จประพาสไกล     ได้    ขณะนี้นายแพทย์กำลังเร่งตรวจพระอาการเพื่อถวายความเห็นว่า   ควรจะเสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยได้หรือไม่

                         ราวกลางเดือนตุลาคม   ๒๔๙๒    วงการใกล้ชิดกับพระราชตำหนัก    วิลลา   วัฒนา      โลซานน์ได้ยืนยันข่าวต่อมาว่า

       

      ในหลวงยังไม่เสด็จกลับไทย

       

                         ข่าวนี้    ต้องทำให้ประชาชนชาวไทยได้รับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่ง     ด้วยความห่วงใยในพระอาการและความปรารถนาที่จะได้เฝ้าชมพระบารมีถวายความเคารพได้เลื่อนลอยไปอีกอย่างไม่มีกำหนด

                         ข่าวจากวงการใกล้ชิดแจ้งว่า      สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีกระแสรับสั่งให้มีหนังสือแจ้งมายังผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ว่า     ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะเสด็จนิวัตประเทศไทยตามคำขอของรัฐบาลเสมอ     หากแต่นายแพทย์ประจำพระองค์    ซึ่งได้ถวายการรักษาพยาบาลมาตั้งแต่ครั้งทรงประสบอุปัทวเหตุได้ถวายความเห็นว่ายังไม่สมควรเสด็จทางไกล

                         นายแพทย์ประจำพระองค์ได้ถวายความเห็นในเหตุผลว่า     โดยเฉพาะที่พระองค์จะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศโดยฉับพลัน      มิฉะนั้นพระอาการที่ดีขึ้นเป็นลำดับจนเป็นที่น่าพอใจอยู่ในขณะนี้     อาจจะกลับทรุดลงและพระเนตรทั้งสองข้าง     ซึ่งทอดพระเนตรได้โดยกระจ่างชัดปกติแล้ว     อาจจะทรุดลงถึงพิการได้      โดยไม่มีโอกาสถวายความช่วยเหลือได้ทันท่วงที      นายแพทย์ได้ถวายความเห็นต่อไปว่าจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ    เดือน     จึงจะสามารถวินิจฉัยพระอาการและถวายคำแนะนำได้แน่นอนว่าสมควรจะเสด็จนิวัตประเทศไทยได้หรือไม่     สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้า ฯ   ให้นายแพทย์ตรวจโดยละเอียดอีกนายแพทย์ก็ยังยืนยันถวายความเห็นเดิม

                         อุบัติเหตุครั้งนี้    เป็นอุปสรรคขัดขวางให้ทรงงดการเสด็จนิวัตสู่ประเทศเป็นการชั่วคราว

       

       

      ....  ทรงหมั้น.......

       

                         วันที่    ๑๒    สิงหาคม     พุทธศักราช    ๒๔๙๒    นับเป็นวันสำคัญอย่างยิ่งวันหนึ่ง     เพราะเป็นวันที่   ทรงหมั้น     ระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   กับ   หม่อมราชวงศ์หญิง   สิริกิต   กิติยากร

                     พระราชพิธี   หมั้น    ได้ประกอบขึ้น      สถานเอกอัครราชทูตไทย   ตำบลแอชเบอร์น   กรุงลอนดอน    ประเทศอังกฤษ

                         นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงอำลาประชาชนและประเทศชาติ   ของพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปประทับอยู่      ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันที่   ๑๙    สิงหาคม   พุทธศักราช   ๒๔๘๙      เพื่อทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ    กาลเวลาได้หมุนไปตามจักรราศีวงโคจรของโลกนับได้      ปีเศษ     ข่าวใหญ่ก็แพร่สะพัดมายังประเทศว่า     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   ทรงหมั้น    เสียแล้ว

                         ปรากฏว่าข่าวนี้เป็นข่าวใหญ่ขึ้นในรอบปี     วิทยุโทรเลขจากลอนดอน    เมื่อวันที่      กรกฎาคม   พ.ศ. ๒๔๙๒   ว่า  

                         การประกาศข่าวสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    ได้ทรงหมั้น   ม.ร.ว. หญิง   สิริกิติ์    กิติยากร    ธิดาแห่งเอกอัครราชทูตไทยประจำลอนดอน     ได้ทำให้สถานเอกอัครราชทูตไทยเป็นที่ซึ่งมีผู้ไปกันคับคั่งตลอดวันงานแต่บ่ายไปจนถึงค่ำ     ส่วนโทรศัพท์ก็ดังอยู่ไม่ขาดระยะ

                         บรรดา   น.ส.พ.อังกฤษ   ได้พากันลงข่าวทรงหมั้นของพระเจ้าอยู่หัวในที่เด่น    บางฉบับได้ลงตีพิมพ์รูป  ม.ร.ว.  หญิง    สิริกิติ์    ในพระอิริยาบถต่าง ๆ  

                         หนังสือพิมพ์   Star    ได้สัมภาษณ์  ม.ร.ว.  หญิง   สิริกิติ์   โดยโทรศัพท์ทางไกล     หนังสือพิมพ์   Sunday   Times   ฉบับวันที่   ๑๘   กันยายน   ได้เสนอรายละเอียดต่าง ๆ  ว่า

                         ฉันยังเด็กมาก   และไม่เคยมีความรักมาก่อน    ม.ร.ว. หญิง  สิริกิต์   กล่าว   มันทำให้ฉันตื่นเต้นเหมือนกัน

                         พระราชสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดพระราชพิธี  หมั้น  นี้    ได้ก่อตัวขึ้น     ประเทศฝรั่งเศส

                         ประเทศสวิตเซอร์แลนด์กับประเทศฝรั่งเศสตั้งอยู่บนภาคพื้นเดียวกัน     มีทางหลวงเชื่อมกันไปมาได้โดยสะดวก    ตามปรกติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงโปรดเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังกรุงปารีสเพื่อทอดพระเนตร       และทรงสดับการแสดงของวงดนตรีที่มีชื่อเสียงเป็นประจำ     เพราะพระองค์ทรงโปรดดนตรียิ่งนัก     และการขับขี่รถยนต์ก็เป็นสิ่งที่โปรดเช่นเดียวกัน

                         ระยะทางจากนครโลซานน์   ถึงกรุงปารีสอยู่ห่างกันถึง   350   ไมล์เศษ     หากเดินทางด้วยรถยนต์    ในอัตราความเร็วปกติอาจต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่าสี่หรือห้าชั่วโมง    แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงรถยนต์โลซานน์ถึงปารีสทรงใช้เวลาเพียง   3   ชั่วโมงเศษเท่านั้น

                         ทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปยังกรุงปารีส     พระองค์จะทรงประทับพำนักอยู่      สถานเอกอัครราชทูตไทย    จนกว่าจะเสด็จกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์

                            ที่นั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงสำราญ    พระราชหฤทัยอยู่ในหมู่นักเรียนอย่างใกล้ชิดสนิทสนม     ทรงปราศจากถือพระองค์    และในหมู่นักเรียนนั้นก็มี   ม.ร.ว. หญิง  สิริกิต์   ผู้มีพระวรกายทรงเสน่ห์ยิ่งรวมอยู่ด้วย     นับตั้งแต่วันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสบพระเนตรกับ ม.ร.ว. หญิง สิริกิต์    ทำให้พระองค์ทรงปฏิพัทอย่างแนบแน่นและทวีขึ้นโดยลำดับ    ข้างฝ่าย  ม.ร.ว. หญิง   สิริกิต   ก็เช่นเดียวกัน

                         นั่นหมายความว่า    พระราชสัมพันธ์ระหว่างในหลวง  และ  ม.ร.ว. หญิง  สิริกิต    กิติยากร   ได้กระชับเกลียวสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นโดยลำดับ     จนกระทั่งกลายเป็นความรักแท้และอมตะ

                         นี่คือที่มาแห่งราชพิธี   หมั้น    ระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และ  สมเด็จพระนางเจ้า     ของชาวไทย

                         ขณะนั้น    กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาท   (หม่อมเจ้านักขัตมงคล    กิติยากร   ฐานันดรศักดิ์ขณะนั้น)     พระราชบิดาของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ   พระบรมราชินีนาถ     ทรงดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศส    และทรงพำนักอยู่      สถานเอกอัครราชทูตในกรุงปารีส    พร้อมด้วยครอบครัวอันมีหม่อมบัว    กิติยากร     ชายา     หม่อมราชวงศ์หญิง  สิริกิต   กิติยากร     พระธิดาองค์ใหญ่    และหม่อมราชวงศ์หญิงบุษบา     กิติยากร    พระธิดาองค์เล็ก     ซึ่งพระธิดาทั้งสองได้มาศึกษาวิชาการอยู่    ประเทศนั้น

                         ตามปกติ     ทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    เสด็จพระราชดำเนินไปประทับพักแรมอยู่       สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสนั้น     ท่านเอกอัครราชทูตพร้อมด้วยครอบครัวได้เข้าเฝ้าถวายปฏิบัติให้ทรงพระเกษมสำราญด้วยความรักภักดีตลอดมา     และเนื่องจากทรงเป็นพระญาติพระวงศ์     อันสืบสายราชนิกูลด้วยกัน   ความใกล้ชิดสนิทสนมจึงมีมากเป็นพิเศษ

                         จุดเริ่มแรกที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช     ทรงสนพระราชหฤทัยในหม่อนราชวงศ์หญิง  สิริกิติ์   กิติยากร    เป็นอย่างมากในขณะนั้น   เนื่องจาก  ม.ร.ว.   หญิง    สิริกิติ์    เป็นผู้สนใจเข้าใจในศิลปศาสตร์การดนตรีอย่างซาบซึ้งดุจเดียวกับพระองค์     และยังรอบรู้ประวัติมาที่มาของบรรดาเพลงเอก     ตลอดจนชีวประวัติ     ของนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงของโลกอย่างเดียวกันประกอบกับ  ม.ร.ว. หญิง   สิริกิติ์    มีพระสิริโฉมอันทรงเสน่ห์แบบกุลสตรีไทย     จึงทำให้พระราชสัมพันธ์เขม็งเกลียวขึ้นทีละน้อย    จนกลายเป็นพระปฏิพัทอย่างแนบแน่นและอมตะ

                         ในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช     เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ      สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส     นักเรียนไทยซึ่งมาพำนักอยู่      ที่นั้น    จะร่วมชุมนุมถวายความจงรักภักดีอย่างพร้อมเพรียงเป็นประจำ

                         ตอนกลางคืนจะมีการสโมสรเล่นเกมต่าง ๆ  อย่างสนุกสนาน    เป็นการถวายความเพลิดเพลิน    สำราญพระราชหฤทัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     โดยมากเพื่อให้สบพระราชอัธยาศัย    นักเรียนไทยที่สนใจในการดนตรีได้จัดหาเครื่องเล่นมาร่วมวงบรรเลงเพลงเป็นที่ครึกครื้น    ซึ่งมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ทรงร่วมวงด้วย    และไม่ทรงลืมพระราชดำรัสชวนหม่อมราชวงศ์หญิง   สิริกิต   กิติยากร   เข้าร่วมวงในฐานะที่เป็นนักเปียนโนฝีมือเยี่ยม

                         แม้ทั้ง      พระองค์จะทรงมีรสนิยมในทางดนตรีเหมือนกัน    แต่ปรากฏความจริงที่พิสดารอยู่มาก   กล่าวคือ

                         หม่อมราชวงศ์หญิง   สิริกิต   กิติยากร  (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ   พระบรมราชินีนาถ)  นิยมเพลงแบบบีบ๊อบอย่างแรง    แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช     ไม่ทรงโปรดเพลงบีบ๊อบนั้น

                     เรื่องนี้เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักเรียนไทยที่เคยเฝ้าใกล้ชิด    จนหนังสือพิมพ์ในกรุงปารีสฉบับหนึ่งได้นำไปเปิดเผยว่า

                         ครั้งหนึ่ง    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช      ทรงโต้แย้งกับหม่อมราชวงศ์หญิง   สิริกิติ์   กิติยากร  (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ)   ด้วยเรื่องเกี่ยวกับดนตรีการเช่นเคย    และทรงไม่สามารถหาเหตุผลใด ๆ มาอ้างให้พอพระราชหฤทัยได้     ทรงพระราชดำเนินกลับไปกลับมาอยู่ในห้องนั้นครู่หนึ่ง     พระพักตร์เคร่ง   จนหม่อนราชวงศ์หญิง  สิริกิติ์    กิติยากร  (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ)   กลั้นแย้มพระสรวลไว้ไม่ได้    ในที่สุดสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า     ไปฟังเพลงดีกว่า    วันนี้ยอมแพ้และตรัสชวนให้ทุกคนในที่นั้น    ติดตามไปยังสถานมหรสพแห่งหนึ่ง   ซึ่งมีวงดนตรีที่พระองค์ทรงโปรดกำลังแสดงอยู่ทุกคนเลยต้องกลั้นยิ้มในความทางยอมแพ้อย่างไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัวไปตาม ๆ กัน

                         ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   กับ  หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์   กิติยากร  (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ   พระบรมราชินีนาถ)   กำลังทรงมีพระราชสัมพันธ์ต่อกันเพิ่มทวีขึ้นโดยลำดับนั้นเอง    เหตุการณ์ร้ายก็สอดแทรกเข้ามาอย่างกระทันหัน

                         กล่าวคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   ทรงประสบอุปัทวเหตุ    ขณะเสด็จสู่กรุงปารีสตามปกติโดยทางขับรถยนต์พระที่นั่งออกจากนครโลซานน์      เมื่อตอนค่ำวันที่      ตุลาคม   พุทธศักราช   ๒๔๙๑    และรถยนต์พระที่นั่งได้ชนกับรถบรรทุกคันหนึ่ง    ใกล้ทะเลสาปเจนีวา   เมืองมอนเนย์    ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

                         หลังจากที่ทรงประสบอุปัทวเหตุโดยรถยนต์แล้ว    ก็ได้มีพระราชโทรเลขเรียก   ม.ร.ว. หญิงสิริกิติ์   กิติยากร   ให้ไปยังสวิตเซอร์แลนด์ทันที    หม่อมบัวได้นำธิดาทั้ง  2  ไปเฝ้ายังนครโลซานน์และพักอยู่ที่นั่น     วัน     แล้วก็ได้ถวายบังคมลากลับ   แต่ ม.ร.ว.หญิงสิริกิติ์     กิติยากร    ยังคงอยู่ที่นครโลซานน์เพื่อเฝ้าพระอาการ     และถวายการปรนนิบัติอยู่อย่างใกล้ชิดเป็นเวลาหลายเดือนจนพระอาการหายเป็นปกติ    จึงกลับไปพำนักอยู่กับพระบิดา     ซึ่งขณะนั้นเสด็จย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย    ประจำสำนักเซนต์เยมส์        กรุงลอนดอน    ประเทศอังกฤษตั้งแต่ปีพุทธศักราช  ๒๔๙๒

                         ในขณะนี้มีข่าวลือแพร่สะพัดมาถึงประเทศไทยว่า    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ   กับหม่อมราชวงศ์หญิง  สิริกิติ์    กิติยากร (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต   กิติยากร   พระบรมราชินีนาถ)   ทรงมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นจนไม่อาจแยกจากกันได้ในพระชนม์ชีพนี้

                         ครั้นแล้ว   พระราชพิธี   ทรงหมั้น    ได้เริ่มขึ้นอย่างเงียบ ๆ   ในวันที่   ๑๙    กรกฎาคม   พุทธศักราช   ๒๔๙๒    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช     ทรงมีพระราชดำรัสสั่งให้ราชเลขานุการประจำ     พระองค์โทรเลขเชิญเสด็จ  กรมหมื่นจันทบุรี  (หม่อมเจ้านักขัตมงคล     ฐานันดรศักดิ์ขณะนั้น)     ไปเฝ้า        นครโลซานน์    ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และกำหนดนัดให้ประทับพำนักอยู่ที่โฮเต็ลชั้นสูงแห่งหนึ่งในเมืองนั้นเพื่อมิให้เป็นข่าวเอิกเกริก   ม.จ. นักขัต ฯ   มีเวลาพักอยู่ในสวิสสิ์       วัน   คือ   ๑๗ ๑๙  กรกฎาคม    ในวันที่ ๑๘   กรกฎาคม   ในหลวงได้เสด็จไปพบ  ม.จ. นักขัตมงคล    ที่โฮเต็ลที่  ม.จ. นักขัต   ทรงพักอยู่แล้วได้รับสั่งการหมั้นกับ  ม.จ. นักขัตตัวต่อตัว    เมื่อเสร็จแล้วพระราชชนนีจึงเสด็จเข้าไป    ตอนหนึ่งพระราชชนนีรับสั่งว่า   ขอให้ทำกันเฉพาะในครอบครัวเท่านั้น   เพราะเมื่อคราวฉันเองก็ทำอย่างนี้   จะมีอะไรขัดข้องไหม ?    ม.จ. นักขัตทูลว่า   ตามแต่จะมีพระราชประสงค์

                         รุ่งขึ้นวันที่   ๑๙   กรกฎาคม   ในหลวงทรงนำพระธำมรงค์   แหวนเพชร   ซึ่งทำหนามเตยเป็นรูปหัวใจไปมอบให้   ม.จ. นักขัต   ขณะทรงมอบในหลวงทรงรับสั่งว่า   เป็นแหวนที่มีค่ายิ่งและเป็นที่ระลึกด้วย

                         พระธำมรงค์วงนี้    เป็นธำมรงค์ที่พระราชบิดาเคยประทานให้แด่พระราชชนนีนี้ในอดีต     ในการที่ทรงมีปฏิพัทธ์ชีวิตร่วมกัน

                         ในเดือนสิงหาคม    พุทธศักราช   ๒๔๙๒    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    เสด็จพระราชดำเนินไปยังกรุงลอนดอน     ประเทศอังกฤษอย่างเงียบ ๆ  เพื่อทรงร่วมงานวันเกิดของหม่อมราชหญิงสิริกิต   กิติยากร (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ   พระบรมราชินีนาถ)    ซึ่งเวียนมาจบครบรอบปีที่  ๑๗   ในวันที่  ๑๒  สิงหาคมนั้น

                         การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้     ทรงปกปิดมิให้ทางการอังกฤษล่วงรู้    เนื่องด้วยเป็นการเสด็จ ฯ ไปรเวต    และทรงประทับพำนักอยู่      สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงลอนดอน     ทางรัฐบาลอังกฤษไม่ทราบเรื่อง     จึงมิได้จัดพิธีต้อนรับเป็นทางการแต่อย่างใด

                         พิธีการวันเกิดของหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์    กิติยากร (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์   พระบรมราชินีนาถ)   ในคืนวันที่  ๑๒  สิงหาคม   พุทธศักราช   ๒๔๙๒   ได้จัดขึ้น     สถานเอกอัครราชทูตไทย   ในกรุงลอนดอน

                     ผู้ไปร่วมชุมนุมอวยพรในงานประมาณ  ๑๐๐  คนเศษ   ส่วนมากเป็นช้าราชการสถานทูตและนักเรียนไทยในอังกฤษ   ฝรั่งเศส    พระราชวงศ์ที่ไปร่วมด้วย    มีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์    และสมเด็จพระนางเจ้าสุวัฒนา  (พระวรราชเทวี   ในล้นเกล้าล้นกระหม่อม    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎล้นเกล้าอยู่หัวรัชกาลที่     พระราชชนนีของสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงเพชรรัตน์    ราชสุดาสิริโสภาพรรณวดี   ขณะที่ทั้งสองพระองค์ประทับอยู่ที่ตำหนักเมืองไบรตัน......  เมืองชายทะเล   ประเทศอังกฤษ)

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    ทรงฉลองพระองค์ชุดสีเทา    เนคไทสีน้ำเงินเข้ม    ทรงมีพระราชดำรัสสนทนากับทุกคนอย่างสนิทสนมเป็นกันเอง

                         หลังจากร่วมเสวยพระกระยาหารไทยเสร็จ    พระองค์ทรงชวนบรรดานักเรียนไทยไปร่วมดนตรีเป็นที่สนุกสนานครื้นเครง    คืนนั้นพระองค์ทรงเล่นเปียนโนและแซ็กโซโฟนให้ทุกคนฟังหลายเพลง

                         ในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงอวยพระแด่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์    กิติยากร  (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ)   ท่ามกลางผู้ใกล้ชิดท่านเอกอัครราชทูตไทยได้นำพระธำมรงค์  แหวนหมั้น   ที่ได้รับจากสมเด็จพระราชชนนี ฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ     เพื่อทรงมอบแด่คู่ครองรักร่วมพระชนม์โดยพระหัตถ์ของพระองค์เอง

                         ขณะที่ทรงมอบ    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   ทรงมีพระราชดำรัสว่า

                         เป็นของที่มีค่าอย่างยิ่ง    และเป็นของที่ระลึกด้วย   กระแสพระราชดำรัสประโยคนี้แม้จะสั้นแต่มีความหมายลึกซึ้งประทับใจยิ่งนัก

                         ถูกแล้ว    แหวนเพชรงามน้ำเอกวงนั้นเป็นของมีค่าทั้งในด้านวัตถุและทางจิตใจ    เพชรน้ำใสบริสุทธิ์เกาะไว้ด้วยหนามเตยเป็นรูปหัวใจ    เปรียบได้คล้ายหัวใจอันบริสุทธิ์ใสสะอาดปราศจากมลทิน

                         พระธำมรงค์วงนี้    มีประวัติเบื้องหลังอย่างงดงามยิ่ง

                         ในอดีต    สมเด็จพระชนกทรงประทานพระธำมรงค์วงนี้แด่สมเด็จพระราชชนนี    เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการทรงครองรักร่วมพระชนม์    ด้วยพระราชหฤทัยอันบริสุทธิ์ดุจน้ำเพชรเรือนหัวใจนั้น     และสมเด็จพระชนกชนนีก็ทรงมีพระชนม์ครองรักร่วมตลอดมาจวบจนวาระสุดท้ายแล้ว    สมเด็จพระชนกเสด็จทิวงคตเสียก่อนที่พระองค์จะได้ทรงโสมนัสกับความรุ่งโรจน์ของพระราชโอรสของพระองค์

                         พระธำมรงค์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    ทรงมอบแด่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิต    กิติยากร (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต   พระบรมราชินีนาถ)   เป็นของมีค่ายิ่งล้นจนประมาณมิได้ด้วยประการฉะนี้

                         พิธีมงคลเนื่องในงานวันเกิดล่วงพ้นไปเพียงวันเดียว   หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ   ในมหานครลอนดอนพากันพาดหัวข่าวว่า

                         กษัตริย์ไทยทรงหมั้นธิดาเอกอัครราชทูตไทยในกรุงลอนดอน   เมื่อวันที่  ๑๒  สิงหาคม

                     สำนักแถลงข่าวทางวิทยุ  บี.บี.ซี.  ของอังกฤษส่งข่าว   ทรงหมั้น   ได้ออกอากาศกระจายเสียงไปทั่วโลก    ในข่าวภาคพิเศษ   ใช้เวลาแถลงข่าวละเอียดนาน  ๑๕  นาที

                            สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงลอนดอนหลังข่าว   ทรงหมั้น    ได้กระจายออกไปแล้ว    เมื่อตอนค่ำของวันที่      กันยายน  พุทธศักราช   ๒๔๙๖

                         วันรุ่งขึ้น    มีผู้ไปแสดงความชื่นชมยินดีต่อหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิต    กิติยากร (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต   พระบรมราชินีนาถ)  และครอบครัวอย่างคับคั่ง    ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

                         ตอนบ่าย   มิสเตอร์เออร์เนสเบวิน   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอังกฤษ    ได้ไปแสดงความยินดีด้วยตนเอง

                         ตลอดวันมีกริ่งโทรศัพท์รัวเรียกไม่ขาดระยะปรากฏว่ามีผู้โทรศัพท์แสดงความยินดีมาจากภาคต่าง ๆ  ของประเทศอังกฤษทั้งคนรู้จักและไม่รู้จัก

                         ในระยะสองสามวันนั้น     หนังสือพิมพ์ในต่างประเทศโดยเฉพาะ   ในกรุงลอนดอน   ได้ลงข่าว   ทรงหมั้น    พาดหัวในหน้าแรก    และมีภาพหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิต    กิติยากร (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต   พระบรมราชินีนาถ)    ในอิริยาบถต่าง ๆ  สุดแต่ฉบับใดจะได้ภาพใหม่ที่สุดมาลงเป็นข่าวติดต่อเนื่องอยู่หลายวัน

                         ข่าวนี้ทำให้ประเทศไทยตื่นเต้นปิติไปทั่วเมือง    แต่คณะรัฐบาลไทยแถลงให้ประชาชนทราบว่า   ข่าวทรงหมั้นยังไม่มีมูลความจริง   เพราะได้สอบถามไปยังสำนักราชเลขา ฯ   ในพระองค์แล้ว    ตอบมาว่ายังมิได้ทรงหมั้น

                         เป็นอันว่า    ประชาชนชาวไทยตื่นเต้นยินดีเก้อไปครั้งหนึ่ง    เนื่องจากกระแสข่าวสับสนที่สุด    ต่อมาราชเลขานุการ   ในพระองค์ประจำ      นครโลซานน์   ประเทศสวิตเซอร์แลนด์   ได้รายงานมายังประเทศไทยว่า

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเตรียมประกอบพระราชพิธี   ทรงหมั้น    หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิต    กิติยากร    ธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตมงคล    กิติยากร   (ฐานันดรศักดิ์กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาท   ในขณะนั้น)    เอกอัครราชทูตไทยประจำสำนักเซนต์เยมส์    วันที่  ๑๙  กรกฎาคม   พุทธศักราช   ๒๔๙๒    เป็นพระราชพิธี     ทรงหมั้น    เป็นทางการ    ซึ่งจะประกอบพระราชพิธี       พระตำหนัก    วิลลาวัฒนา    นครโลซานน์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

                         อย่างไรก็ตาม    หลังจากมีข่าวสับสนไม่แน่นอนอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง      ทางสำนักราชเลขานุการในพระองค์ประจำประเทศไทยก็ได้รับรายงานจากราชเลขานุการประจำพระองค์ในนครโลซานน์     โดยทางโทรเลข    ลงวันที่     กันยายน   พุทธศักราช  ๒๔๙๒   มีความว่า

                         พระราชพิธีประกอบการหมั้นเป็นทางการระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ  กับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิต    กิติยากร    ได้ทรงกำหนดแน่นอนแล้วในวันที่   ๑๒   สิงหาคม      สถานทูตเอกอัครราชทูตไทย   ตำบลแอชเบอร์น    กรุงลอนดอน    ประเทศอังกฤษ   จึงแจ้งให้รัฐบาลทราบ   และประกาศแก่ประชาชนด้วย

                         ในการประชุมสามัญครั้งที่  ๒๐   ของสภาผู้แทนราษฎรแห่งราชอาณาจักรไทย     เมื่อวันที่     กันยายน    พุทธศักราช   ๒๔๙๒     ประธานสภาได้แจ้งเรื่อง   ทรงหมั้น    ให้ที่ประชุมทรงทราบ

                         สมาชิกสภา ฯ   ได้ยืนขึ้นปรบมือแสดงความปิติยินดีเป็นเวลานานหลายนาที

                         จากนั้น   รัฐบาลได้ประกาศให้ประชาชนทราบทั่วราชอาณาจักร    โดยแถลงทางวิทยุกระจายเสียง    ประชาชนได้ทราบแล้ว    พากันปลื้มปิติอย่างเหลือล้นพ้นประมาณ

                         ทั่วโลกพากันสนใจต่อข่าว   ทรงหมั้น    เป็นอันมาก     หนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษหลายฉบับอาทิ     เช่น   น.ส.พ.   สตาร์   ได้ขอสัมภาษณ์หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิต    กิติยากร (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต   พระบรมราชินีนาถ)    โดยโทรศัพท์ทางไกล    และลงข่าวพระราชพิธีหมั้น   ซึ่งประกอบขึ้นอย่างละเอียด     นับว่าชาวต่างประเทศสนใจในข่าว   ทรงหมั้น    ครั้งนี้เป็นอันมาก    และน.ส.พ.  ไทยทุกฉบับก็พากันเสนอข่าวนี้อย่างครึกโครมเช่นเดียวกัน

                         สรุปว่าหลังจากทรงประสบโชคร้าย   อุบัติเหตุ   แล้วพระองค์ก็ทรงมีโชคดี  คือ   ทรงหมั้น   ซึ่งทั้งสองอย่างนี้นับว่าเป็นข่าวใหญ่    ที่บรรลือไปทั่วโลกในรอบปี  ๒๔๙๑ ๒๔๙๒

       

       

      ....  เสด็จ     นิวัต.......

