คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : พ่อขุนรามคำแหงมหาราช2
ศิลาจารึก
ในสมัยพระเจ้ารามคำแหง ได้มีการจัดทำศิลาจารึกขึ้นเป็นครั้งแรกแลนับว่าก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก เพราะถ้าพระองค์มิได้ทรงคิดอักษรไทยและทำศิลาจารึกไว้แล้ว คนไทยรุ่นต่อมาก็จะค้นคว้าหาหลักฐานในทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ได้ยากยิ่ง
หลักศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหง
เพื่อให้ท่านผู้อ่าน ได้ทราบถึงความเป็นมาในการค้นพบหลักศิลาจารึกในสมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ข้าพเจ้าจึงขอคัดข้อความจากประชุมจารึกสยาม ภาคที่ 1 จารึกสุโขทัยซึ่งศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ เป็นผู้ชำระและแปลมาเสนอไว้ดังต่อไปนี้
เมื่อปีมะเส็ง เบญจศก ศักราช 1995 (พ.ศ.2376) เสด็จไปประพาสเมืองเหนือนมัสการเจดีย์ สถานต่างๆ ไปโดยลำดับประทับเมืองสุโขทัย เสด็จไปเที่ยวประพาสพบแผ่นศิลา(พระแท่นมนังคศิลา) แผ่นหนึ่ง เขาก่อไว้ริมเนินปราสาทเก่าหักพังอยู่เป็นที่นับถือกลังเกรงของหมู่มหาชน ถ้าบุคคลไม่เคารพเดินกรายเข้าไปใกล้ให้เกิดการจับไข้ไม่สบาย ทอดพระเนตรเห็นแล้วเสด็จตรงเข้าไปประทับแผ่น ณ ศิลานั้น ก็มิได้มีอันตราสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยอำนาจพระบารมี เมื่อเสด็จกลับวันสั่งให้ทำการชะลอลงมาก่อเป็นแท่นไว้ที่วัดราชาธิวาส ครั้งภายหลังเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว (รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ดำรัสสั่งให้นำไปไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสนาราม อนึ่งทรงได้เสาศิลาจารึกอักษรเขมรเสาหนึ่ง จารึกอักษรไทยโบราณเสาหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น
ที่นี่พบศิลาจารึกหลักนี้ไม่ปรากฎแน่ชัด แต่คิดว่าจารึกนี้คงจะใกล้ๆ กับพระแท่นมนังคศิลา เพราในจารึกหลักนี้ด้านที่สามมีกล่าวถึงพระแท่นมนังคศิลา ซึ่งทำให้คิดว่า ศิลาจารึกหลักนี้จะได้ในเวลาฉลองพระแท่นนั้น เพราะฉะนั้นศิลาจารึกหลักนี้คงจะอยู่ใกล้ๆ กับพระแท่นนั้น คือ บนเนินปราสาทนั้นเอง พระแท่นนั้น เมื่อชะลอลงมากรุงเทพฯ แล้ว เดิมเอาไว้ที่วัดราชาธิวาส ก่อทำเป็นแท่นที่ประทับไว้ตรงใต้ต้นมะขามใหญ่ ข้างหน้าพระอุโบสถ
ภายหลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2394 ได้โปรดให้เอามาก่อแทนประดิษฐานไว้ที่หน้าวิหารพระคันธาราฐในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่มาจนถึงในรัชกาลปัจจุบันนี้ เมื่องานพระราชพิธีบรมราชาภิเศกสมโภชใน พ.ศ. 2545 จึงโปรดให้ย้ายไปทำเป็นแท่นเศวตฉัตรราชบัลลังก์ ประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทปรากฎอยู่ในทุกวันนี้
ส่วนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้น ครั้นพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศ โปรดให้ส่งหลักศิลานั้นมาด้วย
ภายหลังเมื่อได้เสวยราชย์ พระเจ้าเกล้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ย้ายจากวัดบวรนิเวศ เอาเข้าไปตั้งไว้ศาลารายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามข้างด้านเหนือ พระอุโบสถหลังที่สองนับแต่ทางตะวันตก อยู่ ณ ที่นี้ต่อมาช้านานจนปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2466 จึงได้ย้ายเอามารวมไว้ที่หอพระสมุด
เรื่องหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ที่นักปราชญ์ชาวยุโรปแต่งไว้ในหนังสือต่างๆ นั้น มีอยู่ในบัญชีท้ายคำนำภาษาฝรั่งแล้ว ส่วนนักปราชญ์ไทยแต่ขึ้นนั้นได้เคยพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณเล่มที่ 6 หน้า 3574 ถึง 2577 ในหนังสือเรื่องเมืองสุโขทัย ในหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง และในประชุมพงศาวดารภาคที่หนึ่ง
