ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #1 : ทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยก่อน

    • อัปเดตล่าสุด 24 ก.ค. 51


    ก่อนที่เราจะเข้าไปสู่เนื้อหา มันจะมีการเกริ่นนำก่อนใช่ไหมครับ!!!

    และนี่ก็เป็นเพียงประวัติย่อๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เชื่อว่าใครหลายๆคนอยากสอบเข้าให้ได้....


    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477 โดยมีชื่อเมื่อเริ่มก่อตั้งว่า "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง" (มธก.) มหาวิทยาลัยนี้ถือกำเนิดมาจากความคิดริเริ่มของ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ (รัฐมนตรีว่าการ กระทรวง มหาดไทย ในขณะนั้น) โดยเล็งเห็นว่าการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ขณะนั้นมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียว เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ.2475 ประเทศชาติ มีความจำเป็นต้องมีบุคคลที่มีความรู้ ทางกฎหมาย การปกครอง  และสังคม   มารับใช้ประเทศชาติโดยด่วน จึงได้เสนอร่าง    พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย   วิชา ธรรมศาสตร์ และ การเมือง พ.ศ.2476 เพื่อเปิดสอนในวิชาแขนงดังกล่าว เมื่อพระราชบัญญัติผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ได้มีพิธี เปิดมหาวิทยาลัยขึ้น  เมื่อวันที่  27 มิถุนายน  2477   โดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นผู้กระทำพิธีเปิด   และ ศาสตราจารย์  ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ประศาสน์การคนแรกของมหาวิทยาลัย (และเป็นผู้ประศาสน์การ คนเดียว เพราะต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ ตำแหน่ง เป็นอธิการบดี)
              ปรัชญาของการตั้งมหาวิทยาลัย  ปรากฏตามสุนทรพจน์  ของศาสตราจารย์   ดร.ปรีดี พนมยงค์ รายงานต่อผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ มีดังนี้ "...มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา..."
              ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จึงเป็นตลาดวิชา และเป็น มหาวิทยาลัย เปิดแห่งแรกของประเทศไทย โดยให้สิทธิแก่ผู้ที่เคยศึกษาในโรงเรียน
    กฎหมายผู้สำเร็จประโยคมัธยมศึกษา   และเปิดกว้างให้ถึงผู้ที่เป็น ข้าราชการ สมาชิกสภาผู้แทน ฯ ผู้แทนตำบล ครู ทนายความ เข้าเรียน ได้ด้วย ปรากฏว่าในปีแรกมีผู้สมัครเข้าศึกษาถึง 7,094 คน
              วิชาที่เปิดสอนมี 2 แขนงคือ  หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิต ซึ่งสอนวิชากฎหมายเป็นหลัก  แต่ได้สอนวิชา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการฑูตด้วย เมื่อจบปริญญาตรีธรรมศาสตรบัณฑิตก็อาจศึกษาต่อปริญญาโท แยกเป็นแขนงนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการฑูตต่อไป วิชาอีกแขนงหนึ่งคือ วิชาการบัญชี โดยมีหลักสูตร 3 ปี สำหรับประกาศนียบัตร ทางการบัญชี (เทียบเท่าปริญญาตรี) และ 5 ปี สำหรับประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชี (เทียบเท่าปริญญาโท)
              จากวิสัยทัศน์ของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ทำให้ผู้ไม่มีโอกาสได้ศึกษาถึงขั้นมหาวิทยาลัยได้จบปริญญา    และ ประกาศ นียบัตรไปรับใช้ประเทศชาติในทางการเมือง กระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ วงการธุรกิจ และอาชีพอิสระเป็นอันมาก
              สำหรับที่ตั้งมหาวิทยาลัย ครั้งแรกใช้ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิมที่เชิงสะพานผ่านฟ้าภิภพลีลา   ต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2478 มหาวิทยาลัยขอซื้อ ที่ดินบริเวณท่าพระจันทร์ ซึ่งเดิมป็นที่ของทหาร และปรับปรุงอาคารเดิมพร้อมทั้งสร้างตึกโดม (อันหมายถึงปัญญา และความเฉียบแหลม) เงินที่ซื้อที่ดินรวมทั้งการก่อสร้างได้มาจากเงินที่มหาวิทยาลัย เก็บจากค่าสมัคร และค่าเล่าเรียน (คนละ 20 บาท ต่อปี) นอกจากนี้ ในเวลาต่อมามหาวิทยาลัยยังได้ตั้งธนาคารเอเชียขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ สำหรับนักศึกษาวิชาการบัญชี ใช้เป็นที่ฝึกงานด้วย