       

                         ในที่สุดวันเวลาเสด็จพระราชดำเนินนิวัตสู่ประเทศไทยได้ผ่านมาถึง    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช     ทรงพระราชกำหนดวันเสด็จพระราชดำเนินออกจากนครโลซานน์    ประเทศสวิตเซอร์แลนด์   ในวันที่   ๒๒   กุมภาพันธ์    พุทธศักราช   ๒๔๙๓

                         การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้     นับเป็นครั้งแรกที่พระองค์เสด็จ     โดยพระลำพัง    สมเด็จพระราชชนนี    มิได้ทรงร่วมขบวนด้วยทั้งนี้เพราะสมเด็จพระราชชนนีทรงประสบอุปัทวเหตุรถยนต์พระที่นั่งชนกับรถบรรทุกคันหนึ่ง     ขณะรถพระที่นั่งออกจากนครโลซานน์ไปยังปารีส    ทำให้พระองค์ทรงได้รับบาดเจ็บที่พระหัตถ์ซ้ายและพระกัประซ้าย     พระราชหฤทัยยิ่ง    ส่วนสมเด็จพระราชชนนีนั้นเล่า    ย่อมจะทรงบังเกิดความอาดูรพูนเทวษเป็นล้นพ้น     เนื่องด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเสด็จจากไปสิ้นทุกพระองค์    ทรงประทับอยู่    พระตำหนัก   วิลลาวัฒนา    โดยลำพังแต่พระองค์เดียว

                         สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเสด็จจากไปเปรียบได้คล้ายกับทรงขาดมิตรร่วมพระชนม์ดุจคติสามัญอันกล่าวว่า   บุตรย่อมเป็นมิตรในเรือนตน    ฉะนั้นพระตำหนัก    วิลลาวัฒนา    ซึ่งเคยได้ยินเสียงดนตรีไพเราะ    เป็นที่กล่อมพระราชหฤทัยให้ร่าเริงสำราญกลับจะเงียบเหงาเปล่าเปลี่ยว    เข้ามาแทนพระราชหฤทัยใดสมเด็จพระราชชนนี    จะทรงทวีทุกข์ระทมเทวษเทียบเท่าสถานไหน

                         ก่อนถึงวันเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช     ไม่กี่เพลานัก     สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกัลยาณีวัฒนา     พระพี่นางเธอได้เสด็จพระราชดำเนินล่วงหน้ามาก่อน    โดยเสด็จออกจากนครโลซานน์ทางรถยนต์มุ่งตรงไปยังกรุงปารีส     แล้วประทับเครื่องบินออกจาก     ที่นั้นสู่ประเทศไทยเป็นการด่วน

                         เหตุที่สมเด็จพระพี่นาง ฯ  มิได้ทรงร่วมขบวนเสด็จพระราชดำเนินโดยทางเรือ     เนื่องด้วยทรงรับพระราชกรณียกิจจากสมเด็จพระราชชนนีเป็นส่วนพระองค์อันเกี่ยวกับพระราชพิธี   ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในบรมโกศ    ซึ่งทรงร่วมดำเนินพิธีกับพระบรมวงศานุวงศ์เป็นการภายในโดยเฉพาะ    ในฐานะผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชชนนี

                         การเสด็จพระราชดำเนินนิวัตสู่ประเทศไทยครั้งนี้    คณะรัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จโดยเครื่องบินบนเป็นพระราชพาหนะ     เพื่อให้รวดเร็วทันกำหนดพระราชพิธีถวายพระเพลิง     พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ     อันได้ประกาศหมายกำหนดการให้อาราประชาราษฎรทราบโดยทั่วกันแล้ว

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    ทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จพระราชดำเนิน   โดยทางเรือเป็นพระราชพาหนะ    เนื่องด้วยพระองค์ทรงพระราชดำริว่า

                         ขบวนเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนี้      มีพระประยูรญาติและข้าราชบริพารติดตามเสด็จเป็นจำนวนมาก     หากเสด็จโดยทางเครื่องบินเป็นพระราชพาหนะ    จะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินซึ่งรัฐบาลได้จัดถวายค่าเดินทางนั้นเป็นอันมากโดยใช่เหตุ

                         รัฐบาลและประชาชนชาวไทย    ได้พากันเต็มตื้นในพระมหากรุณาธิคุณ    ซึ่งทรงห่วงใยในการสิ้นเปลืองของประเทศชาติ     มากกว่าทรงได้รับความสะดวกสบายในการเสด็จพระราชดำเนิน

                         การเสด็จพระราชดำเนินโดยทางเรือนั้นพระองค์จะต้องทราบประทับรอนแรมอยู่บนเรือเดินสมุทรเป็นระยะเวลานับเดือน    ท่ามกลางพื้นน้ำและแผ่นฟ้าอันเวิ้งว้างว่างเปล่าชวนให้เบื่อหน่ายเอือมระอายิ่งนัก      แต่พระองค์ทรงพระวิตกกังวลถึงผลเสียหายของส่วนรวมมากกว่าในส่วนพระองค์     ทั้งนี้ย่อมเป็นที่ตรึงตราอยู่ในความทรงจำชั่วกาลนาน

                         ครั้นถึง  วันที่   ๒๗  กุมภาพันธ์    พุทธศักราช   ๒๔๙๓    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช     ทรงกราบบังคมทูลลาสมเด็จพระราชชนนี     เสร็จแล้วเสด็จขึ้นประทับรถยนต์พระที่นั่ง   พร้อมด้วยหม่อมราชวงศ์หญิง   สิริกิติ์   กิติยากร   (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ)    หม่อมเจ้านักขัตมงคล    กิติยากร  (กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาท)   หม่อมหลวงบัว   กิติยากร   หม่อมราชวงศ์หญิงบุษบา   กิติยากร   และข้าราชบริพารอีกจำนวน   ๑๖   คน    ติดตามเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศฝรั่งเศส   เพื่อทรงลงประทับเรือเดินสมุทร      ประเทศนั้น

                         ขณะที่รถยนต์พระที่นั่งเคลื่อนออกจากพระตำหนัก   วิลลาวัฒนา    กองตำรวจยานยนต์ชั้นเยี่ยมซึ่งทางรัฐบาลสวิสส์ส่งมาถวายความอารักขาคุ้มกันจำนวน   ๗๐  นาย     ได้ขับขี่ยานยนต์นำเสด็จพระราชดำเนิน     และติดตามเสด็จไปเบื้องหลังอีกหมู่หนึ่ง     ท่ามกลางการแสดงโห่ร้องอวยชัยถวายพระพรของชาวสวิสส์ตลอดระยะทางจนสุดพรมแดนสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส

                            เขตปักปันพรมแดนนั้น    รัฐบาลฝรั่งเศสได้จัดส่งกองตำรวจยานยนต์จำนวน   ๕๐   นาย   มาคอยรับเสด็จอยู่     เมื่อขบวนเสด็จพระราชดำเนินมาถึง      กองตำรวจยานยนต์ฝรั่งเศสถวายคำนับ    แล้วขับขี่ยานยนต์นำและติดตามขบวนเสด็จถวายความอารักขาคุ้มกันแทนกองตำรวจสวิสส์    ซึ่งหมดหน้าที่ถวายความอารักขา    เส้นสุดพรมแดนนั้น

                         ขบวนเสด็จพระราชดำเนินมุ่งสู่ท่าเรือ   วิลฟรังซ์    ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส     ที่นั้นมีกลุ่มนักเรียนไทยในอังกฤษ ,  ฝรั่งเศส   และสวิตเซอร์แลนด์    ล่วงหน้ามาคอยส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชอยู่แล้วโดยพร้อมเพรียงกัน

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   พระราชทานพระหัตถ์แก่เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสสัมผัสและมีกระแสพระราชดำรัสปฏิสันถารกับผู้มาส่งเสด็จทั่วหน้าทรงแย้มพระสรวล    พระพักตร์สดชื่นต่อทุกผู้อย่างสนิทสนมเป็นอันดี

                         ครั้นแล้วพระองค์เสด็จพระราชดำเนินนำขบวนติดตามเสด็จขึ้นประทับยังพระราชพาหนะเรือเดินสมุทร    ซีแลนเดีย   ซึ่งจอดเทียบรอรับเสด็จอยู่     ท่าเรือ   วิลฟรังซ์  นั้น

                         บนเรือเดินสมุทร   ซีแลนเดีย   เจ้าหน้าที่ประจำเรืออันมีกัปตันเป็นหัวหน้า    ได้จัดแถวรับเสด็จและแนะนำถวายตัวแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   เพื่อให้ทรงรู้จักเจ้าหน้าที่เหล่านั้นเป็นรายตัวบุคคล

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   พระราชทานพระหัตถ์ให้เจ้าหน้าที่ประจำเรือ  ซีแลนเดีย   สัมผัสและทรงปฏิสันถารโดยทั่วกัน

                         ซีแลนเดีย    เป็นเรือเดินสมุทรขนาดกลางของบริษัท  อีสท์เอเซียติด   ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงของชาวเดนมาร์ค    มาดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทยนานเก่าแก่หลายชั่วรัชกาล    ด้วยความสำนึกกตัญญูรู้คุณพระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย    ปกเกล้าปกกระหม่อมให้กิจการเจริญรุ่งเรืองมาด้วยดีโดยตลอด

                         ดังนั้นการเสด็จพระราชดำเนินนิวัตสู่ประเทศไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชครั้งนี้    เป็นโอกาสอันดีที่บริษัท   อีสท์เอเซียติค    ได้จัดเรือเดินสมุทร   ซีแลนเดีย    เป็นพระราชพาหนะซึ่งเป็นเรือที่ดีและเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะหาได้ในโอกาสนั้น    พร้อมด้วยการจัดเครื่องประดับรับรอง    ตลอดจนสั่งให้เจ้าหน้าที่ประจำเรือคอยเอาใจใส่อำนวยความสะดวกสบาย    ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   และพระประยูรญาติข้าราชบริพารที่ติดตามเสด็จพระราชดำเนินเป็นกรณีพิเศษอย่างยิ่ง

                         ครั้นได้กำหนดเวลา   เรือเดินสมุทร   ซีแลนเดีย    ก็ใช้ฝีจักรเคลื่อนออกจากท่าเรือ   วิลฟรังซ์    อย่างแช่มช้า

                         เสียงไชโยถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ดังกึกก้องจากกลุ่มชาวไทยในต่างประเทศกลุ่มน้อยนั้น     เป็นการแสดงความจงรักภักดีในพระองค์อย่างอบอุ่นยิ่งชาวต่างประเทศจำนวนไม่น้อยได้พากันแสดงความชื่นชมยินดีร่วมด้วย

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   ประทับอยู่บนดาดฟ้าชั้นพิเศษ    พร้อมด้วยหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์  (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ)    เคียงข้างพระองค์อย่างใกล้ชิด    ทรงโบกพระหัตถ์อำลาผู้ส่งเสด็จอยู่ตลอดเวลา

                         เรือเดินสมุทร  ซีแลนเดีย    พระราชพาหนะค่อย ๆ   เคลื่อนห่างจากท่า  วิลฟรังซ์    ท่ามกลางเพลงสรรเสริญพระบารมีที่บรรเลงออกมาจากเครื่องขยายเสียงประจำเรือเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ไทย

                         เรือเดินสมุทร  ซีแลนเดีย   ใช้ฝีจักรเดินทางจากยุโรปมุ่งหน้าสู่ตะวันออกไกลรอนแรมมาในมหาสมุทรและตามเมืองท่าต่าง ๆ   ตามเส้นทางเท่าที่จำเป็น

                         ปรากฏว่าเส้นทางของ   ซีแลนเดีย    เที่ยวนี้ได้กำหนดขึ้นเป็นพิเศษ    เพื่อให้การเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ได้เป็นไปโดยรวดเร็วยิ่งขึ้น   ซีแลนเดีย    จึงตัดเมืองท่าออกจากแผนทางเดินเรือเสียหลายแห่ง     แวะจอดเมืองท่าที่สำคัญ ๆ  เท่านั้นเพื่อรับเสบียงและน้ำมันเชื้อเพลิง     การรับส่งสินค้าและผู้โดยสารอื่นน้อยที่สุด    กัปตันเรือ  ซีแลนเดีย    ได้ส่งวิทยุบอกข่าวล่วงหน้ามายังประเทศไทยทุกระยะที่เรือผ่าน

                         จากมหาสมุทรแอตแลนติด    เรือซีแลนเดียได้แล่นเข้าคลองสุเอช    ประเทศอียิปต์   จากคลองสุเอชมุ่งตรงสู่มหาสมุทรอินเดีย      หลังจากนั้นได้ล่องสู่มหาสมุทรอินเดียรอนแรมมาในท่ามกลางมหาสมุทรเป็นเวลาหลายวัน    เรือซีแลนเดีย    ก็ได้มาปรากฏลอยลำอยู่     อ่าวหน้าเมืองโคลัมโบ   เมื่อวันที่   ๑๕   มีนาคม   พุทธศักราช   ๒๔๙๓

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  และหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์   กิติยากร   พร้อมด้วยข้าราชบริพารผู้ติดตามได้เสด็จประพาสเมืองโคลัมโบ     เพื่อทอดพระเนตรดูบ้านเมืองและได้เสด็จไปยังวัดโรธารนาในเมืองนั้น    และได้ทรงปลูกต้นจันทน์เพื่อเป็นอนุสรณ์     การที่ได้ทรงปลูกต้นจันทน์ก็โดยเหตุผลที่พระองค์ทรงพระราชสมภพในวันจันทร์   และนอกจากนั้นต้นจันทน์เป็นต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมมีรูปสวยงามทั้งเป็นไม่แก่นมีอายุได้ยืนนาน     เหตุนี้ทั้งสองพระองค์จึงได้ร่วมกันทรงปลูกต้นจันทน์ไว้เป็นอนุสรณ์

                            เมืองโคลัมโบ   ในวันนั้นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่     มีเซอร์จอห์นโคโตลาวาได้จัดการต้อนรับเสด็จ    และถวายอารักขาอำนวยความสะดวกความปลอดภัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและคณะเป็นอย่างดียิ่ง     ทั้งได้ทูลเชิญเสวยพระกระยาหารเป็นพิเศษอีกด้วย

                         ครั้งได้เวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ได้ทรงอำลาบรรดาข้าราชการผู้มีเกียรติ   จากนั้นเรือ   ซีแลนเดีย    ก็ได้ค่อย ๆ เคลื่อนออกจากโคลัมโบมุ่งตรงไปยังสิงคโปร์     เรือก็ได้เข้าเทียบท่าเมืองสิงคโปร์ในวันที่   ๒๐   มีนาคม   เดือนเดียวกัน       ที่นี้ทางราชการอังกฤษได้จัดการต้อนรับเสด็จอย่างสมพระเกียรติ     ในขณะที่เรือซีแลนเดียแล่นเข้าเทียบท่าอย่างแช่มช้า    ปืนใหญ่อังกฤษก็ยิงสลุตถวายคำนับ   ๒๑   นัดตามประเพณีการต้อนรับแขกเมืองผู้สูงสุด     พอเรือ   ซีแลนเดีย   เทียบท่า    แตรวงทหารอังกฤษก็กระหึ่มขึ้นบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี

                         ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    และหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์   กิติยากร    ได้เสด็จพระราชดำเนินลงจากเรือพระที่นั่ง   ซีแลนเดีย  นั้น   นายมัลคอล์ม   แมค   โดนัลด์   ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำสิงคโปร์และภริยา   ได้ขึ้นไปถวายคำนับรับเสด็จบนสะพานเดินเรือ    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    และหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์   กิติยากร   ได้พระราชทานพระหัตถ์ให้ข้าหลวงอังกฤษและภริยาสัมผัส   ภริยาของข้าหลวงอังกฤษ   ได้ถวายช่อดอกไม้แด่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์   กิติยากร    หลังจากนั้นได้เสด็จตรวจพลทหารกองเกียรติยศ    เสร็จแล้วเสด็จขึ้นประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังจวนข้าหลวงและได้ไปประทับอยู่     พระราชวังของสุลต่านแห่งยะโฮร์   ในเมืองสิงคโปร์เป็นเวลา     วันในฐานะแขกผู้มีเกียรติ

                         ขณะนั้นประเทศไทยได้รับโทรเลขด่วนจากกงสุลไทยในสิงคโปร์แจ้งว่า  เรือพระที่นั่ง  ซีแลนเดีย    พระราชพาหนะโดยเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    ออกจากสิงคโปร์แล้ว    จะเข้าสู่น่านน้ำประเทศไทยในเช้าตรู่วันที่   ๒๔   มีนาคม   พุทธศักราช   ๒๔๙๓

                         รัฐบาลไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้จัดขบวนรับเสด็จอย่างสมพระเกียรติ     โดยส่งเรือรบหลวงแห่งราชนาวีจำนวนหนึ่งออกไปรับ    อันมีเรือรบหลวง  รัตนโกสินทร์   เป็นเรือพระที่นั่งรับเสด็จ    และเรือรบหลวงอื่น ๆ  อีก    ลำ    ใช้ฝีจักรออกไปรับเสด็จ     กลางทะเลหลวง

                         วันที่   ๒๔   มีนาคม   พุทธศักราช   ๒๔๙๓   เวลา   ๐๓.๐๐  น.   กองเรือรบหลวงดังกล่าวได้ใช้ฝีจักรออกจากฐานทัพกองเรือยุทธการสัตหีบ    มุ่งหน้าไปสู่เส้นทางเดินของเรือซีแลนเดีย    เพื่อเข้าร่วมนำขบวนเสด็จพระราชดำเนินสู่กรุงเทพพระมหานคร 

                         รุ่งอรุณเมื่อเวลา  ๐๕.๐๐   นาฬิกา     หลังจากกองเรือรบหลวงรับเสด็จใช้ฝีจักรฟันฝ่าความมืดแห่งรัตติกาล    ผ่านไปเป็นเวลา     ชั่วโมงเศษ

                         ท้องฟ้าเริ่มสว่างด้วยแสงเงินแสงทองของดวงอาทิตย์ยามจะใกล้รุ่งทัศนวิสัยปลอดโปร่งมองเห็นภูมิภาพในระยะไกล   เรือเดินสมุทรซีแลนเดียปรากฏขึ้น      ขอบฟ้าไกลสุดสายตา

                         กองเรือรบหลวงรับเสด็จ     ได้เริ่มเร่งฝีจักร   และได้รายงานเพื่อให้ทางกรุงเทพพระมหานคร ฯ  ได้ทราบ

                         และได้พบเรืองซีแลนเดียห่างไปจากเกาะไผ่ไปทางด้านทิศตะวันตกประมาณ   ๑๒  ไมล์   เวลา  ๐๕.๐๐  น.   กองทัพอากาศไทยเมื่อได้รับรายงานเช่นนั้น    จึงมีคำสั่งให้เครื่องบินจำนวน   ๑๑   เครื่องทะยานสู่ท้องฟ้า   มุ่งไปยัง   จุดนับพบ    ตามที่วิทยุได้รายงานมาทันทีเพื่อเป็นการรับเสด็จ

                         ฝ่ายกองทัพเรือไทยให้กองเรือรบหลวงเตรียมการรับเสด็จอย่างเต็มที่    พอเรือพระที่นั่งซีแลนเดียปรากฏลำใกล้เข้ามาในระยะพอสมควรก็ได้ทำการยิงสลุตถวาย   ๒๑   นัด   ตามพระราชประเพณี    ต่อจากนั้นก็ได้แปรริ้วขบวนเข้าห้อมล้อมเรือพระที่นั่งโดยรอบ    โดยเรือรบหลวงรัตนโกสินทร์ใช้ฝีจักรวิ่งนำขบวนเสด็จพระราชดำเนินสู่ท่าจอดเรือเดินสมุทรเกาะสีชัง

                         เมื่อเรือพระที่นั่งซีแลนเดียเทียบท่าเกาะสีชังเรียบร้อยแล้ว    เรือรบหลวงรัตนโกสินทร์ก็เข้าเทียบข้าง   จอมพล  ป.พิบูลสงคราม   อดีตนายกรัฐมนตรีหัวหน้ารัฐบาลในนามของประชาชนชาวไทยได้ขึ้นไปบนเรือซีแลนเดียถวายคำนับแล้วกราบบังคับทูลอัญเชิญเสด็จประทับเรือพระที่นั่งเรือรบหลวง   รัตนโกสินทร์    เพื่อเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่กรุงเทพพระมหานคร ฯ  ต่อไป

                         กัปตันเรือซีแลนเดียพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่แผนกต่าง ๆ  ประจำเรือได้เข้าแถวถวายคำนับเป็นการรับส่งเสด็จ

                         ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    และหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์   กิติยากร    (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ)   ได้ทรงมีพระราชดำรัสอำลาเจ้าหน้าที่ที่ได้มาคอยเฝ้ารับเสด็จนั้น   และพระราชทานพระหัตถ์ให้สัมผัส

                         ในโอกาสเดียวกันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ฝ่ายเจ้าหน้าที่สำคัญประจำเรือ   ซีแลนเดีย   โดยทั่วถึงกัน   ตลอดเวลาที่พระองค์ประทับอยู่บนเรือ  ซีแลนเดีย   เจ้าหน้าที่ได้อำนวยความสะดวกสบายถวายอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ

                         จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    และหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์   กิติยากร   (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ)    พร้อมด้วยพระประยูรญาติและข้าราชบริพารในขบวนเสด็จ ฯ  ได้เสด็จจากเรือ  ซีแลนเดีย   ไปประทับ    เรือรบหลวงพระที่นั่ง   รัตนโกสินทร์

                         ครั้นแล้วเหล่าเรือรบหลวงได้แปลขบวนแซงแวดล้อมนำเรือรบหลวงพระที่นั่ง   รัตนโกสินทร์   แล่นนำเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่กรุงเทพพระมหานคร ฯ

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    และหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์   กิติยากร    (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ)   พร้อมด้วยพระประยูรญาติทรงร่วมเสวยพระกระยาหารเช้าบนเรือรบหลวงพระที่นั่ง  รัตนโกสินทร์    โดยฝ่ายคณะเจ้าหน้าที่บนเรือจัดทูลเกล้า ฯ  ถวาย  เสร็จแล้วนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเข้าเฝ้าทูลเกล้า ฯ   ถวายเครื่องยศจอมทัพเรือแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   

                         พอเวลาประมาณใกล้เที่ยงวัน   เรือรบหลวงพระที่นั่ง  รัตนโกสินทร์   ได้ล่วงเข้าสู่ปากอ่าวไทย    บริเวณใกล้สันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเนืองแน่นไปด้วยเรือใหญ่น้อยเกือบทุกชนิด   จากเรือยนต์  เรือใบไปจนถึงเรือพายได้พากันไปคอยรับเสด็จ    แสดงความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   

                         พอเรือรบหลวงพระที่นั่ง  รัตนโกสินทร์   นำขบวนเสด็จผ่านมาถึงเสียงประชาชนโห่ร้องด้วยความปลื้มปิติ    และกล่าวคำถวายพระพรดังกึกก้องอึงมี่ระคนกับเสียงหวูดของเรือยนต์กลไฟใหญ่น้อยทั้งปวง    ที่เปิดถวายคำนับก้องกังวานอึงคะนึงไปทั่วท้องน้ำ     ประกอบด้วยเสียงกระหึ่มครางของเครื่องบินที่ร่อนถลาลงมาในระยะต่ำ    เพื่อถวายความเคารพสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    บังเกิดความโกลาหลอันน่าชื่นชม   นับเป็นประวัติการณ์ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนเลย

                         ทัศนียภาพดังกล่าวนี้    ย่อมเป็นที่ซาบซึ้งตื้นตันในราชหฤทัยแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    เป็นยิ่งนัก    พระองค์ประทับอยู่บนหอบังคับการ     สะพานเดินเรือเบื้องกราบขวา    โดยมีหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์   กิติยากร    (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ)  เคียงคู่อยู่ใกล้ชิดพระองค์ตลอดเวลา    ทรงโบกพระหัตถ์ทักทายประชาชนด้วยพระพักตร์เบิกบานยิ้มแย้มอิ่มเอิบยิ่ง

                         เรือพระที่นั่งค่อย ๆ  ชะลอฝีจักรช้าลง    เพื่อให้ประชาชนได้เข้าเฝ้าชมพระบารมีโดยใกล้ชิด    หมู่เรือยนต์กลไฟของประชาชนเข้าห้อมล้อมเรือพระที่นั่งไว้รอบด้าน   และร่วมติดตามเสด็จพระราชดำเนินมาด้วยอย่างเนืองแน่นคับคั่งถึงหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการประมาณ  ๑๒.๐๐  น.    เรือพระที่นั่งจึงชะลอเข้าเทียบ ณ ท่าน้ำ   หน้าศาลากลางจังหวัดนั้น

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงจุดธูปเทียนนมัสการบูชาพระเจดีย์กลางน้ำปูชนียสถานโบราณอันสำคัญแห่งหนึ่งของชาติไทย    เสร็จแล้วทรงร่วมเสวยพระกระยาหารกลางวันพร้อมด้วยหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์   กิติยากร    (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ)   และพระประยูรญาติ

                         ขณะนั้นประชาชนชาวสมุทรปราการได้มาชุมนุมเฝ้าถวายพระพรและชมบารมีอยู่อย่างล้นหลามทั้งทางน้ำและทางบก

                         ครั้นแล้ว   เรือพระที่นั่งก็ใช้ฝีจักรออกจากจังหวัดสมุทรปราการอย่างช้า ๆ  เป็นการประวิงเวลาให้ถึงกรุงเทพพระมหานคร ฯ  ตรงตามหมายกำหนดการเวลา  ๑๔.๓๐  นาฬิกา   

                         ในระหว่างนั้น    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   ทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์จากชุดสากล   ทรงเครื่องยศจอมทัพเรือ   แล้วเสด็จประทับอยู่      สะพานเดินเรือเบื้องกราบขวาหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์   กิติยากร    (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ)   อยู่ในชุดกระโปรงสีขาวนวลเสื้อคลุมคอปกสีฟ้า    เคียงคู่พระองค์อย่างใกล้ชิด

                         ตลอดระยะทาง   มีประชาชนเฝ้า ฯ  รับเสด็จอยู่คับคั่งทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา   ทุกวัดวาอารามพระสงฆ์ตั้งโต๊ะหมู่บูชา   สวดถวายพระพรชัยมงคลคาถา    ทีฆายุโกโหตุ    มหาราชา

                         ๑๔.๓๐    นาฬิกา   เรือรบหลวงพระที่นั่ง   รัตนโกสินทร์    มาลอยลำปรากฏอยู่เบื้องหน้าท่าราชวรดิตถ์ ฯ  ตามกำหนดการ  และค่อย ๆ  ชะลอฝีจักรเข้าเทียบท่าฉนวนน้ำได้อย่างสง่าผ่าเผยงดงามยิ่ง

                         บัดนั้น    ปืนใหญ่แห่งกองทัพบกและกองทัพเรือยิงสลุตถวายคำนับรับเสด็จฝ่ายละ   ๒๑   นัด   ประชาชนที่มาคอยรับเสด็จ    บริเวณนั้น    ต่างเปล่งเสียงไชโยและถวายพระพร   ขอจงทรงพระเจริญ    ดังสนั่นอึงคะนึงทั่วบริเวณปานประหนึ่งพื้นพสุธาหวั่นไหว

                         นายกรัฐมนตรี   หัวหน้าคณะรัฐบาล   กราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จจากเรือพระที่นั่งขึ้นสู่พระมหานคร   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   ในฉลองพระองค์เครื่องยศจอมทัพเรือ    เสด็จพระราชดำเนินลงสู่เกย   ไปยังพระพลับพลาท่าฉนวนน้ำ     หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์   กิติยากร    (สมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ)   ติดตามโดยกระชั้นชิด    แตรวงกองดุริยางค์ทหารเรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีถวาย

                           พลับพลานั้น    คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบรมวงศานุวงศ์    คณะอภิรัฐมนตรี    คณะรัฐมนตรี   สมาชิกวุฒิสภา ฯ   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตลอดจนคณะทูตานุทูต   เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ตามตำแหน่ง

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นประทับบนพลับพลา   ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์กราบบังคมทูล     รับเสด็จแทนพระบรมวงศานุวงศ์เสร็จแล้วนายกรัฐมนตรี    กราบบังคมทูลรับเสด็จในนามคณะรัฐบาล   สมาชิกวุฒิสภา    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประชาชนชาวไทย

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    พระราชทานกระแสพระราชดำรัสตอบขอบใจ   เสร็จแล้ว   เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังวัดพระศรีรัตนศาสนาราม    ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง   ทรงจุดธูปเทียนนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร     เสร็จแล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท    ทรงจุดธูปเทียนนมัสการบูชาพระบรมอัฐิ     และพระอัฐิพระราชบุพการีแล้วเสด็จ   โดยรถยนต์พระที่นั่งออกจากพระบรมมหาราชวังไปประทับ     พระราชตำหนักจิตรลดารโหฐาน

                         ตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน    ประชาชนเรียงรายรับเสด็จเนืองแน่นเพื่อคอยเฝ้า ฯ  ทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรด้วยความจงรักภักดี    และเพื่อที่จะได้ยลพระสิริโฉมอันพิไลลักษณ์ของคู่หมั้นร่วมพระชนม์ชีพ    ในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    โดยทั่วกัน

                         เป็นที่น่าสังเกตว่า    การเสด็จพระราชดำเนินนิวัตสู่ประเทศชาติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในครั้งนี้    ปวงอาณาประชาราษฎรพากันตื่นเต้นปีติยินดีเป็นอันมาก    ตั้งแต่เช้าตรู่วันที่   ๒๔   มีนาคม   พุทธศักราช   ๒๔๙๒    ประชาชนจำนวนมาก    ได้พากันจัดเรือยนต์    เรือใบออกไปรับเสด็จถึงสันดอนนอกปากน้ำเจ้าพระยา    ท่ามกลางแสงแดดอันแผดกล้าร้อนระอุ   และติดตามเรือพระที่นั่งขบวนเสด็จเข้ามายังพระมหานครเป็นเวลานานหลายชั่วโมง    โดยมิได้มีผู้ใดย่อท้อต่อเปลวแดดอันอันแผดเผาและความหิวโหย

                         ความจงรักภักดีของประชาชน    ซึ่งมีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    แสดงออกให้ประจักษ์ด้วยประการฉะนี้

       

       

      ....  ทรงอภิเษกสมรส.......

