ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    แนะนำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

    ลำดับตอนที่ #15 : สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.71K
      2
      11 ก.พ. 52



                                                                               สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ


    คณบดี



                                                          น.อ. ดร. ธงชัย อยู่ญาติวงศ์
    การศึกษา

    ปริญญาเอก วิศวกรรมไฟฟ้า จาก Colorado University, USA
    ปริญญาโท วิศวกรรมไฟฟ้า จาก Colorado University, USA
    ปริญญาโท วิทยาการอุตสาหกรรม จาก Colorado University, USA
    ปริญญาตรี ฟิสิกส์ จาก Norwich University, USA
    ปริญญาตรี วิศวกรรมไฟฟ้า จาก Norwich University, USA

    คณาจารย์


        อ.พฤทธิ์ พุฒจร
    - Master of Information Communication Technology from Wollongong University, Australia
    - Higher Diploma in Teaching Technology (Telecommunication) from Chiang Mai Technical College, Thailand

     อ.ทรงสรรค์ อุดมศิลป์

    -Master of Science in Information Science (MSIS), Pittsburgh University
    -เศรษศาสตรบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์
     อ.บรรพจณ์ โนแบ้ว
    - Master of Art (Media Arts and Design) from Chiang Mai University, Thailand

     อ.ปิยะศักดิ์ เจียตระกูล (ขณะนี้กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอก) 
    - Master of Business Administration (Operation management) from National Institute of Development Administration (NIDA), Thailand 
    - Bachelor of Engineering (Computer Engineering) from King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, Thailand
    อ.รังสรรค์ ชัยศรีเจริญ
    -  Master of Engineering (Computer Engineering) from King Mongkut's University of Technology Thonburi, Thailand 
    - Bachelor of Engineering (Computer Engineering) from King Mongkut's University of Technology Thonburi, Thailand 
    อ.เสกสรร ใหลตระกูล (ขณะนี้กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอก) 
    - Master of Science (Electrical Engineering), Sirindhorn International Institute of Technology, Thammasat University, Thailand 
    - Bachelor of Engineering (Electrical Engineering), Sirindhorn International Institute of Technology, Thammasat University, Thailand
     
     อ.สุรพงษ์ อุตมา (ขณะนี้กำลังศึกษาปริญญาเอกที่ประเทศฝรั่งเศส)
    - วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วิศวกรรมโครงสร้าง) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย 
     อ.ทวิพาสน์ พิชัยชาญณรงค์
    -M.A. in Mass Communication
    -B.A. in Fine Arts
     อ.ธีรเทพ ชนไมตรี
    - Master of Science (Computer Science) 
    - Bachelor of Science (Computer Science) 
     อ.วิทยาศักดิ์ รุจิวรกุล
    - Master of Science (Information Technology) from Kasetsart University, Thailand 
    - Bachelor of Engineering (Computer Engineer) from Rajamangala Institute of Technology, Thailand 
     อ.วรศักดิ์ เรืองศิรรักษ์
    - Master of Science (Computer Science) from Asian Institute of Technology, Thailand 
    - Bachelor of Science (Computer Science) from Mae Fah Luang University, Thailand 
     อ.ณัฐกานต์ เอี่ยมอ่อน (ขณะนี้กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอก)
    - Master of Science (Computer Science) from Chiang Mai University, Thailand 
    - Bachelor of Science (Computer Science) from Chiang Mai University, Thailand 
     อ.นงลักษณ์ หวังสงวนกิจ
    - M.B.A. (Honors), Roosevelt University, USA. 
    - B.G.S. (Computer Science, Honors), Roosevelt University, USA. 
    - B.A. (Accounting), Chulalongkorn University, Thailand 
     ดร.พรรณฤมล เต็มดี
    - Master of Engineering (Electrical) from King Mongkut's University of Technology Thonburi, Thailand 
    - Bachelor of Engineering (Electronics and Telecommunication) from King Mongkut's University of Technology Thonburi, Thailand 
     อ.เสาวลักษณ์ รัตนอุดมสวัสดิ์
    - Master of Science (Computer Science) from Chiang Mai University, Thailand 
    - Bachelor of Science (Computer Science) from Chiang Mai University, Thailand 
     อ.ศิริกานต์ ชูเชิด
    - ปริญญาโท วิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
    - ปริญญาตรี วิศวกรรมโทรคมนาคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
     อ.ศมสมร ศรีสังวาล
    - Master of Management (Science and Technology Management), College of Management, Mahidol University, Thailand
    - Bachelor of Arts (Business Administration), Mahidol University International College, Thailand
     อ.ขวัญตา คีรีมาศทอง
    - Master of Science (Computer Science) from Chiang Mai University, Thailand 
    - Bachelor of Science (Computer Science) from Chiang Mai University, Thailand 
     อ.นิกรณ์ หร่องบุตรศรี
    - Master of Science (Advanced Information Technology) from International Institute of Information Technology, India 
    - Bachelor of Science (Information Technology) from Mae Fah Luang University, Thailand 

