ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Language Zone

    ลำดับตอนที่ #47 : Greek กรีก (บทที่ 1)

    • อัปเดตล่าสุด 3 พ.ค. 57


    ภาษากรีก บทที่ ๑

    ORIGIN - ว่าไปถึงประวัติศาสตร์และความสำคัญ

    น่าแปลกที่ผมไม่เคยเขียนถึงเรื่องนี้ ภาษากรีกเป็นหนึ่งในภาษาที่มีความเป็นมา และบทบาทสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของโลก

    อะแฮ่ม - นักวิชาการไปนิด

    ไม่เหมือนกับอักษรในยุคเดียวกัน ภาษาพูดนั้นมีหลักฐานใช้มาตั้งแต่ยุค สามพันปีก่อนคริสตกาล แต่พึ่งมาเขียนหลังจากนั้นประมาณพันห้าร้อยปี

    ต้องบอกว่าเป็นภาษาที่แก่มาก แก่ที่สุด... แก่นะ ไม่ใช่เก่าที่สุด เพราะว่า... ยังไม่ตายครับ

    มันยังอยู่ และมีคนพูดเยอะซะด้วย เด่นๆก็ในกรีซและไซปรัส ที่สำคัญคือมันก็อยู่ในระดับรากของภาษาฟากเมติเตอร์เรเนี่ยนทั้งหลาย

    ยังไม่หมดแค่นั้น วรรณกรรมและข้อเขียนสำคัญที่ยังมีผู้ศึกษาอยู่จากยุคนั้น ก็ถูกเขียนขึ้นในภาษากรีกครับ มหากาพย์อิลเลียตและโอดิซซี ข้อเขียนวิชาการของนักปราชญ์ชื่อดังอย่างอริสโตเติ้ล และใช้เขียนส่วนหนึ่งในคัมภีร์ไบเบิ้ลภาคพันธสัญญาใหม่ด้วยนะเออ

    เน้นไปที่ช่วงแปดร้อยปีก่อนคริสตกาลครับ
    ช่วงที่กรีกกำลังเจริญรุ่งเรืองสุดๆ ตัวอักษรเริ่มจะเข้าที่เข้าทาง
    จนสรุปออกมาได้แบบตารางด้านล่าง ฮ่าๆ

    เลื่อนลงไปเองนะเออ

    WRITING SYSTEM - ระบบการเขียนครับ 

    Linear B, Cypriot syllabary, Greek alphabet เขียนแค่นี้ก่อนไว้วันหลังจะอธิบายเพิ่ม หรือถ้าสนใจก็เปิดกลับไปดูบทก่อนๆได้ ผมจำไม่ได้แล้วว่าบทไหน เอาเป็นว่ามันเป็นได้หลายอย่าง อย่างเช่นกรีกโบราณที่ให้ตัวอักษรหนึ่งตัวแทนหนึ่งพยางค์ และในปัจจุบันที่อักษรกรีกหนึ่งตัวคือเสียงหนึ่งเสียง อิๆ เราค่อนข้างจะรู้จักกันดีคือแบบ ใช้ตัวอักษรผสมสระกลายเป็นคำ เพราะงั้นผมจะยึดตัวนั้นเป็นหลักนะครับ

    รูปแบบที่เราเรียกว่า Alphabet 

    แล้วก็ๆ อีกเรื่องคือ จริงๆ แล้วภาษากรีกเนี่ย เคยเขียนได้ทั้งจากซ้ายไปขวาและจากขวาไปซ้าย (ผมบอกเลยว่าภาษาที่เป็นตัวอักษร เป็นแบบนี้คงทำให้งงกันน่าดู ไม่เหมือนกับพวกที่เป็นอักษรภาพเหมือนจีนกับญี่ปุ่นนะ เพราะอันนั้นตัวอักษรตัวเดียวก็มีความหมายในตัวมันเองอยู่แล้ว) หลังๆ เลยกลายเป็นเขียนจากซ้ายไปขวาอย่างเดียวแล้วล่ะครับ

     

    CHARACTER

    อันนี้หน้าตาในสมัยก่อน


    Ancient Greek alphabet from Crete


    และนี่ก็ปัจจุบัน

     

    Α α

    Β β

    Γ γ

    Δ δ

    Ε ε

    Ζ ζ

    άλφα

    βήτα

    γάμα

    δέλτα

    έψιλον

    ζήτα

    a

    b

    g, y

    d

    ē

    z

    [ a ]

    [ v ]

    [ ɣ, ʝ ]

    [ ð ]

    [ e ]

    [ z ]

    Η η

    Θ θ

    Ι ι

    Κ κ

    Λ λ

    Μ μ

    ήτα

    θήτα

    γιώτα

    κάπα

    λάμδα

    μι

    ē

    th

    i

    k

    l

    m

    [ i ]

    [ θ ]

    [ i ]

    [ k, c ]

    [ l, ʎ ]

    [ m ]

