ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สำรวจอวกาศ

    ลำดับตอนที่ #3 : เปรียบเทียบขนาดวัตถุใกล้ตัวและไกลตัว 2

    • อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 52




    ยังมีดวงอาทิตย์ และดาว ที่ใหญ่โตมหาศาล กว่าหลายพันเท่าหรืออาจมากกว่า
    เช่น ที่เราสำรวจพบใหม่ คือ Hypergiant Starทั้งดวงใหญ่กว่าระบบสุริยะมาก
    ถามว่า ดวงยักษ์ใหญ่แบบนี้มีอีกหรือไม่ เชื่อว่ามีอีกและอาจมีี่ขนาดใหญ่กว่า
    ในจักรวาล มีสิ่งที่เป็นไปได้ สุดวิสัยที่เราจะนึกออก จนเราเองแทบไม่เข้าใจ

    ขอกลับมาทบทวนภาพรวม ระบบสุริยะกันอีกที ว่ามีอะไรบ้าง ที่อยู่ในอาณาเขตนี้
    นอกจากดาวเคราะห์ต่างๆ ที่เราพอจะรู้จักอยู่บ้างแล้ว มาติดตามกันต่อไป



    นอกจากดาวเคราะห์ ในระบบสุริยะซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง วงโคจรชั้นใน
    (Inner Solar System) มีดาวพุธ ดาวศุกร์ โลกและดาวอังคาร ตามลำดับนั้น
    ยังจะมีวัตถุอื่นๆ มากมายเพียงใด



    ระหว่างวงโคจรดาวอังคาร กับดาวพฤหัส ยังมี กลุ่มดาวเคราะห์น้อย อุกกาบาต
    โคจรห้อมล้อมเป็นจำนวนมาก นับล้านวัตถุเรียกว่า Main Asteroid Belt
    และยังมีอีกกลุ่ม บริเวณด้านหน้าด้านหลังตามแนววงโคจรดาวพฤหัส เรียกว่า
    Trojan Asteroids 



    วัตถุประเภท อุกกาบาต และดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
    ไม่กี่เมตร จนระดับเป็นร้อยกิโลเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 1,000 กม.




    ส่วนใหญ่มีรูปร่างเหมือนหัวมันฝรั่ง บางส่วนมีวงโคจรที่อ่อนแอไม่เสถียร
    ด้วยจากแรงดึงดูดของดาวพฤหัส ขาดพลังงานจากภายในแกนของวัตถุนั้นๆเอง
    และผลกระทบจาก พายุสุริยะ อุกกาบาต เหล่านี้จึงมีโอกาสที่จะชนปะทะโลก

    เรียกว่า วัตถุใกล้โลก (Near earth objects) หรือ NEO มีข้อมูลอาจเป็นอันตราย
    ต่อโลกจำนวน 100 -200 วัตถุ นอกนั้นยังมี ดาวหาง ที่โคจรมา จากบริเวณขอบ
    สุริยะ หรือ The Oort Cloud อีกจำนวนมาก 



    บริเวณขอบสุริยะเชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดดาวหางเป็นจำนวนมาก มีวงโคจรระยะ
    ไกลมาก จากบริเวณดังกล่าวเข้าสู่ระบบสุริยะ และเข้าใกล้ดวงอาทิตย์

    เพราะฉะนั้นเรามักจะได้รับรายงานข่าว เช่น ดาวหางที่โคจรเข้ามาใกล้โลก
    มักจะเห็นได้ใหม่แต่ละครั้งนับหลายสิบปีหรือนับร้อยปี ด้วยระยะไกลของวงโคจร
    จากบริเวณ Kuiper Belt และ The Oort Cloud

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×