     อ.สันติชัย วิชา
    - Master of Science (Technology of Information System Management) from Mahidol University, Thailand 
    - Bachelor of Science (Information Technology) from Mae Fah Luang University, Thailand
     
     อ.สุนทรินทร์ นุภาพ (ขณะนี้กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอก)
    - Master of Science in Information Management from Asian Institute of Technology (AIT) 
    - Bachelor of Science in Computer Science from Mae Fah Luang University
     อ.เตือนจิต สุทธหลวง
    (ขณะนี้กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอก)
    - Master of Science (Applied Statistics) ,Major : Computer Science from National Institute of Development Administration, Thailand 
    - Bachelor of Science (Computer Science) from Chiang Mai University, Thailand 
     Aj.Paola Di Maio
    - M.Sc. Information Systems. Christ Church College, UKC Canterbury, UK 
    - B.A. Hons in Modern Languages and International Business South Bank University London, UK 
     อ.ทรงฤทธิ์ คำยอด
    - M.Eng (Electrical Engineering), The City University of Newyork, USA. 
    - M.Sci. (Laser Technology and Photonics), Suranaree University of Technology, Thailand. 
    - B.Eng. (Telecommunication Engineering), Suranaree University of Technology, Thailand. 
     Aj. Khaled Kessali
    - INTERNATIONAL UNIVERSITY, French, PARIS
    Masters Degree Programs information Systems 1998
    Programming systems WinNT, NetWare
    Programming languages OO, JAVA, JavaScript, HTML, XML, LotusNotes/Domino 
    - INTERNATIONAL UNIVERSITY, French, LILLE
    Master of Science of Science in Industrial Process, 1997
    Major in Power Energy system and renewable energies 
    - INTERNATIONAL UNIVERSITY, French, Paris, Orsay
    Master of Science Electrical and Computer Engineering 1996
    Major in Power Energy System 

    N/A.    อ.อภิชาต เหล็กงาม
    - M.Sc. Computer Sciences, Chiang Mai University 
    - B.Sc. Physics, Chiang Mai University 

    N/A.  
    อ.เย็นฤดี ชาญวิรวงศ์
    - Master of Science in Information Technology from Shinawatra University, Thailand
    - Bachelor of Information Science from Walailak University, Thailand 


    N/A.   อ.ฐิติพงศ์ ลือศิริ
    - Master of Computer Graphics Design from Wanganui School of Design Waikato University, New Zealand 

     อ.กีรติ จิตตราวงศ์
    - Master of Computer Science and Engineering from The University of New South Wales, Australia 
    - Bachelor of Engineering (Computer Engineering) from Kasetsart University 
     อ.สุพิชญา เสมอเชื้อ
    - Master of Information Technology (M.IT)
    Web Engineering & E-Business,
    School of Computing and Information Technology
    University of Western Sydney (UWS), Australia 

    - Certificate of Attendance (Master Program)
    Telecommunications Program,
    School of Telecommunication
    Asian Institute of Technology (A.I.T.), Thailand

    - Electrical Engineering (B.Eng)
    Electrical (Power & Communication),
    Faculty of Engineering
    Chiang Mai University (CMU), Thailand

    ที่ตั้งและการติดต่อ

                   สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อาคารสำนักวิชา E1 ชั้น 3
                   Tel. : 053 916 741-2 
                   FAX. : 053 916 743
     
