ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บันทึก(ไม่)ลับ เด็กวิทย์ หัวใจศิลป์

    ลำดับตอนที่ #84 : ภาษาบาลี ทางเลือกใหม่ของเด็กที่ไม่ได้เรียนภาษาที่ 3 (จริงหรือ?)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.2K
      2
      24 เม.ย. 52

                    ลำพังเด็กสายวิทย์ จะสอบเข้าสอบเข้าคณะทางศิลป์ก็ยากพออยู่แล้ว ยิ่งตัวเองไม่เก่งคณิตด้วยแล้วหล่ะก็ จะเอาคะแนนคณิตไปสู้คนอื่นได้ไหมเนี่ย ภาษาที่ 3 เราก็ไม่ได้เรียน แล้วจะไปสู้กับเด็กสายศิลป์ภาษาได้ยังไง

                    คงมีหลายคนนั่งสบถกับตัวเองแบบนี้บ่อยๆใช่รึเปล่าครับ ใช่แล้ว เด็กสายวิทย์ แต่ถ้าไม่เก่งคณิต โอกาสยื่นเข้าคณะสายศิลป์ก็ยากพอสมควรเลยหล่ะ ในคณะเดียวกันเด็กสายศิลป์คำนวณ ถ้าเขาเกิดเปลี่ยนใจมาสอบคณะแนวๆนี้กับเราหล่ะ....

                    หลากหลายปัญหาสารพัน...... แต่ทุกปัญหาย่อมมีทางแก้ขอรับ

     

    นั่นคือ การสอบภาษาบาลีนั่นเองๆๆๆๆ (แต่น แต้น แต๊น)

     

    เอางี้ สาเหตุที่เด็กที่ไม่ได้เรียนภาษาที่ 3 ส่วนใหญ่หันไปสอบภาษาบาลีกันก็เพราะว่า

    1.   คิดว่าใกล้เคียงกับภาษาไทย ถือว่าถูกครับ แต่บาลีของแท้นี่ ยากกว่าที่เราเรียนในภาษาไทยจมหู ที่เราเรียนก็แค่พวกพยัญชนะวรรค การสร้างคำบาลีสันสกฤตอะไรเถือกๆนั้น ซึ่งข้อสอบภาษาบาลีออกไหม ออกครับ แต่ไม่มาก

    2.   คิดว่าง่าย ไม่ง่ายเลยนะครับสำหรับภาษาบาลีสำหรับคนเพิ่งเริ่มเรียน บางคนคงอาจจะคิดว่าเราคงแปลได้แหละ เพราะว่ามันก็เขียนเป็นภาษาไทย แต่คนที่ไม่ได้ศึกษาจริงๆจังๆจะไม่รู้เลยว่าภาษาบาลีมีหลักการแปลที่แท้จริงยังไง ฯลฯ

    3.    คิดว่าถ้ามั่วได้คะแนนสูงๆ อาจจะเอาไปยื่นคณะที่ต้องใช้ได้ อันนี้แล้วแต่คนชอบครับ ไม่ขัดศรัทธา

    ฯลฯ อีกหลายความคิดมากมาย

     

    อาจจะยังมีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่าภาษาบาลีเป็นภาษายังไง มีลักษณะยังไงบ้าง วันนี้ผมจะชี้แจงแถลงไขให้กระจ่างกันไป 5555+

     

    เอาง่ายๆเลยนะครับ ภาษาบาลีคือภาษาที่พระใช้เรียนครับ เพราะฉะนั้นที่มีภาษาบาลีในการสอบแอดมิชชั่น ก็เพื่อให้พระภิกษุ สามเณรใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยายาลัยไม่ต่างจากเราครับ

    จากการที่ผมได้ลงสอบภาษาบาลีในรอบที่ผ่านมาก ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ 300 คะแนน เวลา 3 ชม. ผมบอกได้เลยว่าข้อสอบภาษาบาลีมันถามออกมาตรงๆ ไม่มีหลอก แถมถามเป็นภาษาไทยหมด ที่สำหรับคล้ายกับแนวข้อสอบ Ent ปีเก่าๆเด๊ะๆ เรียกได้ว่า ถ้าติว เก็งกันมาตรง 300 คะแนนก็ไม่หายไปไหน

