ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด

    ลำดับตอนที่ #9 : ประวัตินักวิทยาศาสตร์3

    • อัปเดตล่าสุด 29 ต.ค. 49



    ชาร์ล โรเบิร์ต ดาร์วิน : Charles Robert Darwin
     

    เกิด        วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England)
    เสียชีวิต วันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England)
    ผลงาน
       - ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
                 - เขียนหนังสือชื่อว่า The Original of Species หรือ กำเนิดพืชและสัตว์ต่าง ๆ


            การถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากการเดินทางสำรวจดินแดนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนมต้และมหาสมุทรแปซิฟิกของ
    ดาร์วิน ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศ ลักษณะสัตว์ และพืช รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน
    ในดินแดนต่าง ๆ และที่สำคัญที่สุดในการสำรวจครั้งนี้ คือ การที่มนุษย์ได้ล่วงรู้ความลับทางธรรมชาติที่เกี่ยวกับการวิวัฒนาการ
    ทั้ง ของสัตว์ และของพืช รวมถึงมนุษย์ด้วย โดยดาร์วินกล่าวว่ามนุษย์นั้นมีวิวัฒนาการมาจากลิง ซึ่งเป็นความจริงที่ทุกคนยอมรับ
    มาจนทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่าหากการเดินทางสำรวจโลกครั้งนั้นขาดนักธรรมชาติผู้ยิ่งใหญ่นามว่า ชาร์ล ดาร์วิน สาธารณชนอาจ
    จะไม่มีโอกาสได้รับรู้เรื่องราวมหัศจรรย์เหล่านี้ได้เลย

            ดาร์วินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbvery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ
    (England) ในครอบครัวที่มีฐานะมั่งคั่งและมีชื่อเสียงมากที่สุดครอบครัวหนึ่งของอังกฤษบิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า
    โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน (Robert Waring Darwin) บิดาของดาร์วินต้องการให้เขาศึกษาวิชาแพทย์ เพื่อเป็นแพทย์เช่นเดียวกัน
    แต่ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาไม่ว่าจะวิชาอะไร เขามักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเที่ยวเล่น ยิงนก ตกปลา ไล่จับแมลงชนิดต่าง ๆ
    เพื่อการสะสม และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ พฤติกรรมของดาร์วินสร้างความหนักใจให้กับบิดาของเขาอย่างมาก เนื่องจาก
    เกรงว่าดาร์วินจะนำความเสื่อมเสียมาสู่ตระกูลได้ ดังนั้นบิดาจึงบังคับให้ดาร์วินเรียนวิชาแพทย์ ถึงแม้ว่าดาร์วินจะไม่ต้องการ
    แต่บิดาของเขาก็ยังบังคับให้ดาร์วินเรียนแพทย์จนได้

            ในปี ค.ศ. 1825 พ่อของดาร์วินได้ส่งเขาไปเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (Edinburg University) พร้อมกับ
    พี่ชายของเขา ดาร์วินต้องเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กอย่างเบื่อหน่าย ในระหว่างที่เขานั่นฟังบรรยายก็มักจะนั่งหลับ
    ไม่ก็เหม่อลอยมองออกไปนอกหน้าต่าง อีกทั้งเขายังกลัวการผ่าตัดศพอย่างมากอีกด้วย ทำให้ดาร์วินเรียนอยู่ได้เพียง 2 ปี เท่านั้น
    ก็ต้องลาออกจากมหาวิทยาลัย เมื่อดาร์วินลาออกจากมหาวิทยาลัยเขาก็ออกเที่ยวเตร่และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการยิงนกตกปลา
    พ่อของดาร์วินรู้สึกเป็นห่วงลูกชายคนนี้มากเกรงว่าต่อไปภายหน้าจะลำบาก เพราะไม่มีความรู้พอที่จะประกอบอาชีพได้ ดังนั้นพ่อ
    จึงส่งดาร์วินไปเรียนต่อวิชาเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งดาร์วินก็ไม่ได้ปฏิเสธแต่อย่างใด แต่ก่อนที่จะเรียนศาสนานั้นต้องเรียนให้จบ
    ปริญญาตรีเสียก่อน การ์วินจึงเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) ในระหว่างที่เขาเรียนอยู่ที่
    มหาวิทยาลัยแหงนี้ เขาได้มีโอกาสเขาฟังการบรรยายวิชาธรรมชาติอยู่เสมอซึ่งเป็นสิ่งที่เขาชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งดาร์วิน
    ยังได้ศึกษาหาความรู้ด้านนี้จากตำรา และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญอีก 2 ท่าน คือศาสตราจารย์เฮนสโลว์ (P.Henslow) ผู้เชี่ยวชาญ
    ทางด้านพฤษฏศาสตร์ และศาสตราจารย์เซดจ์วิค (P.Sedgwick) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธรณีวิทยาทั้งสองได้พาดาร์วินออก
    สำรวจตามสถานที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ ซึ่งดาร์วินก็ให้ความสนใจเป็นอย่างดีดาร์วินสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจาก
    มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี ค.ศ. 1829

