ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~ประวัติบุคคลสำคัญ~

    ลำดับตอนที่ #44 : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    • อัปเดตล่าสุด 6 ก.พ. 51




    คลิกที่พระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น


    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 2 ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดย สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติโสภาดุลภาคย์"
    เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ขณะพระชนมายุ ได้ 3 พรรษาเศษ ได้ทรงเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาล ที่ โรงเรียนจิตรลดา ทรงมีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาด สนพระทัยในการอ่านอย่างมาก มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ จึงทรงมีพระสมญานามอีกอย่างหนึ่งว่า "หนอนหนังสือ" ไม่ว่าจะเสด็จประทับ ณ ที่ใด จะทรงมีหนังสือติดพระหัตถ์อยู่เสมอ แม้จะเสด็จประทับในรถยนต์พระที่นั่ง หรือเครื่องบินพระพาหนะ


    คลิกที่พระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น


    ต่อมา ในปีการศึกษา 2510 ขณะทรงศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ทรงสอบข้อสอบของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งวัดผลทั่วประเทศ ทรงทำคะแนนรวมได้ ร้อยละ 96.6 เป็น ลำดับที่ 1 ของการสอบวัดผลระดับประโยคประถมศึกษาตอนปลายของประเทศ


    คลิกที่พระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น


    และ ในปีการศึกษา 2515 ทรงสอบข้อสอบของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อวัดผลทั่วประเทศ ทรงได้คะแนนรวม ร้อยละ 89.30 เป็นลำดับที่ 1 ของประเทศ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ขณะทรงศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนกศิลปะ


    คลิกที่พระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น


    เมื่อทรงศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทรงสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทรงลงทะเบียนเป็นนิสิต ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ทรงมีเลขทะเบียน 16138 นับเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรก ที่ทรงศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย ตลอดระยะเวลาที่ทรงเข้าศึกษา เป็น นิสิต ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมเด็จเจ้าฟ้าสิรินธรฯ ทรงมีพระจริยาวัตร และ มีน้ำพระทัย ต่อ "น้องพี่สีชมพู" อย่างแท้จริง


    คลิกที่พระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น


    ทรงเข้าร่วมพิธี และ กิจกรรมต่างๆ ของ มหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับนิสิตอื่นๆ ทุกคน เช่น เสด็จมารับการปฐมนิเทศ ทรงร่วมในพิธีไหว้ครูตามประเพณีไทย โดยเฉพาะ กิจกรรมวันรับน้องใหม่ ทรงปฏิบัติตาม "ประเพณี" ของชาวจุฬาฯ ตามดังคำกราบบังคมทูลของรุ่นพี่ เช่น ทรงร้องเพลงบูมจุฬาฯ แสดงลิเก ลอดซุ้ม ทรงเข้าซ้อมเพลงเชียร์ ทรงกีฬา นอกจากนี้ ยังเสด็จร่วมทรงบาตร ในวันครบรอบการสถาปนามหาวิทยาลัย ทรงร่วมแข่งขันกีฬา ระหว่าง นิสิต กับ คณาจารย์ ใน วันครบรอบการสถาปนา คณะอักษรศาสตร์ ในวันที่ 3 มกราคม ของทุกปี ทรงขับร้องเพลงลูกทุ่งกับวงดนตรีของคณะ ทรงร่วมพัฒนาพื้นที่ ปลูกต้นไม้ประดับบริเวณคณะ


    คลิกที่พระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น


    นอกจากนั้น ยังทรงสมัครเป็นสมาชิก ชมรมดนตรี และ ชมรมวรรณศิลป์ ของ สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย สมาชิกชมรมภาษาไทย ภาษาตะวันออก และ ประวัติศาสตร์ในคณะอักษรศาสตร์ ทรงจัดหาเรื่อง และประทานบทพระราชนิพนธ์ ลงในหนังสือ "อักษรศาสตรพิจารณ์" ของ ชุมนุมวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ทรงร่วมมือกับ นิสิตภาควิชาประวัติศาสตร์ ริเริ่มจัดทำหนังสือ "สะพาน" เพื่อรวบรวมบทความและรายงานของนิสิตลงพิมพ์เผยแพร่


    คลิกที่พระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น


    ทรงได้รับรางวัล เงินทุนศาสตราจารย์พระวรเวทย์พิสิฐ ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับนิสิตปีที่ 1 ซึ่งสอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในวิชาภาษาไทย ทรงได้รับรางวัลของ สมาคมฝรั่งเศส ที่มอบให้นิสิตซึ่งได้คะแนนสูงสุด ในแต่ละชั้นปีต่อมา ทรงได้รับรางวัล พระยาสุจริตธำรง สำหรับคะแนนยอดเยี่ยมวิชาภาษาไทย และทรงได้รับทุนเรียนดีทุกปี



    ในการศึกษาปีแรก ทรงสอบได้เป็นที่ 1 ของนิสิตชั้นปีที่ 1 ของคณะอักษรศาสตร์ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.94
    แม้จะทรงสนพระทัย พระพุทธศาสนา และ ภาษาบาลี เป็นการส่วนพระองค์ แต่ก็ทรงตระหนักว่า หากจะทรงปฏิบัติพระราชกิจให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติได้ดีที่สุดนั้น จะต้องทรงรอบรู้ในเรื่องของประเทศเพื่อนบ้านให้มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ จึงทรงเลือกเรียน วิชาประวัติศาสตร์ เป็นวิชาเอก โดยมี วิชาภาษาไทย และ วิชาบาลี-สันสกฤต เป็นวิชาโท และ ทรงลงทะเบียนเข้าร่วมการบรรยาย โดยไม่เข้าสอบ อีก 4 รายวิชา