    แต่.....ทำไมผมถึงบอกว่า ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ยาก ทั้งๆที่ข้อสอบถามไม่ยาก

    เอาง่ายๆเลย ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มเรียน เน้นการจำล้วนๆ

     

    ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัยเหมือนกับภาษาอังกฤษ คือสามารถเติม Prefix และ Suffix ลงไปท้ายคำได้ และเหมือนกับภาษาฝรั่งเศสที่มีการแบ่งเพศของคำในภาษาออกเป็น 3 เพศ นั่นก็ ปุงลิงค (เพศชาย) อิตฺถีลิงค (เพศหญิง) และ นปุงลิงค (เพศที่ 3 คือ สิ่งของครับ ไม่ใช่อย่างที่ทุกคนเข้าใจ) แค่นั้นอาจจะยังไม่ยุ่งยากพอเท่ากับ การแจกวิภัตตินาม

     

    การแจกวิภัตติคืออะไร....

                    วิภัตติในภาษาบาลีก็แบ่งออกได้อีก 2 ประเภทหลักๆ ก็คือมี นามวิภัตติ และกริยาวิภัตติ เนื่องจากคำศัพท์ในภาษาบาลีปกติจะไม่สามารถนำมาเรียงในประโยคได้ จะต้องได้รับการแจกวิภัตติก่อนตามชนิดของคำ ซึ่งวิภัตติแต่ละตัว จะมีความหมายแตกต่างกัน ส่วนรูปของวิภัตตินั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามเพศของคำ และความเป็นเอกพจน์ และ พหูพจน์

                    ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น คำว่า โลก (อ่านว่า โล-กะ นะครับ เพราะว่าภาษาบาลีจะต้องมีการอ่านเชื่อมเสียงคำทุกคำ) เป็นคำนามเพศชาย อะ การันต์ ซึ่งแปลว่า โลก ถ้าเราไปแจกวิภัตติตัวที่ 1 รูปเอกพจน์ จะได้คำว่า โลโก ซึ่งมาจากการที่ อะ การันต์ (การันต์ในภาษาบาลีแปลว่าเสียงลงท้ายสุดของคำนั้นๆครับ) มาเชื่อมกับ สิ วิภัตติ จะได้สมการน่ารักๆก็คือ อะ + สิ = โอ ดังนั้นเมื่อคำว่า โลก ถูกแจกด้วย สิ วิภัตติก็จะกลายเป็น โลโก ซึ่งมีความหมายว่า อันว่าโลก

              นอกจากนี้ ถ้าจะให้มีความหมายเป็นพหูพจน์ ก็จะต้องใช้วิภัตติอีกตัวหนึ่ง ซึ่งนั่นก็คือ โย ซึ่งได้สมการคือ อะ + โย = อา ดังนั้นถ้านำคำว่าโลก มาแจกด้วย โย วิภัตติแล้ว จะได้คำว่า โลกา ซึ่งแปลว่า อันว่าโลกทั้งหลาย

                    นี้แค่ 2 วิภัตติ จากทั้งหมด 14 ตัว ซึ่งทั้ง 14 ตัวจะแปลความหมายต่างกันหมด เดี๋ยวผมจะยกมาให้ดู

                    คำแปล                                                                                               เอกวัจนะ            พหุวัจนะ

    1.    อันว่า                                                                                                      สิ                             โย

    2.    ซึ่ง สู้ ยัง สิ้น                                                      อัง (๐)                    โย

    3.    ด้วย โดย อัน ตาม                                                นา                           หิ

    4.    แก่ เพื่อ ต่อ                                                                                    นํ

    5.    แต่ จาก กว่า เหตุ                                                 สฺมา                        หิ

    6.    แห่ง ของ เมื่อ                                                                                 นํ