                   Website : http://itschool.mfu.ac.th/main/

    สีประจำสำนักวิชา : สีน้ำเงิน
     
    สาขาวิชา

    1. วิศวกรรมซอฟแวร์

    ชื่อปริญญา

    ภาษาไทย
    ชื่อเต็ม: วิทยาศาสตรบัณฑิต( วิศวกรรมซอฟแวร์ )
    ภาษาอังกฤษ
    ชื่อเต็ม: Bachelor of Science ( Software Engineering )

    ปรัชญาของหลักสูตร

    เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพในระดับสากล  ให้มีความรอบรู้ในวิชาการที่ศึกษาด้าน  software  Engineering มีความเชี่ยวชาญในขั้นตอนการผลิต  software  รวมถึงการวิเคราะห์  software   ที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาขององค์กร อีกทั้งยังมีการปลูกฝังจิตสำนึกเชิงจริยธรรม จรรยาบรรณของวิชาชีพและความรับผิดชอบต่อสังคม

    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. มีความรู้ในการผลิตซอฟต์แวร์ ทฤษฏีของซอฟต์แวร์ โครงสร้างของซอฟต์แวร์ วิธีการผลิต ซอฟต์แวร์ และการบริหารการจัดการโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์
    2. มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านซอฟต์แวร์ในการสร้างซอฟต์แวร์ใหม่ พัฒนาต่อยอดจากซอฟต์แวร์ที่มีอยู่แล้ว วิเคราะห์โครงสร้างของซอฟต์แวร์และบริหารโครงการการผลิตซอฟต์แวร์
    3. มีจิตสำนึกเชิงจริยธรรม จรรยาบรรณของวิชาชีพและความรับผิดชอบต่อสังคม

    2. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย และการสร้างภาพเคลื่อนไหว

    ชื่อปริญญา

    ภาษาไทย
    ชื่อเต็ม :วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว)
    ชื่อย่อ :วท.บ. (เทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว)
    ภาษาอังกฤษ
    ชื่อเต็ม :Bachelor of Science (Multimedia Technology and Animation)
    ชื่อย่อ :B.Sc. (Multimedia Technology and Animation)

    ปรัชญาของหลักสูตร

    ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพในระดับสากล มีความรอบรู้ด้านมัลติมีเดีย และการสร้างภาพเคลื่อนไหวอย่างเพียงพอ และมีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาและองค์ความรู้เฉพาะซึ่งประกอบด้วย การสร้างภาพเคลื่อนไหวและผลิตสื่อมัลติมีเดีย การพัฒนาและออกแบบเว็บ การสร้างซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์สื่อสารขนาดเล็ก การสร้างคอมพิวเตอร์เกมส์ และมีจิตสำนึกเชิงจริยธรรม จรรยาบรรณของวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสังคม

    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. มีความรู้พื้นฐานที่กว้างด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว
    2. มีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเทคโนโลยี ประกอบด้วยด้านการสร้างภาพเคลื่อนไหวและผลิตสื่อ การพัฒนาและออกแบบเว็บ การสร้างซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์สื่อสารขนาดเล็กและด้านการสร้างคอมพิวเตอร์เกมส์
    3. มีความชำนาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการออกแบบ และสร้างสรรค์สื่อดิจิตอลประเภทต่างๆ
    4. มีจิตสำนึกเชิงจริยธรรม จรรยาบรรณของวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสังคม

    3. วิศวกรรมเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ

    ชื่อปริญญา

    ภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ) / วศ.บ. (เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ)
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering (Information and Communication Technology) / B.Eng. (Information and Communication Technology)

    ปรัชญาของหลักสูตร

    เพื่อผลิตบัณฑิตทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ ที่เป็นผู้รู้จริง และปฏิบัติงานได้ในระดับสากล โดยมีความรู้สความสามารถเฉพาะทาง ในการออกแบบและวางแผน เกี่ยวกับการนำไปประยุกต์ การสร้าง การใช้งาน และการบำรุงรักษา โดยเน้นในด้าน ระบบเครือข่ายการสื่อสาร เครือข่ายคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ รวมถึงความรู้ในด้านการประมวลผลแบบโมบาย (Mobile) และแบบคลัสเตอร์ (Cluster) และประกอบไปด้วย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในส่วนรวมอย่างยั่งยืน