       

                         หลังจากประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลแล้ว   ทางสำนักพระราชวังได้รับพระราชกระแสรับสั่งให้จัดเตรียมพิธีอภิเษกสมรสเป็นอันดับแรก   และบรมราชาอภิเษกในอันดับต่อไป    และในพระราชพิธีนี้รัฐบาลได้อนุมัติเงิน      แสนบาท   ให้แก่สำนักพระราชวังเพื่อใช้จ่ายในพระราชพิธีอภิเษกสมรส   และพิธีบรมราชาภิเษกด้วย

                         กำหนดวันอภิเษกสมรสได้จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่   ๒๘    เมษายน   พุทธศักราช   ๒๔๙๓   ส่วนวันราชาภิเษกนั้นกำหนดให้มีขึ้นตั้งแต่วันที่          ถึงวันที่      พฤษภาคม   เฉพาะวันที่      พฤษภาคม    เป็นวันสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกระทำพิธีราชาภิเษกขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ   พร้อมกับได้ทรงสถาปนาพระราชินีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินีดังรายละเอียดต่อไปนี้.-

                         พระราชพิธีอภิเษกสมรสนี้    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ  ผ่านไปทางสำนักราชเลขาธิการ   ในพระองค์สั่งให้นายควง   อภัยวงศ์   ส.ส.พระนคร   ม.ร.ว. เสนีย์   ปราโมช    ส.ส.  พระนคร   นายเกษม   บุญศรี   ประธานสภาผู้แทนราษฎร   ส.ส. นครสวรรค์   และนายยกเสียง    เหมภูติ   ส.ส.ระนอง    เป็นผู้เข้าเฝ้าถวายน้ำมุรธาภิเษกในพระราชพิธี   ในฐานตัวแทนของปวงประชาราษฎรชาวไทย   ส่วนทางวุฒิสภานั้น    ผู้แทนซึ่งได้ถูกเลือกเข้าร่วมในพระราชพิธีได้แก่    พระยาอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์     พลโท  พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร     พลโท  พระยาศรีศรราชภักดี   และพระยาอัชราชทรงสิริ

                         ในวันที่   ๒๘   เมษายน   อันเป็นวันพระราชพิธีอภิเษกสมรส    ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และ  ม.ร.ว. หญิง  สิริกิติ์    ด้วยนั้น    หนังสือพิมพ์ภายในประเทศหลายฉบับพากันเสนอข่าวตรงกันว่า  ม.ร.ว. หญิง  สิริกิติ์   จะได้เลือกสีประจำวันสำหรับการแต่งพระองค์แบบไทยคือสีฟ้าสดในวันนี้ด้วย

                         พระราชพิธีอภิเษกสมรสนี้มีกำหนดพิธีอย่างพิสดารอย่างหนึ่ง   กล่าวคือ    เพื่อนเจ้าสาวต้องอุ้มไก่ขาวถือไม้เท้าผีสิงและหญิงรูปงาม    อุ้มแมวสีสวาท   และเชิญพระแสงศาสตราวุธ   บรรดาเพื่อนเจ้าสาวเหล่านี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ    กรมขุนชัยนาทเรนทร   กับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเป็นผู้ทรงเลือก

                     สาวงามทั้งสามได้แก่   ม.จ. หญิงเฟื่องฉัตร    ฉัตรไชย    พระธิดากรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน  (เชิญไม้เท้าผีสิง)    ม.จ. หญิง   รังสีนพดล   ยุคล   พระธิดาพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล   และ   ม.จ. หญิง   วุฒิเฉลิม    วุฒิชัย   พระธิดากรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร  (ทั้งสององค์นี้เป็นผู้เชิญพระแสงศาสตราวุธ)

                         เพื่อนสาวราชินีได้แก่   ม.ร.ว. หญิง  กิติวัฒนา   พระธิดา  ม.จ. วิวัฒไชย   ไชยยันตร์   ได้รับตำแหน่งอุ้มแมวสีสวาท   ม.ร.ว. หญิง   พวงแก้ว   ชุมพล   พระธิดา  ม.จ. อุปสีสาณ  ชุมพล   เป็นผู้เชิญพานพระศรีพร้อมด้วย  ม.ร.ว. หญิง   ประสาสน์ศรี   ดิศกุล    ม.ร.ว. นิต้า   เกษมสันต์   และ  ม.ร.ว. หญิง  แห่งตระกูลเทวกุลอีกสองคน

                         ๒๘   เมษายน   พุทธศักราช   ๒๔๙๓   เวลา   ๙.๓๐  น.   วันและเวลาดังกล่าวนี้คือ   วาระแห่งพระราชพิธีอภิเษกสมรส  (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า   วันราชาภิเษกสมรส   ตามแบบอย่างของกรมโฆษณาการ)   ได้กระทำขึ้น      วังสระปทุม   ท่ามกลางการต้อนรับอย่างมโหฬารของประชาชนชาวไทยบรรยากาศทุกแห่งในกรุงเทพ ฯ  ประการหนึ่งจะห้อมล้อมไปด้วยความอบอุ่น    อาคารบ้านเรือนทุกแห่งถูกตกแต่งประดับประดาไปด้วยธงทิวและตามประทีปโคมไฟ    แลดูสดชื่นรื่นเริงกันไปทั่ว

                         เวลานั้น   ๙.๓๐  น.   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและหม่อนราชวงศ์หญิง  สิริกิติ์   กิติยากร  ได้เข้าสู่พระราชพิธีอภิเษกสมรส    ต่อพระพักตร์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา   บรมราชเทวี   พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า  และพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสก็ได้ดำเนินไปตามกฎหมาย  คือ  ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์บรรพ 

                         ต่อจากนั้น     สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในสมุดทะเบียนสมรส   และได้โปรดให้  หม่อนราชวงศ์หญิง  สิริกิติ์   กิติยากร  ลงนามในทะเบียนนั้นเป็นบุคคลที่สองและแล้วหม่อมเจ้านักขัตมงคล   กิติยากร   ทรงลงพระนามในฐานะ   พระบิดา   ให้ความยินยอมการสมรสตามกฎหมาย   เนื่องจาก   ม.ร.ว. หญิงสิริกิติ์   กิติยากร   ยังไม่บรรลุนิติภาวะแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ   ให้ราชสักขีลงนามด้วยเป็นเสร็จพระราชพิธีนี้

                         สมุดทะเบียนสมรสนี้    บริษัทคณะช่างจำกัดเป็นผู้จัดทำขนาดเท่ากับสมุดจดทะเบียนสมรสธรรมดา    แต่ปกทำด้วยหนังแกะแท้สีเหลือง    เช่นเดียวกันกับธงมหาราชเป็นสันนูนอ่อนนุ่ม    อักษรบนปกเดินตัวทอง    มีพระครุฑพ่าห์สีแดงตอนบน   สันหุ้มด้วยหนังสีน้ำตาล    ในเล่มมีกระดาษเพียงแผ่นเดียว   และมีด้วยกันสองเล่มสมุดจริงและสำเนา

                         หลังจากพระราชพิธีได้ปฏิบัติตามนิติประเพณีได้ผ่านไปแล้ว    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นประทับยังห้องราชพิธีบนพระตำหนักพร้อมด้วย   ม.ร.ว. หญิง   สิริกิติ์    ที่นั่น    สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า   ได้เสด็จออกถวายน้ำพุทธมนต์เทพมนต์    แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระองค์แรก  และ  แล้วได้ทรงรดน้ำพุทธมนต์เทพมนต์เช่นเดียวกันแด่ ม.ร.ว. หญิง สิริกิติ์   อีกด้วย

                         สืบต่อมาในวาระเดียวกันนี้เองประเทศไทยได้   สมเด็จพระราชินีองค์ใหม่เป็นมิ่งขวัญ   อาลักษณ์อ่านประกาศ   สถาปนา   สมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็น   สมเด็จพระราชินี    ในพระราชวโรกาสนี้    สมเด็จพระราชินี   ผู้ซึ่งเมื่อวันที่  ๒๖  เมษายน      พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็น  ม.ร.ว. หญิง สิริกิติ์   ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า    แต่ในวันนี้ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์สูงสุดยิ่งนัก    คือได้รับพระราชทานขัตติยราชอิสริยาภรณ์มหาจักรี    บรมราชวงศ์   และประกาศที่อาลักษณ์ได้อ่านนั้น   มีข้อความดังต่อไปนี้ .-

       

      สถาปนา   ม.ร.ว. หญิง  สิริกิติ์   กิติยากร   เป็นราชินี

                         มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ   ให้ประกาศว่าโดยที่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับ ม.ร.ว. หญิง สิริกิติ์   กิติยากร    ถูกต้องตามกฎหมายและราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว   จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนา   ม.ร.ว. หญิง  สิริกิติ์  พระอัครมเหสีเป็นสมเด็จพระราชินี  สิริกิติ์   ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยศฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                         ประกาศ    วันที่   ๒๘  เมษายน   พุทธศักราช  ๒๔๙๓   เป็นปีที่    ในรัชกาลปัจจุบัน

                                                                                                 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

                                                                                 จอมพล  ป. พิบูลสงคราม

                                                                                       นายกรัฐมนตรี

                        

                         เมื่อพระราชพิธีราชอภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณีผ่านไปแล้ว    พระบรมวงศานุวงศ์และพระญาติใกล้ชิดได้ทูลเกล้าถวายของขวัญแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี   ครั้นแล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ   พระราชทานของที่ระลึกตอบแทน   คือ   หีบเงินขนาดเล็กมีพระปรมาภิไธยคู่ปรากฏบนหีบนั้น

                         ภายหลังเมื่อเสร็จจากพระราชพิธี       วังสระปทุม   ตามโบราณราชประเพณีแล้ว   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จออก      มหาสมาคม   เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์   และข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในวันเดียวกันเวลา   ๑๖.๓๐  น.   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี   เสด็จออกประทับเหนือพระราชอาสน์     พระที่นั่งไพศาลทักษิณ   มหินทรพิมาน   ในพระบรมมหาราชวัง

                         ตั้งแต่เวลา   ๑๕.๐๐  น.   บริเวณพระบรมมหาราชวังเนืองแน่นไปด้วยข้าราชการ    และพระบรมวงศานุวงศ์อยู่ในเครื่องแต่งกายเต็มยศ    ส่วนสุภาพสตรีในเครื่องเต็มยศชุดผ้ายกไหมไทยเป็นส่วนมาก   ที่สำหรับเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท   แบ่งออกเป็นสองตอน    ตอนบนคือพระที่นั่งไพศาลทักษิณเป็นที่เฝ้าสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์    รองลงมาคือ   พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเป็นที่เฝ้าของข้าราชการและคณะทูตานุทูต

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   ในฉลองพระองค์ชุดจอมทัพเรือ    มีพระพักตร์สดชื่นและทรงพระสรวลเล็กน้อยกับจอมพล  ป. พิบูลสงคราม   นายกรัฐมนตรีซึ่งอยู่ในชุดจอมพล    สวมเสื้อคลุมขลีบคอและแขบด้วยตาดทอง    ส่วนสมเด็จพระราชินีทรงฉลองพระองค์ชุดสีฟ้าอ่อน    กระโปรงแบบไทย   เป็นผ้ายกพื้นสีฟ้า    ยกดิ้นเงินยาวกรอมพระบาทซึ่งสวมอยู่ในพระบาทสีเงิน    ส่วนฉลองพระองค์นั้นเป็นต่วน    พันนิ่ม    สีเดียวกัน   ยาวรัดที่ข้อพระหัตถ์ทั้งสองข้างมีปกประดับด้วยดิ้นเงิน

                         สมเด็จพระราชินีประดับพระวรกายด้วยเครื่องอาภรณ์เพชร    ตลอดนับตั้งแต่พระกรรณเพชรห้อยระย้ายาวประพระอังสะสร้อยพระศอเพชรสำหรับราชินี   สายสะพายเหลือง    ประดับด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์   มหามงกุฎไทย   และบรมวงศ์จักรี   เพชรทั้งคู่สิ้นเงินค่าซ่อมแซม    เป็นจำนวน   ๔๘๐,๐๐๐   บาท    ที่ข้อพระหัตถ์ทั้งสองประดับด้วยทองพระกรเพชรขนาดเล็ก        วงและขนาดใหญ่      วงส่วนข้อพระหัตถ์ซ้ายเหนือทองพระกรทั้ง       เป็นนาฬิกาเรือนจิ๋วสายเพชร    พระหัตถ์ซ้ายทรงถือกระเป๋าสีเงินประดับเพชรแวววาว

                         ตลอดเวลา    สมเด็จพระราชินีทรงพระสรวลและทอดพระเนตรมวลข้าราชการที่เข้าเฝ้าอยู่เป็นนิจ   มีข้าราชบริพารติดตาม      คน   ในจำนวนนี้   ม.ร.ว. หญิงบุษบา   กิติยากร  และ  ม.ล. มณีรัตน์   ซึ่งเป็นน้องของ  ม.ล. บัว

                         ภายในพระที่นั่งไพศาลทักษิณมหินทรพิมาน   ในพระบรมมหาราชวังเมื่อเวลา  ๑๖.๐๐  น.   เจ้าพนักงานได้จัดพระราชอาสน์คู่ไว้ทางทิศตะวันตก    มีพระขันหมากพระแสงปืนตั้งบนโต๊ะ    พระแสงของ้าวประดับพระเก้าอี้    เบื้องขวาพระราชอาสน์จัดที่ประทับไว้      ที่    ทางเบื้องซ้ายเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี    รองลงมาเป็นพระเก้าอี้ที่ประทับของสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้าหยิงกัลยาณีวัฒนา    ต่อไปทางเบื้องหลังพระเก้าอี้ทั้งสองฟากของท้องพระโรง    จัดเก้าอี้ไว้      แถว   เป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในและฝ่ายหน้า

                         ครั้นได้วาระศุภฤกษ์ดิถีมงคลสมัย    เวลา   ๑๖.๓๐  น.   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี   เสด็จออกประทับเหนือพระราชอาสน์        พระที่นั่งไพศาลทักษิณมหินทรพิมาน     พระบรมวงศานุวงศ์เฝ้าละอองธุลีพระบาท   พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาทเรนทร    ทรงรับฉันทานุมัติจากพระบรมวงศานุวงศ์กราบถวายบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคล   ในการที่ได้ทรงประกอบการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสดังนี้.-

                         ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

                         ในศุภวาระดิถีมงคลสมัย    ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท   ซึ่งได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส   ข้าพระพุทธเจ้าบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย    ต่างพากันปลาปลื้มปีติ   โสมนัสด้วยความจงรักภักดีที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเป็นพลเทพแห่งพระราชจักรีวงศ์    ได้ทรงเลือกสรรค์ผู้สมควรแก่การสนองพระยุคบาท    ร่วมทุกข์ร่วมสุขแบ่งเบา    พระราชภาระในภายภาคหน้า    ข้าพระพุทธเจ้าแลมวลสมาชิก   แห่งพระราชจักรีวงศ์   ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสถวายพระพรชัยมงคลต่อ   ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท   และสมเด็จพระราชินี   ขอให้ทรงพระเจริญด้วยพระชนมายุยั่งยืนนาน    ทรงพระเกษมสำราญปราศจากสรรพดรคาพาธพิบัติ    จงประสบสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล    ขอให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท   ทั้งสมเด็จพระราชชนนีเสด็จสถิตเป็นศรีแก่พระราชจักรีวงศ์ชั่วกาลนาน

                         สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอบดังนี้.-

                     หม่อมฉันและสมเด็จพระราชินีขอขอบพระทัยพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายที่ทรงอำนวยพระในการที่ได้ประกอบพิธีราชภิเษกสมรสในครั้งนี้     หม่อมฉันรู้สึกซาบซึ้งในความอารีที่ทรงมีต่อหม่อมฉัน    ขอพระบรมวงศานุวงศ์จงทรงพระเจริญสวัสดิ์ทุกพระองค์

                         ครั้นแล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีเสด็จออกจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสวรรค์พิมานโดยสถานอุตราพิมุขชาวพนักงานโคมแตร    และมโหระทึกทหารกองเกียรติยศถวายเคารพแตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี    คณะรัฐมนตรี   คณะทูต    สมาชิกวุฒิสภา   สมาชิกสภาผู้แทนและข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

                         ครั้นสุดเสียงประโคมแล้ว    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสในการที่ได้ทรงประกอบการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสให้ผู้ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในมหาสมาคมทราบเกล้าทราบกระหม่อมดังนี้.-

                         ท่านทั้งหลาย

                                        ข้าพเจ้าได้เชิญท่านทั้งหลายมาประชุมครั้งนี้    เพื่อที่จะแจ้งให้ทราบว่าข้าพเจ้าได้ประกอบการราชพิธีราชาภิเษกสมรส   กับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์    ธิดาหม่อมเจ้านักขัตมงคล    กิติยากร    ตามกฎหมายและประเพณีแล้ว    เมื่อเช้าวานนี้        พระตำหนักของสมเด็จพระอัยยิกาเจ้า   ในวังสมเด็จพระราชบิดา    ตำบลปทุมวัน    เฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า    ซึ่งได้ประทับเป็นประธาน    พร้อมด้วยพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่                   และข้าราชการผู้ใหญ่ในสภาทั้งสองและในรัฐบาล   กับเจ้าหน้าที่ทะเบียนท้องถิ่น   ดังได้ประกาศให้ทราบทั่วกันแล้ว

                         ครั้นแล้ว   จอมพล  ป.พิบูลสงคราม   อดีตนายกรัฐมนตรีรับฉันทานุมัติจากผู้ซึ่งไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท   ในมหาสมาคมนั้น    กราบถวายบังคมทูลพระกรุณาแสดงความชื่นชมยินดีและถวายพระพรมงคลดังนี้.-

                         ขอเดชะ   ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม   ในมหามงคลที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานกระแสพระราชดำรัสในการที่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์แล้วนั้น    ข้าพระพุทธเจ้าในนามข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งหลายและผู้ซึ่งได้มาชุมนุนเฝ้า    มหาสมาคมนี้รู้สึกปลาบปลื้มและชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง   จึงขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส    ถวายพระพรชัยมงคล   ขอให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   กับทั้งสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์จงทรงเจริญพระชนอายุยิ่งยืนนาน    เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติเป็นมิ่งขวัญแก่ประเทศชาติ   และพสกนิกรชาวไทย   ขอจงพ้นจากสรรพอุปัทวันตรายมีพระราชประสงค์จำนงหมายในสิ่งใดจงบรรลุผลสำเร็จสมดังคำสัตยาธิษฐานนี้ทุกประการ  

                                                                                                 ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม   ขอเดชะ

                         เสร็จแล้ว    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี   เสด็จขึ้นเมื่อเวลา   ๑๖.๓๐  น.   ชาวพนักงานประโคมแตรและมโหระทึก   มหารกองเกียรติยศถวายความเคารพแตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี

                         ครั้นวันรุ่งขึ้น  คืนวันที่  ๒๙  เมษายน   พ.ศ. ๒๔๙๓    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี   ก็ได้เสด็จไปพักผ่อนพระราชอิริยาบถ   ที่พระราชวังไกลกังวล   หัวหิน   ชั่วระยะเวลาหนึ่ง    จนกวาจะถึงวันที่      พฤษภาคม   พ.ศ.  ๒๔๙๓    ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก    การเสด็จหัวหินครั้งนี้    จะเรียกอย่างสามัญก็เรียกได้ว่าเสด็จ  ฮันนิมูน   นั่นเอง

       

       

      ....  บรมราชาภิเษก.......

       

                         ก่อนจะกล่าวถึงพระราชพิธีบรมภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน   ผู้เชียนจะเล่าถึงความเป็นมาของพระราชพิธีนี้เสียก่อน

                         พิธีบรมราชภิเษกในประเทศไทย   เป็นเรื่องน่ารู้สำหรับนักประวัติศาสตร์และสังคมวิทยา   พิธีนี้เจือปนด้วยลัทธิพราหมณ์   และลัทธิพุทธศาสนาทางฝ่ายหินยาน    นอกจากนั้น    พิธีบรมราชาภิเษกยังมีลัทธิเทวราชของเขมรประกอบอยู่ภายนอกอีกด้วย    เรื่องนี้จำเป็นต้องเล่าประวัติศาสตร์ของชาติไทยประกอบ   จึงจะทำให้ท่านผู้อ่านมองเห้นได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น

                         ชนชาติไทยซึ่งได้อพยพออกจากจีนใต้มาสู่ต้นแม่น้ำของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้     เช่นแม่น้ำเจ้าพระยา    แม่น้ำโขง   แม่น้ำคง    แต่โบราณกาลคนไทยเป็นคนชนิดที่ถือผี    พวกไทยน้อยที่ลงมาทางลุ่มน้ำเจ้าพระยา   ได้มาพลกับพวกมอญทางอาณาจักรทวาราวดี     เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่  ๑๖   พวกมอญนี้เป็นพวกที่สืบเชื้อสายมาจากชาวอินเดียที่มีชื่อว่า   เตลิงคนะ    อยู่ในอ่าวเลงคอลฝั่งตะวันตกตอนบน   แล้วได้ข้ามปากอ่าวนั้นมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ทางฝั่งตะวันออก     เหตุฉะนั้น   จึงได้เรียกกันว่า  ชาติเตลิง    พวกมอญเชื้อเตลิงนี้ได้มาตั้งประเทศทวาราวดีขึ้นในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา    และได้มีวัฒนธรรมสูงโดยอาศัยศาสนาพุทธหินยานเป็นหลัก     วัฒนธรรมของทวาราวดีนี้แหละได้มาเป็นต้นตอของวัฒนธรรมพวกไทยน้อยที่ลงมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาดังได้กล่าวมาแล้ว     นกจากพุทธศาสนาแล้วเราจึงได้เอาคัมภีร์  ธรรมสาสตรื   แบบแผนกฎหมายของเรามาใช้ด้วย   พระธรรมศาสตร์   กฎหมายซึ่งไทยได้รับมานั้นเป็นภาษามอญยากที่จะเข้าใจ    เราจึงได้แปลเป็นภาษาไทยเสีย    และถูกใช้มาจนกระทั่งถึงต้นสมัยรัชกาลที่     แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   จึงถูกยกเลิกไป

                         ส่วนพวกมอญแห่งทวาราวดี   หมดไปจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเพราะพ่ายแพ้แก่ขอมหรือเขมร   และคนไทยเราเข้ามาแทนที่     โดยต้องรบกับขอมหรือเขมรตั้งแต่สุโขทัยลงมา     และในที่สุดก็แย่งเอาดินแดนของเขมรที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไว้ได้เป็นส่วนมาก     ในการที่ไทยเราเข้าสวมรอยเขมรนี้     เราได้รับเอาวัฒนธรรมของเขมรไว้อีกทอดหนึ่ง   คือ   ลัทธิพราหมณ์    ลัทธิพุทธศาสนามหายาน    และลัทธิเทวราช   แต่วัฒนธรรมเขมรหาได้ฝังลงในนิสัยของคนไทย    โดยแน่นแฟ้นเหมือนดังวัฒนธรรมแบบมอญไม่

                         ขอสรุปว่า    ไทยได้นำเอาวัฒนธรรมเดิมของเรามาจากจีนใต้ส่วนหนึ่ง     รับวัฒนธรรมมอญเข้าไว้อย่างสนิทสนมส่วนหนึ่ง    และรับวัฒนธรรมเขมรตัวอย่างเผิน ๆ  ไว้อีกส่วนหนึ่ง

                         นี่คือใจความย่อ ๆ ว่า   พระราชพิธีราชาภิเษกที่มีมาอย่างไร    แต่เพื่อให้ท่านได้ทราบ   วัฒนธรรมเกี่ยวกับราชประเพณีนี้ได้คลี่คลายมาอย่างไร    จำจะต้องยกเอาข้อความในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์   มาเสนอแด่ท่านผู้อ่านเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มาไว้ดังต่อไปนี้

                         คัมภีร์พระธรรมศาสตร์กล่าวว่า    พระเจ้ามหาสมมติราช    ตั้งอยู่ในราชธรรม   ๑๐   ประการ    ทรงเบญจางคิกศีลเป็นปกติคิกศีล     และอัษฎางคิกศีลเป็นอุโบสถศีล   เมตตากรุณาแก่สัตว์ทั้งปวง     แล้วทรงพระอุสหะมะนะสีการะซึ่งคัมภีร์พระธรรมศาตร์เป็นกิจการ   ทรงประพฤติธรรม        ประการคือ    พิจารณาซึ่งความชอบ    ความผิดแห่งผู้กระทำให้เป็นประโยชน์และมิได้เป็นประโยชน์แก่พระองค์  ๑.   ทำนุบำรุงแก่บุคคลที่มีศีลสัตย์  ๑.     ประมูลมาซึ่งพระราชทรัพย์โดยยุติธรรม  ๑.    เป็น       ประการ    และตั้งอยู่ในราชกิจประเพณีมิได้ขาด    นี่เป็นสิ่งที่เรารับมาจากลัทธิพราหมณ์โดยผ่านทางมอญ

                         ส่วนที่ว่าพระราชพิธีบรมราชราชาภิเษก    เราได้รับมาจากลัทธิพุทธศาสนาหินยานนั้น    เราได้จากจักกวัตติสูตรแห่งพระไตรปิฎก     ซึ่งอธิบายลักษณะแห่งจักรพรรดิดังได้คัดความมาดังต่อไปนี้

                         วัตร    คือหน้าที่ของพระจักรพรรดิจะต้องเป็นที่นิยมนับถือธรรม    เป็นผู้สนับสนุนธรรมจะต้องเอาพระทัยใส่คุ้มครองรักษาบรรดาผู้อาศัยของแว่นแคว้นของพระองค์   คือ   เป็นอันโตชนผู้เป็นพลกาย   ผู้เป็นขัติยะ    ผู้เป็นอนุยนต์ติดสร้อยห้อยตามผู้เป็นพราหมณ์และคหบดี    ผู้เป็นชาวชนบทผู้เป็นสมณพราหมณ์ตลอดจนสัตว์      เท้า     เท้า    ต้องทรงสอดส่องมิให้มีการอธรรมเกิดขึ้นได้ในแว่นแคว้นของพระองค์และเกื้อกูลคนจนด้วย

