คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : ภาษาเกาหลี
ภาษาเกาหลี
ภาษาเกาหลี (한국어/조선어, ดูในส่วนชื่อ) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนพูดโดยทั่วไปในสาธารณรัฐประชาชนจีน (ในจังหวัดหยันเปียน มณฑลจื๋อหลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลี) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ภาษาตระกูลอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV)
อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม
เกี่ยวกับชื่อ
ชื่อเรียกคำว่า "ภาษาเกาหลี" ในเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้มีความแตกต่างกัน ในเกาหลีเหนือ ชาวเกาหลีเหนือส่วนใหญ่มักเรียกว่า โชซอนมัน (조선말) หรือหากเป็นทางการขึ้นจะเรียกว่า โชซอนอ (조선어).
ในเกาหลีใต้ ประชาชนส่วนใหญ่เรียกภาษาของตนว่า ฮันกุกมัล (한국말) หรือ ฮันกุกอ (한국어) หรือ กุกอ (국어) บางครั้งอาจเรียกในแบบภาษาชาวบ้านว่า อูรีมัล (แปลว่า "ภาษาของเรา"; มาจากคำว่า 우리말 (เขียนติดกันในเกาหลีใต้),หรือ 우리 말 (เขียนแยกกันในเกาหลีเหนือ))
สำเนียงท้องถิ่น
ภาษาเกาหลีมีสำเนียงท้องถิ่นมากมาย ภาษาทางการที่ใช้ในเกาหลีใต้คือสำเนียงท้องถิ่นที่ใช้ในพื้นที่บริเวณกรุงโซล และภาษาทางการที่ใช้ในเกาหลีเหนือคือสำเนียงท้องถิ่นที่ใช้บริเวณกรุงเปียงยาง สำเนียงท้องถิ่นโดยทั่วไปจะมีความคล้ายคลึงกัน ยกเว้นสำเนียงท้องถิ่นบนเกาะเชจูที่มีความแตกต่างค่อนข้างมาก ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างสำเนียงท้องถิ่นแต่ละแห่งคือ การเน้นเสียง (stress) สำเนียงท้องถิ่นของกรุงโซลจะเน้นเสียงน้อยมาก และไม่ค่อยมีความสูงต่ำในการเปล่งเสียง ในทางกลับกัน สำเนียงท้องถิ่นของ Gyeongsang มีความสูงต่ำของการออกเสียงอย่างมากจนคล้ายกับภาษาทางยุโรป อย่างไรก็ตามเราสามารถจำแนกสำเนียงท้องถิ่นของภาษาเกาหลีออกเป็นภูมิภาคต่างๆได้ดังตาราง โดยพิจารณาจากขอบเขตของภูเขาและทะเล
สำเนียงทางการ | บริเวณที่ใช้ |
---|---|
โซล | โซล อินชอน เกียงกี (เกาหลีใต้) และ แคซอง (เกาหลีเหนือ) |
เปียงยาง | เปียงยาง ชากัง (เกาหลีเหนือ) |
สำเนียงท้องถิ่น | บริเวณที่ใช้ |
ชุงชอง | แตจอน ชุงชอง (เกาหลีใต้) |
กังวอน | กังวอน (เกาหลีใต้)/ กังวอน (เกาหลีเหนือ) |