            แต่ดาร์วินก็ยังคงศึกษาวิชาต่าง ๆ ที่เขาสนใจต่ออีก 1 ปี และในระหว่างปีนี้เองทางราชนาวีอังกฤษมีโครงการจะออกเดินทาง
    สำรวจสภาพภูมิประเทศ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนมต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งยังไม่มีผู้ใดเคยทำการสำรวจ
    มาก่อน โดยจะใช้เรือหลวงบีเกิ้ล (H.M.S.Beagle) เป็นเรือที่ใช้ในการเดินทางสำรวจครั้งนี้ พร้อมกับกับกัปตันวิทซ์รอย
    (Captain Witzroy) เป็นผู้บังคับการเรือ แต่ก่อนจะออกเดินทางกัปตันวิทซ์รอยต้องการนักธรรมชาติวิทยาเดินทางไปกับคณะ
    สำรวจครั้งนี้ด้วย กัปตันได้ประกาศรับอาสาสมัครอยู่เป็นเวลานานก็ไม่มีผู้ใดสนใจเพราะนักธรรมชาติที่จะเดินทางไปกับเรือลำนี้
    จะต้องออกต่าใช้จ่ายในการเดินทางครั้งนี้เองทั้งหมดกัปตันจึงเดินทางไปพบกับศาสตราจารย์เฮนสโลว์ เพื่อขอร้องให้ช่วยหา
    นักธรรมชาติวิทยาให้ศาสตราจารย์เฮนสโลว์จึงนำข่าวนี้มาบอกแก่ดาร์วิน ซึ่งดาร์วินรู้สึกดีใจมากที่จะได้มีโอกาสออกสำรวจ
    ดินแดนที่ยังไม่เคยมีผู้ใดเคยสำรวจมาก่อน อีกทั้งเขาต้องขอค่าใช้จ่ายในการเดินทางในครั้งนี้อีกด้วย เมื่อดาร์วินไปขออนุญาต
    ด้วยความที่เป็นห่วงลูกชาย พ่อเขาจึงไม่อนุญาตให้เดินทางในครั้งนี้ ซึ่งทำให้ดาร์วินรู้สึกเสียใจเป็นอันมาก เขาจึงเดินทางไปหา
    โจเซียร์ เวดจ์วูด (Josiah Wedgwood) ลุงของเขา และเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังเพื่อเป็นการปรับทุกข์ ลุงสงสารเขามาก
    จึงไปพูดขอร้องแทนกับพ่อของดาร์วิน ในที่สุดพ่อเขาก็อนุญาตให้ดาร์วินออกเดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิ้ลได้