เรื่องที่มีในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนี้ แบ่งออกได้เป็นสามตอน ตอนที่ 1 ตั้งแต่บรรทัดที่ 1 ถึง 18 เป็นเรื่องพ่อขุนรามคำแหงเล่าประวัติของพระองค์ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติ ใช้คำว่า “กู” เป็นพื้น
ตอนที่ 2 ไม่ใช่คำว่า “กู” เลย ใช้ว่า “พ่อขุนรามคำแหง” เล่าเรื่องประพฤติเหตุต่างๆ และธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย เรื่องสร้างพระแท่นมนังคศิลา เมื่อ 1214 เมื่อสร้างพระมหาธาตุ เมืองศรีสัชนาไลย เมื่อ ม.ศ. 1207 และที่สุดเรื่องประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ.1205 ตอนที่ 3 ตั้งแต่ด้านที่ 4 บรรทัดสุดท้าย เข้าใจว่าจารึกภายหลังปลายปี เพราะตัวอักษรไม่เหมือนกับตอนที่ 1 และที่ 2 คือ ตัวพยัญชนะสั้นกว่าที่สระที่ใช้ก็ต่างกันบ้าง ตอนนี้ (ที่ 3 ) เป็นคำสรรเสริญและขอพระเกียรติคุณพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตเมืองสุโขทัยที่แผ่ออกไปในครั้งกระโน้น
ผู้แต่ศิลาจารึกนี้ เพื่อจะเป็นพ่อขุนรามคำแหงทรงเล่าเอง มิฉะนั้นก็คงตรัสสั่งให้แต่งและจารึกไว้ มูลเหตุที่จารึกไว้คือเมื่อ ม.ศ. 1214 (พ.ศ.1835) ได้สะกัดกระดานหินพระแท่นมนังคศิลา ประโยชน์ของพระแท่นมนังคศิลาก็คือ ในวันพระอุโบสถพระสงฆ์ได้ใช้นั่งสวดพระปาติโมกข์และแสดงธรรมถ้าไม่ใช้วัดอุโบสถพ่อขุนรามคำแหงก็ได้ประทับนั่งพระราชทานราโชวาทแก่ข้าราชบริพาร และประชาราษฎรทั้งปวงที่มาเฝ้า และเมื่อปี ม.ศ.1214 (พ.ศ.1835) นับเป็นปีที่สำคัญมากในรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหง เพราะเป็นปีแรกที่ได้แต่งตั้งราชฑูตไปเมืองจีน
ศิลาจารึกกรุงสุโขทัยที่มีอยู่ในหอสมุดนี้ เริ่มรวบรวมแต่ในรัชกาลที่ 3 มีจดหมายเหตุปรากฎว่า เมื่อ พ.ศ. 2176 พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ประทับอยู่ ณ วัดราชาธิราชเสด็จขึ้นไปธุดงค์ทางมณฑลฝ่ายเหนือถึงเมือพิษณุโลก สวรรคโลก และเมืองสุโขทัย เมื่อเสด็จไปถึงเมืองสุโขทัยครั้งนั้นทอดพระเนตรเห็นศิลาจารึก 2 หลักคือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง (หลักที่ 1 ) และศิลาจารึกภาษาเขมรของพระมหาธรรมราชาลิไทย (หลักที่ 4) กับแท่นมนังศิลาอยู่ที่เนินปราสาท ณ พระราชวังกรุงสุโขทัยเก่า ราษฎร เช่นสรวงบูชานับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสถามว่าของทั้งสามสิ่งนั้นเดิมอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้เอามารวบรวมไว้ตรงนั้น ก็หาได้ความไม่ ชาวสุโขทัยทราบทูลว่าแต่ว่าเห็นรวบรวมอยู่ตรงนั้นมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายายแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพิจารณาดูเห็นว่าเป็นของสำคัญจะทิ้งไว้เป็นอันตรายเสีย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งมากรุงเทพฯเดิมเอาไว้ที่วัดราชาธิวาส ทั้งสามสิ่ง พระแท่นมนังคศิลานั้นก่อทำเป็นแท่นที่ประทับไว้ตรงใต้ต้นมะขามใหญ่ ข้างหน้าพระอุโบสถ ครั้นเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศ โปรดฯ ให้ส่งหลักศิลาทั้งสองนั้นมาด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามอ่านหลักศิลาของพ่อขุนรามคำแหงเอง แล้วโปรดฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณะเจ้าพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พร้อมด้วยล่ามเขมรอ่านแปลหลักศิลาของพระธรรมราชาลิไทย ได้ความทราบเรื่องทั้งสองหลัก ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ เสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2394 ต่อมาจึงโปรด ฯ ให้ย้ายพระแท่นมนังคศิลามาก่อแท่นประดิษฐานไว้หน้าวิหารพระคันธารราฐในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม...
“ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2450 พระยาโบราณราชธานินทร (พร เดชะคุปต์) ได้พบศิลาจารึก (หลักที่ 5 ) ที่วัดใหม่ (ปราสาททอง) อำเภอนครหลวงแขวงจังหวัดอยุธยาหลักหนึ่ง แต่มีรอยถูกลบมีจนตัวอักษรลบเลือนโดยมาก แต่ยังมีเหลือพอทราบได้ว่าเป็นจารึกกรุงสุโขทัย สืบถามว่าใครได้มาแต่เมื่อใดก็หาได้ความไม่ พระยาโบราณฯ จึงได้ย้ายมารักษาไว้ในอยุธยาพิพิธภัณฑ์สถาน กรมพระยาดำรงราชนุภาพเสด็จขึ้นไปทอดพระเนตร ทรงพยายามอ่านหนังสือที่ยังเหลืออยู่ ได้ความว่าเป็นศิลาจารึก ของพระธรรมราชาลิไทย คู่กับหลักภาษาเขมรซึ่งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คือ จารึกความอย่างเดียวกัน เป็นภาษาเขมรหนึ่งหลัก ภาษาไทยหนึ่งหลัก เดิมคงตั้งคู่กันไว้ จึงรับสั่งให้ส่งหลักศิลาจารึกนั้นลงไปไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วยกันกับหลักภาษาเขมร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้มาจากเมืองสุโขทัยศิลาจารึก ทั้ง 3 หลักนั้นอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนย้ายมายังหอพระสมุด เมื่อ พ.ศ. 2467
พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระบรมรูป ณ มณฑลพิธี กองหัตถศิลป กรมศิลปากร วันจันทร์ที่ ๗ ธันวาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๑๓ เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
เมื่อกรมศิลปากรได้ปั้นหล่อพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และภาพจำหลักนูนแสดงเหตุการณ์เรียบร้อยแล้ว จังหวัดสุโขทัยได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากกองหัตถศิลป กรมศิลปากร ไปยังปะรำประดิษฐานพระบรมรูปชั่วคราว เนินปราสาท เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ปีพระพุทธศักราช ๒๕๑๘ และได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากเนินปราสาท ไปประดิษฐานยังแท่นฐานปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ปีพระพุทธศักราช ๒๕๑๙
ด้วยพระเกียรติคุณ พระราชกรณียกิจที่ทรงสร้างไว้แก่ประเทศชาตินานัปการ มุ่งประโยชน์สุขของราษฎรเป็นสำคัญ การรวมประเทศ การแผ่ขยายอาณาเขต การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการประดิษฐ์คิดค้นอักษรไทย อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติ ประชาชนชาวไทยจึงร่วมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ ประดิษฐานไว้ ณ เมืองกรุงเก่าสุโขทัย เพื่อเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณให้ยั่งยืนสืบไปชั่วกาลนาน
คำจารึกพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ จังหวัดสุโขทัย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระโอรสในพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระนางเสือง
ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เมื่อพระชนมมายุ ๑๙ ชรรษา
เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อพุทธศักราช ๑๘๒๒
ทรงประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อพุทธศักราช ๑๘๒๖
โปรดเกล้าฯ ให้สลักศิลาจารึกลงเหตุการณ์ เมื่อพุทธศักราช ๑๘๓๕
ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ชองชาติสืบมา
ทรงกระทำสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน
พระราชทานพระราชกำหนดกฎหมายและทรงบำรุงการพระศาสนาให้รุ่งเรือง
บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดรัชสมัยของพระองค์
สวรรคตเมื่อพุทธศักราช ๑๘๔๒
ประชาชนชาวไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
จึงพร้อมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์นี้ไว้เพื่อประกาศเกียรติคุณชั่วนิรันดร์
ความคิดเห็น