                         อนึ่ง   เมื่อผู้มีศีลรู้จักสำรวมตน    และปฏิบัติตนเพื่อความดีมาสู่พระองค์  และทูลถามถึงอะไรดีอะไรชั่ว    อะไรผิดอะไรชอบ    อะไรพึงทำอะไรพึงเว้น   พระองค์จะต้องฟังเขาโดยตลอด    แล้วห้ามปรามอย่าได้ไปในทางที่ชั่ว   สนับสนุนให้เขาไปในทางที่ดีดังนี้

                         พระราชาพระมหากษัตริย์ผู้รับอภิเษก   เมื่อได้ทรงปฏิบัติจักรวรรดิวัตรดังข้างบนนี้แล้ว    ครั้งถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง     จึงโสดสรงมุรธาภิเษก     เสด็จขึ้นสู่ปราสาทเบื้องบน    ขณะนั้นแลจึงทิพย์จักรรัตน์ปรากฏขึ้นเฉพาะพระพักตร์พระราชาเสด็จลุกขึ้นทรงสะพักภูสิตาภรณ์เฉลียงพระอังสาเพื่อแสดงความเคารพ     ทรงหยิบพระภิงคารด้วยพระหัตถ์ซ้าย    หลั่งน้ำลงบนพระหัตถ์ขวาแล้วลูบไล้ทิพย์จักรรัตน์พลางตรัสให้จักรนั้นหมุน (วัตร)  ไป   จึงทิพย์จักรนั้นเริ่มหมุนไปทางทิศตะวันออกก่อน    พระราชาก็เสด็จตามไปด้วยจาตุรงคโยธา    แห่งใดทิพย์จักรหยุดลง    พระองค์ก็ยืนยิ้มอยู่ด้วย    บรรดาพระราชาผู้เป็นปรปักษ์แด่พระองค์ในทิศตะวันออกนั้น   จึงกราบทูลว่า

                         ข้าแต่พระมหาราชขอจงเสด็จมาเถิด    พระองค์เสด็จมาด้วยดีแล้ว    ทรัพย์สมบัติเป็นของพระองค์หมดแล้ว    พระองค์ทรงประทานอนุศาสน์หม่อมฉันทั้งหลายด้วยเถิด

                     ลำดับนั้นพระจักรพรรดิ     จึงประทานอนุศาสน์ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต    ห้ามลักขโมย    ห้ามประพฤติผิดในกาม   ห้ามมุสาวาท    ห้ามดื่มสิ่งมึนเมา     และทรงอนุญาตว่าให้บริโภคทรัพย์ศฤงคารไปดุจเดิม     พระราชาปรปักษ์ในทิศตะวันออกเหล่านั้น    ต่างก็พากันอ่อนน้อมต่อพระจักรพรรดิราช     ทิพย์จักรก็เวียนไปตามทิศทั้ง      เหตุการณ์ได้เป็นไปทุกทิศตะวันออกอีกจนครบรอบจักรวาฬ    แล้วจึงกลับเข้าสู่ราชธานี    ประดิษฐานอยู่ในท้องพระโรง    หน้าพระราชมณเฑียรแห่งจักรพรรดิผู้เป็นเจ้าโลกนั้น

                         ที่กล่าวมานี้ย่อมชี้ให้เห็นได้ว่า   ไทยเราได้ยอมรับเอาซึ่งวัฒนธรรม   ในเรื่อง  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก   นี้มาจากพราหมณ์และพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน

                         ครั้นต่อมาไทยเราได้เกี่ยวข้องกับเขมรมากขึ้น     ไทยเรารับเอาขนบธรรมเนียมแห่งลัทธิเทวราช   ของเขมรมาใช้ฐานะของพระมหากษัตริย์ก็แปรรูปมาจากเดิม    ดังปรากฏในพิธีใหญ่เช่นบรมราชาภิเษก    พราหมณ์สาธยายมนต์อัญเชิญพระเป็นเจ้าให้ลงมาสู่พระมหากษัตริย์   แล้วใช้คำพูดแก่พระองค์ดุจแก่พระอิศวรเป็นเจ้า    คำสั่งของพระองค์ก็เรียกว่า  โองการ    คือคำสั่งของพระเจ้าทั้งสามทั้งถวายพระสังวาลย์ธุรำ     อันพราหมณ์ในอินเดียถือว่าเป็นเครื่องทรงอันหมายเฉพาะถึงพระอิศวร    ในจำนวนพระแสงราชาวุธทั้งแปด    ก็มีพระแสงกรี    ของพระอิศวรและพระแสงจักรของพระนารายณ์    ในพระบรมนามาภิไธยเต็มก็มีสำนวนว่า   ทิพยเทพาวตาร    ซึ่งแปลว่าอวตาลของผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์   ในมฤตถพิธีพระบรมศพก็ใช้โกศทรงพระบรมศพโกศนี้มิใช่อื่นไกลอันใด    คือครอบสำหรับเครื่องหมายพระอิศวรตามที่ใช้กันอยู่ในประเทศเขมร   ในสมัยลัทธิเทวราชที่ถือว่าพระกษัตริย์คือพระเป็นเจ้านั้น    จริงอยู่   ทุกวันนี้แม้แต่ศพเจ้านายก็อาจใส่โกศได้    แต่เป็นธรรมดาอยู่เองที่เครื่องยศต่าง ๆ  สำหรับที่สูง    ย่อมขยายกว้างออกไปทุกทีอย่างไรก็ดี    ลัทธิเทวราชของเขมรติดอยู่แต่ภายนอก     ถ้าจะพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปถึงจิตใจของคนไทยแล้ว    คงไม่มีใครเชื่อเป็นจริงจังว่า   พระสังวาลย์ธุรำก็ดี      พระบรมโกศว่าได้ทำให้พระมหากษัตริย์ของเราเป็นพระอิศวรไปได้เลยเรารู้สึกแต่เพียงว่า     สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศเท่านั้น     นอกจากนั้นเราเป็นพุทธศาสนิกชน     ย่อมไม่มีนิยมที่จะยึดถือว่าพระองค์คือพระอิศวรเป็นเจ้า    แต่ถึงกระนั้น    เราก็ได้ยอมรับนับถือเอาพิธีพราหมณ์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของชาติเสียแล้ว    จึงได้ยึดถือและปฏิบัติสืบ ๆ กันมา

                         เท่าที่ได้บรรยายมานี้จะเห็นได้ว่า    ทัศนะของไทยต่อพระมหากษัตริย์    จึงได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทีละน้อย ๆ  คือในชั้นเดิม  (สมัยสุโขทัย)   ไทยเราถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นพ่อเมืองปกครองราษฎรเหมือนลูกหลาน       แล้วเปลี่ยนจากคตินี้มาเป็นว่า   พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าชีวิตของราษฎรและเป็นเจ้าของแผ่นดินทุกกระเบียดนิ้ว    จนเกิดมีพระนามใหม่ว่า    พระเจ้าแผ่นดิน   ดังปรากฏในกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ    ซึ่งพระเจ้าอู่ทอง  ประกาศไว้เมื่อ  พ.ศ. ๙๐๓  ความว่า

                         ที่ในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์    เป็นที่แห่งพระเจ้าอยู่หัว   หากได้ราษฎรทั้งหลายผู้เป็นข้าแผ่นดินอยู่   จะได้เป็นที่ของราษฎรมิได้

                         เหตุนี้จึงเกิดมีระเบียบศักดินากำหนด    ให้ราษฎรทุกคน   ทั้งชั้นสูงชั้นต่ำ     มีสิทธิครอบครองที่ดินได้มากน้อยตามฐานะของตนขึ้น

                         ส่วนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก    มีมากขึ้นเพราะอาศัยเหตุอะไร    และได้เริ่มมีมาตั้งแต่ครั้งไหนนั้น   กรมหมื่นทิพยลาภพฤฒิยากร  (พระวงวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัต)   ได้ตรัสอธิบายไว้ในปาฐกถา   เรื่องบรมราชาภิเษกของพระองค์ท่านว่า

                         ตามหลักเดิมของไทยนั้น   เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคตลง     ที่ประชุมที่กล่าวมาแล้วนั้นเลือกพระมหากษัตริย์ใหม่      แต่พระองค์ทรงเป็นแต่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไปก่อน     จนกว่าจะได้รับราชาภิเษก     ในระหว่างที่ยังไม่ได้รับนั้น     เครื่องยศบางอย่างก็ต้องลดลง     เช๋นพระเศวตฉัตรมีเพียง      ชั้น   ไม่ใช่      ชั้น    คำสั่งของพระองค์ไม่เป็นโองการ   ฯลฯ    เหตุฉะนั้นจึงมักต้องรีบทำพิธีเสีย   สิ่งเหล่านี้   ในปัจจุบันมิได้ถือเคร่งครัด

                     พิจารณาดูในประวัติศาสตร์     ปรากฏความในศิลาจารึกวัดสีชุมพลของพญาลิไทแห่งสุโขทัยว่า   พ่อขุนผาเมืองอภิเษกสหายพ่อขุนบางกลางห่าว    ให้เป็นผู้ครองสุโขทัย     ข้าพเจ้าเข้าใจว่า    คงจะได้ธรรมเนียมอภิเษกมาจากเขมรหรือมอญ    เพราะทางเขมรโบราณถือลัทธิพราหมณ์   ย่อมมีการอภิเษกไม่ต้องสงสัยพยานก็มีอยู่ว่า    น้ำพุที่ออกมาจากเขาลิงคบรรพตข้างบนวัดภูใต้นครจำปาศักดิ์นั้น    ใช้เป็นน้ำอภิเษกตามความในศิลาจารึก  (พ.ศ. ๑๑๒)  นั้น

                         สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้นทำกันอย่างไร  ?   มีรายละเอียดอย่างไร  ?    ทุกรัชกาลคล้าย ๆ กัน   มีผิดกันบ้างเล็กน้อย    ขอเชิญติดตามต่อไป   แต่ใคร่ที่จะกล่าวอะไรเล็กน้อยว่า.-

                         พระราชพิธีบรมราชาภิเษกแบบไทยนี้    ผิดกับแบบฝรั่งอยู่ที่ว่า    ไทยเราถือตอนสรงน้ำอภิเษกสำคัญที่สุด   ส่วนของฝรั่งคือตอนทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฏเป็นตอนสำคัญ

                         พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของล้นเกล้าองค์ปัจจุบันมีกำหนดการ       วัน    ตั้งแต่วันที่      ถึงวันที่        พฤษภาคม    พุทธศักราช    ๒๔๙๓   ดังมีรายการต่อไปนี้

                         วันที่       พฤษภาคม    เวลา   ๑๐.๐๐  น.    เชิญพระสุพรรณบัฎต่างพระบรมราชสมภพ    พระราชสัญจกรจากวัดพระศรีรัตนศาสดารามมายังพระมหามณเทียร

                         เวลา   ๑๘.๐๐  น.   เริ่มการพระราชพิธีที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ    เวลา   ๑๘.๕๐   น.    จุดเทียนชัย    พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย    เวลา   ๑๙.๔๐  น.    พระภิกษุทรงสมณศักดิ์ประกาศการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก    เจริญพุทธมนต์

                         วันที่      พฤษภาคม   เวลา   ๑๐.๐๐  น.    สรงน้ำมุรธาภิเษก   (น้ำศักดิ์สิทธิ์นี้นำมาจาก   ๑๘   จังหวัดทั่วประเทศไทย   ซึ่งได้ทำพิธีเสกไว้ก่อนตั้งแต่   ๑๗   มีนาคม   พ.ศ.๔๙๓  แล้ว)   เวลา   ๑๑.๔๖  น.   รับน้ำอภิเษก   ราชกกุธภัณฑ์      พระที่นั่งภัทรบิฐ   รับขัตติยราชวราภรณ์   และพระแสง     พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย    รับคำถวายพระพรชัยมงคล

                         เวลา   ๑๖.๐๐   น.    เสด็จโดยกระบวนราบใหญ่ไปนมัสการพระศรีรัตนตรัย    ประกาศพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภก     พระสงฆ์  ๘๐   รูปถวายพระพร     แล้วเสด็จถวายบังคมพระบรมอัฐิ     พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท    เวลา  ๑๘.๐๐  น.   เจ้าพนักงานเวียนเทียนสมโภชพระมหามณเฑียร   ที่พระมหามนเฑียร

                         วันที่      พฤษภาคม   เวลา   ๑๑.๐๐  น.    คณะทูตเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล       พระที่นั่งจักรี    เวลา  ๑๖.๓๐  น.    ประชาชนเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล    หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรค์   เวลา   ๑๖.๐๐  น.    ฝ่ายในถวายธูปเทียน    พระที่นั่งไพศาลทักษัณ    ตั้งสมณศักดิ์ฝ่ายหน้า   ถวายดอกไม้ธูปเทียน   เทศน์มงคลสูตร    รัตนสูตร     เมตตาสูตร     พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย

                         วันที่      พฤษภาคม   เวลา   ๑๓.๐  น.   ฝ่ายในถวายดอกไม้ธูปเทียน        พระที่นั่งไพศาลทักษิณ    สถาปนาฐานันดรศักดิ์    พระบรมราชวงศ์ฝ่ายหน้าถวายดอกไม้ธูปเทียน    เทศน์ทศพิธราชธรรม    จักรวารดิวัตรเทวกถาพิศนุกถารวม      กัณฑ์      พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย

                         ต่อไปนี้เป็นรายการข่าวพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจากหนังสือพิมพ์สยามนิกรรายวันประจำวันที่      พฤษภาคม   ๒๔๙๓

                         วันนี้  (วันที่      พฤษภาคม)   เป็นวันเริ่มพิธีราชาภิเษก   เวลา   ๑๘.๐๐   น.    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานมายังพระบรมมหาราชวัง    ทรงประกอบพิธี      พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย   และพระที่นั่งไพศาลทักษิณ   เวลา   ๑๘.๕๐  -  ๑๙.๕๐   น.        พระที่นั่งไพศาลทักษิณ   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนทองด้วยไฟฟ้า     ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน     แล้วถวายเทียนชะนวนแด่สมเด็จพระสังฆราช    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จลงไปจุดเทียนชัย    ในพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย     พระสงฆ์เจริญมงคลคาถามีการประโคมฆ้องชัยสังข์บัณเฑาะว์    แตร    และดุริยางค์   พระศาสนาโสภณอ่านประกาศพระราชพิธีราชาภิเษก

                         พระสงฆ์ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ   ๓๐   รูป   ในพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย   ๔๔    รูป   เจริญพุทธมนต์   พระราชพิธีราชาภิเษก     พราหมณ์ทูลเกล้า ฯ   ถวายใบสมิทธิ์ทรงปัดแล้วไปทำพิธีต่อไป

                         ครั้นแล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนพระมหามงคลเทียนเท่าพระองค์   ธูปเทียนบูชาถวายพระสยามเทวาธิราช   พระแท่นอัฐทิศ   พระที่นั่งภัทรบิฐ   สมาชิกรัฐสภาบูชาพระแท่นอัฐทิศ

                         เมื่อจบพิธีทางศาสนา    พระสงฆ์ถวายพระพรลาเสด็จออกพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย    ข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท    ทรงจุดธูปเทียนบูชาธรรมที่พระแท่นภาณวารแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ

                         วันศุกร์ที่      พฤษภาคม   ๒๔๙๓   วันนี้เป็นวันสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทย    เพราะเป็นวันซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับเฉลิมพระนามเป็น     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    ตอนได้รับถวายพระนพปฏลมหาเศวตฉัตร     ดังจะได้กล่าวรายละเอียดต่อไป

                         กรุงเทพพระมหานครฯ    ในวันนี้     ตกแต่งประดับประดาด้วยโคมไฟ    ธงทิว    มีคำถวายพระพรและซุ้มประตู   อย่างงดงาม     ถนนราชดำเนินตั้งแต่ลานพระบรมรูปทรงม้า     จนถึงพระบรมมหาราชวัง   อันเป็นทางที่ต้องเสด็จพระราชดำเนินผ่าน     ประดับธงชาติและธงมหาราชติดพระปรมาภิไธยย่อ    ภ.ป.ร.   ตลอดทาง     ไม่ว่าสถานที่ราชการ    ห้างร้าน   บริษัท   ดูเหมือนจะตกแต่งประกวดประขันถวายความจงรักภักดี    ราษฎรทั้งหลายต่างตื่นเต้นออกจากบ้านไปอออยู่ที่ประตูวิเศษไชยศรี     และหลังวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นอันมาก    บรรยากาศทุกแห่งเต็มไปด้วยความแจ่มใส    เมื่อจวนจะได้ฤกษ์พระราชพิธี    แสงแดดซึ่งตั้งเค้ามาว่าจะส่องแสงจ้าตลอดวันกลับทอแสงสีนวลด้วยพระบารมี

                         สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูสิตาภรณ์สีฟ้าหม่นเกือบเป็นสีเทา    ประดับราชอิสริยาภรณ์สายสพายสีเหลืองขลิบเขียว    ทรงพระมหาพิชัยมงกุฏประทับเหนือ     พระที่นั่งพุดตาลกาญจนสิงหาสน์    บนพระราชบัลลังก์    ภายใต้พระนพปฏลมหาเศวตฉัตร    จอมพล  ป. พิบูลสงคราม   อดีตนายกรัฐมนตรี    สวมเสื้อครุยสีทองถวายพระพรแทนข้าราชการ    ครั้นแล้วเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ในเสื้อครุยสีทองเช่นเดียวกัน   ถวายพระพรแทนประชาชน   ทรงมีพระราชดำรัสตอบ

                         ในวันนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลอง   พระเนตรสีขาวเป็นครั้งแรก    ทรงมีพระพักตร์ขรึม   แม้จะทรงเหน็ดเหนื่อย    ถึงบางครั้งทรงหลับพระเนตรก็ทรงสำรวมพระอิริยาบถไว้ดูเป็นที่สง่าน่าเกรงขาม

                         ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    ทรงมีพระราชดำรัสตอบ     พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์    พระบรมราชินีซึ่งขณะนี้ยังทรงเป็นสมเด็จพระราชินีอยู่    ได้เสด็จมายังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ    ทรงฉลองพระองค์ผ้ายกจีบหน้าและคาดสีทองสองชาย    ทรงรัดเกล้าทองเป็นรูปดอกไม้และใบไม้ประดับเพชรแพรวพราว    ประทับรอสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวข้างพระราชอาสน์เบื้องซ้าย

                         พระราชพิธีเริ่มขึ้นเมื่อเวลา   ๑๐.๐๐  น.   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จจากหอพระสุราลัยพิมาน   มีขบวนเจ้าหน้าที่นำตามเสด็จไปยังชาลาพระราชมณเฑียร    เพื่อสู่พระมณฑปพระกระยาสนาน    ตามคำกราบบังคมทูลของพระราชครูวามเทพมุนี   ทรงจุดธูปเทียนทองสังเวยเทวดากลางหาว    แล้วเสด็จไปยังมณฑปพระกระยาสมาน    ประทับเหนือพระอุทุมราชอาสน์    แปรพระพักตรสู่ทิศบูรพา    สรงพระมรุธาภิเษก   พระยาโหราธิบดีลั่นฆ้องชัย     พรามหณ์เป่าสังข์   พนักงานแกว่งปันเฑาะว์    เจ้าพนักงานไขสหัสสธาราอันเจือด้วยน้ำปัญจมหานทีที่ในมัธยมประเทศน้ำเบญจสุทธคงคา   ในแม่น้ำทั้ง      และน้ำ      สระในราชอาณาจักรไทย    พระสงฆ์เจริญมงคลคาถา    ชาวพนักงานประโคมแตรสังข์   แตรมโหระทึกและเครื่องดุริยางค์ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพแตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี    ทหารปืนใหญ่ยิงปืนมหาฤกษ์    มหาชัย   มหาจักร   มหาปราบยุค   ตามกำลังวันจากนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จขึ้นยังพระที่นั่งพระกระยาสนานเสกน้ำพระพุทธมนต์เบื้องพระปฤษฏางค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   แล้วทูลเกล้าถวายน้ำพระพุทธมนต์    แล้วเสด็จลงจากแท่นพระกระยาสนาน   พระบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาทเรนทรเสด็จขึ้นยังแท่นพระกระยาสนาน    กราบถวายบังคม   ถวายพระเต้าเบ็ญจครรภ์   ร. ๕   พระยาโหราธิบดีถวายพระเต้านพเคราะห์    พระราชครูวามเทพมุนี    ถวายพระมหาสังข์      สังข์     และสังข์สัมฤทธิ์     พระยาอนุรักษ์ราชมนเฑียรตำแหน่งภูษามาลา    ทูลเกล้าถวายพระมหาสังข์ทักษิณาวัตร    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงจากมณฑป    พระกระยาสนาน    ขึ้นสู่หอพระสุราลัยพิมานเพื่อทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์   ชาวพนักงานประโคมสังข์แตร    และย่ำมโหระทึก    ขณะกระทำพิธีสรงพระมุรธาภิเษก    เครื่องบิน   ๓๐   เครื่องแห่งกองทัพอากาศ   บินฉวัดเฉวียนอยู่เหนือพระบรมมหาราชวังตลอดเวลา

                         ครั้นเวลา   ๑๐.๔๐  น.   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์สีฟ้าหม่น    เสด็จออกพระที่นั่งไพศาลทักษิณ     สถิตเหนือพระแท่นอัฐทิศภายใต้พระมหาเศวตฉัตร    แปรพระพักตร์โดยทักษิณาวัตรสู่บูรพาทิศเป็นประปฐม   และสู่ทิศอาคเณย์   ทักษิณ   หรดี   ประจิม   พายัพ   อุดร   ตามลำดับจนถึงทิศกลางเป็นทิศสุดท้าย    หลังจากพระยาเทวาธิราชทูลเกล้า ฯ  ถวายพระเต้าเบญจครรภ์   สำหรับทรงรับน้ำอภิเษกแล้ว     สมาชิกรัฐสภาประจำทิศทั้ง      เริ่มจากนายควง    อภัยวงศ์    ซึ่งประจำทิศบูรพาเป็นคนแรก    จนถึงพระยาอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์    นายยกเสียง   เหมภูติ   พระยาศรีสรราชภักดี   พระยาอัชราชทรงศิริ    พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร    นายเกษม   บุญศรี    ม.ร.ว. เสนีย์   ปราโมช    เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์    และนายเพียร   ราชธรรมนิเทศ

                         ทั้งหมดถวายน้ำอภิเษกตามทิศต่าง     ซึ่งได้พลีกรรมมาแล้วตามลำดับ   พราหมณ์พิธีประจำทิศทูลเกล้า ฯ  ถวายน้ำเทพมนต์ประจำทิศ   จากนี้พระราชครูวามเทพมุนีกราบถวายบังคับทูลเป็นภาษามคธแล้วแปลเป็นภาษาไทย    เจ้าพนักงานเชิญพระนพปฏลมหา   เศวตฉัตรมาให้พระราชครูวามเทพมุนี   ทูลเกล้า ฯ  ถวาย

                         พึงสังเกตว่า    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ทรงรับเฉลิมพระนามเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ขณะที่ได้รับถวายพระนพปฏลมหาเศวตฉัตรนี้เอง    โดยทรงพระนามเต็มว่า   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช    มหิตลาธิเบศรามาธิบดี   จักรีนฤบดินทร์   สยามินทราธิราช   บรมนาถบพิตร

                     ขณะนี้พราหมณ์เป่าสังข์ชาวพนักงานประโคมบัณเฑาะว์   ฆ้องชัย   แตรมโหระทึกและเครื่องดุริยางค์   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับ   และพระราชทานแก่ผู้เชิญรับไว้แล้วเสด็จพระราชดำเนินประทับเหนือ    พระที่นั่งภัทรบิฐ

                         ภายใต้นพฏลมหาเศวตฉัตร   แปรพักตรสู่ทิศบูรพา    พระราชครูวามเทพมุนีกล่าวเวทย์   สรรเสริญเปิดศิวาลัยไกรลาศประมาณ  ๑๐  นาที    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอ่านตอบจนจบแล้ว    เจ้าพนักงานพระราชพิธีเชิญพระสุพรรณบัฏเบญจราชกกุธภัณฑ์   ขัตติราชวราภรณ์เครื่องขัตติยราชูปโภค    และพระแสงราชศัตราวุธจากพระแท่นในพระราชมณฑลพิธีมาให้พระราชครูวามเทพมุนีถวาย   เริ่มด้วยพระสุพรรณบัฏทรงรับมอบให้ผู้เชิญ    ต่อมาเป็นสายสังวาลย์ทรงรับแล้วสวมพระองค์เฉลียงซ้าย   สังวาลนพรัตนราชอิสสริยาภรณ์    ทรงสวมพระองค์เฉลียงขวาทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎมาสวม   แล้วรับพระแสงขรรค์ชัยศรีวางไว้ข้างพระที่นั่งภัทรบิฐเบื้องซ้าย    ธารพระกรชัยพฤกษ์วางบนโต๊ะเบื้องขวา   พระแส้จามรีบนโต๊ะเบื้องซ้ายพัดวาลวิชนีวางบนโต๊ะเบื้องขวา    พระแส้หางช้างเผือกวางบนโต๊ะเบื้องซ้าย   ทรงสวมพระธำมรงค์รัตนวราวุธนิ้วพระหัตถ์ขวา   พระธำมรงค์วิเชียรจินดานิ้วพระหัตถ์ขวา   พระธำมรงค์จินดานิ้วพระหัตถ์ซ้าย    พระราชครู ฯ   สอดฉลองพระบาทเชิงงอนถวาย    แล้วทูลเกล้า ฯ   ถวายพระแสงฝักทองเกลี้ยง   ธารพระกรชัยพฤกษ์   พระแสงดาบ    พระแสงตรีศูนย์    พระแสงหอกเพชรรัตน์    พระแสงธนูดาบโล่ห์   พระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง   พระแสงดาบของ้าวแสนพลพ่าย    แล้วอ่านพระเวทย์กราบบังคมทูล   ถวายพระพรให้เสด็จดำรงอยู่ในราชสมบัติ   ชนะอริราชศัตรูทุกทิศทาง   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการตอบพระราชทานอารักขาแก่ประชาชนไทยว่า

                         เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม   เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชาวสยาม

                     ขณะนี้พระสงฆ์ทั้งหมดเจริญพระพรชัยมงคลคาถา   ชาวพนักงานประโคมแตรสังข์บัณเฑาะว์ฆ้องชัย    แตรมโหระทึกและดุริยางค์แตรบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี    ยิงปืนกอบแก้วจินดา   ๒๑   นัด    ตามกำลังวัน   ทหารบก   ทหารเรือ   ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระราชอิสริยยศฝ่ายละ  ๑๐๑  นัด    พระสงฆ์ในอารามทั้งหลาย   ย่ำระฆังถวายพระชัยมงคล   พระอารามละ ๗  ลา   เมื่อสุดเสียงประโคมพระราชครูวามเทพมุนีถวายพระอนุษฏกศิวษณุมนต์และถวายพระพรชัยมงคล   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกตั้งสัตยาธิษฐานจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราช  อาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยา    ทรงเปลื้องพระมหามงกุฏ   พระธำมรงค์ส่งให้ผู้เชิญรับไป   แล้วทรงรับพานพิกุลเงิน  พิกุลทองจากจมื่นศิริวังรัตน์    โปรดพระราชทานแด่พราหมณ์พระราชครูวามเทพมุนีถอดฉลองพระบาทเชิงงอน   แล้วเสด็จไปยังพระที่นั่งอัมรินทรนิวิจฉัย   ประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์   ๔๐   รูป    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าถวายอดิเรก    เสด็จขึ้นเป็นอันเสร็จพิธีในตอนเช้า    เวลาประมาณ   ๑๒.๐๐  น.

       

       

      ....  ทรงผนวชเป็นภิกษุ.......