            เรือหลวงบีเกิ้ลออกเดินทางจากท่าเรือเมืองดาเวนพอร์ต (Davenport Harbor) เมืองพลายเมาท์ (Plymount) ประเทศ
    อังกฤษในวันที่ 27ธันวาคม ค.ศ. 1831 โดยแล่นเข้ามหาสมุทรแอตแลนติกเลียบไปตามชายฝั่งทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา
    โดยเข้าสู่หมู่เกาะคานาร์ เป็นหมู่เกาะแรกซึ่งห่างจากชายฝั่งทวีปแอฟริกาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 60 ไมล์
    ต่อจากนั้นจึงข้างฝั่งไปยังทวีปอเมริกาใต้เข้าสู่ประเทศบราวิล ที่เมืองเรซิเฟ (Recife) ซัลวาดอร์ (Salavdor) และริโอเดอ
    จาเนโร (Rio de Janeiro) เพื่อสำรวจลุ่มแม่น้ำอะเมซอน (Amazon) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้
    โดยแล่นอ้มไปทางแหลมฮอร์น (Cape Horn) เพื่อเข้าสู่มหาสมุทรแฟซิฟิกตอนใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้เข้า
    สำรวจประเทศซิลี (Chile) เมืองวาลปาเรส (Valparais) เรือบีเกิ้ลแล่นเรียบชายฝั่งไปจนถึงประเทศเปรู ซึ่งระหว่างทางเรือ
    ได้แวะตามเกาะต่าง ๆ มาโดยตลอด เมื่อสำเรวจประเทศเปรูเสร็จ เรือบีเกิ้ลออกเดินทางไปยังเกาะตาฮิติ (Tahiti Island)
    ต่อจากนั้นก็เดินทางสำรวจต่อไปยังตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ เข้าสู่ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand) ต่อจากนั้นก็
    เข้าสู่เกาะแทสมาเนีย (Tasmania Island) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะออสเตรเลีย และเข้าสำรวจประเทศออสเตรเลีย
    ในเวลาต่อมา หลังจากเรือได้เดินทางเพื่อเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ผ่านเกาะสุมาตราและชวา เข้าสู่แหลมมะละกา (Malaga Cape)
    จากนั้นจึงเข้าสู่เกาะมอริเทียส (Mauritius Island) ซึ่งตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย และเดินทางต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงเมือง
    ปอร์ต หลุยส์ (Port Louis) ผ่านแหลมกูดโฮป (Cape of Good Hope) เข้าสู่เกาะเซนต์เฮเลนา (St. Helena) และเข้าสู่
    ประเทศบราซิลอีกครั้งหนึ่ง ที่เมืองเปอร์นัมบูโก (Pernumbugo) ต่อจากนั้นเรือบีเกิ้ลได้เข้าจอดที่อ่าวเปอร์โต ปาร์ยา (Porto
    Praya) ในหมู่เกาะเคปเวิร์ด (Cape de Verd) และแวะที่เมืองอาโซส (Azores) เป็นแห่งสุดท้ายก่อนเข้าจอดเทียบท่า
    ที่เมืองฟอลมัธ (Falmouth) เมืองท่าทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ

            การเดินทางครั้งนี้ดาร์วินต้องเผชิญกับอาการเมาคลื่น และอาการเจ็บป่วยอยู่ตลอดวเลาเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
    อย่างรวดเร็วในแต่ละวัน อีกทั้งอากาศที่แตกต่างไปจากที่ดาร์วินคุ้นเคย ถึงอย่างนั้นเขาก็ไม่เคยท้อแท้ จากการเดินทางครั้งนี้เขา
    มีโอกาสได้พบเห็นพิช สัตว์สภาพภูมิประเทศที่แปลกตา รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไป เช่น เมื่อเรือบีเกิ้ล
    เดินทางไปถึงหมู่เกาะเคปเวิร์ด และจอดที่ท่าเรือเมืองปราเวีย (Pravia) ดาร์วินได้พบกับพืชเขตร้อนที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน
    เช่น กล้วยหอม ปาล์ม และต้นมะขาม เป็นต้น อีกทั้งเขายังได้เห็นหินสีขาวที่แข็งมาก และจากการวิเคราะห์ดาร์วินสรุปว่า
    หินสีขาวนี้เกิดจากซากหอย และปะการังจากทะเล ซึ่งต่อมาถูกลาวาไหลลงมาทับอีกชั้นหนึ่ง ทำให้หินมีความเข็งมากเป็นพิเศษ
    ต่อจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ทำให้หินสีขาวดันขึ้นมาอยู่เหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 45 ฟุต

            ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส ซึ่งประกอบไปด้วยเกาะถึง 14 เกาะ ในจำนวนนี้มี 5 เกาะ เป็นเกาะขนาดใหญ่
    ซึ่งเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวมากถึง 45 ไมล์จากการสำรวจดาร์วินพบว่าเกาะเหล่านี้เกิดจากหินลาวาของภูเขาไฟ
    ซึ่งบนเกาะแต่ละเกาะจะมีภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่มีความสูงถึง 3,000 - 4,000 ฟุต สภาพโดยทั่วไปของหมู่เกาะกาลาปาโกลแห้งแล้ง
    และกันดาร อีกทั้งมีสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษอาศัยอยู่ทั่วไปได้แก่ เต่าที่มีน้ำหนักมากถึง 200 ปอนด์ เส้นผ่านศูนย์กลางของกระดอง
    ยาวประมาณ 7 ฟุต และมีอายุมากประมาณ 300 - 400 ปี ซึ่งเตาขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นที่มาของชื่อเกาะกาลาปาโกส เพราะในภาษา
    สเปนกาลาปาโกสแปลว่าเต่ายักษ์ อีกอย่างหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับดาร์วิน คือ กิ้งก่ายักษ์จำนวนมากบริเวณชายฝั่งทะเล
    ซึ่งมีขนาดลำตัวยาถึง 4 ฟุต ส่วนพืชบนเกาะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหญ้า ส่วนไม่ยืนต้นก็มีอยู่บ้างและจำนวนน้อย การเดินทางของ
    ดาร์วินยังพบกับสิ่งแปลกประหลาดจำนวนมาก ซึ่งล้วนสร้างความตื่นเต้นให้กับดาร์วินแทบทั้งนั้น ดาร์วินได้จดบันทึกทุกเรื่องใน
    การเดินทางครั้งนี้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิอากาศในแต่ละวัน แต่ละสถานที่ สภาพภูมิประเทศ อีกทั้งพันธุ์พืช และสัตว์ ที่เขาได้พบทุกชนิด นอกจากนี้ดาร์วินยังได้เก็บซากพืช ซากสัตว์ เช่น แมลง เปลือกหอย และหิน ไว้เป็นจำนวนมาก บางส่วนดาร์วิน
    ได้ส่งมาเก็บไว้ที่บ้านพักในประเทศอังกฤษทางพัสดุไปรษณีย์ แต่บางชิ้นมีขนาดใหญ่ไม่สามารถเก็บมาได้ ดาร์วินจะวาดภาพไว้
    อย่างละเอียด โดยภาพที่เขาวาดจะมีสัดส่วนเหมือนจริงทุกประการ และเมืองดาร์วินเดินทางมาถึงเกาะสุมาตรา และเกาะชวา
    เขาได้พบกับพืชเขตร้อนเช่นเดียวกับที่พบที่เมืองปราเวีย คือ กล้วยหอม และมะพร้าว นอกจากนี้ดาร์วินยังได้พบกับแมลงปีกแข็ง
    และเขาสามารถรวบรวพันธ์ของแมงมุมบนเกาะแห่งนี้ได้ถึง 13 พันธ์ นอกจากนี้แล้ว ดาร์วินยังได้พบกับนก และสัตว์แปลก ๆ
    อีกหลายชนิด

            เรือบีเกิ้ลใช้เวลาในการเดินทางครั้งนี้ทั้งหมด 5 ปี โดยถึงประเทศอังกฤษในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1836 เมื่อดาร์วินกลับบ้าน
    เขาก็ยังหมกหมุ่นอยู่กับการศึกษาแยกหมวดหมู่ ให้กับซากพืช ซากสัตว์ ที่เขาเก็บมา และในปีเดียวกันนี้ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงาน
    ของเขาออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า A Naturalist's Voyage Around the World ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพบเห็น
    มาตลอดระยะเวลา 5 ปี ในการเดินทางสำรวจโลกไปกับเรือบีเกิ้ล