    Ν ν

    Ξ ξ

    Ο ο

    Π π

    Ρ ρ

    Σ σ ς

    νι

    ξι

    όμικρον

    πι

    ρο

    σίγμα

    n

    ks, x

    o

    p

    r, rh

    s

    [ n ]

    [ ks ]

    [ o ]

    [ p ]

    [ r ]

    [ s ]

    Τ τ

    Υ υ

    Φ φ

    Χ χ

    Ψ ψ

    Ω ω

    ταυ

    ύψιλον

    φι

    χι

    ψι

    ωμέγα

    t

    u, y

    ph

    kh, ch

    ps

    ō

    [ t ]

    [ i ]

    [ f ]

    [ χ,  ç ]

    [ ps ]

    [ o ]


    อย่าพึ่งตกใจกับขนาดอลังการของมัน และอย่าพึ่งคิดว่าผมอ่านออก เพราะนั่นไม่ใช่เรื่องจริง (ณ ตอนนี้ แต่อีกต่อไปก็ไม่แน่ หึๆๆ) ผมจะนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ของพวกมันในบทต่อไป บอกได้เลยว่า... คุยกันยาว

    อ้อ ที่ขาดไม่ได้คือนี่ครับ
    การอ่านออกเสียง อย่างแรกเลยก็ชื่อเรียกพวกมัน


    แล้วก็เสียงเมื่อนำไปใช้ในคำต่างๆ ในภาษากรีกยุคปัจจุบันเลยครับ ค่อนข้างจะฟังยากนะ แนะนำให้ใช้หูฟังและเปิดดังๆเลย เหอ (อันด้างล่างจะลิ้งไปหน้าต่างใหม่ ผมขอโทษจริงๆ นะ แต่ภาษา HTML ผมไม่กระดิกเลย... ทั้งๆ ที่เรียนสายพวกนี้-แย่จริง)

    นี่เครดิตคร้าบ by Vasiliki Baskos of learn-greek-online.com

    EXTEND
    ขอพูดค่อนข้างจะนอกเรื่อง (รึป่าว) เป็นเรื่องของระบบตัวเลขครับ ปกติผมก็เขียนอยู่แล้ว
    แต่กับภาษานี้มันค่อนข้างจะซับซ้อนกว่าเพื่อนนี่สิ เพราะเขามีอยู่สองระบบที่เรียกว่า 
    อะโครโฟนิค(แอตติค) และ อัลฟาเบติค(ใช้ตัวอักษรแทนตัวเลขแบบเดียวกับของโรมัน)

    ต้องบอกว่า อะโครโฟนิคหรือแอตติคเป็นตัวที่ทำให้เราปวดตัวตุ้บๆกันอยู่ทุกวันนี้ (แน่นอน โดยเฉพาะเด็กสายวิทย์) ทำไมนะ... อย่างที่เห็นข้างล่าง มันชัดเจนเลยว่าตัวเลขเหล่านี้มีองค์ประกอบของตัวอักษรหกตัวหลักๆ ลองเดานะ ได้แก่ *คลุมดำเพื่อดูเฉลย( ไอโอต้า, เดลต้า, แกมม่า, อิต้า, นูและ มิว)


    Acrophonic/Attic Greek numerals

    วิธีการเรียกก็จะเรียกตามชื่อของพวกมันเลยตรงเว้นแต่... Γέντε (gente)  "เกนเต้" ที่ใช้เรียกเลข 5 และกลายมาเป็น "เพนเต้(เพนตะ)" เช่นปัจจุบัน ; Δέκα (Deka) "เดคะ(เดกะ)" สำหรับสิบ 10, Ηἑκατόν (Hektaton) อิคคาตอน(เฮกคาตอน) สำหรับ 100, Χίλιοι (Khilioi) ซิเลย์ 1,000 and Μύριον (Myrion) มิเรี่ยน 10,000. โดยระบบนี้ใช้มาตั้งแต่ยุคพันปีก่อนคริสตกาล

    //ผมขอโทษเรื่องการเขียนระบบออกเสียงในตอนนี้... คำบางคำก็ยา
    กจะพิมคำอ่านได้โดยใช้แค่เสียงภาษาไทย ถ้าผมวงเล็บไว้ หมายถึงอาจจะเป็นไปได้ที่จะอ่านทั้งสองแบบ หรือแบบใดแบบนึงมันไม่ใช่คำอ่านที่แท้จริงหรอก แค่เรารู้จักมันดี(กว่า...รึเปล่า?) 