    ในปี พ.ศ.2481 มหาวิทยาลัยตั้งโรงเรียนเตรียมปริญญามีหลักสูตร 2 ปี เพื่อรับผู้ประสงค์จะเข้าเรียนต่อ ที่มหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมืองโดยตรง โรงเรียนเตรียมปริญญามีหลักสูตรการสอนหนักไปทางด้านภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และวิชาด้านสังคม เช่น ปรัชญา วิชาเทคโนโลยี ดนตรี พิมพ์ดีด และชวเลข เป็นต้น โรงเรียนเตรียม ปริญญามีทั้งหมดรวม 8 รุ่น จนงถึงปี พ.ศ.2490 จึงถูกยกเลิกไป
              เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหาร ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ด้วยเหตุผลทางการเมือง และการ ปกครอง ของคณะรัฐประหาร ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบ และถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัย การเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ชื่อมหาวิทยาลัยถูกตัดคำว่า "การเมือง" ออก เปลี่ยนเป็น "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ตำแหน่ง ผู้ประศาสน์ การถูกยกเลิก เปลี่ยนเป็นอธิการบดี  หลักสูตรการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต  ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น  นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ความเป็นตลาดวิชาหมดไป ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พ.ศ.2495
              ในปี พ.ศ.2518 ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นอธิการบดี ท่านเห็นว่า ควรที่ จะขยายการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ ในชั้นปริญญาตรีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มีส่วนสำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคม เช่นเดียวกับ หลักสูตรทาง สังคมศาสตร์ ที่มี ยู่เดิม พื้นที่ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ มีเนื้อที่ประมาณ  50  ไร่   ไม่เพียงพอ ต่อการขยายตัว ทางวิชาการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยจึงเจรจาขอใช้ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม กระทรวง อุตสาหกรรม เนื้อที่ประมาณ 2,400 ไร่ ที่รังสิต เพื่อสนองรับการขยายตัว ของ มหาวิทยาลัย ต่อไป   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงขยายออกไปที่รังสิต เรียกว่า    มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งเจริญก้าวหน้าและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังขยายไปที่ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยาด้วย โดยอยู่บน พื้นฐาน การปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์ ดั่งเช่น จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

    ตราธรรมจักร

    เป็นรูปธรรมจักรสีเหลือง ตัดเส้นด้วยสีแดง มีพานรัฐธรรมนูญสีแดงสลับเหลืองอยู่กลาง ที่ขอบธรรมจักรมีอักษรสีแดงจารึกว่า "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" หรือ "ม.ธ." อยู่ตอนบน กับ "THAMMASAT UNIVERSITY" หรือ "T.U." อยู่ตอนล่าง และระหว่างคำว่า "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" หรือ "ม.ธ." กับ "THAMMASAT UNIVERSITY" หรือ "T.U." มีลายกนกสีแดงคั่นอยู่
    (คัดจากหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 83 ตอนที่ 19 วันที่ 1 มีนาคม 2509)

    " ตราธรรมจักร" บอกความหมายว่า สถาบันแห่งนี้ยึดถือคติธรรมของพุทธศาสนา เป็นหลักกล่อมเกลาบัณฑิต สิ่งที่อยู่กลางธรรมจักร คือ พานรัฐธรรมนูญ หมายถึง การยึดมั่น เชิดชูรัฐธรรมนูญเป็นหลักการที่ มธก. ยึดถือ และประพฤติปฏิบัติ



    Home Page Image

    ตึกโดม

    ตึกโดม เป็นอาคารหลังแรกของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ออกแบบโดยนายหมิว อภัยวงศ์ ตามคำแนะนำของผู้ประศาสน์การ ปรับปรุงจากตึกเก่า 4 หลังของทหารโดยสร้างหลังคาเชื่อมแต่ละตึก จนกลายเป็นอาคารหลังเดียวกัน ส่วนกลางของตึกได้สร้างอาคาร 3 ชั้นขึ้นเพิ่มเติมโดยมี “โดม” เป็นสัญลักษณ์ตรงกลาง รูปแบบของโดมนี้ กล่าวอธิบายกันในภายหลังว่านำรูปแบบมาจากดินสอแปดเหลี่ยมที่เหลาจนแหลมคม เพื่อแสดงถึงภูมิปัญญาที่สูงส่งของการจัดการศึกษา