       

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชประสงค์จะได้ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา   เพราะทรงพระราชดำริว่า    เป็นศาสนาประจำชาติอันประชาชนของพระองค์เลื่อมใสกันอยู่เป็นส่วนมาก    และเป็นศาสนาที่มีเหตุผลทนต่อการพิสูจน์    เป็นศาสนาที่มีหลักสัจจธรรม   ประจวบกับใน  พ.ศ. ๒๔๙๙   สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์   พระสังฆราชเจ้าได้หายจากประชวรทรงเห็นเป็นโอกาสดี     หากจะได้ทรงผนวช   โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเป็นพระอุปัชฌายะ   จึงทรงตกลงพระราชหฤทัยที่จะทรงผนวชในปี  ๒๔๙๙  นี้

                         จึงมีพระราชดำรัส   ให้นายกรัฐมนตรีเข้ามาเฝ้า ฯ   ทรงแจ้งพระราชประสงค์ให้ทราบ    นายยกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูล     แสดงความโสมนัสขอรับพระราชภาระในการนี้ในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทย      ได้นำกระแสพระราชดำริหารือรัฐสภาเพื่อที่จะทรงตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี    ให้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ทรงผนวชประการหนึ่ง   ปรากฏว่าสภาได้ลงมติเห็นชอบเอกฉันท์   ส่วนภาระในการทรงผนวชนั้น    นายกรัฐมนตรีได้มอบให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าของงาน    แต่ขอพระราชทานให้พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤมิยากรรับเป็นประธานกรรมการซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในการนี้   และในที่สุดก็ตั้งกรรมการขึ้นคือ

                         ๑.   พระวรวงศ์เธอ    กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

                                                 ประธานองคมนตรี                                        ประธานกรรมการ

                         ๒.   เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศร

                                                 องคมนตรี                                                    กรรมการ

                         ๓.   จอมพลเรือ    หลวงยุทธศาสตร์โกศล

                                                 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม                   กรรมการ

                         ๔.   พลเอก    หลวงสวัสดิ์สรยุทธ

                                                 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม                   กรรมการ

                         ๕.   นายพลตำรวจเอก   เผ่า   ศรียานนท์

                                                 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

                                                 และอธิบดีกรมตำรวจ                                  กรรมการ

                         ๖.   ม.จ.  ดิลกฤทธิ์    กฤดากร

                                                 ปลัดกระทรวงต่างประเทศ                           กรรมการ

      ๗.  พระยารามราชภักดี

                ปลัดกระทรวงมหาดไทย             กรรมการ

      ๘.  หลวงวิเชียรแพทยาคม

                ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม             กรรมการ

      ๙.  หลวงชำนาญอักษร

                เลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร     กรรมการ

      ๑๐. หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์

                เลขาธิการพระราชวัง            กรรมการ

      ๑๑. พลโท  ม.ล.  ขาบ    กุญชร

                อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์             กรรมการ

      ๑๒. นายฟุ้ง     ศรีวิจารณ์

                อธิบดีกรมการศาสนา             กรรมการ

      ๑๓. หลวงสัมฤทธิ์วิศวกรรม

                อธิบดีกรมโยธาเทศบาล             กรรมการ

      ๑๔. ม.ร.ว.  เทวาธิราช   ป.  มาลากุล

                สมุหพระราชพิธี               กรรมการ

      ๑๕. พันเอก    หลวงบุรกรรมโกวิท

                ผู้จัดการทั่วไปการ  ฟ.ฟ. -  กรุงเทพ ฯ     กรรมการ

      ๑๖. นายสุชีพ     ปุญญานุภาพ

                                                 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม   กรรมการและเลขานุการ

       

                         กรรมการคณะนี้ได้เตรียมงานต่าง ๆ  เกี่ยวกับการทรงผนวชให้เรียบร้อย  เช่น   ตกแต่งพระตำหนักที่ประทับ   ที่วัดบวร ฯ   ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเป็นต้น

                         ครั้น     วันที่   ๑๘   ตุลาคม   พ.ศ. ๒๔๙๙    ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เชิญพระบรมวงศานุวงศ์เข้าทูลละอองธุลีพระบาทและคณะทูตานุทูตเข้ามาเฝ้า ฯ   ที่พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยเป็นมหาสมาคมเพื่อทรงแถลงพระราชดำริ     ในการที่จะเสด็จออกทรงผนวชในบ่ายวันนั้นเวลา   ๑๖.๐๐   น.   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยัง   พระมหามณเฑียร    ในพระบรมมหาราชวังหลังจากทรงจุดธูปเทียนบูชาพระสยามเทวาธิราช ฯลฯ    แล้วเสด็จ ฯ   ออกพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย     มีพระราชดำรัสต่อพระบรมวงศานุวงศ์ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท    และคณะทูตานุทูตซึ่งรวมอยู่     ที่นั้นดังต่อไปนี้.-

                         ข้าพเจ้ามีความยินดีที่พระบรมวงศานุวงศ์   คณะองคมนตรี   คณะรัฐมนตรี    ตลอดจนคณะทูตานุทูตต่างประเทศ    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    และบรรดาข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน   ได้มาร่วมชุมนุมกันในมหาสมาคมนี้    จึงขอแถลงดำริที่จะบรรพชาอุปสมบทในพระศาสนาให้ทราบ

                         โดยที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของเรา    ทั้งตามความศรัทธาเชื่อมั่นของข้าพเจ้าเอง   ก็เห็นเป็นศาสนาดีศาสนาหนึ่ง    เนื่องในบรรดาสัจจธรรมคำสั่งสอนอันชอบธรรมคำสั่งสอนอันชอบด้วยเหตุผลซึ่งเคยคิดอยู่ว่าถ้าโอกาสอำนวยข้าพเจ้าควรจักได้บวชสักเวลาหนึ่งตามราชประเพณี     ซึ่งจักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบุพการี   ตามคตินิยมด้วย   และนับตั้งแต่ข้าพเจ้าได้ครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระเชษฐาธิราชก็ล่วงมากว่าสิบปีแล้ว    เห็นว่าน่าจะถึงเวลาที่ควรจะทำตามความตั้งใจไว้นั้นแล้วประการหนึ่ง      อนึ่งการที่องค์สมเด็จพระสังฆราชหายประชวรมาได้ในคราวประชวรครั้งหลังนี้ก่อให้เกิดความปีติยินดีแก่ข้าพเจ้ายิ่งนัก     ได้มาคำนึงว่าถ้าในการอุปสมบทของข้าพเจ้าได้มีองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว    ก็จักเป็นการแสดงออกซึ่งความศรัทธาเคารพในพระองค์ท่านของข้าพเจ้าได้อย่างเหมาะสมอีกประการหนึ่ง   จึงได้ตกลงที่จะบรรพชาอุปสมบทในวันที่   ๒๒  เดือนนี้

                         ในส่วนกิจการบ้านเมืองนั้น      ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร    ข้าพเจ้าก็ได้แต่งตั้งสมเด็จพระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์    ในระยะที่ข้าพเจ้าบวชอยู่นั้นแล้ว    ขอให้ทุก ๆ ฝ่ายจงสมัครสมานกัน    ช่วยกันรักษาราชการให้ดำเนินไปด้วยดีเถิด

                         ข้าพเจ้าขอขอบใจรัฐบาล    ที่ได้รับการจัดเตรียมการบรรพชาอุปสมบทของข้าพเจ้าด้วยความตั้งใจดี    ขอขอบใจทุกท่านที่แสดงความปรารถนาดีมาร่วมประชุมกันในที่นี้    ขอจงได้รับส่วนกุศลอันพึงจะมีจากการที่ข้าพเจ้าบรรพชาอุปสมบทครั้งนี้โดยทั่วถึงกัน

                     ขอคุรพระศรีรัตนตรัย    จงคุ้มครองท่านทั้งปวงให้มีความสุขความเจริญรุ่งเรืองด้วยเทอญ

                     แล้วเสด็จขึ้นทางในสู่พระที่นั่งสุทไธศวรรยปราสาท      โปรดเกล้า ฯ   ให้ราษฎรเฝ้า ฯ   ที่หน้าพระที่นั่ง   โดยมีพระยารามราชภักดี    ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้เบิก    ได้มีพระราชดำรัสแก่ปวงประชาราษฎรดังต่อไปนี้.-

                         ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ท่านทั้งปวงได้มาร่วมประชุมกัน    ที่นี้   ขอถือโอกาสแจ้งดำริที่จะบรรพชาอุปสมบทให้บรรดาอาณาประชาราษฎรทราบทั่วกัน

                         อันพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของเรานี้    ตามความอบรมที่ได้รับมาก็ดี   ตามความศรัทธาเชื่อถือส่วนตัวข้าพเจ้าก็ดี    เห็นเป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง   มีคำสั่งสอนให้คนประพฤติตนเป็นคนดี    ทั้งเพียบพร้อมด้วยบรรดาสัจจธรรมอันชอบด้วยเหตุผลน่าเลื่อมใสยิ่งนัก     ข้าพเจ้าจึงเคยคิดอยู่ว่าถ้าโอกาสยังอำนวยก็น่าจักได้อุปสมบทในพระศาสนาตามพระราชประเพณีสักเวลาหนึ่ง    ซึ่งจักเป็นการสนองพระเดชพระคุณพระราชบุพการี     ตามคตินิยมอีกโสดหนึ่งด้วย   และนับตั้งแต่ข้าพเจ้าได้ครองราชย์สืบสันตติวงศ์มาก็เป็นเวลาช้านานพอสมควรแล้ว    น่าจะเป็นโอกาสที่จะทำตามความตั้งใจไว้นั้นแล้วประการหนึ่ง      อนึ่งการที่องค์สมเด็จพระสังฆราช     ซึ่งทรงมีพระคุณูปการในส่วนตัวข้าพเจ้าหายประชวรในครั้งหลังนี้ก่อให้เกิดความปีติยินดีแก่ข้าพเจ้าเป็นอันมาก     มาคำนึงดูเห็นว่า   ถ้าในการที่ข้าพเจ้าจะได้0อุปสมบทนี้ได้พระองค์ท่านเป็นอุปัชฌาย์ด้วยแล้ว    ก็จะเป็นการแสดงออกซึ่งความศรัทธาเคารพของข้าพเจ้าที่มีในพระองค์ท่านได้อย่างเหมาะสมอีกประการหนึ่ง   อาศัยเหตุเหล่านี้จึงได้ตกลงใจที่จะอุปสมบทในวันที่   ๒๒  เดือนนี้

                         ส่วนกิจการบ้านเมืองนั้นก็หวังว่าในระยะที่ข้าพเจ้าบวชนี้คงไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดขัดข้อง     โดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร      ข้าพเจ้าก็ได้แต่งตั้งสมเด็จพระบรมราชินีนาถเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไว้แล้ว    ขอให้ท่านทั้งหลายจงช่วยกันรักษาความสงบสุขให้กิจการบ้านเมืองของเรา     จงดำเนินไปด้วยดีเถิด

                         ขอคุณพระศรีรัตนตรัย    ได้อภิบาลคุ้มครองท่านทั้งปวงให้มีความสุขสวัสดี     ขอทุก ๆ ท่านจงมีส่วนได้รับกุศลความดีความงาม    อันจักพึงมีจากที่ข้าพเจ้าเข้าอุปสมบทในพระศาสนาครั้งนี้โดยทั่วกันด้วยเทอญ

                         ระหว่างนี้เจ้าหน้าที่ได้ถ่ายทอดเสียงไปทั่วพระราชอาณาจักร

                         ครั้น    วันที่   ๒๒   ตุลาคม   พุทธศักราช   ๒๔๙๙    เวลา   ๑๔.๐๐  น.   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมายังวัดพระศรีรัตนศาสดารามเสด็จสู่ที่เปลื้องเครื่องหลังพระอุโบสถ    สมเด็จพระราชชนนีทรงจรดพระกรรบิดถวายเจริญพระเกศาแล้วภูษามาถวายต่อจนเสร็จ

                         ครั้นเวลา  ๑๕.๐๐  น.   ล่วงแล้ว    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องตามแบบผู้แสวงอุปสมบท    เสด็จ ฯ  ขึ้นสู่พระอุโบสถเพื่อทรงผนวชต่อไป     ในพระอุโบสถมีพระสงฆ์ผู้จะนั่งหัตถบาสพร้อมอยู่แล้วรวม   ๑๐   รูป    มีทั้งพระธรรมยุตและพระมหานิกายรวมกัน     นอกจากนั้นยังมีพระรามัญนิกายอีด้วย    มีรายพระนามและนามดังต่อไปนี้คือ

      ๑.      อดีตสมเด็จพระสังฆราชเจ้า(หม่อมราชวงศ์ชื่น  นพวงศ์ฉายา  สุจิตฺโต  ป.๗)      วัดบวรนิเวศวิหาร   ทรงเป็นพระอุปัชฌายะ   และถวายศีล

      ๒.      สมเด็จพระวันรัต    (ปลด   กิตฺติโสภโณ  ป.๙)  

      วัดเบญจมบพิตร   พระอนุศาสนาจารย์

      ๓.      สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (อยู่  ญาโณทโย   ป.๙)

      วัดสระเกศ ฯ 

      ๔.      พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สม  ฉนฺโน  ป.๕)

      วัดสุทัศน์เทพวราราม  

      ๕.      พระศาสนโศภณ  (จวน  อุฏฺฐายี  ป.๙)

      วัดมงกุฎกษัตริยาราม     พระกรรมวาจาจารย์

      ๖.      พระพิมลธรรม    (อาจอาสโส  ป.๘)

      วัดมหาธาตุ  

      ๗.      พระพรหมมุนี     วัดบวรนิเวศวิหาร

      ๘.      พระธรรมโกศาจารย์    (ปลอด   อตฺถการี   ป.๙)

      วัดราชาธิวาสวิหาร  

      ๙.      พระธรรมดิลก(ปุ่น   ปุณฺณสิริ   ป.๖)

      วัดพระเชตุพน

      ๑๐.   พระธรรมปาโมกข์ (วาสน์    วาสโน   ป.๔)

      วัดราชบพิธ

      ๑๑.   พระธรรมไตรโลกาจารย์ (วน   ฐิติญาโณ   ป.๖)

      วัดอรุณราชวราราม

      ๑๒.   พระธรรมธีรราชมหามุนี(ธีร์   ปุณฺณโก   ป.๙)

      วัดจักรวรรดิราชาวาส

      ๑๓.   พระธรรมปิฎก(พิมพ์   ธมฺมธโร    ป.๖)

      วัดพระศรีมหาธาตุ

      ๑๔.   พระมงคลเทพมุนี(สาลี   อินฺทโชโต)

      วัดอนงคาราม

      ๑๕.   พระมงคลทิพยมุนี(เซ็ก    พรฺหมฺสโร)

      วัดทองธรรมชาติ

      ๑๖.   พระรัชชมงคลมุนี(เทศ    นิทฺเทสโก)

      วัดสัมพันธวงศ์

      ๑๗.   พระเทพเวที(ฟื้น      ชุตินฺธโร   ป.๙)

      วัดสามพระยา

      ๑๘.   พระเทพเมธี     (ชอบ    อนุจารี   ป.๖)

      วัดราษฎร์บำรุง   จ.ว.ชลบุรี

      ๑๙.   พระเทพมุนี(ทรัพย์   โฆสโก   ป.๖)

      วัดสังเวชวิศยาราม

      ๒๐.   พระเทพโมลี(วิม   ธมฺมสาโร   ป.๙)

      วัดราชาธิวาสวิหาร

      ๒๑.   พระอมราภิรักขิต (ทองคำ     จนฺทูปโม   ป.๗)

      วัดบรมนิวาส

      ๒๒.   พระอมรมุนี(จับ    ฐิตธมฺโม   ป.๘)

      วัดโสมมนัสวิหาร

      ๒๓.   พระโสภณคณาภรณ์ (เจริญ    สุวฑฺฒโน   ป.๙)

      วัดบวรนิเวศวิหาร

      ๒๔.   พระกิตติวงศ์เวที(สุวรรณ   สุวณฺณโชโต   ป.๗)

      วัดเบญจมบพิตร

      ๒๕.   พระมหานายก(เติม    โกสโล   ป.๖)

      วัดบวรนิเวศวิหาร

      ๒๖.   พระจุลนายก(แก้ว    อตฺตคุตฺโต)

      วัดบวรนิเวศวิหาร

      ๒๗.   พระไตรสรณธัช (แสน  ป. ๒  รามัญนิกาย)

      วัดปรมัยยิกาวาส

      ๒๘.   พระปัญญาภิมณฑมุนี(วิชมัย   ปุญญาราโม  ป.๖)

      วัดบวรนิเวศวิหาร

      ๒๙.   พระสาธุศีลสังวร(สนิธ    กิจฺจกโร   ป.๕)

      วัดบวรนิเวศวิหาร

      ๓๐.   พระอุดมญาณมุนี(ยศ   โกสิตา  ป.๕)

      วัดชินวราราม  จังหวัดปทุมธานี

       

                         พระเถรานุเถระอยู่ทางด้านเหนือ    ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์   คณะองคมนตรี   คณะรัฐมนตรี   ประธานสภาผู้แทนราษฎร   และข้าราชการผู้ใหญ่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการอยู่ทางด้านใต้    นอกนั้นเฝ้าที่ชานพระอุโบสถทั้งหน้าหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  เข้าไปขอบรรพชาในท่ามกลางสงฆ์ต่อสมเด็จพระสังฆราช    สมเด็จพระสังฆราชได้ถวายโอวาทตจปัญจกรรมฐานเสร็จแล้ว   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้าพระฉาก    เพื่อทรงผ้ากาสาวพัสตร์เสร็จแล้วเสด็จออกมารับสรณคมน์และศีลต่อสมเด็จพระสังฆราชสำเร็จเป็นสามเณรแล้วทรงขอนิสัย     ต่อจากนั้นสมเด็จพระสังฆราชถวายพระสมณนามว่า   ภูมิพโล     ทรงขออุปสมบทโดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระราชอุปัชฌายะพระศาสนโสภณเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์    สมเด็จพระวันรัตเป็นพระราชอนุศาสนาจารย์

                         การอุปสมบทสำเร็จลงเมื่อเวลาบ่าย    โมง  ๒๓  นาที     ครั้นแล้วภิกษุพระ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับไทยธรรมของหลวงจากสมเด็จพระนาเจ้า ฯ   พระบรมราชินีนาถ   ในหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์    ทรงรับไทยธรรมของสมเด็จพระราชชนนี   ทรงรับดอกไม้ธูปเทียนจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี     พระบรมราชินีในรัชกาลที่     ในพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์    จากประธานองคมนตรีในนามของคณะองคมนตรี    จากนายกรัฐมนตรีในนามของคณะรัฐมนตรี    และข้าราชการทุกฝ่าย    และจากประธานสภาผู้แทนราษฎรในนามของสภาและปวงชน     คณะสงฆ์จึงออกไปจากพระอุโบสถ   เป็นเสร็จงานในพิธีนี้

                         หลังจากนั้นได้ทรงรถยนต์พระที่นั่งเข้าไปสู่พุทธรัตนสถานทรงประกอบพิธี   ทัฬหิกรรม   ตามราชประเพณี   มีพระเถระฝ่ายธรรมยุตนั่งหัตถบาส    ๑๕   รูป     โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเป็นพระราชอุปัชฌายะและมีพระศาสนโสภณเป็นพระกรรมวาจารย์   เสร็จพิธีทัฬหิกรรมเวลาบ่าย      โมง    ๔๓   นาที     แล้วทรงรถยนต์พระที่นั่งพร้อมด้วยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า    พระราชอุปัชฌาจารย์สู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อประทับบำเพ็ญพรหมจรรย์ตามราชประเพณีต่อไป

                         ครั้นเสด็จถึงวัดบวรนิเวศวิหาร   ในท่ามกลางประชาชนนับหมื่น     แล้ว   เสด็จขึ้นพระตำหนัก   ปั้นหยา    ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ประทับอยู่ตลอดระยะเวลาแห่งการครองเพศบรรพชิต   พระสงฆ์      รูป    ถวายพระพรชัยมงคลคาถาแล้วเสด็จไปยังพระตำหนัก    ทรงพรต   เพื่อทำวินัยกรรม   ต่อจากนั้นเสด็จไปยังพระตำหนัก    ปัญจมาเบญจมา   เพื่อทรงสดับพระโอวาทของพระสังฆราชเจ้า

                         ในโอกาสนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้ถวายโอวาทว่า

                         การทรงผนวชวันนี้     เป็นประโยชน์มากสำหรับคนนับถือพระพุทธศาสนา      เพราะเขายินดีกันมาก    แต่ว่าที่จะได้เป็นประโยชน์สำหรับพระองค์เองนั้น    ต้องทรงประพฤติปฏิบัติตามธรรมวินัย   คือ   บวชด้วยกายอย่างหนึ่ง    บวชด้วยใจอย่างหนึ่ง   ทั้ง     อย่างผสมกันเข้าแล้ว   จะเป็นกุศลยิ่ง

                     การบวชด้วยกายนั้น    ต้องทำพิธีในที่ประชุมสงฆ์   แต่บวชด้วยใจ    ต้องตั้งพระราชหฤทัยเรียนพระพุทธศาสนาในทางวินัย    ทรงอ่านดูในข้อบังคับที่จะไม่ประพฤติล่วง...

                         วันที่    ๒๙   ตุลาคม    พุทธศักราช    ๒๔๙๙    สมเด็จพระวันรัต   สังฆนายก    (อดีตพระสังฆราช    วัดเบญจมบพิตร)    ได้เข้าเฝ้าถวายพระพรในนามพระเถราเถระแห่งคณะสงฆ์ไทยและบรรพชิต    จีน     ญวน      พระตำหนักเพชร   เวลา  ๑๖.๐๐  น.   ใจความว่า

                         ขอถวายพระราชทานพระบรมราชวโรกาสถวายพระพร  

                         พระเถรานุเถระแห่งคณะสงฆ์ไทยกับมีพระสงฆ์สมณศักดิ์อานัมนิกายและจีนนิกายร่วมสมทบด้วย    ซึ่งพรั่งพร้อมอยู่      ที่เฉพาะพระพักตร์      บัดนี้    ต่างปีติยินดีซาบซึ้งในพระราชศรัทธาปสาทธิคุณแห่งสมเด็จบรมบพิตรสมภารเจ้า    ที่ได้ทรงลาพระราชกรณียกิจชั่วคราวทรงบรรพชาอุปสมบทบำเพ็ญพระเนกขัมบารมี     ในพระบวรพุทธศาสนาทรงยืนยันความเชื่อมั่นในสัจธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว      สมเด็จพระบรมบพิตรสมภารเจ้า    ไม่เป็นเพียงพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ภายในภายนอกเท่านั้น      ยังได้ทรงพระราชศรัทธาทรงบรรพชาอุปสมบทเพื่อได้ทรงปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างใกล้ชิดเพื่อได้ทรงประจักษ์ด้วยพระปัญญา

                         อาตมา   พระสงฆ์ทั้งปวง    มีกัลยาณจิตเป็นสมานฉันท์   ขอถวายอนุโมทนาสาธุการในพระราชกุศลนี้เป็นอย่างยิ่ง

                         ในโอกาสนั้น     พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     ภูมิพโล   ตรัสตอบคณะสงฆ์ความว่า   พระคุณเจ้าทั้งหลาย    ดิฉันขอขอบพระคุณเป็นอันมาก   ในการที่ได้แสดงไมตรีจิตครั้งนี้    แม้ดิฉันจะได้อยู่ในสมณเพศมาเป็นเวลาอันน้อยก็ตาม    รู้สึกว่าได้รับการต้อนรับจากสงฆ์ทั้งหลายเป็นอย่างดี    ทั้งได้รับความรู้ในธรรมวินัยและทางปฏิบัติเท่าที่เวลาจะอำนวย    ทั้งนี้ทำให้เกิดความรู้สึกว่าพระพุทธศาสนาเป็นทางเจริญแก่ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด

                     ขออำนาจแห่งความสามัคคีที่พระคุณเจ้าทั้งหลายได้แสดงอยู่    บัดนี้    จงเป็นนิมิตรอันดีที่จะเพิ่มพูนความรุ่งเรืองมั่งคั่งแห่งพระศาสนาสืบไป

                         วันที่      พฤศจิกายน   พ.ศ. ๒๔๙๙    เวลา   ๑๙.๐๐  น.    พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  ภูมิพโล    เสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า      ที่ประทับ   เพื่อทูลลาผนวชในวันที่      พฤศจิกายน   ๒๔๙๙   ซึ่งครบ  ๑๕  วันแห่งการผนวชตามที่ได้ตั้งพระราชหฤทัยไว้    โอกาสนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระบรมราชูปัชฌายาจารย์ได้ถวายโอวาทแด่พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  ภูมิพโล

                         ในวันที่     พฤศจิกายน   พ.ศ.๒๔๙๙   อันเป็นวัน  ทรงลาผนวช   ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     ภูมิพโล   เวลา   ๑๘.๐๐  น.   เสด็จไปยังพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้าและสดับพระธรรมวินัยเป็นครั้งสุดท้าย

                         เมื่อเสด็จกลับจากพระอุโบสถแล้วทรงปลูกต้นสัก      ต้น     บริเวณหน้าพระตำหนักใหญ่ด้านติดกับพระตำหนักปั้นหยา    ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ   แล้วทรงประกาศลาสิกขาต่อพระสงฆ์

                         จากนั้นเสด็จไปทรงเปลื้องกาสาวพัสตร์เปลี่ยนเป็นทรงเศวตพัสตร์    เสร็จแล้วเสด็จไปทรงสมาทานเบญจศีลแสดงพระองค์เป็นอุบาสก    และเสด็จไปยังพระตำหนักทรงพรต   เข้าสู่ที่สรงน้ำพระพุทธมนต์เป็นการภายใน

                         เมื่อเสร็จการแล้วทรงเศวตพัสตร์เสด็จไปยังพระตำหนักปั้นหยา     ทรงประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์    จากนั้นเสด็จไปยังพระตำหนักใหญ่    ทรงจุดธูปเทียนเครื่องสักการะทูลลาพระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้าทั้งสองพระองค์     แล้วเสด็จเข้าสู่ที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    รัชกาลที่     ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะถวายบังคมลา

                         เสร็จแล้วเสด็จออก     พระตำหนักเพชร    ขณะนั้นสมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์    พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์    คณะองคมนตรี     คณะรัฐมนตรี    และประธานสภาผู้แทนราษฎรเข้าเฝ้า     อยู่พร้อมหน้า   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   พระราชทานกระแสพระราชดำรัสในการลาผนวช    และทรงอุทิศพระราชกุศล    แล้วเสด็จขึ้นสู่พระตำหนักปั้นหยา

                         เวลา   ๑๓.๐๐   น.   เสด็จไปยังตำหนักปัญจมเบญจาทูลสมเด็จพระบรมราชูปัชฌายาจารย์   แล้วเสด็จไปยังพระอุโบสถ   ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะพระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจ้าทั้งสองพระองค์    และพระบรมราชสรีรอังคารพระบาทสมเด้จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว    รัชกาลที่       แล้วทรงจุดธูปเทียนถวาย      นมัสการลาพระพุทธชินสีห์พระสงฆ์เจริญพระชัยมงคลคาถาถวายแล้ว    เสด็จออกจากพระอุโบสถ    เสด็จขึ้นประทับรถยนต์พระที่นั่ง     เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิตท่ามกลางปวงประชาอาณาราษฎรมาคอยเฝ้า     ชมพระบารมีและพากันถวายอนุโมทนาสาธุการในพระราชกุศลแห่งการเสด็จออกทรงผนวชครั้งนี้โดยทั่วกัน

                         เป็นที่น่าสังเกตว่า     ในขณะที่ทรงเพศบรรพชิตนี้พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    ทรงบำเพ็ญพระจริยาวัตรเยี่ยงภิกษุทั้งหลายทุกประการ    เช่นเสด็จออกรับบิณฑบาตจากชาวบ้าน  เป็นต้น

                         อนึ่ง    พระราชดำรัสตอบพระเถระผู้ใหญ่ก็ดี    หรือพระเถระผู้ใหญ่ถวายพระพรก็ดี    คงใช้ราชาศัพท์ตามปกติเหมือนกับมิได้ทรงผนวช     ทั้งนี้เพราะถือว่าพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์อยู่โดยสมบูรณ์    หากแต่ทรงลาราชกิจชั่วคราวเท่านั้น

       

       

      ๑๐....  พระบรมราโชวาทในวันกองทัพบก

                เมื่อวันที่   ๒๕   มกราคม   ๒๔๙๙.......

