ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เพชร,พลอย

    ลำดับตอนที่ #2 : มุกดาหาร

    • อัปเดตล่าสุด 10 ธ.ค. 49


    "มุกดาหารใช่ตัวเดียวกับไข่มุกหรือเปล่า"


    มุกดาหาร หรือ Moonstone เป็นแร่ตระกูลเฟลด์สปาร์ เป็นแร่ธรรมชาติที่เราขุดได้จากในดิน แตกต่างจากไข่มุกที่เป็นผลผลิตได้จากหอยในทะเล นพเก้า อัญมณี 9 ชนิดที่ทรงคุณค่าแต่โบราณกาล ให้ทั้งความสวยงามและคุณค่าทางด้าน “สิริมงคล” นั้น อัญมณีหนึ่งใน 9 ชนิดนี้ก็คือ มุกดาหาร อัญมณีที่มีสีขาวนวลคล้ายละอองหมอกขาวสะอาดในยามเช้า มุกดาหาร แม้ว่าจะมีคุณสมบัติในทางแร่ที่ค่อนข้างด้อยกว่าอัญมณีชนิดอื่น ๆ คือมีความแข็งค่อนข้างน้อย เมื่อสวมใส ไปนาน ๆ ผิวหน้าของมุกดาหารก็จะลดความมันวาวลงไป ต้องนำไปให้ช่างขัดเงาให้ใหม่ แต่จาก “ความเชื่อ” ในด้านสิริมงคลว่า มุกดาหารทำให้โชคดีเรื่องความรัก ขจัดพิษร้าย ป้องกันสัตว์ร้ายต่าง ๆ ได้ และความสวยที่แปลกตา มีเนื้อนวลขาวงาม และมีเส้นพาดกลาง หน้าพลอยที่เหลือบไปมาได้ ผู้ที่มีความเชื่อและรักในความงามของมุกดาหารจึงไม่อาจปฏิเสธอัญมณีชนิดนี้ได้มุกดาหารที่เป็นสิริมงคลมีลักษณะดังนี้
    1.มุกดาหารมีหลายสีเช่นเดียวกับอัญมณีอื่น ๆ (ยกเว้นเพอริโดต์) ได้แก่ สีขาว สีส้ม สีเทา แต่ที่นิยมนำมาเข้าชุดกับอัญมณีอื่น ๆ อีก 8 ชนิด เพื่อทำ “นพเก้า” นั้น ควรเลือกมุกดาหารที่มีสีขาว และควรจะเป็นสีขาวนวลคล้ายหมอกมัว ดังคำกลอนที่กล่าวไว้ว่า “มุกดาหารหมอกมัว”แต่ถ้าท่านจะนำมุกดาหารไปทำเครื่องประดับอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นพเก้า จะเลือกมุกดาหารสีใดย่อมได้ทั้งสิ้น
    2.เนื้อมุกดาหารควรเรียบงาม ไม่มีตำหนิจุดดำหรือริ้วรอยแตกร้าว
    3.เส้นพาดกลางหน้าพลอย ต้องมีความคมชัด เป็นเส้นตรงยาวจรดขอบพลอยทั้งด้านบนและด้านล่าง เมื่อพลิกเม็ดพลอยไปมาให้กระทบกับแสง เส้นพาดกลางหน้าพลอยก็เหลือบไปมาได้อย่างสวยงาม
    4.มุกดาหารต้องเจียระไนแบบหลังเบี้ย (หลังเต่า) ดังนั้น หน้าพลอยจึงต้องมีความนูนงามพอควร เมื่อขึ้นตัวเรือนเครื่องประดับแล้ว จะได้สัดส่วนที่สวยงาม ข้อเสนอแนะ ควรใช้เครื่องประดับมุกดาหารด้วยความระมัดระวังให้มากที่สุด ระวังอย่าให้ผิวหน้าพลอยไปกระทบกับสิ่งที่มีความแข็งมากกว่า เพราะอาจบิ่นแตกร้าวหรือมีริ้วรอยขูดขีดได้ง่าย เมื่อใช้สอยไปนาน ๆ เห็นว่าผิวหน้าของมุกดาหารมีความมันวาวน้อยลงมาก ควรนำไปให้ทางร้านขัดเงาผิวหน้าให้ใหม่หรืออาจเปลี่ยนเม็ดใหม่ไปเลยก็ย่อมได้ เพราะมุกดาหารยังหาได้ไม่ยาก และราคาก็ค่อนข้างถูกมาอีกด้วย ดังนั้นจึงควร “ฝัง” มุกดาหารแบบใช้ “หนามเตย” เพราะจะแกะพลอยออกจากตัวเรือนได้ง่ายการฝังพลอยแบบ “หุ้มขอบ” (ยกเว้นนพเก้าที่นิยมฝังอัญมณีทั้ง 9 ชนิดแบบหุ้มขอบ)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×