Gyeongsang | Busan, Daegu, Ulsan, Gyeongsang region (เกาหลีใต้) |
Hamgyŏng | Rasŏn, Hamgyŏng region, Ryanggang (เกาหลีเหนือ) |
Hwanghae | Hwanghae region (เกาหลีเหนือ) |
เชจู | เกาะเชจู/จังหวัดเชจู (เกาหลีใต้) |
Jeolla | Gwangju, Jeolla region (เกาหลีใต้) |
อักษรเกาหลี
- ดูบทความหลักที่ อักษรฮันกึล
อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล โดยผิวเผินแล้ว อักษรฮันกึลคล้ายกับอักษรรูปภาพเหมือนอักษรจีน แต่จริงๆ แล้ว อักษรฮันกึลอยู่ในระบบอักษรแทนเสียง (ตัวพยัญชนะเป็นอักษรรูปภาพเลียนแบบอวัยวะการออกเสียงในขณะที่ออกเสียงนั้นๆ สระเป็นอักษรรูปภาพใช้แนวคิดเชิงปรัชญา เกี่ยวกับ ท้องฟ้า พื้นดิน และมนุษย์)คือประกอบด้วยพยัญชนะและสระ ซึ่งมีทั้งหมด 24 ตัว ประกอบด้วย
- พยัญชนะ 14 ตัว คือ ㄱ ㄴ ㄷ ㄹ ㅁ ㅂ ㅅ ㅇ ㅈ ㅊ ㅋ ㅌ ㅍ และ ㅎ
- สระ 10 ตัว คือ ㅏ ㅑ ㅓ ㅕ ㅗ ㅛ ㅜ ㅠ ㅡและ ㅣ
พยัญชนะและสระดังกล่าวเรียกว่า พยัญชนะเดี่ยว และสระเดี่ยว ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เรียกว่าพยัญชนะซ้ำ และสระประสมด้วย คือ
- พยัญชนะซ้ำ 5 ตัว ได้แก่ ㄲ ㄸ ㅃ ㅆ และ ㅉ
- สระประสม 11 ตัว ได้แก่ ㅐ ㅒ ㅔ ㅖ ㅚ ㅟ ㅘ ㅙ ㅝ ㅞ และ ㅢ
อักษรเกาหลีมีลำดับการเขียนคล้ายอักษรจีน คือ ลากจากบนลงล่าง และจากซ้ายไปขวา นอกจากนี้การเขียนพยางค์หนึ่งๆ จะเริ่มเขียนจากพยัญชนะต้น ไปสระ และตัวสะกดตามลำดับ
การเทียบเสียง
ในภาษาเกาหลี ได้มีการกำหนดระบบในการถอดภาษาเกาหลีด้วยอักษรโรมัน ไว้ โดยเป็นที่นิยมมาก 2 ระบบ คือ ระบบกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี 2000 ระบบที่ใช้อย่างเป็นทางการในประเทศเกาหลีใต้ปัจจุบัน และ ระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ ใช้ในประเทศเกาหลีเหนืออย่างเป็นทางการในปัจจุบัน และเคยใช้ในเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการในช่วง พ.ศ. 2527-2543
สำหรับในภาษาไทยนั้น เนื่องจากยังไม่มีการเทียบเสียงภาษาเกาหลีกับภาษาไทยอย่างเป็นทางการ ข้อมูลการเทียบเสียงต่อไปนี้จึงเป็นเพียงการเทียบเสียงเบื้องต้น ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องมากนัก พยัญชนะทุกตัวในภาษาเกาหลีมีเสียงแตกต่างกัน แต่พบว่าบางครั้งการได้ยินของคนไทยไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้เหมือนคนเกาหลี เช่น คำว่า 자 กับ 차 เป็นต้น