    ภายในอาคารตึกโดม เมื่อเดินจากบันไดกลางขึ้นไปบนชั้น 2 ห้องแรกจะเป็นห้องทำงาน ของผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งห้องเดียวกันนี้ในสมัยสงครามโลก ครั้งที่สอง คือ ศูนย์บัญชาการขบวนการเสรีไทยที่มีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำ โดยทำงาน ร่วมกับเสรีไทยสายอังกฤษ และสาย สหรัฐอเมริกา

    มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง รวมทั้งตึกโดมของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จึงมีสถานะพิเศษอย่างยิ่ง สำหรับผู้ร่วมขบวนการเสรีไทยและผู้รักชาติทั้งมวล แต่ในอีกทางหนึ่งก็ได้ส่งผลให้ฝ่ายกองทัพและผู้มีอำนาจทางการเมือง ฝ่ายตรงข้าม นายปรีดี มีความระแวง และหวาดกลัวมหาวิทยาลัย

    หลังเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน เดือนมิถุนายน พ.ศ.2494 กองทัพบกได้เข้ายึดพื้นที่ของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองไว้ รวมทั้งเสนอขอซื้อที่ผืนนี้ด้วยเงินจำนวน 5 ล้านบาท แต่นักศึกษาของ มธก. จำนวนกว่า 2 พันคน ได้รวมตัวกันเดินขบวนไปยังรัฐสภา เพื่อเรียกร้องขอมหาวิทยาลัยคืนจากรัฐบาลทหารในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2494 และประสบความสำเร็จโดยได้มหาวิทยาลัยคืนกลับ มาอย่างสันติวิธีโดยมีนักศึกษา จำนวนกว่าพันคน ได้บุกเข้ามายึดพื้นที่ มหาวิทยาลัยคืนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2494

    อย่างไรก็ตาม ในปีถัดต่อมา คือ พ.ศ.2495 ชื่อของมหาวิทยาลัยก็ได้ถูกตัดคำว่า “การเมือง” ออกไป และเหลือแต่เพียงชื่อ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ตราบจนปัจจุบัน

    กล่าวได้ว่า โดมได้กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของมหาวิทยาลัย ดังเช่นที่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้นิยมเรียกตนเองว่า “ลูกแม่โดม” ตลอดมา ซึ่งลูกแม่โดมคนหนึ่ง ชื่อ เปลื้อง วรรณศรี ได้ประพันธ์บทกวี “โดม…ผู้พิทักษ์ธรรม” ไว้ในปี พ.ศ.2495 มีความตอนหนึ่งกล่าวว่า “ถ้าขาดโดม...เจ้าพระยา...ท่าพระจันทร์ ก็ขาดสัญลักษณ์พิทักษ์ธรรม


    Home Page Image

    สีเหลืองแดง

    สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง-แดง การเลือกสีเหลืองกับแดงนี้ ไม่มีหลักฐานเด่นชัด เพียงแต่ทราบว่า ผู้ประศาสน์การ นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้เลือก ซึ่งอาจมาจากความต้องการเอาสีเหลือง ซึ่งเป็นสีของศาสนา เหมือนดังธรรมจักรกับสีแดง ซึ่งแสดงความเข้มข้น คือ เลือด ดังปรากฏในเพลงของขุนวิจิตรมาตราว่า "เหลืองของเราคือธรรมประจำจิต" แดงของเราคือโลหิตอุทิศให้"



    ต้นหางนกยูง

    ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ "ต้นหางนกยูง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2506 และได้ทรงปลูกต้น "หางนกยูง" จำนวนห้าต้น ที่บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ เพื่อให้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ตามที่นักศึกษาขอพระราชทาน ซึ่งผู้ขอคือ นายวิทยา สุขดำรง


    เพลงประจำมหาวิทยาลัย

    เพลงประจำมหาวิทยาลัย คือเพลงพระราชนิพนธ์ "ยูงทอง" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้ทรงพระราชนิพนธ์เฉพาะทำนองก่อน และได้ทรงนำมาบรรเลงครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2506 อันเป็นวันทรงดนตรีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นครั้งแรก ส่วนเพลงพระราชนิพนธ์ "ยูงทอง" ที่สมบูรณ์ทั้งเนื้อร้องและทำนอง
    (เนื้อร้องยกร่างโดย หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช) ได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2507


    คัดมาจาก http://www.tu.ac.th
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×