    ทรงได้รับ รางวัลรันซิแมน คะแนนยอดเยี่ยมในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ รางวัลสุภาพ จันทรโบส สำหรับนิสิตหญิงที่ได้เกียรตินิยม และได้คะแนนสูงสุด ในแต่ละสาขาวิชา






    คลิกที่พระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น


    ซึ่งถือเป็นพระราชภาระที่หนักยิ่ง เนื่องจากทรงมีพระราชกิจ ต้องตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในต่างจังหวัดอยู่เนืองๆ เช่นเดียวกับ เมื่อครั้งที่ทรงศึกษาระดับปริญญาตรี แต่ด้วยทรงมี พระวิริยะอุตสาหะ ทรงพระปรีชาสามารถ รอบรู้ในวิทยาการ ทรงรู้จักจัดสรรเวลา และ ทรงวางระเบียบการศึกษาที่ดี











    ทั้งด้าน การเกษตร การชลประทาน การบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ ทรงเป็นผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ เยือนต่างประเทศ เพื่อเจริญพระราชไมตรี กับประมุขของประเทศนั้นๆ


    คลิกที่พระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น


    ในปี พ.ศ. 2523 ทรงก่อตั้ง โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แก่ นักเรียนในชนบทห่างไกล และ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในปีเดียวกันนี้ ยังได้ทรงรับเป็น องค์ประธานคณะกรรมการอำนวยการ การบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ พระบรมมหาราชวัง ในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในปี พ.ศ. 2525 ด้วย


    คลิกที่พระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น





    คลิกที่พระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น


    เมื่อทรงสำเร็จการศึกษา ในปี พ.ศ. 2519 สมเด็จเจ้าฟ้าสิรินธรฯ ทรงสอบได้คะแนนเฉลี่ย 3.98 ทรงได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และมีคะแนนเป็นที่ 1 ของผู้สำเร็จการศึกษาอักษรศาสตรบัณฑิต
    วันที่ 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2520 สมเด็จเจ้าฟ้าสิรินธรฯ ทรงเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร และนำบัณฑิตปฏิญาณตน ต่อหน้าพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ท่ามกลางความปลาบปลื้มปิติโสมนัส ของ พสกนิกร ชาวจุฬาฯ และ ชาวไทย ด้วย ทรงเป็น "สมเด็จเจ้าฟ้าฯ บัณฑิต" พระองค์แรก โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชวงศ์และพระประยูรญาติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน และ โปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงร่วมฉายพระรูปกับองค์บัณฑิตใหม่ เช่นเดียวกับ ครอบครัวของบัณฑิตอื่นๆ
    เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้าสิรินธรฯ ทรงศึกษาต่อขั้นปริญญาโท สาขาวิชาบาลี-สันสกฤต ภาควิชาโบราณคดี ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปพร้อมกัน
    พระองค์ทรงสามารถศึกษาตามรายวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรฯ ได้ครบถ้วน ภายในเวลา 2 ปี ทรงได้รับพระราชทาน ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้รับปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2523
    หลังจากนั้น ได้ทรงศึกษาขั้น ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขา พัฒนศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ทรงสำเร็จการศึกษา ได้รับพระราชทาน ปริญญาดุษฎีบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2529
    สมเด็จเจ้าฟ้าสิรินธรฯ ได้ทรงแบ่งเบา พระราชภารกิจ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในทุกด้าน
    ในปี พ.ศ. 2518 ได้ทรงก่อตั้ง "มูลนิธิสายใจไทย" ขึ้น ตามพระราชดำริ ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อช่วยเหลือ ทหาร ตำรวจ พลเมือง ที่ บาดเจ็บ หรือ พิการ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติ และ ทรงดำรงตำแหน่ง องค์ประธานมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้วยพระองค์เอง
    เนื่องในวโรกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมี พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ สถาปนา พระอิสริยศักดิ์ "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติโสภาดุลภาคย์" ขึ้นเป็น "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี" นับเป็นศุภวาระมงคลสมัย ที่ยังความชื่นชมยินดี มาสู่พสกนิกรชาวไทย โดยทั่วหน้ากัน
    ปัจจุบัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่ง ในทางวิชาการ และ การบริหาร ที่สำคัญๆ ดังนี้

    1. ทรงดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ผู้อำนวยการกองวิชาประวัติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
    2. ทรงเป็น พระอาจารย์พิเศษ ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    3. ทรงเป็น ราชเลขานุการส่วนพระองค์ ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
    4. ทรงเป็น องค์อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา
    5. ทรงเป็น องค์ผู้บริหารโรงเรียนจิตรลดา ผู้สนองพระบรมราโชบาย ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา
    6. ทรงเป็น ประธานมูลนิธิ "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา" มุ่งช่วยเหลืออุปการะด้านการศึกษา ของ นักเรียน และ นักศึกษา ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์


    คลิกที่พระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น

    ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=zenithworldz&date=02-04-2005&group=1&gblog=14




    คลิกที่พระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×