-สงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศไทย- - -สงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศไทย- นิยาย -สงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศไทย- : Dek-D.com - Writer

    -สงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศไทย-

    เรื่องราวเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศไทย

    ผู้เข้าชมรวม

    686

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    686

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    3
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 ก.ย. 53 / 21:13 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    นิยายแฟร์ 2024
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      บทที่ 1 กรณีพิพาทอินโดจีน

      สถานการณ์ในประเทศไทย เริ่มขึ้นในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 เมื่อคณะนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รวมทั้งประชาชนร่วมกันเดินขบวนเรียกร้องรัฐบาลเรียกเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศสจากเหตุการณ์ รศ. 112 เช่น เสียมราฐ พระตะบอง จำปาศักดิ์ เป็นต้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ส่งทหารข้ามพรมแดนเข้าไปยึดดินแดนคืนทันที ท่ามกลางกระแสชาตินิยมอย่างหนัก เพลงปลุกใจในเวลานั้นได้ถูกเปิดอย่างต่อเนื่อง เช่น เพลงข้ามโขง เพลงจำปาศักดิ์ เพลงเสียมราฐ เป็นต้น

      เกิดการยิงต่อสู้กันอย่างหนักระหว่างทหารไทยกับทหารฝรั่งเศส ในบางช่วงทหารไทยสามารถจับทหารโมร็อกโกทหารประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสมาได้ และได้นำเชลยศึกเหล่านั้นมาแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้ดูที่สวนสัตว์เขาดินวนา โดยการต่อสู้ที่เป็นที่กล่าวขานมากที่สุดคือ ยุทธนาวีที่เกาะช้าง จ.ตราด เมื่อเรือหลวงธนบุรีของกองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้กับเรือรบลามอตต์ปิเกต์ของฝรั่งเศส เรือหลวงธนบุรีเสียเปรียบเรือรบลามอตต์ปิเกต์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีหรือกำลังพล ที่สุดเรือหลวงธนบุรีโดยการบังคับบัญชาของ นาวาโทหลวงพร้อมวีระพันธ์ก็ได้ถูกยิงจมลง นายทหารบนเรือเสียชีวิตรวม 36 นาย รวมทั้งตัวหลวงพร้อมวีระพันธ์เองด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถสร้างความเสียหายให้แก่เรือรบลามอตต์ปิเกต์ จนฝ่ายฝรั่งเศสไม่กล้าส่งเรือรบมาลาดตระเวนในน่านน้ำอ่าวไทยอีกเลย เหตุการณ์นี้ได้ถูกเรียกในเวลาต่อมาว่า ยุทธนาวีเกาะช้าง

      ในส่วนของกองทัพอากาศไทย เครื่องบินรบของฝ่ายไทยและฝรั่งเศสได้ปะทะกันในสมรภูมิภาคตะวันออก การต่อสู้ที่ได้รับการกล่าวขานอย่างที่สุด คือ ในวันที่ 10 ธันวาคม เรืออากาศโทศานิต นวลมณี ได้นำเครื่องขับไล่แบบคอร์แซร์ เข้าต่อสู้กับเครื่องบินของฝรั่งเศส ต่างฝ่ายยิงเครื่องของฝ่ายตรงข้ามตกหลายลำ แต่เครื่องของเรืออากาศโทศานิต นวลมณีได้เข้าสู่ฐานทัพที่ดอนเมืองได้สำเร็จ แต่ทั้งตัวเครื่องได้ถูกยิงเป็นรูพรุนไปทั้งลำ ส่วนเรืออากาศโทศานิตได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

      การต่อสู้ยังคงดำเนินไปถึงกลางปี พ.ศ. 2484 ไม่มีทีท่าว่าจะสงบ ทางญี่ปุ่นแสดงเจตจำนงเข้ามาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง เหตุการณ์ได้จบลงโดยที่ฝรั่งเศสได้มอบดินแดนบางส่วนคืนให้แก่ไทย ฝ่ายไทยจึงจัดการปกครองเป็น 4 จังหวัด คือ จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดพระตะบอง จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง

      เหตุการณ์การสู้รบในครั้งนี้ได้ถูกเรียกว่า กรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน และต่อมาได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย

      บทที่ 2 เริ่มสู่สงคราม

      หลังการเข้ามามีบทบาทของญี่ปุ่นในเหตุการณ์นี้ เป็นที่คาดหมายว่า ญี่ปุ่นจะยาตราทัพเข้าสู่ประเทศไทยแน่ในอนาคต รัฐบาลไทยโดย จอมพล ป. ได้รณรงค์ให้ประชาชนปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ และการเสริมสร้างเศรษฐกิจระดับต้น ๆ อย่างเข้มแข็ง เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เช่นการออกพระราชบัญญัติสงวนอาชีพบางประเภท ที่ส่วนมากเป็นงานฝีมือ เฉพาะแก่คนไทย เป็นต้น และคำขวัญในครั้งนี้ก็ได้แก่ งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข

      บรรยายกาศโดยทั่วไปทั้งในพระนครและต่างจังหวัด ประชาชนต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ในเหตุการณ์สงครามที่อาจเกิดขึ้นในเวลาใกล้นี้ เพลงปลุกใจจำนวนมากได้ถูกเปิดขึ้นโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย โดยในครั้งนี้ส่วนมากจะเป็นเพลงมาร์ชของเหล่าทัพต่าง ๆ

      ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ตั้งแต่เวลาประมาณ 02.00 น. กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ประจวบคีรีขันธ์และอีกหลายจังหวัดในภาคกลางที่ติดอ่าวไทย มีการต่อสู้ต้านทานอย่างเข้มแข็งของทหารไทย ประชาชนทั่วไปและอาสาสมัครที่เป็นเยาวชน ที่เรียกว่า ยุวชนทหาร เป็นต้น ซึ่งในระยะแรกกองทัพญี่ปุ่นยังไม่อาจบุกเข้ามาได้ ทางญี่ปุ่นเองได้ประกาศว่า ไม่ต้องการยึดครองประเทศไทยแต่จะขอใช้ไทยเป็นทางผ่านไปยังพม่าและอินเดีย เท่านั้น การต่อสู้ทำท่าว่าจะยืดเยื้อต่อไป จนกระทั่งอัครราชทูตญี่ปุ่นเดินทางมาพบนายกรัฐมนตรีเมื่อเวลาประมาณ 07.55 น. พร้อมกับคำขู่ว่า ญี่ปุ่นได้เตรียมเครื่องบินทิ้งระเบิดไว้ 250 ลำที่ไซ่ง่อน เพื่อจะมาทิ้งระเบิดกรุงเทพ ถ้าไทยไม่ยอมให้ผ่าน มีกำหนดเวลา 10.30 น. [1] รัฐบาลไทยเห็นว่า ไม่อาจต้านทานกองกำลังญี่ปุ่นได้นาน จึงยอมยุติการต่อสู้ และประกาศทางวิทยุให้ทุกฝ่ายหยุดยิง เมื่อเวลา 10.00 น. ในวันที่ 11 ธันวาคม ในอีก 4 วันต่อมา และทำพิธีลงนามร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในวันที่ 21 ธันวาคม ที่อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

      บทที่ 3 ระหว่างสงคราม

      ในเวลานั้น ทหารญี่ปุ่นจำนวนมากได้เข้าสู่พระนครเต็มไปหมด และได้ใช้สถานที่ทางราชการบางแห่งเป็นที่ทำการ รัฐบาลได้ประกาศให้ญี่ปุ่นเป็น มหามิตร ประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนกับทางญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ การกระทำใด ๆ ที่เป็นปรปักษ์มีโทษถึงประหารชีวิต แต่ก็มีประชาชนบางส่วนลับหลังได้เรียกญี่ปุ่นอย่างดูถูกว่า "ไอ้ยุ่น" หรือ "หมามิตร" เป็นต้น

      ขณะเดียวกัน ทางสหรัฐอเมริกา ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ไม่อาจยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้นที่นั่น ในวันที่ 12 ธันวาคม พร้อม ๆ กับขบวนการเสรีไทยในที่อื่น ๆ ก็ได้เกิดขึ้น และเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐบาลไทยก็ได้สั่นคลอน เมื่อคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน เช่น ปรีดี พนมยงค์ ทวี บุณยเกตุ ควง อภัยวงศ์ ได้แยกตัวออกมา เนื่องจากไม่อาจรับกับการกระทำของรัฐบาลเช่นเดียวกัน และกลายมาเป็นขบวนการเสรีไทยในประเทศ