       

      ทหารทั้งหลาย

                     วันนี้เป็นวันกองทัพบก    ซึ่งเวียนมาครบรอบ      ปี    อีกครั้งหนึ่ง    ท่านทั้งหลายจึงได้ร่วมกันกระทำพิธีที่ระลึกเป็นอนุสรณ์แห่งความสามัคคี    ในโอกาสอันสำคัญยิ่งนี้     ก็เป็นประเพณีและเป็นธรรมดาอยู่เองที่ท่านจะพิจารณาถึงกิจการที่ได้กระทำมาในรอบปีที่สิ้นสุดลง    และกิจการที่ต้องดำเนินไปในภายหน้า    การพิจารณาดังกล่าวนี้ย่อมต้องอาศัยหลักปฏิบัติและหลักการพลรบ    ผู้บังคับบัญชาของทหารย่อมทราบดีถึงหลักการและหลักปฏิบัติของทหาร     ฉะนั้นในที่นี้ข้าพเจ้าเพียงแต่จะย้ำหลักการและหลักปฏิบัติใหญ่     ที่ทหารหรือกำลังรบใด ๆ   จะต้องยึดถือในการปฏิบัติตามหน้าที่ของทหาร     หลักสำคัญอันแรกที่ทหารทุกคนต้องปฏิบัติระลึกถึงอยู่เสมอคือ   ความหมาย   และหน้าที่ของทหาร    ประเทศเราเป็นประเทศที่รักความสงบ    ไม่ชอบรุกราน    แม้กระนั้นก็ดีการมีกำลังรบย่อมเป็นสิ่งจำเป็น    ทั้งนี้     เพื่อรักษาความสงบและอิสรภาพของประเทศ     เมื่อทหารมีไว้สำหรับประเทศชาติ     ทหารต้องเป็นของประเทศชาติ    หาใช่ของบุคคล   หรือคณะบุคคลใด ๆ โดยเฉพาะไม่   เมื่อทหารเป็นหน่วยสำคัญสำหรับรักษาความสงบ   และอิสรภาพของประเทศทหารจึงต้องมีความเข้มแข็ง    และสมรรถภาพของทหารอยู่ที่วินัย    ต้องเชื่อฟังคำสั่งโดยชอบของผู้บังคับบัญชา   ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องปกครองทหารในทางที่ชอบที่ควร   โดยระลึกถึงความเที่ยงธรรมและหน้าที่อันมีเกียรติของทหาร   ทั้งนี้เพราะทหารได้รับเกียรติและเอกสิทธิเป็นผู้กุมอาวุธ     และกำลังรบของประเทศ   เป็นที่เคารพเกรงขามในหมู่ชนทั่วไป     ทหารจึงต้องปฏิบัติให้สมกับที่ตนได้รับความไว้วางใจ   ไม่ควรไปทำหรือเกี่ยวข้องในกิจการที่มิใช่อยู่ในหน้าที่โดยเฉพาะของตน   เช่น    ไปเล่นการเมือง  ดังนี้เป็นต้น     กระทำเช่นนั้นจะทำให้บุคคลเสื่อมความเชื่อถือในทหารโดยเข้าใจว่า    เอาอิทธิพลไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว    เวลานี้สภาพการณ์ทั่วโลก   ยังไม่อยู่ในระดับปกติ    ความจำเป็นและสำคัญของทหารย่อมมีมากขึ้น    ทหารจึงควรรักษาวินัย   โดยเคร่งครัด    ประพฤติตนให้เที่ยงธรรม   ปฏิบัติหน้าที่ให้อยู่ภายในขอบเขตของตนโดยเฉพาะ   เพื่อเป็นที่พึ่งที่เคารพของประชาชนโดยทั่วไป

                         ที่ข้าพเจ้าได้ย้ำหลักสำคัญดังกล่าวแล้ว    ก็เพื่อท่านทั้งหลายจะได้นำไปประกอบการพิจารณาของท่านถึงผลปฏิบัติที่ได้รับในรอบปีที่แล้วมา    และถึงการปฏิบัติหน้าที่ของท่านในกาลต่อไป    ในที่สุดนี้   ข้าพเจ้าขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย    จงดลบันดาลให้ทหารทั้งหลายจงประสบแต่ความสุข   ความเจริญ   ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมเหมาะสมกับที่เป็นผู้ได้รับความมอบหมายให้รักษาความสงบ    และอิสรภาพของประเทศชาติอันเป็นที่รักยิ่งของเรา

                         เกี่ยวกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    จอมพล  ป. พิบูลสงคราม    ได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้แทนหนังสือพิมพ์ที่พากันไปรุมสัมภาษณ์ว่า

                         ในหลวง   ทรงมีพระราชดำรัสเช่นนั้น    เป็นการถูกต้องตามหลักการ   แต่พระองค์ท่านคงจะไม่ได้หมายความว่า      การที่ทหารเข้าเล่นการเมืองในขณะนี้เป็นการไม่สมควร    แต่คงหมายถึงการไปกระทำการที่ต้องผิดกฎหมาย   แต่ขณะนี้    ทหารก็มิได้กระทำผิดอะไร    คงปฏิบัติไปตามกฎหมายทุกประการ

                         ครั้นต่อมา   ด.ร.  หยุด    แสงอุทัย   ได้ไปบรรยายบทความทางวิทยุกระจายเสียงพาดพิงถึงพระราชดำรัสนี้เข้า   จึงเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ  มากมายเป็นเวลาหลายวัน

                         เพื่อประกอบการศึกษา   ขอคัดนำมาเล่าไว้ ณ  ที่นี้ดังต่อไปนี้

       

                         (จากหนังสือพิมพ์รายวัน   ประชาธิปไตย    ประจำวันจันทร์ที่   ๑๓   กุมภาพันธ์   พ.ศ.  ๒๔๙๙   ฉบับพิเศษ)

       

      การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

                        

                         ประชาชนทั่วทั้งแผ่นดิน    พากันเศร้าสลดใจ   ในพฤติกรรมของบุคลลผู้หนึ่งซึ่งได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพองค์พระมหากษัตริย์    ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของปวงชน   กล่าวคือ   เมื่อคืนวันอังคารที่แล้วมา    กระบอกเสียงของรัฐบาลได้กระจายเสียงออกอากาศภาคบทความของนายหยุด    แสงอุทัย    ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา   (กรมร่างกฎหมาย)   สังกัดในสำนักคณะรัฐมนตรีซึ่งมีจอมพล   ป. พิบูลสงคราม   เป็นหัวหน้าโดยได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์    ซึ่งเป็นที่เคารพของปวงชนชาวไทยว่า     องค์พระมหากษัตริย์ไม่พึงตรัสสิ่งใด    ที่เป็นปัญหาหรือเรื่องราวเกี่ยวกับเศรษฐกิจ    การเมือง   หรือทางสังคมของประเทศโดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล   เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ   และกล่าวคำอื่น ๆ  อีกที่เพียรพยายามจะแสดงให้เกิดความเข้าใจกันว่า    องค์พระมหากษัตริย์ประมุขของชาติคือ   หุ่น   ที่รัฐบาลจะเชิดเท่านั้นเอง

                         กรณีเหตุที่ทำให้บรรยายกาศเกี่ยวกับองค์พระประมุขของชาติ     โดยมีบุคคลได้กระทำการดูหมิ่นขึ้นนั้นก็เนื่องด้วย   ที่ได้มีพระราชดำรัสพระราชทานในวันกองทัพบกว่า  ให้ทหารรู้จักหน้าที่ในความเป็นทหาร   ทหารไม่บังควรเล่นการเมือง   เป็นต้น

                         คำกล่าวด้วยความทะนงองอาจของบุคคลผู้หนึ่งครั้งนี้เป็นการกล่าวถ้อยคำในฐานะที่เป็นข้าราชการ   และได้นำไปออกอากาศกระจายเสียงที่กรมประชาสัมพันธ์   ซึ่งเป็นสำนักงานแถลงข่าวของรัฐบาล    ยิ่งไปกว่านั้นความสัมพันธ์ในการเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา    และบังคับบัญชากันในทางราชการนั้น   บุคคลผู้นี้ได้สังกัดขึ้นตรงต่อ   จอมพล  ป. พิบูลสงคราม   อดีตนายกรัฐมนตรีด้วย   นับว่าเป็นสายบังคับบัญชางานขึ้นตรงโดยเฉพาะ    และบุคคลผู้นั้นไม่ใช่ข้าราชการผู้น้อยชั้นถ่อย    แต่เป็นข้าราชการชั้นพิเศษ    ซึ่งรัฐบาลคณะนี้ยกย่องถึงขนาดเป็นผู้เชี่ยวชาญรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง   และเป็นที่ปรึกษาทั่วไปในทางกฎหมายประจำทำเนียบของรัฐบาลนี้โดยเฉพาะ     เพราะฉะนั้นการกล่าวถ้อยคำอันเป็นการดูหมิ่นด้วยความทะนงองอาจต่อองค์พระมหากษัตริย์    ประมุขของชาติเช่นนี้จึงอาจที่จะบิดเบือนเป็นอื่นไปได้    ที่ว่าจะกล่าวขึ้นด้วยความโง่เขลารู้เท่าไม่ถึงการณ์   คือ  โดยเฉพาะรัฐบาลจะไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย   อนึ่ง  วันเมื่อวันเสาร์ซึ่งมีเพรสคอนเฟอรเรนซ์   จอมพล  ป.พิบูลสงคราม   ได้กล่าวชี้แจงแก้แทนนายหยุด   แสงอุทัย   ในคำกล่าวหานั้นว่า   ไม่มีผิด    และนายหยุด    แสงอุทัย   ก็ได้นำคำมากล่าวย้ำอีกว่า   กษัตริย์อังกฤษนั้นไม่กระทำการใด ๆ  ที่ไม่มีรัฐมนตรีรับสนอง    ซึ่งคำกล่าวลักษณะนี้    ขอให้พี่น้องทั้งหลายพิจารณากันดูเอาเองเถิด    และก็ควรจะได้พิจารณากันให้ลึกซึ้งด้วยว่าข้าราชการในอังกฤษซึ่งอยู่ในฐานะเช่นเดียวกับนายหยุด   แสงอุทัยได้มีผู้แนะนำความอันเกี่ยวกับอังกฤษ    มากล่าวย้ำสั่งสอนพระราชาของเขาทำนองนี้บ้างหรือไม่

                         การออกกฎหมายของรัฐบาลในยุคนี้     ปรากฏว่ากฎหมายบางฉบับกระทำความยุ่งยากเดือดร้อนแก่อาณาประชาราษฎรยิ่งนัก    อาทิกฎหมายเรื่องภาษี    กฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน    การทำโฉนดใหม่กลายเป็นโฉนดปลอม    และโดยการที่จัดตั้งคณะกรรมการที่เหนือศาล     เป็นการกระทำที่นำเอาลัทธิเผด็จการเข้ามาใช้โดยอ้างคำว่า    ต่อต้านคอมมิวนิสต์   และเป็นผลให้ศาลยุติธรรม   ต้องชี้ขาดตัดสินคดีในเรื่องหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าการกระทำของคณะกรรมการได้ออกโฉนดที่ดิน   และจัดสรรไปนั้นเป็นโมฆะ   ซึ่งก็ควรจะเป็นที่สดับได้บ้างกระมังว่า   ฐานะของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาของรัฐบาลคณะนี้นั้นมีความสำคัญแค่ไหนเพียงใด

                         การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพองค์พระมหากษัตริย์กฎหมายลักษณะอาญา   มาตรา  ๙๘   ได้บัญญัติไว้มีความว่า  ผู้ใดทะนงองอาจแสดงความอาฆาตมาดร้าย  หรือหมิ่นประมาทต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี   สมเด็จพระราชเทวีก็ดี  มกุฎราชกุมารก็ดี   ต่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในเวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี   ท่านว่าโทษของมันจำคุกไม่เกิน     ปี   และปรับไม่เกิน  ๕,๐๐๐  บาท  ด้วยอีกโสดหนึ่ง

                         เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   เสด็จประพาสเยี่ยมราษฎรภาคอีสาน   ได้มีเหตุการณ์ขึ้นเรื่องหนึ่งคือ   ชายผู้หนึ่ง   จะนำหนังสือเข้าทูลเกล้าถวายฎีกา    แต่ไม่สามารถเข้าไปได้    บุคคลผู้นั้นได้ปาหนังสือตรงไปยังรถพระที่นั่ง    แม้เหตุการณ์เพียงเท่านั้น     เจ้าพนักงานฝ่ายตำรวจและฝ่ายปกครองก็ได้จับคนผู้นั้นในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและให้ศาลได้ลงโทษจำเลยผู้นั้นไปแล้ว   โดยให้จำคุก   เมื่อได้นำเอากรณีดังกล่าวแล้ว    มาเทียบกับพฤติการณ์แห่งความทะนงองอาจของนายหยุด    แสงอุทัย    ที่ได้กระทำขึ้นต่อพระมหากษัตริย์ประมุขของชาติคราวนี้เป็นการทะนงองอาจใหญ่ยิ่งกว่ากันหลายเท่านัก    หากบุคคลที่ได้ขว้างปาเอกสารเป็นบุคคลธรรมดาสามัญ

                         แต่นายหยุด    แสงอุทัยเป็นบุคคลพิเศษอยู่ในฐานะใกล้กับรัฐบาลคณะนี้จึงยังไม่ปรากฎว่า   เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจได้ดำเนินการกับนายหยุด    แสงอุทัยประการใดเลย     ซึ่งคดีดังกล่าวนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน    เป็นหน้าที่ของข้าราชการฝ่ายปกครองและตำรวจ    จะดำเนินการได้ทันทีไม่พักให้ต้องมีผู้นำความมาแจ้ง   และร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานนั้น    คงไม่มีประเทศใดในโลกนี้เขาทำกันหรอก    และก็ทำให้สงสัยว่าอาจจะเงียบกันต่อไป   เพราะจอมพล  ป. พิบูลสงคราม   ได้แก้แทนเสียแล้วว่า  ไม่ผิด

                         ทางที่ถูกต้องเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจจะต้องเข้าดำเนินการสอบสวนพิจารณาองค์การของรัฐบาลคือ   เจ้าหน้าที่ของกรมประชาสัมพันธ์ที่ได้ยอมให้นายหยุด   แสงอุทัยนำข้อความไปอ่านออกอากาศกระจายเสียงโฆษณาต่อประชาชนทั้งประเทศนั้นว่า   ได้มีความเห็นสอดคล้องต้องด้วยหรืออย่างไร    กับเจ้าพนักงานสอบสวนจะต้องตั้งตนเป็นกลางอย่างเคร่งครัด   ไม่ใช่เป็นเครื่องมือของนักการเมืองเกรงกลัวผู้มีอำนาจบาทใหญ่    ต้องการกระทำการสอบสวนหัวหน้าผู้บังคับบัญชาโดยตรงของนายหยุด    ด้วยว่าได้มีส่วนรู้เห็นเจตนาจงใจร่วมกับนายหยุด    แสงอุทัย   ให้กระทำขึ้นเพื่อลบหลู่ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์เช่นนั้นด้วยหรือไม่

                         ประชาชนทั้งเมืองต่างเอาใจใส่กับเหตุการณ์ที่เกิดนี้โดยทั่วกัน   และก็ใคร่จะได้ฟังคำปฏิบัติการของเจ้าพนักงานทุกฝ่ายว่ากระทำการกันฉันใด     เพราะเหตุการณ์เช่นนี้กระทำให้เป็นที่หวั่นไหวต่อจิตใจของพสกนิกรที่เคารพรักพระมหากษัตริย์อยู่โดยทั่วหน้า    เพราะต้องการทราบข้อเท็จจริงโดยแจ้งชัด

                         ดร. หยุด   แสงอุทัย  ไปอาบน้ำมนต์ล้างซวย

                         (จากบทความ  ประชาธิปไตย   รายวันที่  ๑๖   กุมภาพันธ์   ๒๔๙๙)    ครางอ๋อยว่า    หมอดูแล้วว่าจะซวย ฯ  เตรียมไปพูดวันอื่นแต่ต้องการพูดแทน

                         ดร. หยุด   แสงอุทัยต้องการให้พระรดน้ำมนต์ล้างซวยให้ในกรณีที่เขียนบทความไปพูดทางวิทยุ     จนกระทั่งถูกประชาชนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก   ถึงกับ  ส.ส. ฝ่ายสนับสนุนต้องเสนอเรื่องให้ตำรวจจัดการ     ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ   ดร.เยอรมันครวญว่า

                         ......มันเป็นคราวซวยของผมเอง    ก่อนเกิดเรื่องหมอดูได้ทำนายไว้แล้วทีเดียวว่า   ผมกำลังเคราะห์ร้ายมากจะต้องรดน้ำมนต์ถึง    วัดจึงจะหายซวย

                         หลังจากที่    นายสงวน  ศิริสว่าง  ส.ส. เชียงใหม่ได้ทำบันทึกยืนยันไปยังอธิบดีกรมตำรวจ   ให้ดำเนินคดีกับดร.หยุด   แสงอุทัย   เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับที่ไปบรรยายบทความทางวิทยุกระจายเสียงเรื่องอำนาจและความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย   ตอน ๒   เมื่อคืนวันที่    เดือนนี้นั้น   ซึ่งมีข้อความบางตอนเป็นการหมิ่นในหลวง   และอธิบดีตำรวจก็ได้ส่งเรื่องให้แก่กองคดีวินิจฉัยเพื่อความแจ่มแจ้งต่อไปนั้น    ดร.หยุด   แสงอุทัยกล่าวว่า   ถึงแม้ขณะนี้ผมก็ยังยืนยันว่าผมไม่ผิด    ผมพูดตามหลักวิชาการ    และเคยพูดแบบนี้ทางวิทยุกระจายเสียงมา     ครั้งแล้ว   เช่น   ในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา   วันฉัตรมงคล   มีข้อความคล้ายคลึงกัน   แต่ก็ไม่เห็นมีเรื่องอะไรแต่คราวนี้กลับเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตไปได้ก็ประหลาดเหมือนกัน

                         ดร. หยุด   แสงอุทัย   กล่าวต่อไป   ผมมันซวยจริง ๆ  ความจริงบทความเรื่องนี้ของผมตามรายการกระจายเสียงแล้วจะต้องพูดในวันที่   ๒๑  เดือนนี้    แต่บังเอิญคุณโอภาส    ชัยนาม    เจ้าหน้าที่ทางสาขาเนติธรรมเหมือนกันเขาจะพูดทางรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย   แต่เขาเขียนไม่ทัน   เขาก็เอารายการของผมเข้ามาแทน   ถ้าหากผมไปพูดในรายการเดิมคือวันที่  ๒๑  เข้าใจว่าคงจะไม่มีเรื่อง   แต่บังเอิญถึงคราวซวยของผม    เลยได้จังหวะกันพอดี

                         เกี่ยวกับที่มีข่าวว่า     ต้นฉบับที่แจกให้ครั้งหลังนี้อาจจะไม่ตรงกันกับวันที่อ่านทางวิทยุกระจายเสียงคืนนั้น   ดร.หยุด   บอกว่า   ผมไม่บ้าอย่างนั้นหรอก   ว่าแล้วก็จัดการล้วงต้นฉบับที่เขียน    ซึ่งมีการขีดฆ่าต่อเติมให้ดู  คุณตรวจดูซิว่าตรงกับที่แจกให้ไหม

                         ส่วนที่ว่าผมกำลังรวบรวมหลักฐานที่จะฟ้องคุณสงวน    และหนังสือพิมพ์ที่ลงข่าวเรื่องนี้นะหรือ    ตราบใดที่ผมยังเป็นข้าราชการอยู่     ตราบนั้นผมจะไม่ฟ้องใครในฐานหมิ่นประมาทเลยเป็นอันขาด   เพราะผมถือว่าใครทำดีทำชั่วคนเขารู้เอง    สำหรับเรื่องที่ว่าผมหมิ่นพระมหากษัตริย์นั้น   ผมผู้เต็มที่   ผมก็เป็นคนที่รักในหลวงคนหนึ่งเหมือนกัน    เพราะผมรักพระองค์ท่าน   ผมจึงไม่ต้องการให้ใครเอาในหลวงเป็นเครื่องมือ

                         การที่จอมพล  ป. พิบูลสงคราม    อดีตนายกรัฐมนตรีออกรับแทนในเพรสคอนเฟอร์เรนซ์เมื่อวันเสาร์นั้น   ดร.หยุด   ไม่ตอบโดยตรง   แต่ซักตัวอย่างให้ฟังว่า   สมมุติว่าคุณเลี้ยงหมาไว้ตัวหนึ่ง    มีคนเข้ามาเตะหมาของคุณ   คุณเป็นเจ้าของคุณจะไม่ป้องกันหมาของคุณหรือ

                         ดร.หยุด  กล่าวในที่สุดว่า   เมื่อเช้านี้   ผมได้ให้ท่านมหาประจวบที่วัดมหาธาตุรดน้ำมนต์ให้แล้ว    เพื่อจะได้หายซวยเสียที    หรือจะเป็นเพราะความขลังของน้ำมนต์ก็ไม่รู้ที่ส่งคุณให้มาพบกับผม   กล่าวจบก็หัวเราะ

                         ละเมิดพระมหากษัตริย์

                         (จากประชาธิปไตย    รายวันที่      กุมภาพันธ์   ๒๔๙๙)

                         เรื่องที่มีราษฎรร้องต่อตำรวจว่า   มีผู้หมิ่นประมาทในหลวงเข้าแล้ว   โดยบังอาจกล่าวคำวิพากษ์วิจารณ์   พระราชดำรัสเรื่องจะเข้าในกฎหมายอาญาเป็นผิดหรือไม่ก็ตาม    แต่ในฐานะผู้กล่าววิพากษ์วิจารณ์    เป็นข้าราชการประจำ    เมื่อกระทำผิดรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย    ในมาตราหนึ่ง   พระมหากษัตริย์ย่อมเป็นที่เคารพสักการะ    ผู้ใดจะละเมิดมิได้   และเมื่อมีผู้ละเมิดขึ้นเช่นนี้     ผู้ละเมิดเป็นข้าราชการก็น่าจะได้มีการพิจารณาลงโทษ    ปลดไล่ออกหรือด้วยประการใด ๆ   ตามวินัยไปก่อนโดยไม่ชักช้า   ส่วนทางคดีอาญานั้น   ทางตำรวจก็พิจารณา   และดำเนินต่อไปทางโรงศาล

                         ข้อที่ว่าจะเป็นการละเมิดหรือไม่นั้น    เราจำได้ว่าสมัยหนึ่ง    จะเป็น พ.ศ. ๒๔๘๐   หรือ   ๒๔๘๑   ไม่แน่ใจ    ขณะนั้นพระยามานวราชเสวี    ประธานสภา   พระยาพหล ฯ  เป็นนายกรัฐมนตรี    และจอมพล  ป.พิบูลสงครามเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลครั้งนั้น    ในหลวงได้มากระทำพิธีเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร    และได้มีดำรัสต่อสภา    กล่าวถึงกิจการงานที่รัฐบาลได้ปฏิบัติในระหว่างเปิดสมัยประชุมในทางดีงามต่าง ๆ   เมื่อสภาได้เปิดประชุมปรึกษาเป็นครั้งแรกในสมัยนั้น     นายอรุณ   แสงสว่างวัฒนะ   ส.ส. นครสวรรค์  ได้เสนอญัตติให้เปิดอภิปรายกิจการงานที่รัฐบาลได้ปฏิบัติไปในสมัยเปิดประชุมนั้นว่า   ได้เป็นไปในทางดีงามต่าง ๆ  เหมือนกับที่รัฐบาลได้ไปกราบทูลในหลวง   และในหลวงได้นำมาดำรัสเล่าให้สภาทราบนั้นหรือไม่    มีอภิปรายกันมาก   ผู้สนใจคงจะค้นดูกันได้จากรายงานการประชุมสภาและจำได้ว่า    รัฐบาลสมัยนั้นได้ค้าน     ไม่ยอมให้มีการอภิปรายโดยให้เห็นว่า    ถ้ามีการอภิปรายก็จะต้องพาดพิงไปถึงกระแสพระราชดำรัสนั้น    เมื่อมีการกล่าวพาดพิงถึงก็จะเป็นการละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ผิดรัฐธรรมนูญ

                         ตามหลักฐานที่กล่าวมาแล้วนี้    แม้ในสภาซึ่งได้รับเอกสิทธิคุ้มครอง     รัฐบาลอันประกอบด้วยจอมพล  ป.พิบูลสงคราม  ในครั้งนั้นยังเห็นว่าเป็นการละเมิด    ก็สำมะหาอะไร    ข้าราชการผู้ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมากล่าววิพากษ์วิจารณ์เช่นนี้จะไม่เป็นการละเมิด

                         ส่วนที่มีข่าวว่า   ได้มีการสับเปลี่ยนฉบับอันเป็นหลักฐานการพูดที่กรมประชาสัมพันธ์เสียนั้นก็ไม่ประหลาดอะไร    ถ้ามีอำนาจในรัฐบาลนี้จะดำเนินการตรงไปตรงมา     รู้ว่าอะไรผิดอะไรชอบ    ก็จะสอบสวนได้โดยไม่ลำบาก   การกล่าวคำหมิ่นประมาทด้วยวาจา   ต่อคนที่ได้ยินเพียง    คน   ก็ยังเข้าคุกเข้าตารางมาแล้วตั้งมากมาย   ที่พูดทางวิทยุกระจายเสียงของรัฐบาล   คนได้ยินนับหมื่นนับแสน   จะเอาแน่ว่าพูดอย่างไรไม่ได้เชียวหรือ   ถ้ามีการสับเปลี่ยนต้นฉบับจริง   ก็น่าจะมีการสอบสวนทางอาญา    ถึงผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ  ที่พยายามทำลายหลักฐานได้อีกตั้งหลายกระทง

                         ถ้า  จอมพล  ป.   ผู้ซึ่งกล่าวเสมอถึงความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญ    ปล่อยให้คนใกล้ชิดของท่านทำผิดรัฐธรรมนูญได้ก็น่าจะเป็นที่อเน็จอนาถใจไม่น้อยเลย

                         ควงวิพากษ์วิจารณ์  ดร.หยุด   ครื้นเครง

                         (จาก  ประชาธิปไตยรายวัน   ที่  ๑๙  กุมภาพันธ์   ๒๔๙๙)    จอมพลไปออกรับแทนก็ยิ่งผิดใหญ่    คนไปที่บ้านเจริญพรกันเปิงไปเลย

                         หลังจากที่   ดร. หยุด   แสงอุทัย   ถูก  ส.ส. สงวน   ศิริสว่างแจ้งให้  พล.ต.อ. เผ่า   ศรียานนท์   อธิบดีกรมตำรวจจัดการดำเนินคดีเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ   ซึ่ง  พล.ต.อ. เผ่า ได้ส่งบทความของ  ดร.หยุด   ให้กองคดีกรมตำรวจวินิจฉัย   ในที่สุดกองคดีพิจารณาแล้วปรากฏว่าบทความของดร. หยุด   ไม่ผิดและไม่มีการหมิ่นพระมหากษัตริย์แต่อย่างใดนั้น

                         จากการพบกับนายควง   อภัยวงศ์    หัวหน้าพรรคประชาธิปไตย   ได้แสดงความเห็นว่า

                         ดร. หยุด   เป็นนักกฎหมายที่เชี่ยวชาญของรัฐบาลเสียเปล่า   ถึงจะพูดถูกหรือไม่ถูกก็ตาม   ทำให้คนทั้งบ้านทั้งเมืองเข้าใจผิด    ใครที่ได้ฟังวิทยุในคืนนั้นก็เข้าใจว่าเป็นการหมิ่นในหลวง    แล้วมันก็ใช้ได้ที่ไหน

                         นายควงยกตัวอย่างให้ฟังว่า   เหมือนอย่างครูเหมือนกัน    ถึงแม้จะเก่งหรือวิเศษสักปานใด   แต่สอนแล้วนักเรียนไม่เข้าใจ   ครูคนนั้นก็ใช้ไม่ได้   อย่าง  ดร.หยุด  ที่จอมพล  ป.  คิดว่าเป็นนักกฎหมายที่เก่งและดีมาก   แต่อย่างลืมนะว่าเป็นดีคนเดียว    ไปอยู่ในหมู่คนบ้าก็กลายเป็นบ้าเหมือนกัน    ไม่เชื่อใครก็ได้ไปหาลูกน้องหมอฝนที่หลังคาแดงปากคลองสานซิ    พวกนั้นจะหาว่าบ้าทั้งนั้น    และก็ดร.หยุด  เป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย    อุตส่าห์เขียนมาอ่านให้คนฟังเข้าใจผิดกันทั้งเมืองก็แปลกเต็มทน

                         เกี่ยวกับจอมพลที่เข้าข้าง ดร.หยุดโดยออกรับแทนในที่ประชุมหนังสือพิมพ์  นายควงกล่าวว่า

                         นั่นแหละจอมพลยิ่งผิดใหญ่ทีเดียว    เพราะหากที่ดร.หยุดพูดไปเป็นการหมิ่นในหลวง    และจอมพล ป.ก็เป็นรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    จอมพล ป. ก็ผิดเต็มประตู   แต่ถ้า ดร.หยุด  ไม่พูดหมิ่นในหลวง    จอมพลเป็นคนอนุญาตให้พูด    ทำให้คนเข้าใจผิดกันทั้งเมือง   จอมพล ป. ก็ผิดอีก

                         ไม่ใช่แต่เพียงหนังสือพิมพ์หรือ ส.ส.สงวนที่เข้าใจว่าเป็นการหมิ่นในหลวง    คนอื่น ๆ  ทั้งที่มีสติปัญญาและไม่มีสติปัญญา   เขาก็เข้าใจอย่างนั้นทั้งสิ้น    ใคร ๆ  ที่มาหาผมถามว่าคืนนั้นฟังวิทยุหรือเปล่า    ผมบอกว่าเปล่า     เขาบอกว่าที่  ดร.หยุดพูดนั้นหมิ่นพระมหากษัตริย์จริง ๆ    แล้วก็ด่ากันเปิงไปหมด    เขายังบอกต่อไปอีกว่า   ต้นฉบับที่แจกหนังสือพิมพ์วันนั้นไม่ตรงกับที่จ่ายทางวิทยุ    เมื่อดร.หยุด   พูดให้คนเข้าใจผิดกันหมดอย่างนี้    จะเลี่ยงได้ไหม ?     นายควงกล่าวในที่สุด

                         ครั้นจำเนียรกาลต่อมา    คณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่      นาย  คือ

                         (๑)   พณ     จอมพล   สฤษดิ์               ธนะรัชต์        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

                     (๒)  พณ     พลเอก   ถนอม               กิตติขจร               ร.ม.ช. กระทรวงกลาโหม

                     (๓)  พณ     พลโท     ประภาส               จารุเสถียร               ร.ม.ช. กระทรวงมหาดไทย

                     (๔)  พณ     พล อ.ท. เฉลิมเกียรติ   วัฒนางกูร               ร.ม.ช. กระทรวงเกษตร

                     (๕)  พณ     พล.ต.     ศิริ            ศิริโยธิน        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์

      ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี    ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมืองวันที่   ๒๐   สิงหาคม   ๒๕๐๐   เวลา  ๙.๓๐  น.

