ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีไทย[สมัยสุโขทัย-รัตนโกสินทร์]

    ลำดับตอนที่ #4 : [สมัยสุโขทัย] ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

    • อัปเดตล่าสุด 28 ก.ย. 54






    เรื่อง ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
    ผู้แต่ง ท้าวศรีจุฬาลักษณ์(นางนพมาศ)
    รูปแบบ ร้อยแก้วและกลอนดอกสร้อยแทรกอยู่๕บท
    จุดประสงค์ เพื่อแสดงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆและจริยธรรมของผู้รับราชการฝ่ายใน
    เนื้อหาสาระ แบ่งเป็น๕ตอน
                             ๑.กล่าวถึงชาติและภาษาต่างๆ
                             ๒.ยอพระเกียรติสมเด็จพระร่วงเจ้า เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัยและสถานที่บางแห่ง
                             ๓.ประวัติของนางนพมาศ
                             ๔.การปฏิบัติหน้าที่ของนางสนม
                             ๕.พระราชพิธีต่างๆในสมัยสุโขทัยเช่น พระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (เดือนสิบสอง) , พระราชพิธีวิสาขะและพระราชพิธีจรดพระนังคัล (เดือนหก) , พระราชพิธีอาษาฒมาส (เดือนแปด) , พระราชพิธีอาสวยุช (เดือนสิบเอ็ด) เป็นต้น
    คุณค่า ด้านวัฒนธรรม มีคุณค่าในการแสดงหลักฐานทางวัฒนธรรมโบราณของไทย ทำให้เรารู้เรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีในพระราชสำนัก ได้แก่ ประเพณีการลอยกระทง การปฏิบัติตัวของหญิงชาววัง เช่น ตำแหน่งหน้าที่ของนางนพมาศ และการศึกษาของเด็กไทยสมัยก่อน เช่น การที่พระศรีมโหสถบิดานางนพมาศได้ให้นางนพมาศศึกษาอักษรสยามพากย์และอักษรสันสกฤตจนชำนาญ
                ด้านสังคม ให้ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติสตรีและค่านิยมทางสังคม ได้แก่ ความประพฤติ ความขยัน รวมทั้งวิชาทางช่าง หนังสือเรื่องนี้เป็นหลักฐานแสดงว่าหญิงไทยของเรามีนิสัยช่างประดิษฐ์มาตั้งแต่โบราณ เช่น การที่นางนพมาศประดิษฐ์โคมลอยดอกกระมุท และการที่ข้าราชบริพารฝ่ายในประดิษฐ์โคมประทีปให้มีลวดลายต่างๆ เป็นต้น
                ด้านภาษา มีคุณค่าทางอักษรศาสตร์และวรรณคดี เรื่องนี้ใช้โวหารในเชิงพรรณนาได้อย่างดียิ่ง ทำให้น่าอ่านและเข้าใจง่าย
                ด้านโบราณคดี ให้ความรู้ในทางโบราณคดี เป็นประโยชน์ในการสอบสวนพระราชพิธีต่างๆ
    ตัวอย่างบางตอน
    . ข้อปฏิบัติของข้าราชการฝ่ายใน
    "อย่าทำรีๆ ขวางๆ ให้เขาว่า อย่าทำเซ่อๆ ซ่าๆ ให้ท่านหัว อย่าประพฤติตัวเก้อๆ ขวยๆ ให้คนล้อ อย่าทำลับๆ ล่อๆ ให้เขาถาก อย่างทำโปกๆ ปากๆ ให้ท่านว่ากิริยาชั่ว จงแต่งตัวให้งามต้องตาคน จะประพฤติตนให้ต้องใจท่านทั้งหลาย จงฝากตัวมูลนายให้กรุณา จงระวังเวลาราชการ….."
    ๒. การประดิษฐ์ โคมในพระราชพิธีจองเปรียง
    "ข้าพระองค์สำคัญใจคิดเห็นว่า เป็นนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือนสิบสอง พระจันทร์แจ่มแสงปราศจากเมฆมลทิน อันว่าดวงดอกชาติโกสุมประทุมมาลย์ มีแต่จะเบ่งบานกลีบรับแสงอาทิตย์ ถ้าชาติอุบลเหล่าใดบานผกาเกสรรับแสงพระจันทร์แล้วก็ได้ชื่อว่า ดอกกระมุท ข้าพระองค์จึงทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุทซึ่งบังเกิดมีอยู่ยังนัมมทานที อันเป็นที่พระบวรพุทธบาทประดิษฐาน"
    ๓. ชีวิตความเป็นอยู่
    "ถึงวันวิสาขนักขัตฤกษ์ครั้งใด ก็สว่างไปด้วยแสงประทีป เทียน ดอกไม้เพลิง แลสล้างด้วยธงชายไสวไปด้วยพู่พวงดอกไม้ร้อยกรองห้อยแขวน หอมตลบไปด้วยกลิ่นสุคนธรสรวยรื่น เสนาะสำเนียงพิณพาทย์ ซ้องกลองทั้งทิวาราตรี มหาชนชายหญิงพากันกระทำกองการกุศล"




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×