      สถานการณ์โดยทั่วไปในพระนครนั้น ประชาชนได้รับคำสั่งให้ทำการ พรางไฟ คือการใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าขาวม้าปิดบังแสงไฟในบ้าน ให้เหลือเพียงแสงสลัว ๆ เพื่อป้องกันมิให้เครื่องบินของฝ่ายข้าศึกมาทิ้งระเบิดลงได้ ส่วนสถานการณ์โดยรวมของสงคราม ฝ่ายอักษะมีทีท่าว่าจะได้รับชัยชนะในสมรภูมิยุโรปและแอฟริกาตอนเหนือ ส่วนในเอเชียญี่ปุ่นก็สามารถยึดมลายูและสิงคโปร์ได้แล้ว

      ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดในพระนคร การทิ้งระเบิดครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 เวลาประมาณ 04.00 น. หลังจากนั้น ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 รัฐบาลก็ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสอย่างเต็มตัว

      บทที่ 3 ระหว่างสงคราม

      ในเวลานั้น ทหารญี่ปุ่นจำนวนมากได้เข้าสู่พระนครเต็มไปหมด และได้ใช้สถานที่ทางราชการบางแห่งเป็นที่ทำการ รัฐบาลได้ประกาศให้ญี่ปุ่นเป็น มหามิตร ประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนกับทางญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ การกระทำใด ๆ ที่เป็นปรปักษ์มีโทษถึงประหารชีวิต แต่ก็มีประชาชนบางส่วนลับหลังได้เรียกญี่ปุ่นอย่างดูถูกว่า "ไอ้ยุ่น" หรือ "หมามิตร" เป็นต้น

      ขณะเดียวกัน ทางสหรัฐอเมริกา ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ไม่อาจยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้นที่นั่น ในวันที่ 12 ธันวาคม พร้อม ๆ กับขบวนการเสรีไทยในที่อื่น ๆ ก็ได้เกิดขึ้น และเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐบาลไทยก็ได้สั่นคลอน เมื่อคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน เช่น ปรีดี พนมยงค์ ทวี บุณยเกตุ ควง อภัยวงศ์ ได้แยกตัวออกมา เนื่องจากไม่อาจรับกับการกระทำของรัฐบาลเช่นเดียวกัน และกลายมาเป็นขบวนการเสรีไทยในประเทศ

      สถานการณ์โดยทั่วไปในพระนครนั้น ประชาชนได้รับคำสั่งให้ทำการ พรางไฟ คือการใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าขาวม้าปิดบังแสงไฟในบ้าน ให้เหลือเพียงแสงสลัว ๆ เพื่อป้องกันมิให้เครื่องบินของฝ่ายข้าศึกมาทิ้งระเบิดลงได้ ส่วนสถานการณ์โดยรวมของสงคราม ฝ่ายอักษะมีทีท่าว่าจะได้รับชัยชนะในสมรภูมิยุโรปและแอฟริกาตอนเหนือ ส่วนในเอเชียญี่ปุ่นก็สามารถยึดมลายูและสิงคโปร์ได้แล้ว

      ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดในพระนคร การทิ้งระเบิดครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 เวลาประมาณ 04.00 น. หลังจากนั้น ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 รัฐบาลก็ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสอย่างเต็มตัว

      บทที่ 4 ทิ้งระเบิด

      เมื่อไทยประกาศสงครามอย่างเต็มตัวกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทางสหรัฐอเมริกาได้ส่งเครื่องบิน B 24 และ B 29 อันเป็นเครื่องบินขนาดใหญ่มาทิ้งระเบิดอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ทั่วพระนคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน เมื่อมาถึงทางการจะเปิดเสียงสัญญาณหวอเสียงดังเพื่อเตือนให้ประชาชนได้ระวังตัว เช่น หลบอยู่ในหลุมพรางที่ขุดขึ้นเอง หรือทำการพรางไฟ เป็นต้น แต่ประชาชนบางส่วนก็ได้อพยพย้ายไปอยู่ตามชานเมืองหรือต่างจังหวัด ตลอดจนลงไปอยู่ในหลุมที่ทางการจัดสร้างไว้ เป็นต้น ซึ่งการอพยพนั้นมักจะเดินกันไปเป็นขบวนกลุ่มใหญ่เหมือนขบวนคาราวาน โดยชานเมืองที่ผู้คนนิยมไปกันเป็นจำนวนมากคือ บริเวณถนนสุขุมวิท ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า บางกะปิ

