...เหตุการณ์14ตุลา... - ...เหตุการณ์14ตุลา... นิยาย ...เหตุการณ์14ตุลา... : Dek-D.com - Writer

    ...เหตุการณ์14ตุลา...

    ...

    ผู้เข้าชมรวม

    3,755

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    3.75K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    6
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 ธ.ค. 51 / 09:01 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      เหตุการณ์ 14 ตุลา

      จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

      นักศึกษาช่างกลรวมตัวกำลังเดินเผชิญหน้ากับฝ่ายทหาร
      การจลาจล
      การปราบผู้ชุมนุมโดยทหาร
      การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะมีพระราชดำรัสผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
      สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขณะมีพระราชดำรัสผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

      เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย มากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการ จอมพลถนอม กิตติขจร

      เหตุการณ์เริ่มมาจากการที่จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหารตัวเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 โดยนักศึกษาและประชาชนมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจตนเองจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งในขณะนั้นจอมพลถนอมจะต้องเกษียณอายุราชการเนื่องจากอายุครบ 60 ปี อีกทั้งจอมพลประภาส จารุเสถียร ก็มิได้รับการยอมรับเหมือนจอมพลถนอม แต่กลับต่ออายุราชการให้ตนเอง ประกอบกับข่าวคราวเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการต่าง ๆ สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่ประชาชน

      29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม มีดาราหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ เมตตา รุ่งรัตน์ โดยสารไปด้วย ผู้เสียชีวิต 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซากกระทิง ที่ทางผู้ที่ใช้ล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน สร้างกระแสไม่พอใจในหมู่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ออกหนังสือชื่อ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่"[1] เปิดโปงเกี่ยวกับกรณีนี้ ผลการตอบรับออกมาดีมาก จนขยายผลโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงกลุ่มหนึ่งออกหนังสือชื่อ "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ" เป็นผลให้ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดีสั่งลบชื่อนักศึกษาแกนนำ 9 คนออก ซึ่งทำให้เกิดการประท้วงจนนำไปสู่การชุมนุมในวันที่ 21 และ 22 มิถุนายน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ท้ายสุด ดร.ศักดิ์ ต้องยอมคืนสถานะนักศึกษาทั้ง 9 คน และดร.ศักดิ์ ก็ได้ลาออกไป

      6 ตุลาคม มีบุคคลร่วมลงชื่อ 100 คน เพื่อเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ หลายวงการ เช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักคิด นักเขียน นิสิต นักศึกษา เป็นต้น จากนั้น นักศึกษา 13 คน นำโดย นายธีรยุทธ บุญมี ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพ ฯ โดยอ้างถึงใจความในพระราชหัตถ์เลขาของรัชกาลที่ 7ที่ส่งถึงรัฐบาลถึงสาเหตุที่ทรงสละราชสมบัติ แต่ทางตำรวจนครบาลจับได้เพียง 11 คน และจับขังนักศึกษาทั้ง 11 คนนี้ไว้ที่โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขนและนำไปขังต่อที่เรือนจำกลางบางเขน พร้อมตั้งข้อหาร้ายแรงว่า เป็นการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ โดยห้ามเยี่ยม ห้ามประกันเด็ดขาด จากนั้นจึงได้มีการประกาศจับ นายก้องเกียรติ์ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และตามจับ นายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส.จ.นครพนม ขึ้นอีก รวมทั้งหมดเป็น 13 คน โดยกล่าวหาว่า นายไขแสงเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิวครั้งนี้ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้เกิดขึ้นครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนอย่างมาก จนนำไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงของการสอบกลางภาคด้วย แต่ทางองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ได้ประกาศและติดป้ายขนาดใหญ่ไว้ว่า "งดสอบ" พร้อมทั้งยื่นคำขาดให้ทางรัฐบาลปล่อยตัวทั้งหมดนี้ก่อนเที่ยงวันที่ 13 ตุลาคม แต่เมื่อถึงเวลาแล้วรัฐบาลก็หาได้ยอมกระทำไม่

      การเดินขบวนครั้งใหญ่จึงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ออกไปตามถนนราชดำเนิน สู่ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยมีแกนนำเป็นนักศึกษาและมีประชาชนเข้าร่วมด้วยจำนวนมาก แกนนำนักศึกษาได้เข้าพบเจรจากับรัฐบาลและบางส่วนได้เข้าเฝ้า ฯ จนได้ข้อยุติเพียงพอที่จะสลายตัว แต่ทว่าด้วยอุปสรรคทางการสื่อสารและมวลชนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไม่อาจควบคุมดูแลได้หมด ก็นำไปสู่การนองเลือดในเช้าตรู่วันที่ 14 ตุลาคม เมื่อเกิดการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนที่บริเวณหน้าพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมจะสลายตัวกลับทางนั้น แต่ทางเจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้ผ่าน จึงเกิดการปะทะกันกลายเป็นการจลาจล ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และถนนราชดำเนิน พบเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งบินวนอยู่เหนือเหตุการณ์และมีการยิงปืนลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ลำนั้นเพื่อสลายการชุมนุม โดยผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ยืนยันว่าบุคคลที่ยิงปืนลงมานั้นคือ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจรหลังจากนั้น วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศว่า จอมพลถนอม ได้ลาออกจากตำแหน่งแล้ว และมีพระบรมราชโองการโปรดแต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระราชดำรัสแถลงออกโทรทัศน์ด้วยพระองค์เอง แต่ทว่าเหตุการณ์ยังไม่สงบโดยกลุ่มทหารได้เปิดฉากยิงเข้าใส่นักศึกษาและประชาชนอีกครั้งหลังจากพระราชดำรัสทางโทรทัศน์เพียงหนึ่งชั่วโมงเมื่อนักศึกษาพยายามพุ่งรถบัสที่ไม่มีคนขับเขาใส่สถานีตำรวจ ที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยเนื่องจากผู้ชุมนุมนับพันยังไม่วางใจในสถานการณ์ได้มีการประกาศประกาศท้าทายกฎอัยการศึกในเวลา 22.00น. และ ประกาศว่าจะอยู่ที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยทั้งคืนเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ถูกหลอกอีกครั้ง ซึ่งในตอนหัวค่ำวันที่ 15 ได้มีประกาศว่า จอมพลถนอม จอมพลประภาส และพ.อ.ณรงค์ ได้เดินทางออกนอกประเทศแล้ว เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง และวันที่ 16 ตุลาคม ผู้ชุมนุมและประชาชนต่างพากันช่วยทำความสะอาดพื้นถนนและสถานที่ต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหาย

      ภายหลังเหตุการณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และสำหรับผู้เสียชีวิตทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชทานเพลิงศพผู้เสียชีวิตที่ทิศเหนือท้องสนามหลวงด้วย และอัฐินำไปลอยอังคารด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา อ่าวไทย

      คณะรัฐมนตรี มีมติให้ก่อสร้าง อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ขึ้นที่ สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง โดยกว่าจะผ่านกระบวนต่าง ๆ และสร้างจนแล้วเสร็จนั้น ต้องใช้เวลาถึง 28 ปี

      หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน โดยไม่มีนักการเมืองร่วมอยู่ด้วยเลย และใช้สนามม้านางเลิ้งเป็นสถานที่ร่าง โดยเรียกกันว่า "สภาสนามม้า" จนนำไปสู่การเลือกตั้งในต้นปี พ.ศ. 2518 ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้น มีคำเรียกว่าเป็นยุค "ฟ้าสีทองผ่องอำไพ" แต่ทว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบ มีการเรียกร้องและเดินขบวนของกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม ประกอบกับสถานการณ์ความมั่นคงในประเทศรอบด้าน แม้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ จนนำไปสู่เหตุนองเลือดอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2519 คือ เหตุการณ์ 6 ตุลา

      http://video.mthai.com/player.php?id=6M1185124206M0 >> คลิปเหตุการณ์14ตุลา



      ก่อนจะถึง14ตุลา
       การลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาล เผด็จการทหารของนักศึกษาและประชาชนชาวไทยในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น นับได้ว่าเป็นการแสดงพลังทางการเมืองของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่

         ปรากฏการณ์ “14 ตุลา”
      เป็นการสั่งสมของความกดดันของการเมืองไทย ที่อยู่ใต้ ระบบเผด็จการ มาเป็นเวลายาวนาน มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่แล้วฉีกทิ้งทำลาย สิทธิเสรีภาพที่ประชาชนพึงมีพึงได้ถูกปฏิเสธและเหยียบย่ำ อำนาจการเมืองการปกครองก็ตกอยู่ในมือของคณาธิปไตยเพียงไม่กี่คน ทั้งนี้โดยอาศัยกลไกของรัฐ ข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือนเป็นเครื่องมือ

         ขณะเดียวกัน การเร่งรัด การพัฒนา ไปสู่ความทันสมัยตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกอบกับการแผ่ขยายระบบอภิสิทธิ์ของกลุ่มข้าราชการ นักการเมือง และกลุ่มธุรกิจเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ ก็ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจสังคมมากมาย เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย ระหว่างชนบทกับเมือง ระหว่างภาคเกษตรกรรมกับภาคอุตสาหกรรม

         นอกจากนี้ ในบริบทของการเมืองระหว่างประเทศ ยุคสงครามเย็น รัฐไทยยังได้ผูกมัดตัวเองอยู่กับค่ายโลกเสรีที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ยินยอมให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศเพื่อบินไปทิ้งระเบิดในอินโดจีน การต่อต้านและปราบปรามคอมมิวนิสต์เป็นไปอย่างรุนแรง

         อย่างไรก็ตาม ในสมัยที่บ้านเมืองขาดสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย ความไม่พอใจในสภาวะที่เป็นอยู่และ ขบวนการนิสิตนักศึกษา ก็ได้ก่อตัวขึ้นอย่างช้า ๆ เครือข่ายของกลุ่มปัญญาชนคนหนุ่มสาวค่อย ๆ เกิดความตื่นตัวทางปัญญา เริ่มตั้งคำถามต่อตัวเองและสังคม ทำให้ตระหนักในบทบาทและศักยภาพของตน และกลายเป็นพลังในการตอบโต้และเผชิญหน้ากับผู้มีอำนาจในที่สุด

         16 ปีภายใต้ระบอบ สฤษดิ์-ถนอม-ประภาส โครงสร้างทางการเมืองแบบเผด็จการและระบบเจ้าขุนมูลนายแบบราชการดำรงอยู่อย่างหยุดนิ่ง ในขณะที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไพศาล ส่งผลให้รัฐบาลเผด็จการเสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ

         กระทั่งเมื่อเงื่อนไขปัจจัยต่าง ๆ สุกงอม โดยเฉพาะการเติบโตขึ้นของเครือข่ายนักศึกษาปัญญาชนและผู้ที่ไม่พอใจในระบอบเผด็จการทหาร จนมีการรณรงค์เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามมาด้วยการจับกุม “๑๓กบฏ” การหลอมรวมพลังทางการเมืองครั้งสำคัญของสังคมไทยจึงเกิดขึ้น ระเบิดเป็นเหตุการณ์ “๑๔ ตุลา” ที่จะต้องจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ประชาชนไทยตลอดไป 

      ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.14tula.com/before_index.htm

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×