พยัญชนะ
พยัญชนะ | เสียง | ทับศัพท์ | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษร | ชื่อ | ชนิด | IPA | MC2000 | MR | เทียบเสียงไทย* | |
ㄱ | 기역 คียอก | เดี่ยว | [k] | g,k | k | ค,ก (เสียงเบา) | ถ้าเป็นพยางค์แรกของคำออกเสียงเป็น "ค" ถ้าเป็นพยางค์สุดท้ายออกเสียง "ก" |
ㄲ | 쌍기역ซังกียอก | ซ้ำ | [k͈] | kk | kk | ก (เสียงหนัก) | เกิดจาก ㄱ รวมกับ ㄱ |
ㅋ | 키읔 คี้อึก | เดี่ยว | [kʰ] | k | k' | ค (เสียงหนัก) | |
ㄴ | 니은 นีอึน | เดี่ยว | [n] | n | n | น | |
ㄷ | 디귿ทีกึด | เดี่ยว | [t] | d,t | t | ท,ด | ถ้าเป็นพยางค์แรกของคำออกเสียงเป็น "ท" ถ้าเป็นพยางค์สุดท้ายออกเสียง "ด" |
ㄸ | 쌍디귿 ซังทีกึด | ซ้ำ | [t͈] | tt | tt | ต | เกิดจาก ㄷรวมกับ ㄷ |
ㅌ | 티읕 ที้อึด | เดี่ยว | [tʰ] | t | t' | ท (เสียงหนัก) | |
ㄹ | 리을 รีอึล | เดี่ยว | [ɾ] | r,l | r,l | ร,ล | |
ㅁ | 미음 มีอึม | เดี่ยว | [m] | m | m | ม | |
ㅂ | 비읍 พีอึบ | เดี่ยว | [p] | b,p | p | พ,บ | ถ้าเป็นพยางค์แรกของคำออกเสียงเป็น "พ" ถ้าเป็นพยางค์สุดท้ายออกเสียง "บ" |
ㅃ | 쌍비읍 ซังบีอึบ | ซ้ำ | [p͈] | pp | pp | ป | เกิดจาก ㅂรวมกับ ㅂ |
ㅍ | 피읖 พี้อึบ | เดี่ยว | [pʰ] | p | p' | พ (เสียงหนัก) | |
ㅅ | 시읏 ซีอด | เดี่ยว | [s] | s | s | ซ (ช) (เสียงเบา) | ปกติเป็นเสียง "ซ" แต่ถ้าใช้คู่กับสระอี จะเป็นเสียง "ช" เช่น 시 อ่านว่า "ชี" |
ㅆ | 쌍시읏 ซังซีอด | ซ้ำ | [s͈] | ss | ss | ซ (ช) (เสียงหนัก) | เกิดจาก ㅅรวมกับ ㅅ, ปกติ ㅆ เป็นเสียง "ซ" แต่ถ้าใช้คู่กับสระอี จะเป็นเสียง "ช" เช่น 씨 อ่านว่า "ชี" |
ㅎ | 히읗 ฮีอึด | เดี่ยว | [h] | h | h | ฮ | |
ㅇ | 이응 อีอึง | เดี่ยว | [ŋ] | ng | ng | อ (ง) | ถ้าใช้เป็นพยัญชนะต้นจะเป็นเสียง "อ" แต่ถ้าเป็นตัวสะกดจะเป็นเสียง "ง" |
ㅈ | 지읒 ชีอึด | เดี่ยว | [ʨ] | j | ch | ช,จ (เสียงเบา) | ถ้าใช้เป็นพยัญชนะต้นจะเป็นเสียง "ช" แต่ถ้าเป็นตัวสะกดจะเป็นเสียง "จ" |
ㅉ | 쌍지읒 ซังชีอึด | ซ้ำ | [ʨ͈] | jj | chch | จ (เสียงหนัก) | เกิดจาก ㅈรวมกับ ㅈ |
ㅊ | 치읓 ชี้อึด | เดี่ยว | [ʨʰ] | ch | ch' | ช (เสียงหนัก) |