            และจากผลงานชิ้นนี้ ดาร์วินได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการธรณีวิทยาสมาคม (Geological Society) ในปี
    ค.ศ. 1838 และต่อมาในปี ค.ศ. 1842 ดาร์วินได้ย้ายไปอยู่ที่มณฑลเคนท์ (Kent) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุง
    ลอนดอน ในระหว่างที่เขาพำนักอยู่ที่นี่ดาร์วินได้ทำการศึกษาค้นคึว้าเกี่ยวกับธรรมชาติ พร้อมกับตีพิมพ์ผลงานออกมาอีก 1 เล่ม
    ชื่อว่า The Structure and Distribution of Coral Reef ต่อมาอีก 2 ปี ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีก 1 เล่มชื่อว่า
    Geological Observations of South America และในปี ค.ศ. 1846 ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีกเล่ม ชื่อว่า
    Geological Observation on Volcanic Island หนังสือทั้ง 3 เล่มนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางของดาร์วิน
    ในการสำรวจโลกกับเรือบีเกิ้ล หลังจากนั้นดาร์วินมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเพรียง ซึ่งเขาเก็บมาจากชายฝั่งประเทศซิลี เมื่อครั้งที่
    เขาเดินทางนั่นเอง ดาร์วินได้ศึกษาลักษณะทางกายภาพของเพรียงอย่างละเอียด โดยการผ่าตัดดูเพรียงทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต
    จากการศึกษาเพรียงดาร์วินได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเพรียงถึง 4 เล่ม

            จากเรื่องเพรียง ดาร์วินได้หันมาให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตโดยเขามีแรงบันดาลใจมาจาก
    ซากฟอสซิล (Fossil) ดาร์วินใช้เวลาในการค้นคว้าเรื่องนี้นานกว่า 20 ปี เขารวบรวมข้อมูลเพื่อค้นหาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
    ดาร์วินศึกษาสิ่งมีชีวิตหลายชนิดทั้งคนม้า สุนัข และลิง เป็นต้น จากการ้นคว้าเขาสามารถสรุปและตั้งเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการได้ว่า
    สิ่งมีชีวิตในปัจจุบันนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในอดีต ต่อมาในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ดาร์วินได้ตีพิมพ์
    เผยแพร่ผลงานออกมาเล่มหนึ่งมีชื่อว่า The Original of Species หรือ กำเนิดพืชและสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งมีเนื้อหาอธิบายถึง
    กำเนิดของสิ่งมีชีวิต รวมถึงวิวัฒนาการจากรูปแบบหนึ่งมาสู่รูปแบบหนึ่งด้วย ซึ่งมีผลมาจากสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ คือ
    เมื่อสภาพแวดล้อมเป็นเช่นไร สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจำเป็นต้องปรับสภาพให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้น
    เพื่อชีวิตที่จะคงอยู่ต่อไป โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องใช้ระยะเวลาอันยาวนานจะเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างทางร่างกายและลักษณะ
    นิสัย การวิวัฒนาการเช่นนี้ดาร์วินเรียกว่า "การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)" นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้
    ยังอธิบายเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ว่ามาจากลิง เมื่อหนังสือของดาร์วินได้รับการเผยแพร่ออกไป ปรากฏว่าถูกคัดค้านจากพวก
    เคร่งศาสนาอย่างหนัก บางคนถึงกับว่ากล่าวดาร์วินอย่างรุนแรงว่าเป็นพวกนอกศาสนา นอกรีต แม้แต่กัปตันเรือบีเกิ้ลซึ่งทั้งสอง
    เคยร่วมเดินทางสำรวจด้วยกันเป็นเวลานานถึง 5 ปี ก็ได้ว่ากล่าวดาร์วินอย่างรุนแรงเช่นกัน เหตุการณ์เป็นเช่นนี้เพราะคนเหล่านี้
    มีความเชื่อว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนแต่พระเจ้าสร้างมา ซึ่งมีรูปแบบเช่นนี้มาตั้งแต่แรก แต่ต่อมาไม่นานนักคนเหล่านี้ก็ให้การ
    ยอมรับทฤษฎีข้อนี้ สำหรับวงการวิทยาศาสตร์ และประชาชนส่วนใหญ่ต่างก็ยอมรับในทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน ตั้งแต่
    ครั้งแรกที่มีการเผยแพร่ออกมา ดาร์วินพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับธรรมชาติออกมาอีกหลายเล่ม ได้แก่
            - ค.ศ. 1862 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Fertilization of Orchids
            - ค.ศ. 1868 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Variation of Animal and Plants under Domestication
            - ค.ศ. 1871 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Descent of Man and Selection in Relation to Sea
            - ค.ศ. 1872 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Expression of the Emotion in Man and Animal
            - ค.ศ. 1875 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Effect of Cross and Self - Fertilization in the Vegetable Kingdom
            - ค.ศ. 1877 พิมพ์หนังสือชื่อว่า Different Forms of Flower and Plant of The Same Species
            - ค.ศ. 1880 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Power of Movement in Plants
            - ค.ศ. 1881 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Formation of Vegetable Mould Through The Action of Worms
              ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายก่อนที่ดาร์วินจะเสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารเวสเตอร์
    ผลงานของดาร์วินที่เขาได้ถ่ายทอดลงในหนังสือของเขา ล้วนแต่เป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งทางชีววิทยา และ
    มนุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา

    เอ็ดเวิร์ก เจนเนอร์ : Edward Jenner
     

    เกิด        วันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1749 ที่เมืองเบิร์กเลย์ (Berglay) ประเทศอังกฤษ (England)
    เสียชีวิต วันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1823 ที่เมืองเบิร์กเลย์ (Berglay) ประเทศอังกฤษ (England)
    ผลงาน   - ค้นพบวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ (Small Pox)


    ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 เป็นยุคที่ผู้คนต้องเผชิญหน้ากับโรคระบาดที่ร้ายแรงทั้งหลายโดยเฉพาะโรคไข้ทรพิษเป็นโรค
    ที่คร่าชีวิตคนไปจำนวนมาก เพราะโรคไข้ทรพิษเป็นโรคระบาดที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เมื่อผู้ใดป่วยด้วยโรคนี้ก็หาทางรอด
    ชีวิตได้ยาก ถึงแม้ว่าจะรอดชีวิตก็อาจจะตาบอด และมีแผลที่เป็นที่น่าเกลียดติดตัวไปตลอดชีวิต โรคไข้ทรพิษเป็นโรคที่ระบาด
    ทั่วไปทั้งในเอเชีย ยุโรป และในอเมริกา ากรายงานฉบับหนึ่งรายงานว่าเฉพาะในประเทศเยอรมนีประเทศเดียวมีคนเสียชีวิต
    ด้วยโรคนี้ถึง 30,000 คนต่อปี แต่ในที่สุดโรคร้ายนี้ก็ถูกสยบลงด้วยความสามารถและความพยายามของนายแพทย์ชาวอังกฤษ
    นามว่า เอ็ดเวิร์ค เจนเนอร์ เขาได้พบวิธีปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคไข้ทรพิษ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผู้คนก็ไม่ต้องหวาดกลัวกับโรค
    ร้ายแรงชนิดนี้อีกต่อไป

            เจนเนอร์เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1749 ที่เมืองเบิร์กเลย์ ประเทศอังกฤษ บิดาของเขาเป็นนักบวช เจนเนอร์เป็นเด็ก
    ฉลาดและช่างสังเกต เขาได้ประดิษฐ์บอนลูนที่สามารถลอยขึ้นท้องฟ้าได้ แต่ไม่มีใครเชื่อว่านั้นคือสิ่งประดิษฐ์ แต่คิดว่าเกิดจากฝี
    ที่สิงอยู่ในบอลลูน เมื่อจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว เข้าได้เขาศึกษาต่อในวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเมืองบริสตอล ในปี ค.ศ. 1773
    เมื่อเจนเนอร์สำเร็จการศึกษาเขาได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ฝึกหัดกับศัลยแพทย์ประจำเมืองเบิร์กเลย์บ้านเกิดของเขานั่นเอง ต่อมา
    เจนเนอร์ได้เดินทางไปยังกรุงลอนดอน เพื่อศึกษาวิชาแพทย์กับศัลยแพทย์ผู้มีชื่อเสียงนามว่า จอห์น ฮันเตอร์ (John Hunter)
    หลังจากจบการศึกษาแล้วเจนเนอร์ได้เปิดคลีนิคส่วนตัวที่กรุงลอนดอนนั่นเอง