                         เหตุผลที่คณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองครั้งนี้   พล.ท. ประภาส     จารุเสถียรได้แถลงแก่ผู้แทนหนังสือพิมพ์ว่า

                         สำหรับการลาออกของผมครั้งนี้     ก็เนื่องจากต้องการแยกข้าราชการประจำ ( ทหาร )   กับการเมืองออกจากกัน    เพราะมีเสียงเรียกร้องกันส่วนมาก    เช่น   ทางวิทยุ    ทางหนังสือพิมพ์

                         จึงสรุปได้ว่าการกระทำครั้งนี้   ของท่านผู้มีเกียรติเหล่านี้    ควรนับได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามพระราชดำรัสเนื่องในวันกองทัพบก    เมื่อวันที่   ๒๕   มกราคม   ๒๔๙๙    ได้ส่วนหนึ่ง   ทั้งได้ชื่อว่า   ปฏิบัติตามมติมหาชนในขณะนั้นอย่างสรรเสริญยิ่ง !

                         ก้าวต่อมาเพื่อให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น   พณ ฯ  จอมพล  สฤษดิ์    ธนะรัชต์   ยังได้พาคณะ ส.ส. ประเภท     จำนวน   ๙๑   ท่าน   ลาออกจากสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลา   โดยเหตุผลว่า

                         ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้มีบัญญัติไว้ว่า     สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท    เป็นบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  แต่งตั้งขึ้นในสมัยเริ่มแรกที่ใช้รัฐธรรมนูญนี้     โดยเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญจะเห็นได้ว่า    พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้สมาชิกประเภท     ได้เป็นพี่เลี้ยงสมาชิกประเภท ๑   ในสภาผู้แทนราษฎรเพราะสมาชิกประเภท     เป็นผู้รอบรู้และคุ้นเคยกับการบริหารราชการมาแล้ว     สมาชิกประเภท     จึงไม่ควรสังกัดพรรคการเมืองใด    เพราะเหตุที่พรรคการเมืองนั้น    ย่อมอาจผลัดเปลี่ยนกันบริหารราชการแผ่นดินได้ตามกาลสมัย    หากสมาชิกประเภท     สังกัดพรรคการเมืองใด    พรรคการเมืองหนึ่งแล้ว     หากภายหลังพรรคการเมืองนั้นมิได้เป็นรัฐบาล   กลายเป็นฝ่ายค้านไป    สมาชิกประเภท    ที่สังกัดพรรคการเมืองฝ่ายค้านก็ต้องกลายเป็นฝ่ายค้านรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปด้วย   เป็นการขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวข้างต้น

                         ฉะนั้น   เพื่อให้เป็นการตรงกับเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย    กระผมจึงขอลาออกจากสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป     เพื่อบำเพ็ญภารกิจตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ   และดำเนินการเป็นอิสระด้วย

                         สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่     ที่ลาออกกันมีดังต่อไปนี้.-

      ๑.   จอมพล  สฤษดิ์                   ธนะรัชต์                                                      ๒.   พล.ต.  พงษ์                    ปุณณกันต์

      ๓.   พล.จ.  กฤษณ์         สีวะรา            ๔.   พล.ร.ต.  จรูญ                   เฉลิมเตียรณ

      ๕.   พล.จ.  จำเป็น                   จารุเสถียร         ๖.   พล จ.  อัคเดช                   ยงยุทธ

      ๗.   พ.อ.  จิตต์                   สุนทานนท์        ๘.   พล.ท.  จิตติ                     นาวีเสถียร

      ๙.   พล.ต.  เจริญ                   สุวรรณวิสูตร                   ๑๐. พลเอกหลวงจุลยุทธบรรจง

      ๑๑. พล.ท.  เจียม            ญาโนทัย                   ๑๒. พล.อ.ท.  เฉลิมเกียรติ   วัฒนางกูร

      ๑๓. พล.ต.  ชลอ                   จารุกลัส                   ๑๔. พล.ร.อ.  หลวงชำนาญอรรถยุทธ์

      ๑๕. พล.ร.ต.  ชื้น               สนแจ้ง                   ๑๖. พล.จ.  ขุนชิตผดุงผล

      ๑๗. พล.ต.  ณรงค์          สารีรัฐวิภาค                   ๑๘. พล.อ.  ถนอม                   กิตติขจร

      ๑๙. พล.อ.ต.  เทพ                   เกษมุติ                   ๒๐. พล.ต.  ตรี                     บุษยกนิษฐ

      ๒๑. พล.อ.ต.  นักรบ           บินศรี                   ๒๒. พล.จ. บุญชัย                   บำรุงพงษ์

      ๒๓. พล.อ.ท.  บุญชู                   จันทรุเบกษา                   ๒๔. พล.จ.  ประยูร                   หนุนภักดี

      ๒๕. พล.ท.  ประภาส                   จารุเสถียร                   ๒๖. พล.ต. ประเสริฐ       รุจิรวงศ์

      ๒๗. พล.ต.  ปรุง                   รังสิยานนท์                   ๒๘. พล.จ. ปุ่น                      บุณยฤทธิ์เสนีย์

      ๒๙. พล.ต.  เผชิญ                   นิมิตบุตร                    ๓๐. พล.ท.  ผ่อง                        บุญสม

      ๓๑. พล.ต.  กฤษณ์                   ปุณณกันต์                   ๓๒. พล.ต. วิชัย                    พงศ์อนันต์

      ๓๓. พล.อ.  หลวงสถิตย์ยุทธศาสตร์                   ๓๔.  พล.อ.หลวงสวัสดิ์กลยุทธ

      ๓๕. พล.อ.  สุทธิ                   สุทธิสารรณกร                   ๓๖. พล. ต.  สุรใจ                   พูลทรัพย์

      ๓๗. พล.ต.  ปุ่น                   เสนาทิพย์                   ๓๘. พล.อ.  เสถียร                   พจนานนท์

      ๓๙. พล.อ.  ไสว                   ไสวแสนยากร                   ๔๐. พล.อ.  อร่าม                   เมนะคงคา

      ๔๑. น.อ.  อุดม                   สุขมาก                   ๔๒. พ.อ.  โชติ                      หิรัญยัญฐิติ

      ๔๓. พ.ท.  ประจวบ                   สุนทรางกูล                   ๔๔. ม.ล.  ปืนไทย                   มาลากุล

      ๔๕. นายกมล                   พหลโยธิน                   ๔๖. พล.ร.อ.  สนอง                   ธนศักดิ์

      ๔๗. พล.ร.ต.  เปลี่ยน         นิ่มเนื้อ                   ๔๘. พล.ต.  ประยูร                   สุคนธทรัพย์

      ๔๙. พล.อ.ท.ม.จ. รังษิยากร   อาภากร                   ๕๐. พล.ต.  เล็ก                   สงวนชาติ

      ๕๑. พล.ร.อ.  เสนาะ          รักธรรม                   ๕๒. พระสุขุมวินิจฉัย

      ๕๓. พระยาสาลีรัฐวิภาค                           ๕๔. พล.ต.จ.  เกษียร          ศรุตานนท์

      ๕๕. พ.ท.  ชาญณรงค์                   วิจารณบุตร์                   ๕๖. พล.ต.  ไตรเดช                   ปั้นตระกูล

      ๕๗. พล.ร.ต.  ทัศน์                   กรานต์เลิศ                   ๕๘. พล.อ.ท.  หลวงเทวฤทธิ์พันลึก

      ๕๙. พล.ต.  ณรงค์          วรบุตร                   ๖๐. พล.ท.  กาจ                        กาจสงคราม

      ๖๑. นายเทพ                   สาริกบุตร                   ๖๒. พล.อ.ท.  ทวี                   จุลทรัพย์

      ๖๓. พ.อ.  ประดุจ         อินทาระ                   ๖๔. พ.อ.  ชาญ                     บุญสิทธิ์

      ๖๕. พล.อ.ท.  หลวงกัมปนาทแสนยากร                   ๖๖. พล.อ.  สาย                        เชนยะวานิช

      ๖๗. พ.ต.   ก้าน                   จำนงค์ภูมิเวทย์                   ๖๘. พล.ต.  ชาติชาย                   ชุณหวัน

      ๖๙. นางแร่ม    พรหมโมบล   บุญยประสพ                   ๗๐. พล.อ.ต.  หลวงกรโกสีห์กาจ

      ๗๑. พล.อ.ท.  เฟื่อง            วุฒิราญ                   ๗๒. พล.อ.ต.  ม.ร.ว.  สุกษม                   เกษมสันต์

      ๗๓. พล.อ.ต.  มนัส                   เหมือนทองจีน                   ๗๔. พล.อ.อ.  หลวงเชิดวุฒากาศ

      ๗๕. พล.อ.ท.  หลวงเจริญจรัมพร                   ๗๖. พล.ร.ต.  ชลา                   สินธุ์เสนีย์

      ๗๗. พล.ร.ท.  หลวงมงคลยุทธนาวี                   ๗๘. พล.ร.ท.  สงบ                   จรูญพร

      ๗๙. พล.ต.  หลวงสัมฤทธิ์สุขุมวาท                   ๘๐. พ.ต.  หลวงรณสิทธิชัย

      ๘๑. พ.อ.  สติ                   หงส์นันท์                   ๘๒. พล.ต.  พระยาอานุภาพไตรภพ

      ๘๓. พล.จ. จรูญ                   วีณาคุปต์                   ๘๔. พ.อ.  ช่วง                      เชวงศักดิ์สงคราม

      ๘๕. พล.ต.  น้อม                   เกตุนุติ                   ๘๖. นายจิตตะเสน                   ปัญจะ

      ๘๗. นายชวน                   อนิษฐ                   ๘๘. พระยาประชาศรัยสุรเดช

      ๘๙. นายประหยัด                   เอี่ยมศิลา                   ๙๐. นายสานนท์                    สายสว่าง

      ๙๑. นายชัยวัธน์                   อินทะพันธุ์

       

                         นอกจากนั้นยังมีผู้ลาออกหลายคน    แต่เป็นพรรคเสรีมนังคศิลา     และเป็นพวกเดียวกันกับ  จอมพล  ป.   และ  พล.ต.อ.เผ่า     การลาออกของบุคคลเหล่านี้   เข้าใจกันว่าคงเป็นกุศโลบายมากกว่า ด้วยความตั้งใจจริง   เช่น   จอมพล   ฟื้น    รณนภากาศ    พล.ต. ศิริ     ศิริโยธิน     จอมพล  ผิน   ชุณหวัน   เป็นต้น....  

       

       

      ๑๑....  ข่าวร้ายจากสภาแห่งชาติ.......

       

                         การเปิดอภิปรายทั่วไปของพรรคฝ่ายค้านต่อรัฐบาลจอมพล  ป. พิบูลสงคราม    อย่างมาราธอน   คือ   อภิปรายทั้งกลางวันและกลางคืน    เริ่มตั้งแต่วันที่   ๒๙   สิงหาคม   ๒๕๐๐   เวลา   ๑๕.๐๐  น.   ถึงเวลา   ๑๙.๐๐  น.   แล้วหยุด      ช.ม.    เริ่มเวลา   ๒๐.๐๐  น.   ถึงเวลา   ๐๕.๐๐   น.   ของวันใหม่   วันรุ่งขึ้น   ๓๐   สิงหาคม   ๒๕๐๐   เริ่มเวลา   ๑๔.๔๕  น.    จนหมดการอภิปราย  เวลา  ๐๓.๑๐  น.    รวมเวลาอภิปรายทั้งหมด   ๓๐  ชม.   การอภิปรายคราวนี้    เป็นการเปิดอภิปรายตามรัฐธรรมนูญมาตรา   ๗๕   คืออภิปรายเสร็จแล้วไม่มีการลงมติ    แม้ว่ารัฐบาลจะมีเหตุผลน้อยกว่า     หรือฝ่ายค้านจะมีเหตุผลดีกว่า     อย่างไรก็ตาม     ก็ไม่มีผลถึงกับไล่รัฐบาลออกจากตำแหน่งได้    แต่ถึงอย่างนั้นก้ทำให้รัฐบาลเสียเกียรติภูมิไปมากเหมือนกัน

                         อนึ่งควรจะทราบด้วยว่า     การเปิดอภิปรายตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมี     อย่างคือ   เปิดอภิปรายแล้วลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล  (ม.๗๖)   อย่างหนึ่ง     การเปิดอภิปรายชนิดนี้    จะทำได้ก็ต่อเมื่อพรรคฝ่ายค้านจะต้องลงชื่อกันถึง     ใน      คือต้องได้  ๙๖   เสียง  (สมาชิกสภาทั้งหมด   ๒๘๓  คน)    จึงจะมีสิทธิเปิดอภิปราย    อีกอย่างหนึ่ง   เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติแต่อย่างใด   (ม. ๗๕)   การเปิดอภิปรายครั้งนี้เป็นการเปิดอย่างชนิดที่     คือเปิดอภิปรายทั่วไปเฉย ๆ   โดยไม่ลงมติ    เพราะหาสมาชิกลงชื่อได้ไม่ครบตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ  ม. ๗๖    พรรคฝ่ายค้านจึงเลือกเอาการเปิดอภิปรายซักฟอกเฉย ๆ   โดยไม่มีการลงมติแต่อย่างใด    การเปิดอภิปรายทั่วไป    มีหัวข้อโจมตีรัฐบาลจอมพล  ป.  พิบูลสงคราม      ข้อด้วยกัน

                         ข้อที่      .  เรื่องรัฐบาลจอมพล  ป. พิบูลสงคราม   ไม่สามารถรักษาความสงบของบ้านเมืองได้     เป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและได้มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพขึ้นในประเทศ    ข้อนี้เป็นหน้าที่ของพรรคสหภูมิ

                         การเปิดอภิปรายในข้อนี้    จะต้องถูกจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์แห่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขชั่วกัลปาวสาน

                         นายพีร์    บุนนาค   ส.ส. ปากตะไกรเป็นผู้อภิปรายในนามพรรคสหภูมิเรื่องนี้เผ็ดร้อนรุนแรงเป็นประวัติการณ์จึงขอยกมาประกอบการศึกาดังต่อไปนี้

                         นายพีร์   บุนนาค   ผมพูดวันนี้    ต่อหน้าพระเศวตฉัตรนพดล    กระผมคิดว่าอายุมันก้อยู่มาถึงแค่นี้แล้ว  ๔๐   และก็โรคประจำตัวก็มีครับ    เป็นฮายบลัดพลายเซอร์ขึ้นมาถึง  ๒๐๐    ถ้าหากว่าจะเป็นตายก็ขอฝากไว้   ถ้าไม่เป็นจริงก็ขอให้รัฐบาลนี้ได้ปรับปรุงว่าเสียงอกุศลมันเกิดขึ้นแล้ว    จะมีความจงรักภักดีและถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์อย่างไร     เรื่องที่กระผมได้ทราบดังนี้     ถ้าหากว่ากระผมพูดออกไปแล้ว    จะมีเพชฌฆาตการเมืองคนใดเล่นงานผมก็พร้อมเสมอ   ขอกราบเรียน    พณ ฯ   ท่านได้โปรดทราบไว้ด้วย   มันมีข่าวลืออย่างนี้ครับ     หนาหูเต็มที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์กับรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้   ถ้าไม่จริงก็ขอให้นึกด้วยว่า  ที่ผมพูดนี้ต้องการจะให้  พณ ฯ  ท่านได้ทราบ   ได้แก่ตัวหรือตีแผ่เอาความจริงมา     เราจะได้รู้กันว่าควรจะปรับปรุงกันอย่างไรเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์     ในการที่จะเทอดทูนท่านตามรัฐธรรมนูญ    เขาบอกว่าอย่างนี้ครับ   นี้เกี่ยวกับอธิบดีโดยตรงเลย   เกี่ยวกับท่านรัฐมนตรีมหาดไทย    ในการประชุมสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลา     ทำเนียบรัฐบาลเมื่อเวลาบ่ายโมงวันที่      กุมภาพันธ์   ๒๔๙๙    นี่ผมก็ได้มาจากในพรรคของท่านเองซึ่งประชุมก่อนที่ประชุมเฉพาะ ส.ส.  บางนายประเภท     เขาบอกว่า  พณ ฯ  ท่านพลตำรวจเอก  เผ่า  นี่น่ะ    รัฐมนตรีมหาดไทยได้แจ้งให้ที่ประชุม    ต่อหน้าจอมพลแปลก   พิบูลสงคราม     ว่าได้ทราบโดยมีหลักฐานแน่นอนว่าทันโทษครับ   ในหลวงองค์ปัจจุบันได้ทรงมอบเงิน     แสนบาท  ให้ ม.ร.ว. เสนีย์    ปราโมช    นายควง   อภัยวงศ์    พรรคประชาธิปไตย   นี่ข่าวมันออกมาอย่างนี้

                         ประธานท้วง   เดี๋ยวก่อน   ผมขอเตือนคุณระวังการอภิปราย   อย่าเป็นการกระทบกระเทือนต่อองค์พระมหากษัตริย์   เพราะคุณเองก็...

      นายพีร์    บุนนาค                        :                        มันเป็นอย่างนี้ครับท่านประธาน

      ประธาน                        :                        ผมเตือนไว้เท่านั้น

      นายพีร์   บุนนาค: ขอประทานขอบคุณครับ    แต่ผมจำเป็นก็จะเรียนให้ทราบ   เพราะมันเกี่ยวไปถึงอย่างนี้

      ประธาน: นั่นซิ  ขอระมัดระวังอย่าเป็นการกระทบกระเทือนองค์พระเจ้าอยู่หัว ไม่งาม

      นายพร์   บุนนาค: คือว่าถ้าไม่มีอะไรนะครับก็ว่ากันให้ขาว ๆ  ผมได้มาอย่างนี้    ท่านจะได้ตีให้สะอาด    เมื่อกี้ท่านยังตีแผ่ออกมาว่า   เรียบร้อยแล้วท่านจะรักษาบัลลังก์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                              นี่เป็นสิ่งที่ผมปลื้มใจ   พณ ฯ ท่านรัฐมนตรีพูดมาอย่างนี้   ท่านประธานฟังผมต่อไปดีกว่า     บอกว่ามีการประชุมวางแผนประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อคราวที่แล้วมาครับ    เมื่อวันที่    มีนาคม  ๒๕๐๐  นี้    ได้มีการประชุมกันทีหนึ่ง   ได้มีบุคคลชั้นจอมพลไปนั่งในที่ประชุมนั้นเว้นไว้แต่ พณ    ท่าน  จอมพล  ป.  นี้เป็นข้อเท็จจริง   เขาว่ากันมาอย่างนี้   ท่านไม่มีอะไรก็ว่าออกมาเสีย    แล้วประชาชนจะได้มั่นใจว่ารัฐบาลนี้และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง    พณ ฯ  ท่านพลตำรวจเอก  เผ่า  นี้   เคารพสักการะพระมหากษัตริย์

      จอมพลอากาศฟื้น: ไม่มีความจริงอย่างยิ่งที่ว่าและไม่เคยว่า    ขอให้ระงับและจะเกี่ยวพันไปถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ก็เพราะไม่เกี่ยวและอ้างจอมพล   ผมไปเป็นประธานที่ประชุมน่ะ   ไม่มีเลย   และขอความกรุณา (ประธานท้วง)

      นายพีร์   บุนนาค: เขาบอกว่าอย่างนี้ครับ   บอกว่า  พณ ฯ  ท่านรัฐมนตรีมหาดไทย   พลตำรวจเอก  เผ่า  เสนอให้มีการจับกุม  องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   และรัฐมนตรีบางคน (ประธานท้วง)

      จอมพลฟื้น: ท่านประธานครับ   ให้เอ่ยชื่อมาเลยอย่างนี้ไม่ดี    ท่านอย่าไปเชื่อมันเลย    มันจะได้รู้กันเลย   อ้างกันอย่างไรเรื่อยไป

      ประธาน: อย่าโมโห   ไม่มีประโยชน์ว่ากันใจเย็น ๆ ดีกว่า    และก็เวลาของคุณพีร์นั้นก็หมดแล้วด้วย   พอแล้วเวลาเกินไปแยะแล้วขอเถิดคุณ

      นายฉันท์   จันท์ชุม : ประธานครับ   กระผมขอให้ถอนคำนี้    เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ   ถ้าหากรู้จริงว่าใครขอให้แสดงมา

      นายพีร์   บุนนาค: ท่านประธานครับ    กระผมพูดมานี้  กระผมพูดเทอดทูนวงศ์จักรี    กระผมเทอดทูนองค์พระมหากษัตริย์   แล้วทำไมมาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

      ประธาน: คุณกล่าวอย่างนั้นมันไม่สมควร     แล้วก็หลักฐานมันก็ไม่มี     เพราะฉะนั้นผมคิดว่า   ถอนเสียดีกว่า   ขอให้ถอนเสีย

      นายสานนท์   สายสว่าง: เรื่องนี้คุณพีร์รู้แล้วทำไมไม่แจ้งความผิด    รู้ว่าใครจะละเมิดองค์พระมหากษัตริย์  คือ  ตัวผู้รู้เองไม่แจ้งความ

      นายพีร์   บุนนาค: ผมพูดในสภาผู้แทนราษฎร

      นายสานนท์ : คุณรู้มาก่อน

      ประธานห้าม : เอาละ   คุณพีร์   ขอให้ถอนเสียมันไม่งามไปพูดเช่นนั้น

      นายพีร์ : ผมถอนทุกกรณี    เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์   เพราะผมเทอดทูนองค์พระมหากษัตริย์

      ประธาน: คุณถอนไหม

      นายพีร์ : ถอนในข้อไหนครับ  ว่ามา

      ประธาน: คุณบอกว่า   คุณเผ่าไปพูดว่าพระเจ้าอยู่หัว   พูดคำนี้ไม่สมควร

      นายพีร์ : ผมว่ามีแต่ข่าว   แต่เมื่อมันเสียท่านแก้นะ

      ประธาน: ไม่ได้   ให้ถอนเสีย  คำสั่งของประธานเห็นไม่สมควรขอให้ถอนเสีย    จะถอนหรือไม่ถอน   ถ้าไม่ถอนจะได้ปฏิบัติตามข้อบังคับ

      นายพีร์ : ถอนให้    แต่ผมเรียนไว้อันหนึ่งว่า    ข่าวอย่างนี้มันเกิดไม่ดีขึ้น   ขอให้รัฐบาลรีบแก้รีบปรับปรุงเสียถึงได้บอกว่าได้มีการต่อรอง

      ประธาน: ที่พูดเมื่อกี้นี้  ขอให้ถอนเสีย

      นายพีร์ : ผมถอนแล้วไงล่ะ    ผมถอนให้ตอนที่ว่าท่านประธาน

      ประธาน: หยุด    จะถอนหรือไม่ถอน

      นายพีร์ : ก็ผมถอนแล้วไงละ    ท่านไม่ฟังเอง

      ประธาน: ถอนแล้วนะฮะ

      นายพีร์ : ถอนซิ   แต่ผมจะเน้นว่ารัฐบาลรีบปรับปรุงเสีย

      ประธาน: พอที    คนอื่นพูดต่อด้วยเถอะ

      นายพีร์ : ผมยังมีเวลา  แต่ผมเอาแค่นี้   แล้วก็ขอให้ที่ประชุมได้โปรดวินิจฉัยเอาเถอะว่า    อ้ายความรู้สึกของประชาชนนั้น    ผมขอกราบเรียนต่อท่านประธานสภาและพณ ฯ  นายกรัฐมนตรี   ว่าการที่ผมแสดงออกมาครั้งนี้   ผมคิดว่าตัวผมคนเดียวนั้นจะมีอันเป็นไป   ผมคิดว่า   ไม่ใช่เป็นเรื่องสำคัญสำหรับตัวผม  (ประธานท้วง)

      ประธาน: บอกให้นิ่ง   ข้าพเจ้าใคร่ขออยากจะเตือนที่ประชุมหน่อย   ขอให้ระลึกว่าที่ประชุมนี้เป็นที่อันมีเกียรติ    เราจะต้องระมัดระวังหน่อย    การพูดจาก็ดี   ในการกิริยาก็ดี    อาการก็ดี    ขึ้นมาพูดเฉย ๆ   โดยประธานสภาไม่อนุญาต    ไม่อย่างงั้นประธานสภาไม่ต้องมี    ข้าพเจ้าเองก็พยายามฟังและรักษาข้อบังคับอยู่แล้ว    ขอให้เชื่อถ้าไม่ยังงั้นก็ไม่ต้องตั้งข้าพเจ้า  ลุกมาพูดกันเฉย ๆ  ก่อการเอิกเกริก   ไม่งดงาม

                        

                         หลังจาก    นายพีร์   บุนนาค     พูดอภิปรายในวันนั้นแล้ว   ปฏิกิริยาจากการพูดวันนั้นก็ติดตามมาอย่างเห็นผลทันตาทีเดียว   นายพีร์   ต้องร้อนอาสน์   หาที่อยู่เป็นหลักแหล่งแห่งที่ไม่ได้    ต้องคอยหลบ ๆ ซ่อน ๆ   ตัวอยู่ตลอดเวลา   และต้องระวังตัวเป็นพิเศษ   จนวันหนึ่งนายพีร์  ก็ได้รับ   หมายเรียกตัว   ว่าผู้ใหญ่ต้องการพบจากนายร้อยตำรวจเอกคนหนึ่งในขณะที่กำลังไปประชุมสภา   นายพีร์  ขอผลัดว่าขอให้ไปประชุมสภาเสียก่อน   แล้วจะไปพบผู้ใหญ่ทีหลังต่อมานายพีร์   ยังได้รับโทรศัพท์จากนายตำรวจใหญ่คนหนึ่งบอกว่าให้ไปพบให้ได้    เพราะเกี่ยวกับชีวิตของนายพีร์เอง   ครั้นประชุมสภาแล้ว  นายพีร์ก็ไปพบนายตำรวจใหญ่คนนั้นตามกำหนด   แต่นายพีร์   ก็รู้เหมือนกันว่าการไปพบนายตำรวจในคราวนี้มีความหมายว่าชีวิตของตนจะมีอันต้องประสบความตายเป็นแน่   จึงได้พาพวกผู้แทนหนังสือพิมพ์ไปด้วยหลายคน

                         คุณน้า    ให้ผมมาพบเรื่องอะไรครับ ?   พีร์เอ่ยขึ้นเมื่อเข้าไปนั่งเรียบร้อยแล้ว

                     เรื่อง   จีนมันทวงหนี้ค่าทุเรียนคุณพีร์ละซี   นายพลพูดเฉไปเรื่องอื่น  เพราะตกใจเห็นผู้แทนหนังสือพิมพ์มาด้วยหลายคน

                     เอ๊ะ !   ตำรวจมีหน้าที่ทวงหนี้ซึ่งเป็นความแพ่งแทนเจ๊กแทนแป๊ะด้วยหรือ ?  พีร์รุกใหญ่

                     เรื่องนี้ทราบว่าทางตำรวจจะเล่นงานนายพีร์    ให้ข้อหาทางอาญาว่า   เป็นผู้รู้แทนว่าจะมีผู้ประทุษร้ายต่อในหลวงแล้วปิดไว้     ซึ่งเป็นความผิดฉกรรจ์    แต่ครั้นพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว    ไม่มีทางเล่นงานนายพีร์ได้     เพราะนายพีร์เป็นผู้แทนราษฎร    มีสิทธิพูดอภิปรายได้เต็มที่    แม้เรื่องที่พูดนั้นจะเป็นความผิดทางอาญาหรือแพ่งก็ตาม   ใครจะนำไปฟ้องร้องมิได้   สิทธิคุ้มกัน  (Immunity)   นี้   บัญญัติไว้อย่างแจ้งชัดในกฎหมายรัฐธรรมนูญ    ดังนี้   นายพีร์จึงลอยนวลมิได้ถูกรบกวนจากมือกฎหมาย  หรือ  ตำรวจ    แต่ความปลอดภัยจากอำนาจมืดหามีไม่   นายพีร์ต้องระวังตัวแจ   ในขณะนั้นดูเหมือนนายพีร์   คงจะได้รับความคุ้มครองจากผู้มีอิทธิพลยิ่งใหญ่เหมือนกัน   จึงปลอดภัยมาได้

       

       

      ๑๒....  ทรงวีโต้การตั้ง ส.ส. ๒   .......