^ ทับศัพท์ภาษาไทยยังไม่มีกำหนดอย่างเป็นทางการ ข้อมูลการเทียบเสียงนี้เป็นเพียงการเทียบเสียงเบื้องต้น แตกต่างจากทับศัพท์อักษรโรมัน ที่มีการทับศัพท์อย่างเป็นทางการตามที่ประเทศเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือใช้
สระ
สระเกาหลีไม่เหมือนภาษาไทยที่มีเสียงสั้นเสียงยาว ยกตัวอย่างเช่น สระอิ หรือ สระอี จะรวมอยู่ในสระเพียงสระเดียว คือสระ 이 และการจะออกเสียงสั้นหรือยาวนั้นขึ้นกับคำและการเน้นเสียง
สระ | ชนิด | เสียง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ㅏ | เดี่ยว | อา | เช่น 아 = /อา/, 마 = /มา/, 라 = /รา/, 나 = /นา/ |
ㅑ | เดี่ยว | ยา | เช่น 야 = /อา/, 먀 = /มยา/, 랴 = /รยา/, 냐 = /นยา/ |
ㅓ | เดี่ยว | ออ | เช่น 어 = /ออ/, 머 = /มอ/, 러 = /รอ/, 너 = /นอ/ |
ㅕ | เดี่ยว | ยอ | เช่น 여 = /ยอ/, 며 = /มยอ/, 려 = /รยอ/, 녀 = /นยอ/ |
ㅗ | เดี่ยว | โอ | เช่น 오 = /โอ/, 모 = /โม/, 로 = /โร/, 노 = /โน/ |
ㅛ | เดี่ยว | โย | เช่น 요 = /โย/, 묘 = /มโย/, 료 = /รโย/, 뇨 = /นโย/ |
ㅜ | เดี่ยว | อู | เช่น 우 = /อู/, 무 = /มู/, 루 = /รู/, 누 = /นู/ |
ㅠ | เดี่ยว | ยู | เช่น 유 = /ยู/, 뮤 = /มยู/, 류 = /รยู/, 뉴 = /นยู/ |
ㅡ | เดี่ยว | อื | เช่น 으 = /อือ/, 므 = /มือ/, 르 = /รื/, 느 = /นื/ |
ㅣ | เดี่ยว | อี | เช่น 이 = /อี/, 미 = /มี/, 리 = /รี/, 니 = /นี/ |
ㅐ | ประสม | แอ | เกิดจาก ㅏ รวมกับㅣ เช่น 애 = /แอ/, 매 = /แม/, 래 = /แร/, 내 = /แน/ |
ㅒ | ประสม | แย | เกิดจาก ㅑ รวมกับ ㅣ เช่น 얘 = /แย/, 먜 = /มแย/, 럐 = /รแย/, 냬 = /นแย/ |
ㅔ | ประสม | เอ | เกิดจาก ㅓ รวมกับ ㅣ เช่น 에 = /เอ/, 메= /เม/, 레 = /เร/, 네 = /เน/ |
ㅖ | ประสม | เย | เกิดจาก ㅕ รวมกับ ㅣ เช่น 예 = /เย/, 몌 = /มเย/, 례 = /รเย/, 녜 = /นเย/ |
ㅚ | ประสม | เว | เกิดจาก ㅗ รวมกับ ㅣ เช่น 외 = /เว/, 뫼 = /มเว/, 뢰 = /รเว/, 뇌 = /นเว/ |
ㅟ | ประสม | วี | เกิดจาก ㅜ รวมกับ ㅣ เช่น 위 = /วี/, 뮈 = /มวี/, 뤼 = /รวี/, 뉘 = /นวี/ |
ㅘ | ประสม | วา | เกิดจาก ㅜ รวมกับ ㅏ เช่น 와 = /วา/, 뫄 = /มวา/, 롸 = /รวา/, 놔 = /นวา/ |
ㅙ | ประสม | แว | เกิดจาก ㅗ รวมกับ ㅐ เช่น 왜 = /แว/, 뫠 = /มแว/, 뢔 = /รแว/, 놰 = /นแว/ |
ㅝ | ประสม | วอ | เกิดจาก ㅜ รวมกับ ㅓ เช่น 워 = /วอ/, 뭐 = /มวอ/, 뤄 = /รวอ/, 눠 = /นวอ/ |
ㅞ | ประสม | อุเว | เกิดจาก ㅜ รวมกับ ㅔ |