             ต่อมาในปี ค.ศ. 1792 เจนเนอร์เริ่มการค้นคว้าเกี่ยวกับโรคไข้ทรพิษ ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักอยู่ในทวีปยุโรป รวมถึง
    ประเทศอังกฤษ มีผู้คนที่ต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นเด็ก วันหนึ่งเขาสังเกตเห็นว่า หญิงรีดนมวัวที่ป่วย
    เป็นโรคฝีดาษวัว (Cow Pox) ซึ่งเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่มีแผลพุพองตามตัว แต่หญิงรีดนมวัวเหล่านี้ไม่มีผู้ใดป่วยเป็นโรค
    ไข้ทรพิษแม้แต่สักคนเดียว มีเพียงพุพองนิดหน่อยเท่านั้น เจนเนอร์จึงเกิดความคิดว่าถ้านำน้ำหนองในแผลของหญิงรีดนมวัวชื่อว่า
    ซาราห์ เนลเมส (Sarah Nelmes) มาสกัดเป็นวัคซีน โดยการทำให้เชื่ออ่อนตัวลง เมื่อเจนเนอร์สามารถสกัดวัคซีนได้แล้ว
    เขาได้นำวัคซีนไปทดลองกับสัตว์หลายชนิดจนกระทั่งในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1796 เจนเนอร์ได้นำวัคซีนนั้นมาฉีดให้กับ
    เจมส์ฟีพส์ (James Phipps) เด็กชายวัย 8 ขวบ โดยการกรีดผิวหนังที่แขนของเจมส์จนเป็นแผล จากนั้นจึงนำหนองฝีวัวใส่
    ลงไป และถือว่านี้คือครั้งแรกของโลกที่มีการปลูกฝีขึ้น ปราฏกว่าเจมส์ป่วยเป็นไข้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น หลังจากนั้นอีกประมาณ
    2 เดือน เจนเนอร์ได้นำเชื้อไข้ทรพิษมาฉีดให้กับเจมส์ ปรากฏว่าเจมส์ไม่ป่วยเป็นโรคไข้ทรพิษ เจนเนอร์ได้ทดลองวัคซีนของเขาอีก
    หลายครั้งจนมั่นใจว่าวัคซีนของเขาสามารถป้องกันโรคไข้ทรพิษได้

