ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ชีวะ( เซลล์) ที่ควรรู้

    ลำดับตอนที่ #3 : เอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม

    • อัปเดตล่าสุด 24 ก.ย. 49





    >>>...เอนโดพลาสมิเรติคิวลัม ( Endoplasmic reticulum ; ER)

                เป็นเมมเบรนที่มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ มีแขนงมากมาย บางบริเวณพองออกเป็นถุงแบนๆ เรียงขนานหรือซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีท่อเชื่อมถึงกันเป็นร่างแหล้อมรอบนิวเคลียส มีการเชื่อมติดต่อกับเยื่อหุ้มนิวเคลียส กอลจิบอดี และเยื่อหุ้มเซลล์ผนังเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัมยอมให้โปรตีน ลิพิด และเอนไซม์ ซึมผ่านได้ ทำให้สารและเกลือแร่ต่างๆ แพร่กระจายไปได้ทั่วเซลล์ หรืออาจมีการสะสมสารไว้ในเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัมก็ได้


    เอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม แบ่งออกเป็น 2 แบบ

    1.เอนโดพลาสมิเรติคิวลัมแบบผิวขรุขระ ( RER )
        มีไรโบโซมเกาะอยู่ที่ผิวด้านนอก ทำให้ดูคล้ายมีผิวขรุขระ  โปรตีนที่ไรโบโซมสังเคราะห์ขึ้นจะบรรจุอยู่ในเวสิเคิล แล้วลำเลียงออกไปนอกเซลล์ หรือส่งไปยังกอลจิบอดี  หรืออาจส่งไปเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ เซลล์ที่มีเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัมแบบผิวขรุขระมากพบในเซลล์ที่ผลิตสารประเภทโปรตีนหรือน้ำย่อยต่างๆ เช่นเซลล์ในตับอ่อน เป็นต้น


    2.เอนโดพลาสมิเรติคิวลัมแบบผิวเรียบ ( SER )
         ไม่มีไรโบโซมเกาะ  พบมากในเซลล์ที่มีการสังเคราะห์ไขมันหรือเซลล์ที่ทำหน้าที่ขับสารสเตอรอยด์  ทำหน้าที่ในการกำจัดสารพิษและควบคุมการผ่านเข้าออกของแคลเซียมไอออน


               เอนโดพลาสมิกเรติคิวลัมอาจทำงานร่มกับกอลจิบอดีในการสังเคราะห์และขับสารพวกไกลโคโปรตีน  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำจัดของเสียออกนอกเซลล์โดยวิธีเอกโซไซโทซิส และเป็นทางเข้าออกของสารต่างๆ ที่อยู่ภายนอกเซลล์





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×