                    

                     ก่อนที่จะเล่าถึงพระราชจริยาวัตรของในหลวงของเราว่า    พระองค์ท่านได้ทรงวีโต้การตั้ง ส.ส.  ประเภทที่     ด้วยเหตุผลอย่างไร    ผู้เขียนใคร่จะเล่าถึงความเป็นมาของ ส.ส. ประเภทที่     สักเล็กน้อย  เพื่อประกอบเรื่องนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

                     สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่     หรือเรียกสั้น ๆ ว่า  ส.ส. ๒    ได้ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๗๕    พร้อม ๆ  กับระบอบประชาธิปไตย    ของเมืองไทย   ทั้งนี้   เพราะรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช  ๒๔๗๕   ได้มีบทบัญญัติ   กำหนดให้   สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก      ประเภท  คือ   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ประเภทที่     ได้แก่  ผู้ที่ได้รับเลือกโดยราษฎรทั้งประเทศ    ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่     ได้แก่ผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้น    เจตนารมณ์ของการตั้ง ส.ส. ๒ นี้   ตั้งไว้อย่างสวยหรูว่า   เพื่อเป็นพี่เลี้ยงของ ส.ส.  ประเภทที่     ที่ราษฎรเลือกตั้งเข้ามา    ดังนั้นการมี ส.ส. ๒  อยู่ในสภาของเมืองไทยเท่ากับเป็นการยอมรับว่า    ราษฎรยังโง่    ปกครองตนเองไม่ได้    ไม่รู้เลือกผู้แทนของตนเอง    และเท่ากับเป็นการดูถูก  ส.ส. ประเภทที่ ๑   ว่าโง่เง่าเต่าตุ่นในการเมือง    ต้องมีพี่เลี้ยงคอยประคับประคองอยู่ตลอดเวลา    นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นสับปลับ    หลอกตัวเองและหลอกผู้อื่นอีกด้วย    เพราะตอนที่คณะราษฎร์   ได้ลงมือปฏิวัติการปกครองจากระบอบเก่ามาเป็นระบอบใหม่     ได้แถลงการณ์แก่ประชาชนทั่วทั้งประเทศว่า   บัดนี้   ราษฎรชาวสยามได้รับการศึกษามีความรู้พอที่จะปกครองตนเองได้แล้ว    นอกจากนี้ยังได้ถวายเหตุผลแด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่     ในทำนองเดียวกันอีกด้วย     แต่แล้วครั้นถึงคราวร่างรัฐธรรมนูญคณะราษฎร์กลับบัญญัติ ส.ส. ประเภท ๒  ขึ้นไว้ในรัฐะรรมนูญ   จึงเป็นการตรงกันข้ามกับที่ประกาศไปแล้ว     การที่คณะราษฎร์ได้บัญญัติ  ส.ส. ประเภทที่    ขึ้นในรัฐธรรมนูญ  ๒๔๗๕   นี้    คงมีเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ในใจอย่างหนึ่งนอกเหนือจากที่จะให้เป็นพี่เลี้ยง ส.ส.ประเภท ๑  ดังกล่าวแล้ว     นั่นคือ    เพื่อให้ ส.ส. ประเภทที่     เป็นผู้คอยยกมือแก่รัฐบาลที่เป็นคณะราษฎร์นั่นเอง    คือคณะราษฎร์ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและหมู่คณะเป็นข้อแรก     นับได้ว่าเป็นการถือบุคคลหรือตนเองมากกว่าถือหลักการ    แต่จะเรียกว่าเป็นการเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยที่พิการมา    แต่แรกหรือไม่   ขอให้ท่านผู้อ่านวินิจฉัยเอาเอง

                         อายุของ ส.ส. ประเภทที่     ในรัฐธรรมนูญ  ๒๔๗๕   ได้กำหนดบทเฉพาะกาลไว้ว่ามีอยู่ภายใน   ๑๐  ปี    นับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญ    หลังจากนั้นแล้วให้สภาผู้แทนประกอบด้วยสมาชิกประเภท ๑  ประเภทเดียวนี้     หมายความว่า   เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๗๕   ส.ส.ประเภทที่     ควรจะไม่มีแล้วในโลกสภาแห่งเมืองไทย   แต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่      ผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่ในเมืองไทยในขณะนั้นคือ   พณ ฯ  จอมพล  ป. พิบูลสงคราม   ได้ยืดอายุ  ส.ส. ประเภทที่ ๒   ต่อไปอีก  ๑๐  ปี  รวมเป็น  ๒๐  ปี     ทั้งนี้เพื่ออุตมคติว่า  พิบูล ฯ  ตลอดกาล

                         ครั้นต่อมา   ในพ.ศ. ๒๔๗๘    รัฐบาลพิบูล ฯ   แพ้เสียงในสภาอย่างหวุดหวิด   จำใจต้องออกไป   รัฐบาลที่นำโดยคณะราษฎร์ฝ่ายพลเรือนได้มีโอกาสผลัดเปลี่ยนเป็นผู้แสดงบทบาทบ้าง    จึงได้แก้ไขยกเลิกรัฐธรรมนูญ   ๒๔๗๕  ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ  ๒๔๗๙   ในธรรมนูญฉบับนี้   ได้ยกเลิก ส.ส. ประเภทที่ ๒  เสีย   ตั้งสภาสูง   วุฒิสภา   ขึ้นมาแทนจึงทำให้ระบอบประชาธิปไตยดูเกลี้ยงเกลาขึ้นมาก

                         ครั้นต่อมา   เมื่อวันที่      พฤศจิกายน   ๒๔๙๐   ได้เกิดรัฐประหารนำโดยจอมพล  ป.  พิบูลสงคราม  เมื่อยึดอำนาจสำเร็จ    จอมพล ป. พิบูล ฯ   ยังมิได้เข้าถือบังเหียนประเทศก่อน   ได้ให้นายควง   อภัยวงศ์    เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลไปพลางก่อน   งานของรัฐบาลควงอีกชิ้นหนึ่งที่ควรนำมาเล่า   ก็คือได้ตั้งคณะกรรมการ่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่  (รัฐธรรมนูญ  ๒๔๗๙   ถูกยกเลิกไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับรัฐประหารแทนรัฐธรรมนูญฉบับนี้เรียกว่า   รัฐธรรมนูญใต้ตุ่มแดง    เพราะพอร่างเสร็จ   หลวงกาจ ฯ  ก็ซ่อนไว้ใต้ตุ่ม    เมื่อทำรัฐประหารเสร็จจึงนำออกมาใช้ชั่วคราว)    สาเหตุที่ต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่    คราวนี้ก็เพราะคณะรัฐประหารก็ดี    พรรคพวกของนายควงก็ดี   เห็นว่ารัฐธรรมนูญ  ๒๔๘๙   เป็นรัฐธรรมนูญของท่านปรีดี   รัฐธรรมนูญที่ร่างใหม่มาสำเร็จลงและประกาศใช้เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๙๒  ในรัฐบาลของนายควง   รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ยกเลิกมิให้มี  ส.ส. ประเภทที่     เหมือนรัฐธรรมนูญปรีดี    และได้มีอายุมั่นขวัญยืนมาได้    จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๕    ตอนนี้เป็นตอนที่จอมพล  ป.  พิบูล ฯ  ได้หวนมาเสวยอำนาจอย่างเต็มที่   โดยจี้นายควงเกลอรักออกไปจากอำนาจแล้ว   จอมพล  ป. พิบูล ฯ   เริ่มมองเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับ   ๒๔๙๒   เป็นขวากหนามต่อระบบ   พิบูล ฯ  ตลอดกาล   ของตน   ทั้งนี้เพราะประการแรก    ไม่มี ส.ส. ประเภทที่    คอยยกมือสนับสนุนตน   ประการที่    รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้นักการเมืองประกอบการค้าในรูปอภิสิทธิ์ใด      นอกจากนั้นการหวนมามีอำนาจในทางการเมืองคราวนี้ไม่เหมือนคราวก่อน ๆ   เพราะในสภาทั้ง    เต็มไปด้วยพวกท่านปรีดีและท่านควงแทบทั้งนั้น     จอมพล ป.พิบูล ฯ  จึงทำรัฐประหารต่อตัวเอง   ยกเลิกรัฐธรรมนูญ  ๒๔๙๒  เสีย    เพราะดีเกินไปที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการครองอำนาจ   ความจริงถ้าจะพูดตามหลักวิชาแล้ว   อาจกล่าวได้ว่า   รัฐธรรมนูญ  ๒๔๘๙   และรัฐธรรมนูญ   ๒๔๙๗  มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ   ที่ประเทศไทยเคยมี   เพราะรัฐธรรมนูญทั้ง    ฉบับนั้น     ไม่มีบทบัญญัติให้มี  ส.ส. ๒   คอยยกมือให้รัฐบาลเหมือนกัน

                         เมื่อจอมพล  ป. พิบูล ฯ  ยกเลิกรัฐธรรมนูญ   ๒๔๙๒    ทิ้งแล้ว     ก็นำเอารัฐธรรมนูญ  ๒๔๗๕   มาใช้แทนโดยแก้ไขเพิ่มเติมนิดหน่อย    ที่จอมพล  ป. พิบูล ฯ   พิศวาสรัฐธรรมนูญ  ๒๔๗๕   ก็เพราะว่ารัฐธรรมนูญ   ๒๔๗๕  มีบทบัญญัติให้มี ส.ส. ประเภทที่ ๒   ไว้คอยยกมือให้รัฐบาลนั่นเอง   เป็นสาเหตุสำคัญ   จึงเป็นอันว่า ส.ส. ๒  ที่ได้ตายไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙  ในสมัยท่านปรีดี   เรืองอำนาจ   ได้กลับฟื้นคืนชีวิตโดยท่านจอมพล   ป. พิบูล ฯ  เป็นผู้ปลุกเสกขึ้นมาอีกแต่ได้แก้ไขบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ  ๒๔๗๕   เรื่อง ส.ส. ประเภทที่ ๑  และ     อย่างแปลกประหลาด  คือ  ม.๑๑๕  ให้ ส.ส. ทั้ง     ประเภทมีจำนวนเท่ากัน   ในระยะ  ๑๐  ปี  แต่ ม.๑๑๖   บอกว่าพอใช้รัฐธรรมนูญไปได้    ปี   ให้ ส.ส. ๒  ลดลงไปเรื่องนี้    เพื่อประกอบการศึกษาจึงขอยกเอา  ม.๑๑๕ , ๑๑๖  มาไว้ดังต่อไปนี้.-

                         ม. ๑๑๕  ภายใต้บังคับ  ม.๑๑๖  ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลาสิบปี    นับตั้งแต่วันใช้บังคับรัฐธรรมนูญนี้    ให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก    ประเภท   มีจำนวนเท่ากัน

                     ๑ .  สมาชิกประเภทที่ ๑   ได้แก่ผู้ซึ่งราษฎรเลือกตั้งตามบทบัญญัติ  ม.๔๕  และ  ม. ๔๖

                     ๒.  สมาชิกประเภทที่ ๒   ได้แก่ผู้ซึ่งพระมหากษัตริย์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  แต่ตั้งขึ้นไว้แล้วในวันที่ใช้บังคับรัฐธรรมนูญนี้

                     ในระหว่างสมาชิก     ยังไม่ได้เข้ามารับหน้าที่ผู้แทนราษฎรประเภทที่    ให้ทำหน้าที่ไปพลางก่อน  

                     ม. ๑๑๖  เมื่อได้ใช้บังคับรัฐธรรมนูญนี้ไปแล้วห้าปี    ถ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดใดได้รับการศึกษาอบรมจบชั้นประถมศึกษา   ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ   เป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในจังหวัดนั้น    ก็ให้สมาชิกประเภทที่ ๒  ออกจากตำแหน่งมีจำนวนเท่าจำนวนสมาชิกผู้แทนราษฎรที่มีการเลือกตั้งในจังหวัดนั้น

                     รัฐธรรมนูญฉบับ  ๒๔๗๕   แก้ไขเพิ่มเติม  ๒๔๙๕  นี้  เกิดมีบทบัญญัติขัดกันขึ้นเสียแล้ว   พูดง่าย ๆ  ก็ว่าเกิดทำพิษแก่จอมพล ป. พิบูล ฯ   ผู้เป็นต้นตอนำรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาใช้เองอย่างไม่นึกฝันมาก่อนเลย    กล่าวคือ   เมื่อรัฐธรรมนูญได้ใช้มาครบ    ปี  ในพ.ศ. ๒๕๐๐   ส.ส. ประเภทที่ ๑  ก็สิ้นอายุลง   ต้องเลือกตั้งกันใหม่  ส.ส.ประเภทที่ ๒  เริ่มมองเห็นว่า   การเป็น ส.ส. ประเภทที่    ไม่มีเกียรติเพราะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหนังสือพิมพ์และประชาชนว่า   รัฐบาลจ้างมาเป็นฝักถั่วคอยยกมือให้รัฐบาลฝ่ายเดียว   จึงได้ลาออกไปสมัคร  ส.ส. ประเภทที่ ๑   เสียในคราวเลือกตั้งทั่วไป   เมื่อวันที่  ๒๖  กุมภาพันธ์  ๒๕๐๐   และนอกจากนั้น   ตาม ม.๑๑๖  ของรัฐธรรมนูญนี้ได้กำหนดไว้ว่าเมื่อได้ใช้รัฐธรรมนูญนี้ไป    ปีแล้วให้ ส.ส.  ประเภทที่    ลดลง   แล้วไปเพิ่มให้แก่ ส.ส. ประเภทที่ ๑  ในจังหวัดที่ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับการศึกษาอบรมจบชั้นประถมศึกษาเกินกึ่งหนึ่ง   ในการนี้ปรากฏว่า   จังหวัดที่ได้เลือกผู้แทนเพิ่มเพราะ  ส.ส.ประเภทที่ ๒  ลดลงมานี้    จังหวัด   คือ  พระนคร   อุบล  ร้อยเอ็ด   กาฬสินธ์   มหาสารคาม   เมื่อเป็นเช่นนี้   สมาชิกสภาประเภทที่     และ  ประเภทที่ ๒   จึงเกิดมีจำนวนไม่เท่ากันขึ้นมา  ส.ส. ประเภทที่     เดิมมี  ๑๒๓  นาย  ลดจำนวนลงไป   ๑๓  นาย  คงเหลือ   ๑๑๐  นาย   เพราะลาออกไปสมัคร  ส.ส.  ประเภทที่ ๑   ดังกล่าวแล้ว   ส่วน ส.ส. ประเภทที่ ๑  เพิ่มจำนวนขึ้นถึง  ๑๖๐  นาย   เพราะการเลือกตั้งเมื่อวันที่  ๒๖   กุมภาพันธ์   ๒๕๐๐   เพราะจำนวนพลเมืองผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้น   จึงมีสิทธิเลือกผู้แทนได้เพิ่มมากขึ้นตามส่วนที่บัญญัติในกฏหมายเลือกตั้ง   ทั้งประกอบกับ  ส.ส.  ประเภทที่     ลดลงไปเพิ่มให้แก่  ส.ส. ประเภทที่ ๑  ใน    จังหวัดที่กล่าวแล้ว

                         เมื่อเช่นนี้   จอมพล  ป. พิบูล ฯ   จึงทูลเกล้า ฯ  ถวายรายนามผู้สมควรที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็น ส.ส. ประเภทที่ ๒  จำนวนทั้งหมด  ๓๗  นาย  ต่อในหลวง   เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้ง   ในครั้งแรก    ได้ทูลเกล้าถวายรายนามผู้ควรเป็น ส.ส. ประเภทที่    เพียง  ๑๓  นายก่อนเป็นทหาร    นาย  เป็นสมาชิกพรรคเสรีมนังค์ ฯ    นาย  ปรากฏว่า  ในหลวงทรงยับยั้ง  (VETO)    มิได้ทรงลงพระนามแต่งตั้ง ส.ส. ประเภทที่ ๒  จำนวน  ๑๓  คนนี้   โดยมีพระกระแสรับสั่งให้รัฐบาลพิจารณาผู้ที่ถูกเสนอชื่อไปให้พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งนั้นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามกฏหมายหรือไม่    ทั้งนี้เพราะปรากฏว่า  ในจำนวน   ๑๓   นายนี้   มีอยู่    นาย   ที่เป็นปัญหาคือ  นายเลื่อน   พงษ์โสภณ   สมัคร ส.ส.ประเภทที่ ๑  แพ้มา  จัดได้ว่าราษฎรเขาไม่เอาแล้วจะตั้งเป็น  ส.ส. ๒  ก็ดูกระไรอยู่   ถึงไม่ขาดคุณสมบัติก็ไม่สวยนัก   และส่วนอีกคนหนึ่ง  คือ  นายกมล   พหลโยธิน   เป็นข้าราชการประจำ   จัดได้ว่าไม่ควรเป็น ส.ส. ประเภทที่ ๒   ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมือง

                         หลังจากนายหลวงได้ทรงวีโต้การตั้ง ส.ส.ประเภท ๒   จำนวน  ๑๓  นายแล้ว  ต่อมา  จอมพล ป. พิบูล ฯ  ได้ทูลเกล้า ฯ  เสนอขอให้ในหลวงทรงลงพระปรมาภิไธยตั้ง  ส.ส.  ประเภท ๒  จำนวน  ๓๗  นายทีเดียว    เพื่อให้จำนวน  ส.ส.  ประเภท    เท่ากับ ส.ส. ประเภทที่     จำนวน  ๑๖๐  นาย   ซึ่งเพิ่มขึ้นเพราะการเลือกตั้ง   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวีโต้อีก    มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้ง   โดยมีพระกระแสรับสั่งมาว่าให้แยกรายชื่อว่า   ใครอยู่ในจำพวกตั้งซ่อมจำนวน   ๑๓  นาย   ใครอยู่ในจำพวกตั้งเพิ่มขึ้นใหม่    คือหมายความว่า   ถ้าผู้อยู่ในจำพวกตั้งซ่อม    พระองค์ทรงพร้อมที่จะลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้ง   แต่จำพวกตั้งใหม่พระองค์ทรงปฏิเสธ

                         จอมพล  ป.  เมื่อได้รับพระกระแสรับสั่งเช่นนี้   จึงประชุมผู้เชี่ยวชาญกฎหมายฝ่ายรัฐบาลมี  ดร.หยุด   แสงอุทัย  กรมหมื่นราธิปพงษ์ประพันธ์   นายสุวิช   พันธุเศรษฐ์   นักกฎหมายฝ่ายรัฐบาล   เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชอำนาจที่จะแต่งตั้งได้    เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญบ่งว่าภายใน  ๑๐  ปี  ให้ส.ส.    และ ส.ส. ๒  มีจำนวนเท่ากัน   จอมพล ป. พิบูล ฯ   จึงชวน  จอมพลสฤษดิ์   จอมพล  ผิน   นายพลตำรวจเอก   เผ่า   เป็นพวกเข้าเฝ้าถวายเหตุผลแต่พระองค์อีกครั้งหนึ่ง   แต่มีผู้คัดค้านว่าถ้าทำดังนั้นจะดูเป็นการบีบบังคับพระองค์ไป   จึงตกลงให้จอมพล  ป.  ไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  โดยลำพังผู้เดียว    ในวันที่  ๒๒  มิถุนายน   ๒๕๐๐  คราวนี้พระองค์ทรงวีโต้อีกโดยมีกระแสรับสั่งว่า

                         ขอให้รัฐบาลดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะให้มีการตีความในปัญหาเรื่องพระราชอำนาจที่จะทรงแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ ๒   เกินจำนวน  ๑๒๓  นาย   เป็นที่เปิดเผยแน่ชัดเสียก่อน   เพื่อป้องกันมิให้มีเสียงครหาขึ้นภายหลัง   เพราะปัญหานี้ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในเวลานี้ว่า   เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ   และไม่มีพระราชอำนาจทรงแต่งตั้งได้

                         ข่าวอีกกระแสหนึ่งแจ้งว่า   ที่ในหลวง ฯ  มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งนั้น    พระองค์มีพระกระแสรับสั่งว่า

                         หากพระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้ง  ส.ส. ปรเภทที่    ที่รัฐบาลขอตั้งเพิ่มให้ครบรอบ  ๑๖๐  คนนั้น   จะเป็นการบีบบังคับศาลให้คล้อยตามพระองค์ไป

                     ทั้งนี้   เพราะขณะนั้นได้มีคดีคัดค้านการเลือกตั้งขึ้นสู่ศาล   โดย  ม.ร.ว. คึกฤทธิ์   ปราโมช   และพวกเป็นผู้ร้องในคำร้องนั้นข้อสุดท้าย   อ้างว่าการเลือกตั้งเมื่อ  ๒๖  กุมภาพันธ์  ๒๕๐๐   เป็นโมฆะ   เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ   ทั้งนี้เนื่องจากเป็นผลทำให้  ส.ส. ๑  และ ส.ส. ๒  มีจำนวนไม่เท่ากัน    ทั้งนี้เพราะในรัฐธรรมนูญระบุว่า   ภายใน  ๑๐  ปี  ให้มี ส.ส. ๑  และ ส.ส. ๒  มีจำนวนเท่ากัน

                         ครั้นต่อมาวันที่  ๑๐  กรกฎาคม  ๒๕๐๐   ศาลฎีกาได้วินิจฉัยและมีคำสั่งชี้ขาดว่า    การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่     ซึ่งเพิ่มขึ้นในจังหวัดพระนครและธนบุรีเป็นการชอบแล้ว     พร้อมกันนั้นก็ได้มีคำวินิจฉัยเรื่องจำนวนสมาชิกประเภทที่    ว่าจะต้องมีจำนวน  ๑๒๓  นายเด็ดขาด     จะตั้งเพิ่มหรือลดลงหาได้ไม่   ดังมีรายละเอียดที่น่าศึกษาดังต่อไปนี้.-

                     ปัญหาอันเป็นประเด็นสำคัญก็คือ  เกี่ยวกับจำนวนสมาชิกประเภทที่      ที่เลือกเพิ่มขึ้นไม่เท่ากับจำนวนสมาชิกประเภทที่ ๒   เป็นการชอบหรือไม่   ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า  ตามรัฐธรรมนูญ  ม.๔๖   ระบุไว้ว่า    การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง    อาศัยเหตุนี้  พ.ร.บ.  เลือกตั้ง   จึงกำหนดให้ถือเอาเกณฑ์จำนวนพลเมือง   ฉะนั้นการเลือกตั้งสมาชิกจาก    คนเป็น    คน   จึงชอบด้วยกฎหมายเลือกตั้ง    แต่อย่างไรก็ดีเมื่ออยู่ในบทเฉพาะกาล   จึงมีปัญหาว่า  ส.ส. ประเภท ๑  และประเภท ๒  จะต้องเท่ากันหรือไม่

                     ศาลฎีกาได้พิจารณาตรองดูความในรัฐธรรมนูญ  ม.๑๑๕  และ  ๑๑๖  โดยตลอดแล้วเห็นว่าข้อความดังกล่าวบัญญัติให้สมาชิกประเภทที่ ๒  ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งไว้ในวันใช้บังคับรัฐธรรมนูญไม่มีให้ตั้งเพิ่มไว้ในมาตราใด ๆ   จนกว่าจะใช้รัฐธรรมนูญไปแล้ว    ปี    ตาม ม.๑๑๖   ซึ่งจะต้องซ่อมได้เฉพาะตาม  ม.๑๑๖  เท่านั้น   ฉะนั้นจำนวนสมาชิกประเภทที่     จำนวน  ๑๒๓  คน  จึงเป็นจำนวนเด็ดขาด   จะเพิ่มหรือลดไม่ได้   จนกว่าจะถึงเวลาที่บัญญัติไว้ใน  ม.๑๑๖

                     การจะให้สภาประกอบด้วยสมาชิก    ประเภทเท่ากัน   เฉพาะวาระเริ่มแรกเท่านั้นที่จะต้องมีจำนวนเท่ากัน    หาได้หมายความว่าจะเท่ากันในตลอดทั้งสิบปีไม่    ส่วนสมาชิกประเภทที่    จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ย่อมสุดแล้วแต่จำนวนราษฎร   และสมาชิกประเภทที่ ๒  จะตั้งได้ก็แต่ส่วนตำแหน่งที่ว่างเท่านั้น

                     เมื่อได้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาเช่นนั้นแล้ว   ปัญหาจำนวน  ส.ส.ประเภท ๒  ควรจะหมดไป   เพราะศาลสูงได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว   แต่หาได้เป็นเช่นนั้น    จอมพล ป. ได้ประชุมคณะรัฐมนตรีและผู้เชี่ยวชาญกฎมายอีก    ที่ประชุมส่วนมากเห็นควรจะให้สภาผู้แทนตีความ      (เพราะตามกฎหมายรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า    เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญให้สภาผู้แทนเป็นผู้ตีความ)   ถึงศาลจะได้พิพากษาไปแล้วก็เป็นเรื่องของศาล   ไม่ผูกพันถึงสภาที่จะต้องปฏิบัติตาม   แต่จอมพล  สฤษดิ์   ธนะรัชต์   เห็นว่าถ้าทำเช่นนั้นจะเป็นการไม่เคารพศาลไป   ดูไม่งาม   จอมพล ป.  เห็นคล้อยตามทรรศนะของ จอมพล สฤษดิ์ ฯ  จึงมิได้นำปัญหานี้ให้สภาผู้แทนตีความหมายอีก

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×