    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. มีองค์ความรู้และความสามารถทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ ในระดับสากล และมีความชำนาญเฉพาะทาง ในการออกแบบและวางแผน เกี่ยวกับการนำไปประยุกต์ใช้ การสร้าง การใช้งาน และการบำรุงรักษา
    2. มีความรู้และความสามารถในด้าน ระบบการสื่อสาร เครือข่ายการสื่อสาร การบริหารจัดการข้อมูล และ ความปลอดภัยในข้อมูลและการสื่อสาร
    3. มีความรู้และความสามารถทั้งระบบการสื่อสารแบบใช้สายและไร้สาย
    4. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ
    5. มีความคิดริเริ่ม และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
    6. สามารถสร้างสรรค์ผลงานทางวิศวกรรม เพื่อเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีได้
    7. มีมนุษย์สัมพันธ์ สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    8. มีจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม


    4. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

    ชื่อปริญญา

    ภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (คอมพิวเตอร์) / วศ.บ. (คอมพิวเตอร์)
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering (Computer) / B.Eng. (Computer)

    ปรัชญาของหลักสูตร

    เพื่อผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้รู้จริง และปฏิบัติงานได้ในระดับสากล โดยมีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ในการออกแบบ และวางแผน เกี่ยวกับการนำไปประยุกต์ใช้ สร้าง และการบำรุงรักษา โดยเน้นในด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากความรู้ความสามารถทางวิชาการแล้ว บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษายังกอปรด้วย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพและมีจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ ในส่วนรวมอย่างยั่งยืน

    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. มีองค์ความรู้ และความสามารถทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในระดับสากล และมีความชำนาญเฉพาะทาง ในการออกแบบ และวางแผน เกี่ยวกับการนำไปประยุกต์ใช้ การสร้าง และการบำรุงรักษาทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
    2. มีความคิดริเริ่ม และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
    3. สามารถสร้างสรรค์ผลงานทางวิศวกรรมเพื่อเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี
    4. มีมนุษย์สัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    5. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ
    6. มีจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม


    5. วิทยาการคอมพิวเตอร์

    ชื่อปริญญา

    ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) / วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Computer Science) / B.Sc. (Computer Science)

    ปรัชญาของหลักสูตร

    เพื่อผลิตบัณฑิตทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ในระดับสากลที่มีความรู้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    และมีความสามารถในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูล และวิศวกรรมซอฟต์แวร์ อีกทั้งยังเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาวิชาชีพ เพื่อปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆ ในประเทศ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในส่วนรวมอย่างยั่งยืน

    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. มีความรู้ความชำนาญบนพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในระดับสากล และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพของตนได้เป็นอย่างดี
    2. มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ในระดับสากล และมีความชำนาญพิเศษทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูล และวิศวกรรมซอฟต์แวร์
    3. มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์รวมทั้งเป็นผู้มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง
    4. มีความสามารถในการวิเคราะห์ จัดการ และแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเป็นระบบ
    5. มีความรอบรู้และสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
    6. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพ มีความเสียสละ และรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ


    6. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

    ชื่อปริญญา

    ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ) / วท.บ. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Management Information Technology) / B.Sc. (Management Information Technology)

    ปรัชญาของหลักสูตร

     ปรัชญาของหลักสูตรยึดมั่นพัฒนาบัญฑิตให้เป็นผู้ที่ "คิดเป็น ทำเป็น" มีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม กับความต้องการของสังคม และสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ความรู้ความสามารถเฉพาะทางจะเน้นไปทางด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และการนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่นและของประเทศ โดยเฉพาะอยางยิ่งการสนับสนุนต่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมบริการ อุตสาหกรรมการเกษตร การค้าระหว่างประเทศ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือการนำความเป็นเลิศทางวิชาการไปเป็นประโยชน์ ในการสืบสานพระราชปณิธาน ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประการสำคัญคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และการรักษาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. มีความรู้พื้นฐานที่กว้างทั้งในด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ
    2. มีความรู้ความเข้าใจในการสรรหา วิเคราะห์ แปรผล ข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ พร้อมทั้งสามารถอธิบายและนำเสนอต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
    3. เป็น Project/Information Manager คือ ผู้ที่สามารถบริหารโครงการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผู้ที่สามารถประสานความร่วมมือระหว่างฝ่ายบริหารจัดการและฝ่ายคอมพิวเตอร์
    4. มีความรู้ทางด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนต่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมบริการ อุตสาหกรรมเกษตร การค้าระหว่างประเทศ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    5. มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ โดยตระหนักว่าวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นวิชาชีพที่ต้องติดตามข่าวสารและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของวิชาชีพ
    6. มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติต่อวิชาชีพ ความรับผิดชอบ มนุษยสัมพันธ์ และนำความเป็นเลิศทางวิชาการไปเป็นประโยชน์ในการสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี



    เรื่องน่าภาคภูมิใจของชาว I.T. 

    น.ศ.มัลติมีเดียฯ ปี 2 คว้ารางวัลแอนิเมชั่นยอดเยี่ยมจาก กฟผ.





    กฟผ. ประกาศผลการประกวดผลิตสกู๊ปแอนนิเมชั่น “EGAT YOUNG CREATIVE AWARDS” ทีมจาก “มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง” คว้าแชมป์สุดยอดนักแอนนิเมชั่นรุ่นเยาว์ รับทุนการศึกษา พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณจากรัฐมนตรีพลังงาน

    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดกิจกรรมประกาศผลรางวัล พร้อมมอบทุนการศึกษาให้กับผู้ชนะเลิศการประกวดโครงการประกวดผลิตสกู๊ปแอนนิเมชั่น เรื่อง “สายส่งไฟฟ้า เส้นทางพลังงานของเรา” EGAT YOUNG CREATIVE AWARDS เพื่อสร้างจิตสำนึกเยาวชนตลอดจนประชาชนทั่วไป ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษาระบบสายส่งไฟฟ้า โดยปรากฏว่า ผลงานของ“ทีมคนสามหมูหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง” ประกอบไปด้วย นายธิติวัฒน์ สนธิธรรม, นายฤทธิ์วิสุทธิ์ ตั้งเกษมศักดิ์, นายนริศ พึ่งบุญ และนางสาวทัศนีย์ เพ็ชรประดับสกุล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 คว้าตำแหน่งสุดยอดนักแอนนิเมชั่น ทีมรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ “ทีม Illusion จากวิทยาลัยอาชีวศึกษา ธนบุรี” และรางวัลชมเชย ได้แก่ ทีมไข่พะโล้ และทีม  Nask จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี

    โดยคณะกรรมการได้ทำการคัดเลือกผลงานทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจำนวน 5 ทีมจาก 34 ทีมที่ส่งผลงานเข้าประกวดจากทั่วประเทศ โดยทีมรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จะได้รับรางวัลทุนการศึกษามูลค่า 50,000 บาท ทีมรองชนะเลิศรางวัลที่ 2 จะได้รับทุนการศึกษา มูลค่า 30,000 บาท รางวัลชมเชยจะได้รับทุนการศึกษามูลค่า 10,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตรจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

    ข้อมูลอ้างอิง:
    http://www.newswit.com/news/2007-11-28/0828-egat-young-creative-awards/
    http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?newsid=CA5ABA9BF9807002683FA6FA5B411058

    โหลดดูผลงาน:
    http://itschool.mfu.ac.th/~pruet/Movies/EGAT.mov (56MB)


    เด็กไอที มฟล. แจ๋ว ทะลุรอบชิงฯ ศึกสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศ

                             เด็กไอที มฟล. แจ๋ว ทะลุรอบชิงฯ ศึกสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศ

      

    ม.แม่ฟ้าหลวง (มฟล.) สร้างชื่ออีกแล้ว เด็กไอทีทะลุรอบสุดท้ายการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 2 (Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2008) ชาว มฟล. ส่งใจตามเชียร์ได้ 4 มิ.ย.นี้ ตัดสินผู้ชนะ

     

    ตามที่ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มฟล. ได้ส่งทีมนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันการสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 2 (Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2008) โดย สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ร่วมกับ ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย โดยการสนับสนุนจากบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

     