    7.    ใน ที่ บน ใกล้ ครั้นเมื่อ                                          สฺมิง                        สุ

    8.    ดูก่อน (ตัวนี้เรียกว่า อาลปนะ ผันตามวิภัตติที่ 1)

    การแจกวิภัตติในภาษาบาลีถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะเป็นพื้นฐานในการสร้างประโยคขั้นต่อๆไป และข้อสอบก็ออกเกี่ยวกับวิภัตติไม่น้อยเลยทีเดียว ถ้าผันวิภัตติทุกตัว ทุกเพศ ทุกวัจนะได้ ก็ไม่ต้องกลัวอะไรแล้วครับ

    ส่วนวิธีแปล ก็ให้ยึดถือวิภัตติที่นำเอาไปเชื่อมเป็นหลัก

     

    Basic ที่ออกในเรื่องภาษาบาลี.....

    ที่สำคัญมากๆเลยก็คือ เรื่องพยัญชนะวรรค (ไอ้ ก ข ค ฆ ง อะไรที่เราท่องกันตอนเรียนภาษาไทยเนี่ยแหละครับ) ออกอยู่ประมาณ 10 ข้อแรก ซึ่งผมคิดว่ามันคงง่ายที่สุดในฉบับแล้วหล่ะ แต่ที่เราจะต้องรู้เพิ่มเติมก็คือ ไอ้ตัวอักษรทั้งหมดเนี้ย อยู่ในพวก โฆษะ (เสียงก้อง) หรือ อโฆษะ (เสียงไม่ก้อง) และมีลักษณะการอ่านออกเสียงเป็น สิถิล (เบา) ธนิต (หนัก) หรือว่า อนุนาสิก (ขึ้นจมูก)

    ความรู้เบื้องต้นของภาษาบาลี เช่น มีสระกี่ด้วย อะไรเป็นรัสสระ (สระเสียงสั้น) ฑีฆสระ (สะเสียงยาว) ซึ่งก็มีกฎอยู่พอสมควร

    เรื่องฐานการเกิดเสียงก็ออกข้อสอบด้วย (ซึ่งปกติในภาษาไทยไม่ออก) ว่าเกิดที่ส่วนใดของร่างกาย ที่น่าเบื่อก็คือ มันยังมีชื่อเฉพาะของมันอีก คือ ฐานคอ เรียก กัณฐชะ เพดาน เรียน ตาลุชะ ยอดเพดาน เรียก มุทธชะ ฟัน เรียก ทันตชะ ปาก เรียก โอฏฐชะ ส่วนจมูก เรียก นาสิกฏฐานชะ

     

    เนื้อหาอื่นๆ….

    เรื่องที่ออกทั้งหมดจะเป็นเพียงแค่พื้นฐานการเรียนภาษาบาลีของพระ ซึ่งมีคนบอกผมมาว่า คนที่จะสอบภาษาบาลีให้ได้ดีนั้น จะต้องมีความรู้ตั้งแต่ระดับเปรียญ 3 ขึ้นไป (ฟังดูเหมือนน้อย แต่ก็ยากอยู่นะ)

    เนื้อหาที่จะออกข้อสอบบาลีทั้งหมดมีดังนี้ครับ

    1.    สมัญญาภิธาน คือ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาบาลี

    2.    สนธิ

    3.    นาม ส่วนใหญ่ก็เกี่ยววับพวกการแจกวิภัตติตามที่บอกไปข้างต้น

    4.    อัพยยศัพท์

    5.    อาขยาย เกี่ยวกับกริยาแท้ของประโยค (Finite Verb)

    6.    กิตก์

    7.    สมาส

    8.    ตัทธิต

     

    และเนื้อหาทั้งหมดนี้แหละ ที่ครอบคลุมระดับการเรียนถึงเปรียญ 3 และออกสอบแน่นอน ทุกปี