    เขียนจนเหนื่อยเลยนะเนี่ย drachma เป็นหน่วยเงินตราของกรีกครับ ใช้มาตั้งแต่ช่วงหกร้อยปีก่อนคริสตกาล เขาว่าในแต่ละพื้นที่เนี่ย น้ำหนักของหนึ่ง drachma จะมีค่าต่างกันไป จนยุคที่กรุงเอเธนส์(เขียนถูกรึป่าวไม่รู้) เข้ามาควบคุมตลาด เรียกว่ามีบทบาทสำคัญในทางการค้า เหรียญ Athenian drachma ก็กลายมาเป็นสื่อกลางที่ใช้กันมากที่สุด โดย 1 drachma เท่ากับ 6 oboli; 4 drachmas เท่ากับ 1 stater; 100 drachmas เท่ากับ 1 mine; and 60 mine(minas) เท่ากับ 1 Attic talent

    ตอนนี้เหมือนจะวุ่นวายเกินไปเลยเลิกใช้ไปแล้ว(สมควรครับ)

    เครดิตที่ดูจะครบสุดสำหรับเรื่องหน่วยต่างๆ http://classics.uc.edu/~vanminnen/Alexandria/Weights,_Measures,_Money.html
    ณ จุดๆหนึ่ง ผมว่าเรื่องนี้มันยาวเกินไปแล้วนะ... เอาไว้วันหลังจะเอากลับมาเล่าใหม่...เหนื่อยจัง ผมรู้สึกเลือกถูกที่ไม่ไปเรียนสายภาษาโดยตรง ไม่รู้สิ ไม่งั้นผมคงอ่านหนังสือนอกเวลาจนไม่สนใจเรียนแน่เลย ก็เรื่องน่าสนเยอะซะขนาดนี้ อิๆ

    ส่วนด้านล่างนี้เป็นไปตามแบบอัลฟาเบติคครับ

    Greek numerals (Alphabetic system)

    จะว่าไปผมก็พึ่งอ่านนิยายมา (นี่ปิดเทอมไม่ค่อยทำอะไรที่เป็นประโยชน์เท่าไหร่เลย)
    ในยุคหลังๆ ที่มีการคิดค้นมามากขึ้นเรื่อยๆ การใช้ระบบตัวเลขแบบอัลฟาเบติคก็นำไปเขียนเป็นรหัสลับได้เช่นเดียวกัน อย่างเช่น คำโด่งดังอย่าง ที่ในนิยายที่ผมอ่านให้เหตุผลว่าพีธากอรัสเป็นคนคิดขึ้นแทนที่จะเป็นอาคิมีดิส เพราะคำว่ายูเรก้า 
    Εύρηκα เมื่อเรานำตัวเลขตามระบบอัลฟาเบติคมาบวกรวมกันจะได้เท่ากับ 5+400+100+8+20+1 = 534 ใช่ครับ...ห้า-สาม-สี่ ด้านสามด้านของสามเหลี่ยมมุมฉากที่บรรดาเด็กม.ปลาย จำได้ไปโดยอัตโนมัติหลังเรียนเรื่องนี้ (...จริงมะ?)


    มันจะซ่อนอยู่ในเรื่องอะไรอีกผมก็คงต้องบอกว่า หาเองครับ ไม่งั้นก็ไปหานิยายอ่านบ้างนะ ฮ่าๆ
    (ขอบคุณความรู้ที่ถูกยัดใส่สมองผมจากนิยายเรื่อง PYRAMID รหัสลับปิรามิด โดย TOM MARTIN)

    ยังมีเรื่องราวอีกมาก ที่ผมยังเขียนไม่จบ แต่ว่าวันนี้ต้องพอแค่นี้ล่ะคร้าบ
    ใครอยากช่วยติดต่อผมได้เสมอ... มีอะไรอยากให้นำเสนอ ก็บอกได้เลยจริงๆนะ
    ช่วงนี้ผมยังว่างอยู่ หรือถ้าผมตอบช้าไปบ้าง ผมต้องขอโทษจริงๆ นะครับ 
    กำลังคิดเรื่องเผยแพร่ทางเว็บอื่นๆ บ้าง
    แต่รอให้ฉบับ Renovated เดินหน้าไปมากกว่านี้ซักหน่อยละกัน เนอะๆ

    ขอบคุณเครดิตตลอดกาลอย่าง www.omniglot.com และ en.wikipedia.org ครับ 


     

    **************************************************************************
     

    ไหนบอกจะเน้นเป็นภาษาอาเซียน ดันเขียนภาษากรีกก่อน โธ่ ก็มันช่วยไม่ได้นิครับ
    ใจอยากทำอะไรมือมันก็ทำตามไปก่อนแล้ว สมองผมคิดไม่ทันหรอกนะ
    เปิดหน้าเว็บหลายตัวมากครับ ตอนแปล เยอะแยะไปหมด -
    ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการค้นหาความลับของเหล่าตัวอักษรพวกนี้นะคร้าบ

    ขอบคุณที่ติดตามกันมากๆ เลขตัวเดียวก็เป็นแรงให้ผมเขียนต่อได้แล้วล่ะครับ
    ขอบคุณทุกคนมากจริงๆ นะ ผมหวังเป็นอย่างยิ่ง
    ว่าทุกคนจะรู้สึกรักความงดงามเหล่านี้ไม่ต่างจากผม

    ไอ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×