     ซึ่งเป็นการแข่งขันพัฒนารถไร้คนขับ ให้วิ่งไปบนเส้นทาง ที่กำหนด ให้ได้ระยะทางไกลที่สุดและเร็วที่สุด เพื่อพัฒนาต้นแบบของรถอัจฉริยะ ที่สามารถช่วยให้ลดการเกิดอุบัติเหตุจากปัจจัยต่างๆ ทั้งความประมาท และเหนื่อยล้าจากการขับรถเป็นเวลานาน รวมถึงความมึนเมาเนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลง

     

    โดยผลการแข่งขันรอบคัดเลือกเมื่อวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา ณ สนาม Bangkok Racing Circuit กทม. ผลปรากฏว่า ทีม Arrive จาก มฟล. ที่ประกอบไปด้วย นายอภิรัตน์ ประสิทธิ์, นายปฏิวัติ แก้วรากมุข, นายสุเมธ นาวีรัตนวิทยา และนายกิตติวัฒน์ สวาสดิ์มิตร สามารถผ่านเข้ารอบสุดท้ายได้สำเร็จ ติด 1 ใน 8 ทีมสุดท้าย จากการลงแข่งทั้งหมด 16 ทีมจากมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ส่งทีมลงแข่งจากทั่วประเทศ  สำหรับรอบชิงชนะเลิศจะมีขึ้นในวันที่ 4 มิ.ย.นี้ ซึ่งชาว มฟล. อย่าลืมช่วยส่งแรงเชียร์บวกแรงใจให้กับทีม Arrive ให้สร้างชื่อให้กับสถาบันด้วย

    ผลการแข่งขันรอบคัดเลือก

    รายชื่อทีม [ ระยะที่ทำได้ + bonus (m.)]

    ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ และรับเงินสนับสนุน 50,000 บาท

     

    1. PlamaIV - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ 1721.70 เมตร + 400 ]

    2. PA-PA-YA - สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) [ 1828 เมตร + 200 ]

    3. Darkhorse - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี [ 306.5 เมตร]

    4. Real - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ [ 279 เมตร ]

    5. Zigzag - มหาวิทยาลัยขอนแก่น [ 223.87 เมตร ]

    6. MUT Autobot - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร [ 143.6 เมตร]

    7. Arrive - มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง [ 143.4 เมตร]

    8. Bart Lab: Vehiculum - มหาวิทยาลัยมหิดล [ 117.1 เมตร]

    ---------------------------------------------

    ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ และรับเงินสนับสนุน 10,000 บาท

     

    9. AMPM - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง [ 113 เมตร]

    10. Mobocar Pioneer - มหาวิทยาลัยศรีปทุม [ 100.9 เมตร]

    11. Little MEC II - สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) [ 92.9 เมตร]

    12. Black Knight - มหาวิทยาลัยนเรศวร [ 84.8 เมตร]

    13. Climate Monkey - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง [ 61 เมตร]

    14. Nursery Project - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ [ 15.3 เมตร]

    15. Chen - เทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) [ 8.9 เมตร]

    สละสิทธิ์การแข่งขัน

    16. IV-TTMP-V1 - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ [ CANCLED ]

    ที่มา : http://blog.eduzones.com/anniecsc/5456


    เรื่องที่ควรทราบ

    1. ลองอ่านประวัติการศึกษาของท่านอาจารย์แต่ละท่านดูแล้วจะเห็นว่าท่านอาจารย์บางท่านสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ฉะนั้นคนที่สอบติด พอถึงวันประกาศ ID ของแต่ละคนลองไล่สายรหัสดูสิ เผลอๆท่านอาจารย์ทั้งหลายเหล่านั้นอาจจะเป็นรุ่นพี่(ชั้นปู่,ย่าหรือทวดรหัส)ของน้องๆก็เป็นได้ ลองไล่เรียงดูละกันเนอะ 5555+

    เครื่องทรง

    1. เกียร์ทอง (สำหรับวิศวกรรมศาสตร์ทุกสาขา ยกเว้นเด็กซอฟแวร์)
    2. แหวนรองสกรูโลหะ (สำหรับเด็กซอฟแวร์)
    3. เสื้อช็อปสีกรมท่า (สำหรับวิศวกรรมศาสตร์ทุกสาขา)
    4. เสื้อช็อปสีน้ำตาล (สำหรับเด็กมัลติมีเดียฯ)


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×