ㅢ | ประสม | อึย | เกิดจาก ㅡ รวมกับ ㅣ เช่น 의 = /อึย/, 믜 = /มี/, 릐 = /รี/, 늬 = /นี/ (ถ้าตัวพยัญชนะที่ไม่ใช่ อีอึง (ㅇ)บวกกับสระ อึย (ㅢ) ให้อ่านออกเสียงเป็นสระ อี |
การประสมอักษร
ภาษาเกาหลีมีส่วนที่คล้ายภาษาไทย คือ พยางค์ในภาษาเกาหลีหนึ่งพยางค์จะเกิดจากการรวมกันของ พยัญชนะต้น และสระ หรือ พยัญชนะต้น, สระ และตัวสะกด แต่ภาษาเกาหลีไม่มีระดับวรรณยุกต์ การสร้างพยางค์หนึ่งพยางค์สามารถทำโดยการเขียนตำแหน่งพยัญชนะ, สระ และตัวสะกดแบบใดแบบหนึ่งใน 6 แบบดังนี้
กำหนดให้ สีแดง คือ พยัญชนะต้น, สีน้ำเงิน คือ สระ และ สีเขียว คือ ตัวสะกด
รูปแบบ | คำอธิบาย | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
|
- รูปแบบนี้ เป็นรูปแบบที่เขียนพยัญชนะต้นข้างหน้าสระ - และสระที่เขียนในรูปแบบนี้ได้ต้องเป็นสระแนวตั้ง คือ ㅏ ㅑ ㅓ ㅕ ㅣ ㅐ ㅒ ㅔ และ ㅖ - ตัวอย่าง 이= /อี/, 가 = /คา/, 저 = /ชอ/, 여 = /ยอ/, 나라 = /นา-รา/, 네 = /เน/, 먜 = /มเย/ (อ่านควบ) | ||||||
|
- เป็นรูปแบบที่มีทั้งพยัญชนะต้น,สระ และตัวสะกด โดยพยัญชนะต้นอยู่ด้านหน้าสระในระดับเดียวกัน และ ตัวสะกดอยู่ล่างสุด - สระที่เขียนในรูปแบบนี้ได้ต้องเป็นสระแนวตั้ง คือ ㅏ ㅑ ㅓ ㅕ ㅣ ㅐ ㅒ ㅔ และ ㅖ - ตัวอย่าง 안= /อัน/, 녕 = /นยอง/ (อ่านควบ),상 = /ซอง/, 점심 = /ชอม-ชิม/, 밥 = /พับ/ | ||||||
|
- รูปแบบนี้ เป็นรูปแบบที่พยัญชนะต้นอยู่ข้างบนสระ - และสระที่เขียนในรูปแบบนี้ได้ต้องเป็นสระแนวนอน คือ ㅗ ㅛ ㅜ ㅠ และ ㅡ - ตัวอย่าง 코 = /โค่/, 고 = /โค/, 아니오 = /อา-นี-โอ/, 토요일 = /โท-โย-อิล/, 변호사 = /พยอน-โฮ-ซา/ | ||||||
|
- เป็นรูปแบบที่มีทั้งพยัญชนะต้น,สระ และตัวสะกด โดยเรียงลำดับจากบนลงล่าง - สระที่เขียนในรูปแบบนี้ได้ต้องเป็นสระแนวนอน คือ ㅗ ㅛ ㅜ ㅠ และ ㅡ -ตัวอย่าง 층 = /ชึ่ง/, 물 = /มุล/ | ||||||
|
- รูปแบบนี้ประกอบด้วยพยัญชนะต้นและสระ - สระที่เขียนในรูปแบบนี้ได้ต้องเป็นสระ ㅚ ㅟ ㅢ ㅘ ㅙ ㅝ และ ㅞ - ตัวอย่าง 화 = /ฮวา/ | ||||||
|
- รูปแบบนี้ประกอบด้วยพยัญชนะต้น,สระ และตัวสะกด - สระที่เขียนในรูปแบบนี้ได้ต้องเป็นสระ ㅚ ㅟ ㅢ ㅘ ㅙ ㅝ และ ㅞ - ตัวอย่าง 원 = /วอน/ |
ตัวสะกด