      บทที่ 5 น้ำท่วม

      ในปลายปี พ.ศ. 2485 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ขึ้นที่พระนครและธนบุรี ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนเลวร้ายลงไปอีก ซ้ำสภาพเศรษฐกิจของกินของใช้ก็ขาดแคลนไปแทบทุกอย่าง ทั้งข้าวสาร ยารักษาโรค ราคาข้าวสารถังละ 6 บาท แม้จะหาซื้อได้ยากอยู่แล้วก็ยังต้องกักตุนเพื่อให้ไว้สำหรับกองทัพญี่ปุ่นด้วย และมีพ่อค้าคนไทยบางส่วนได้กักตุนสินค้าไว้เพื่อโก่งราคา ซึ่งเรียกกันว่า ตลาดมืด และพ่อค้าที่ได้ผลประโยชน์ในครั้งนี้ว่า เศรษฐีสงคราม เพราะร่ำรวยไปตาม ๆ กันจากเหตุนี้ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อถึงคราวนี้ เครื่องบิน B 29 กลับไม่ได้มาทิ้งระเบิดเหมือนอย่างเคย

      รัฐบาลไทย โดย จอมพล ป. พิบูลสงครามได้เปิดทำเนียบรัฐบาลซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมให้ประชาชนทั่วไปมารับแจกข้าวสารได้ โดยนำหลักฐานคือสำมะโนครัวไปด้วย โดยทำการแจก 1 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์ คณะผู้แจกโดยมากจะเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก แต่งตัวดี ทำการแจกอย่างขะมักขะเม่น สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ที่มารับเป็นอันมาก

      บทที่ 6 การลักทรัพย์ยามสงคราม

      ในเวลาเดียวกัน ก็เกิดขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นโดยคนไทยด้วยกันเอง เรียกว่า ขบวนการไทยถีบ ขบวนการนี้ทำหน้าที่ดักปล้นของเล็กของน้อย ยุทธปัจจัยต่าง ๆ ของกองทัพญี่ปุ่น ไปซ่อนตามป่าเขา โดยเฉพาะการตัดขบวนรถไฟขณะลำเลียงสิ่งของต่าง ๆ ให้ขาดจากกัน อีกทั้งบางครั้งยังแอบเข้าไปลักลอบขโมยดาบซามูไรของทหารญี่ปุ่นในเวลาหลับอีกด้วย เรียกว่า ไทยลักหลับ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ขบวนการนี้บางครั้งขโมยแม้แต่ทรัพย์สินของรัฐบาลไทยเอง เช่น ลวดทองแดง สายโทรศัพท์ เป็นต้น อีกทั้งขบวนการเสรีไทยก็ไม่ได้นับขบวนการไทยถีบเป็นแนวร่วมแต่อย่างใด

      นอกจากนี้ มีการปล้นทหารญี่ปุ่นกันอย่างหนัก ซึ่งมีทั้งใช้การปล้นสะดมด้วยการรมยาให้หลับ ที่สุดมีแม้แต่การปล้นในเวลากลางวัน โดยที่โจรถึงกับทักทายทหารญี่ปุ่นก่อนลงมือปลดทรัพย์ทรัพย์และอาวุธ หรือ ปล้นทหารญี่ปุ่นด้วยไม้ตะพดชิงเอาอาวุธปืนไปได้ โดยไม่เกรงกลัวอาญาแผ่นดิน

      หลังสงคราม ตำรวจต้องระดมกำลังปราบปรามบรรดาโจรผู้ร้ายซึ่งมีอาวุธที่ชิงมาจากทหารญี่ปุ่น และ บรรดาเสือร้ายต่าง ๆ เช่น กรณีการถล่มชุมโจรที่บางไผ่ ซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง อำเภอปากท่อ ราชบุรี และ จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อ ปี พ.ศ. 2490 กว่าจะราบคาบ ก็กินเวลาหลายปี

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×