    ส่วนที่ต้องใช้การประยุกต์ใช้นิดหน่อยก็คือส่วนของ Reading ภาษาบาลี ซึ่งก็สั้นๆไม่ยาวมาก อาจจะยังพอเดาได้บ้าง แต่ที่น่ากลัวก็คือ Cloze Test (ข้อสอบที่เว้นที่ว่างไว้ให้เติมคำลงไป) ซึ่งนานๆมันจะออกที แต่ก็ประมาทไม่ได้ ถ้าจะลองสอบวิชานี้ดู ก็อย่าประมาทแล้วกานนะครับ

    จุดอ่อนของข้อสอบภาษาบาลีก็คือ เป็นวิชาที่มีคนสอบน้อย ไม่มีหนังสือเฉลยขาย มีโอกาสมากที่ว่าเขาอาจจะนำเอาข้อสอบ Ent ปีเก่าๆมาออกซ้ำได้โดยไม่ต้องสงสัย ซึ่งใครอยากได้แนวข้อสอบเอาไปลองถามอาจารย์ที่ รร. ก็คลิกตามเว็บลิงค์ข้างล่างนี้ได้เลยนะครับ (นอกจากภาษาบาลีแล้ว ยังมีข้อสอบวิชาอื่นเก่าๆมากมาย ลองโหลดไปทำเล่นๆดูได้ครับ)

    Link : http://www.thaigoodview.com/library/exam/intro/ent_pdf.htm

     

              สำหรับคนที่อยากได้หนังสือภาษาบาลีมานั่งอ่านเตรียมตัวสอบ ก็ให้ Search หาใน internet ได้เลยครับ แต่ที่ผมแนะนำก็คือ หนังสือ ภาษาบาลีพื้นฐาน ของ รศ.พัฒน์ เพ็งผลา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เล่มนี้ใช้ภาษาค่อนข้างเข้าใจง่าย ส่วนอีกเล่มคือ บาลีไวยากรณ์ ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเล่มนี้เนื้อหาครบ 8 อย่างที่ออกสอบ แต่ภาษาอาจจะอ่านเข้าใจยากนิดนึง

     

                    สถิติการสอบเข้าด้วยภาษาบาลี

                    ฟังแล้วก็อย่างเพิ่งตกใจนะครับ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมานี้ ไม่มีใครเลือกภาษาบาลีแล้วสอบติดเลย เนื่องจากอย่างที่บอกไปข้างต้น และคณะที่รับภาษาที่ 3 ส่วนใหญ่จะรับรวมกันทุกภาษา พูดง่ายๆก็คือ ทุกภาษาต้องมาแข่งร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น จีน ฝรั่งเศส เยอร์มัน ฯลฯ ไม่แปลกเลยที่ทุกๆปีไม่ค่อยมีคนที่ใช้ภาษาอาหรับ บาลี สอบเข้าไปได้ (อาจจะติด ในรายคณะที่มีคะแนนไม่สูงมากนัก)

    เพราะฉะนั้นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมอยากจะเตือนเพื่อนๆก็คือ ให้เลือกภาษาบาลีเป็นอีกทางเลือกหนึ่งก็พอครับ เพราะโอกาสมัน 50 : 50 ถ้าเราอ่านและ Happy กับภาษาบาลี ก็เอาให้เต็มที่ไปเลย แต่ถ้าไม่แน่ใจ ก็อ่านพอเป็นกระศัยก็พอ ให้พอมีภูมิไปมั่วในห้องสอบได้บ้าง เพราะภาษาไทยส่วนใหญ่ก็ได้มาจากภาษาบาลีเนี่ยแหละ

     

    ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่ไม่อยากใช้คณิตสอบแล้วกันนะครับ แต่ว่าการอ่านภาษาบาลีเนี่ยต้องใช้ความอดทนในการจำค่อนข้างสูงมากทีเดียว แต่ถ้าอ่านแล้วจำได้หมด ข้อสอบภาษาบาลีก็จะไม่ใช่เรื่องยากเลย

    ที่สำคัญ จะได้ทำตัวเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี จรรโลงสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกด้วย  (สาธุ~) อิอิ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×