ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีไทย[สมัยสุโขทัย-รัตนโกสินทร์]

    ลำดับตอนที่ #5 : [สมัยอยุธยา] ลิลิตโองการแช่งน้ำ

    • อัปเดตล่าสุด 4 ก.ย. 54






    เรื่อง ลิลิตโองการแช่งน้ำ
    ผู้แต่ง  สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    ที่มา  พิธีกรรมของขอม  
    รูปแบบ  มีลักษณะเป็นลิลิต คือ มีร่ายกับโคลงสลับกัน ร่ายเป็นร่ายโบราณ ส่วนโคลงเป็นโคลงแบบโคลงห้าหรือมณฑกคติ ถ้อยคำ ถ้อยคำที่ใช้ส่วนมากเป็นคำไทยโบราณ นอกจากนั้นมีคำเขมร และบาลี สันสกฤต ปนอยู่ด้วย คำสันสกฤตมีมากกว่าคำบาลี
    จุดประสงค์  ใช้อ่านในพิธีถือพระพิพัฒน์สัตยาหรือพิธีศรีสัจปานกาล ซึ่งกระทำตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอู่ทองสึบต่อกันมาจนเลิกไปเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย ใน พ.ศ.๒๔๗๕
    เนื้อหาสาระ  เริ่มต้นด้วยร่ายดั้นโบราณ ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร  พระพรหมตามลำดับ ต่อจากนั้นบรรยายด้วยโคลงห้า และร่ายดั้นโบราณสลับกัน กล่าวถึงไฟไหม้โลกเมื่อสิ้นกัลป์แล้วพระพรหมสร้างโลกใหม่ เกิดมนุษย์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การกำหนดวัน เดือน ปี และการเริ่มพระราชาธิบดีในหมู่คน แล้วอัญเชิญพระกรรมบดีปู่เจ้ามาร่วมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ตอนต่อไปเป็นการอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดา อสูร ภูตปีศาจ ตลอดจนสัตว์มีขี้เล็บเป็นพยาน ลงโทษผู้คิดคดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนผู้ซื่อตรงภักดี ขอให้มีความสุขและลาภยศ ตอนจบเป็นร่ายยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน
    คุณค่า ด้านอักษรศาสตร์ : ถือเป็นลิลิตเรื่องแรกในประเทศไทย
                ด้านวัฒนธรรม : แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียที่มีผลต่อสังคมไทย
                ด้านการปกครอง : การที่ต้องให้คำสัตย์ซึ่งตรงจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ทำให้เกิดความสามัคคีกันในชาติ





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×