คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #8 : ทางช้างเผือก
ทางช้างเผือกมีลักษณะเป็นแผ่นจาน ส่วนตรงกลางจะเป็นรูปทรงที่โป่งออกมา
ถ้ามองจากพื้นโลก เราจะอยู่ในท่ามกลาง กลุ่มดาว เพราะระบบสุริยะเราอยู่
ใน Milky Way Galaxy หรือ ทางช้างเผือก นั่นเอง
สู่นอกอาณาเขต ทางช้างเผือกสู่ห้วงระยะ 500,000 ปีแสง มองเห็นกาแล็คซี่
ที่เราอาศัยอยู่ เหลือเล็กนิดเดียว บริเวณจุดศูนย์กลาง ระยะ 500,000 ปีแสง
มีดาวอยู่ประมาณ 225 พันล้านดวง กาแล็คซี่ขนาดใหญ่ 1 แห่ง (ทางช้างเผือก)
และกาแล็คซี่แคระ (Dwarf Galaxies) อีก 12 แห่ง
ว่ากันตามจริงแล้วคำว่า แคระ อาจจะฟังดูเล็ก ขนาดของกาแล็คซี่แคระ
เส้นผ่าศูนย์ราว 10,000 - 50,000 ปีแสง ซึ่งก็มีขนาดใหญ่กว่าระบบสุริยะนับ
หลายร้อยเท่า การสำรวจใหม่พบว่า Dwarf Galaxies เกิดจากเศษซากของ
บรรดา กระจุกดาว ที่โคจรผ่านไปมาช้าๆ บริเวณขอบของ ทางช้างเผือก ตลอด
ระยะเวลาแต่ละรอบกว่า 2 พันล้านปี
โดย Dwarf Galaxies บางกลุ่มมีวงโคจรแยกออกมาอย่าง อิสระด้วยตนเอง
และโคจรเป็นวงกว้าง 240 ล้านปีแสง โดยเป็นข้อมูลใหม่จากการสำรวจ
เมื่อ ค.ศ. 2003 หลังจากเคยสำรวจครั้งหลังสุดเมื่อ ค.ศ. 1994
พบ Sculptor Dwarf Galaxies (Ngc 253) และ กลุ่ม Small Magellanic Clouds
(Ngc 929) ในพิกัด 200,000 ปีแสง โดยเฉพาะ Small Magellanic Clouds
มี ดวงอาทิตย์ 2 พันล้านดวง
การสำรวจระหว่าง ปี 2000 - 2005 พบ Supernova 1987A อยู่ในตำแหน่ง
Large Magellanic Cloud มีระยะทางห่างจากโลก 160,000 ปีแสง
(สามารถเห็นด้วยตาเปล่าขณะระเบิดตัว) มีความร้อนสูงมาก หลายล้านองศา
ลักษณะจะมีการเคลื่อนตัวชั้นนอกรอบๆของ หมอกก๊าซช้าๆ ด้วยการพัดของ
พายุสุริยะ มีลักษณะสว่างโชติช่วงผ่านมาแล้ว 400 ปี
พิกัด 320,000 ปีแสง พบ Sextans Dwarf Galaxies ความยาว 8,400 ปีแสง
และสุดขอบ ที่พิกัดระยะ 500,000 ปี คือ Fornax Dwarf Galaxies
ความคิดเห็น