แม้พยัญชนะเกาหลีจะมีหลายตัว และแต่ละตัวเสียงแตกต่างกัน แต่เมื่อนำมาใช้เป็นตัวสะกดแล้ว จะมีทั้งหมด 7 แม่เท่านั้น ดังตาราง จะเห็นว่าคล้ายคลึงกับภาษาไทย โดยที่ต่างออกไปคือ เสียง "ล" เมื่อนำไปเป็นตัวสะกดแล้วจะไม่ใช่เสียง "น" นอกจากนี้อาจพบตัวสะกดแบบที่มีพยัญชนะสะกดสองตัว เช่น 여덟, 앉다 ฯลฯ ตัวสะกดลักษณะนี้จะเลือกออกเสียงเฉพาะตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น และอีกตัวจะไม่ออกเสียง เช่น 여덟 อ่านว่า /ยอ-ดอล/ ไม่ใช่ /ยอ-ดอบ/ การที่จะทราบว่าตัวสะกดคู่จะออกเสียงพยัญชนะตัวใด แสดงดังตาราง อย่างไรก็ตามมีตัวสะกดคู่บางส่วนที่ออกเสียงไม่แน่นอนขึ้นกับคำ คือ ㄺ และ ㄼ
ตัวสะกด | พยัญชนะ | ตัวอย่าง |
---|---|---|
กง | ㅇ | 성 = /ซอง/ |
กน | ㄴ ㄵ ㄶ | 원 = /วอน/ |
กม | ㅁ ㄻ | 남 = /นัม/ |
กก | ㄱ ㄲ ㅋ ㄳ | 밖 = /ผัก/ |
กด | ㄷ ㅅ ㅆ ㅈ ㅉ ㅊ ㅌ ㅎ | 이것 = /อี-กอด/ |
กบ | ㅂ ㅍ ㅄ ㄿ | 십 = /ฉิบ/, 없 = /ออบ/ |
กล | ㄹ ㄽ ㄾ ㅀ | 팔 = /พัล/ |
ไม่แน่นอน | ㄺ ㄼ | 여덟 = /ยอ-ดอล/ |
การอ่านที่ต้องมีการโยงเสียง
ในพยางค์หนึ่งๆ กรณีที่พยัญชนะต้นเป็นตัวอีอึง (ㅇ) เสียงของมันอาจไม่ใช่เสียง "อ" แต่จะเป็นเสียงของตัวสะกดในพยางค์ก่อนหน้าแทน เช่น
- 직업 อ่านว่า /지겁/ (ชี-กอบ) ไม่ใช่ /직-업/ (ชิก-ออบ)
- 당신은 อ่านว่า /당시는/ (ทัง-ชี-นึน) ไม่ใช่ /당-신-은/ (ทัง-ชิน-อึน)
ตัวอย่างประโยคหรือวลีที่มักพบ
ประโยคเกาหลี | คำอ่านไทย | คำแปล |
---|---|---|
안녕하세요. | อัน-นยอง-ฮา-เซ-โย | สวัสดี |
사랑해. | ซา-รัง-แฮ | ฉันรักคุณ |
실례지만. | ชิล-รเย-ชี-มัน | ขอประทานโทษครับ |
안녕히주무세요. | อัน-นยอง-ฮี๊-ชู-มู-เซ-โย | ราตรีสวัสดิ์ |
반갑습니다. | พัน-กั๊บ-ซึม-นี-ดา | ยินดีที่ได้รู้จัก |
죄송합니다. 저먼저갑니다 | ชเว-ซง-ฮัม-นี-ดา. ชอ-มอน-จอ-คัม-นี-ดา. | ขอโทษครับ ผมไปก่อนนะครับ |
ไวยากรณ์
การวางคำในประโยคภาษาเกาหลีมีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียงในภาษาญี่ปุ่นและภาษาตุรกีรวมไปถึงภาษาในประเทศอินเดีย โดยเรียงลำดับคำในประโยคเป็น "ประธาน-กรรม-กริยา" ซึ่งแตกต่างกับประโยคในภาษาไทยที่เป็น "ประธาน-กริยา-กรรม" เช่นประโยค "ฉันกินข้าว" ในภาษาไทย จะเขียนลำดับเป็น "ฉันข้าวกิน" ในภาษาเกาหลี
ภาษาเกาหลีมีคำช่วยเพื่อบอกหน้าที่ของคำต่างๆ ในประโยค เช่น 에 เป็นคำช่วยที่ใช้วางหลังสถานที่เพื่อระบุตำแหน่ง และ 이 หรือ 가 เป็นคำช่วยที่วางหลังคำเพื่อระบุว่าคำนั้นเป็นประธานของประโยค เป็นต้น นอกจากนี้ภาษาเกาหลียังมีการผันรูปกริยาหลายรูปแบบเพื่อเปลี่ยนแปลงกาลเทศะ เช่น ระดับความสุภาพและความเป็นทางการของประโยค สภาพกาลของประโยคว่าเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน
การถอดภาษาเกาหลีด้วยอักษรโรมัน
การถอดภาษาเกาหลีด้วยอักษรโรมัน (Korean romanization) คือการเขียนภาษาเกาหลี โดยใช้อักษรโรมันในการแทนเสียง ในปัจจุบันมีอยู่ 3 ระบบหลักที่นิยมใช้ ได้แก่
- ระบบกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี 2000 เป็นระบบที่ใช้ในปัจจุบันในประเทศเกาหลีใต้แทนที่ระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ โดยเริ่มใช้ใน ปี พ.ศ. 2543 รัฐบาลเกาหลีได้ใช้ระบบนี้ในการเปลี่ยนแปลงป้ายบอกทาง หนังสือเรียนต่างๆ พัฒนาโดยสถาบันภาษาเกาหลีแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2538 และเริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 โดยได้ปรับปรุงการใช้งาน คำศัพท์หลายคำที่ออกเสียงไม่ตรงกับต้นฉบับภาษาเกาหลี รวมถึงการใช้ตัวอักษรแบบธรรมดาไม่มีสัญลักษณ์พิเศษเหนือตัวอักษรโรมันซึ่งยากต่อการใช้งาน
- ระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ (McCune-Reischauer, MR) เป็นระบบแรกที่มีการใช้งาน เริ่มพัฒนาใน ปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) และได้รับการยอมรับในวงกว้าง ซึ่งในประเทศเกาหลีใต้ได้มีการใช้ระบบที่ดัดแปลงจากระบบนี้ นำมาใช้เป็นระบบอย่างเป็นทางการของประเทศในช่วง พ.ศ. 2527-2543
- ระบบเยล เป็นระบบที่พัฒนาใช้ในวงการภาษาศาสตร์ พัฒนาโดย ซามูเอล เอลโม มาร์ตินที่มหาวิทยาลัยเยลใน ปี พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942)
ตัวอย่างของระบบต่างๆ
ความหมาย | ฮันกุล (ฮันจา) | MC 2000 (การออกเสียง) | แมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ | เยล |
---|---|---|---|---|
กำแพง | 벽 (壁) | byeok (byeog) | pyŏk | pyek |
บนกำแพง | 벽에 | byeoge (byeog-e) | pyŏge | pyek ey |
ครัว | 부엌 | bueok (bueok) | puŏk | puekh |
วิกิพีเดีย | 위키백과 (百科) | wikibaekgwa (wikibaeggwa) | wikibaekkwa | wikhi payk.kwa |
ฮันกุล | 한글 | hangeul | han'gŭl | hānkul |
ตัวอักษร | 글자 (字) | geulja | kŭlcha | kulqca |
ความคิดเห็น