ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    My Note : สมุดบันทึก

    ลำดับตอนที่ #2 : รางวัลซีไรท์ (S.E.A. WRITE AWARD)

    • อัปเดตล่าสุด 8 ก.ค. 51



    ความเป็นมา..

    ในช่วงกลางปีของทุกๆ ปี ​ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน นักอ่านมัก​จะรอฟังข่าวว่า ปีนี้หนังสือเล่มใด ผลงานของนักเขียนคนใด​จะ​ได้รับรางวัลอันมีเกียรติประจำปี นั่น​คือ รางวัลซีไรต์ นั่นเอง

    S.E.A. WRITE AWARD มาจากคำเต็มว่า SouthEast Asian Writers Award แปล​เป็นภาษาไทยว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน

    รางวัลซีไรต์ หมายถึง รางวัลวรรณกรรม​ที่มอบให้แก่นักเขียน 10 ประเทศอาเซียน ​ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย ​และเวียดนาม ​โดยมี เจตนารมย์​เพื่อส่งเสริมนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน​และเผยแพร่วัฒนธรรมของวรรณกรรมของภูมิภาคนี้





    เมื่อต้นปี พ.ศ. 2522 ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ล​ได้ริเริ่มรางวัลนี้ ​เนื่องจากโรงแรมโอเรียนเต็ลมีประวัติเกี่ยวข้อง​กับนักเขียนชั้นนำของโลกมา​เป็นเวลาช้านาน ​จะเห็น​ได้จากการ​ที่อาคารเก่าแก่ของโรงแรม​ที่ชื่อว่า “ตึกนักเขียน” (AUTHORS’ RESIDENCE) อันประกอบด้วยห้องชุดพิเศษ ​โดย​ใช้ชื่อนักเขียนคนสำคัญ​ที่เคยมาพัก ​ได้แก่ ซอมเมอร์เซ้ท มอห์ม โนเอล โฆเวิด โจเซฟ คอนราด ​และเจมส์ มิเชนเนอร์ นอกจากนี้ยังมีห้องชุดเกรแฮม กรีน จอห์น เลอ คาร์เร่ ​และ บาร์บาร่า คาร์ทแลนด์ ในตึกริเวอร์วิงด้วย


    ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ล จึง​ได้ร่วมปรึกษา​กับ บริษัท การบินไทย ​และกลุ่มบริษัทในเครืออิตัลไทย จัดตั้งรางวัลวรรณกรรมนี้ขึ้น​ ​โดยมี​พระวรวงศ์เธอ​พระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร ทรง​เป็นประธาน​และ​ได้รับ​ความร่วมมือ​เป็นอย่างดีจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ​และสมาคมภาษา​และหนังสือแห่งประเทศไทย

    หัวข้อในการหารือในครั้งนั้น​ ​คือ การส่งเสริมสนับสนุนนักเขียนในกลุ่มอาเซียน​ทั้ง 5 ประเทศ ​ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ​และ ไทย ​และการเผยแพร่ให้โลกรู้ถึงวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของภูมิภาคนี้ ต่อมา​ได้มีประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนทยอยเข้าร่วมงานซีไรต์จนครบสิบประเทศดังนี้ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย ​และเวียดนาม

    ประเทศบรูไนดารุสซาลัมเข้าร่วม​เมื่อปี 2529 ประเทศเวียดนามเข้าร่วม​เมื่อปี 2539 ประเทศลาว ​และพม่าเข้าร่วม​เมื่อปี 2541 ประเทศกัมพูชาเข้าร่วม​เมื่อปี 2542


    วัตถุประสงค์มีดังนี้ ​คือ

    *​เพื่อให้​เป็น​ที่รู้จักถึง​ความ​สามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน
    *​เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่งกลุ่มประเทศอาเซียน
    *​เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริม​และจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะ ทางวรรณกรรมของนักเขียนผู้สร้างสรรค์
    *​เพื่อส่งเสริม​ความเข้าใจ​และสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียน​และประชาชนทั่ว​ไปในกลุ่มประเทศอาเซียน

    กฎเกณฑ์การเลือกสรรงานวรรณกรรม มีดังนี้ ​คือ

    *​เป็นงานเขียนภาษาไทย

    *​เป็นงานริเริ่มของผู้เขียนเอง มิใช่งานแปลหรือแปลงจากของผู้อื่น

    *ผู้เขียนยังมีชีวิตอยู่​ขณะส่งงานเข้าประกวด

    *​เป็นงานตีพิมพ์เผยแพร่ (มี ISBN) ​เป็นเล่มครั้งแรกย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี ภายในวันสิ้นกำหนดส่งงาน

    *งานวรรณกรรม​ที่เคย​ได้รับรางวัลอื่นใดในประเทศไทยมาแล้ว​​จะส่งเข้าพิจารณาอีกก็​ได้

    *รางวัล​ที่ตัดสินใน​แต่ละปี​จะสลับประเภทของวรรณกรรม ​เป็น นวนิยาย กวีนิพนธ์ ​และเรื่อง​สั้น


    รางวัลประกอบด้วย

    *แผ่นโลหะจารึก​เป็นอนุสรณ์เกียรติประวัติ

    *นักเขียนไทย​ที่​ได้รับรางวัลซีไรต์มีสิทธิเลือก​ไปเ​ที่ยวประเทศใดประเทศหนึ่ง​ในกลุ่มประเทศอาเซียน ​เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ​โดยผู้จัด​จะ​เป็นผู้ออกค่าเดินทาง ค่า​ที่พัก ​และอาหาร ​ทั้งหมด ​สามารถ​ใช้สิทธิภายในระยะเวลา 1 ปี

    *นักเขียนกลุ่มประเทศอาเซียน 9 ประเทศ มารับรางวัล​พร้อม​กับทัศนาจร​ที่ประเทศไทย​กับนักเขียนซีไรต์ไทย ​เป็นเวลา 1 สัปดาห์

    *เงินสด


    http://ecurriculum.mv.ac.th/library2/noknoi/series.php-id=1220.htm
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×