ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาญี่ปุ่น [ คำศัทพ์&ความรู้ ]

    ลำดับตอนที่ #9 : พิเศษ : วันทานาบาตะ (七夕)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.88K
      6
      7 ก.ค. 60



    วันทานาบาตะ (七夕)
    ---------------------
    たなばたまつり

                  สวัสดีค่ะ มินเอง วันนี้เป็นวันสำคัญของทางญี่ปุ่นวันหนึ่งเลยก็ว่าได้ และถ้าพูดถึงวันทานาบาตะ ทุกๆ คนต้องนึกถึงเกี่ยวกับการขอพรจากดวงดาว หรือหญิงทอผ้ากับชายเลี้ยงวัว

                   วันนี้ก็เลยไปหาข้อมูลนำมาเผยแพร่ให้อ่านกันค่ะ พร้อมกับคำขอพรพรเป็นภาษาญี่ปุ่น

                   ถ้าพร้อมแล้ว เราไปทำความรู้จักกับวันทานาบาตะกันเลยดีกว่า!

    ------------------------------------------

    ความเป็นมาของวันทานาบาตะ

         วันทานาบาตะตรงกับวันที่ 7 เดือนกรกฏาคมของทุกปี จุดเริ่มต้นของเทศกาลทานาบะตะย้อนไปมากกว่า 2,000 ปี ด้วยนิทานจากจีนที่ว่าครั้งหนึ่งมีเจ้าหญิงทอผ้าชื่อโอริฮิเมะ (Orihime) หรือดาวเวก้า (Vega) ซึ่งเป็นดาวที่สดใสที่สุดในกลุ่มดาวพิณพบรักกับเจ้าชายคนเลี้ยงวัวชื่อ ฮิโกะโบชิ (Hikoboshi) หรือดาวอัลแตร์ (Altair) ซึ่งเป็นดาวที่สดใสที่สุดในกลุ่มดาวนกอินทรี ทั้งคู่อาศัอยู่บนสวรรค์ หลังจากที่ทั้งสองพบรักกันก็มัวแต่หลงระเริงจนไม่ทำหน้าที่ของตนเองคือทอผ้าและเลี้ยงวัว เรื่องราวความลุ่มหลงในความรักจนลืมหน้าที่ของตนเองได้ไปถึงหูของกษัตริย์แห่งสวรรค์ผู้เป็นบิดาของเจ้าหญิงโอริฮิเมะซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนวันหนึ่งทำให้ผู้ป็นบิดา ทรงกริ้วมากเลยจับทั้งคู่แยกกันโดยให้อยู่กันคนละฟากของท้องฟ้าโดยมีแม่น้ำแห่งสวรรค์ชื่ออะมาโนะกะวา (Amanogawa) หรือทางช้างเผือกกั้นไว้ และอนุญาตให้พวกเขาเจอกันปีละครั้งคือ วันที่เจ็ดเดือนเจ็ด อย่างไรก็ตามครั้งแรกสุดเจ้าหญิงโอริฮิเมะไม่สามารถข้ามแม่น้ำสวรรค์ไปพบชายคนรักฮิโกะโบชิได้ ทำให้เธอร้องให้หนักมากจนกระทั่งฝูงนกกางเขนอาสาใช้ปีกเป็นสะพานให้เจ้าหญิงเดินข้ามไปพบคนรัก

         อย่างไรก็ตามหากปีไหนที่ฝนตกฝูงนกกางเขนไม่สามารถมาได้ก็จะทำให้ทั้งคู่ต้องรอพบกันในปีถัดไป ดังนั้นผู้คนจะภาวนาให้วันนี้มีอากาศที่ดีเพื่อให้เจ้าชายและเจ้าหญิงได้พบกันอีกทั้งผู้คนก็อธิษฐานขอสิ่งที่ปรารถนาสำหรับพวกเขาด้วย


     



    กิจกรรมที่ชาวญี่ปุ่นมำในวันทานาบาตะ


    ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นยึดถือวันทานาบาตะเป็นวันที่ 7 เดือนกรกฏาคม ดังนั้นตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนเด็กและผู้ใหญ่จะเขียนคำอธิฐานไว้บนกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆที่มีสีสันสดใสเรียกว่า ทังซะคุ「短冊」และนำไปแขวนไว้บนกิ่งไผ่ที่ประดับด้วยสิ่งประดับที่ทำจากกระดาษ โดยสิ่งประดับที่ทำจากกระดาษมีนัยเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่น กิโมโนกระดาษเพื่อขจัดโรคภัยและโชคร้ายออกไป กระเป๋ากระดาษเพื่อการไม่มีมีปัญหาเรื่องเงินทองและมีธุรกิจที่เจริญรุ่งเรือง นกกระเรียนกระดาษเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีอายุยืน  ตาข่ายกระดาษเพื่อความสำเร็จในการจับปลาและเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตร เป็นต้น กิ่งไผ่จะถูกวางไว้ที่สนาม ทางเข้าโรงเรียน สถานที่สำคัญต่างๆ รวมถึงทางเข้าบ้าน

    ------------------------------------------

    สีกระดาษกับความหมาย

    สีฟ้า : ความสุข

    สีเหลือง : การเงิน

    สีชมพู : ความรัก

    สีเขียว การเรียน การงาน

    สีแดง : ความสำเร็จ


         รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

    ------------------------------------------

     

    ประโยคขอพรในวันทนาบาตะ

     

     

    1)    日本語 が上手に なりますように      ขอให้เก่งภาษาญี่ปุ่น

     

    2)  たくさん かんじが かけるようになりますように  

        ขอให้เขียนตัวอักษรคันจิได้เยอะๆ

     

    3) 日本語のうりょくしけんに ごうかくできますように 

        ขอให้สอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นผ่าน

     

    4) 日本のはいゆうと話せるようになりますように 

         ขอให้ได้พูดกับดาราญี่ปุ่น

     

    5) 日本のゲームができるようになりますように 

         ขอให้เล่นเกมของญี่ปุ่นได้

     

    6) 日本語のまんががよめるようになりますように 

        ขอให้อ่านการ์ตูนภาษาญี่ปุ่นได้

     

    7) 日本に行けますように    ขอให้ได้ไปประเทศญี่ปุ่น

     

    8) とうきょうディズニーランドに いけますように 

         ขอให้ได้ไปเที่ยวโตเกียวดิสนี่แลนด์

             

    9) あたま が よくなりますように 

     ขอให้ฉลาดขึ้น

     

    10)  4 がとれますように     

            ขอให้เรียนได้เกรด 4

    ------------------------------------------


    สามารถอ่านคำขอพรต่อได้ที่  : https://www.gotoknow.org/posts/272915


    ข้อมูลจาก 

    https://www.dplusguide.com/2014/tanabata-festival

                       http://anngle.org/th/j-culture/tanabata.html

    ------------------------------------------

              ปูลูก่อนจาก : หากใครมีอะไรเกี่ยวกับวันทนาบาตะ สามารถเมนต์พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ บลาๆ กันได้นะคะ แล้วเจอกันใน EP. ต่อไปค่ะ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×