            เมื่อการทดลองของเขาประสบความสำเร็จ และได้ปรับปรุงวัคซีนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อมาในปี ค.ศ. 1798 เขาได้นำ
    รายงานผลการทดลงส่งให้กับทางราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London) แต่ปรากฏว่าทางราชสมาคม
    ไม่สนใจผลงานของเขาแม้แต่น้อย อีกทั้งยังส่งผลงานเขากลับคืนมาอีกด้วย แต่ถึงอย่างนั้นเจนเนอร์ก็ไม่สนใจ เขาได้ตีพิมพ์ผลงาน
    ของเขาด้วยเงินทุนส่วนตัว และใช้ชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า An Inquiry into theCauses and Efects of the Variolae
    Vaccine มีจำนวน 75 หน้า ภายในหนังสือเล่มนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้ทรพิษ โดยการปลูกฝีที่สกัดจากน้ำหนอง
    ของผู้ป่วยโรคฝีดาษวัว เมื่อผลงานของเขาได้เผยแพร่ออกไป ปรากฏว่าถูกคัดค้านจากวงการแพทย์และเห็นว่าเป็นเรื่องตลก
    หลอกหลวงเนื่องจากเหตุการณ์เคยเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งที่มีสตรีในกรุงคอนสแตนติโนเปิลนามว่า แมรี่ เวิทลีย์ มอนตากูว์เกิดความ
    คิดว่าการป้องกันโรคไข้ทรพิษน่าจะใช้เชื่อไข้ทรพิษนั่นแหละ ดังนั้นเธอจึงนำลูก ๆ ของเธอไปให้นายแพทย์ผู้หนึ่งปลูกฝีให้ และ
    ลูก ๆ ของเธอก็บังเอิญไม่ป่วยเป็นโรคไข้ทรพิษและเนื่องจากเธอไม่ได้เป็นแพทย์ หรือมีความเกี่ยวกับวิชาการแพทย์ เธอจึงนำเรื่องนี้
    มาบอกแก่แพทย์ชาวอังกฤษผู้หนึ่งในกรุงลอนดอน ซึ่งแพทย์ผู้นี้ก็เห็นดีด้วยจึงได้นำเชื้อไข้ทรพิษมาทำวัคซีนผลปรากฏว่าผู้ที่มา
    ปลูกฝี กลับป่วยเป็นโรคไข้ทรพิษและเสียชีวิตต่อมา แต่ผลงานของเจนเนอร์ประชาชนส่วนหนึ่งกลับเชื่อถือและพากันมาให้เขาปลูกฝี
    ปรากฏว่าการปลูกฝีของเจนเนอร์สามารถป้องกันโรคไข้ทรพิษได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้คนเสียชีวิตด้วยโรคไข้ทรพิษน้อยลง ผู้คนเชื่อ มั่นในตัวเจนเนอร์มากขึ้น หลังจากนั้นไม่นาน เจนเนอร์ ก็ได้รับการยอมรับจากทุกคน

             และจากผลงานของเขาชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1800 ทางรัฐสภาของประเทศอังกฤษได้รับรองผลการทดลอง และวัคซีนที่เขาผลิตขึ้น
    พร้อมมอบเงินให้กับเจนเนอร์ถึง 10,000 ปอนด์ เพื่อใช้ในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ต่อมาอีก 5 ปี เจนเนอร์ได้รับเงินทุน
    สนับสนุนอีก 20,000 ปอนด์ เพื่อใช้ในการค้นคว้าเรื่องวัคซีนต่อไป

             เจนเนอร์ยังทำงานค้นคว้าเกี่ยวกับวัคซีนต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1823 ที่เมืองเบิร์กเลย์
    ประเทศอังกฤษ หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วทางรัฐบาลได้สร้างอนุสาวรีย์ที่จัตุรัสฟอลการ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการช่วยชีวิตของ
    มนุษย์ให้พ้นจากโรคร้ายแรงนี้ได้

    มาดาม มารี คูรี่ : Madam Marie Curie
     

    เกิด        วันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.1867 ที่เมืองวอร์ซอร์ (Warsaw) ประเทศโปแลนด์ (Poland)
    เสียชีวิต วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1934 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศษ (France)
    ผลงาน   - ค้นพบธาตุเรเดียม
                 - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1903 จากผลงานการพบธาตุเรเดียม
                 - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์อีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ.1911 จากผลงานการค้นคว้าหาประโยชน์จากธาตุเรเดียม

               โรคมะเร็งเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ของโรคทั้งหมด ทั้งที่โรคมะเร็งไม่ใช่โรคติดต่อ หรือโรคระบาด
    ร้ายแรงอะไรเลย แต่นั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ สาเหตุที่ทำให้คนต้องเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ก็เพราะว่า โรคมะเร็งเป็นโรคที่ไม่สามารถ
    รักษาให้หายได้ หากปล่อยให้ลุกลามไปถึงระยะสุดท้ายแล้ว แต่ถ้าเป็นระยะแรกก็อาจจะรักษาได้ด้วยการแายรังสีเรเดียม และ
    นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบธาตุชนิดนี้ก็คือ มารี คูรี่ ไม่เฉพาะโรคมะเร็งเท่านั้นที่เรเดียมรักษาได้ เรเดียมยังสามารถรักษาโรค
    ผิวหนังบางชนิดได้ และเนื้องอกได้อีกด้วย

               มารีเกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.1867 ที่กรุงวอร์ซอร์ ประเทศโปแลนด์ ก่อนที่เธอจะสมรสกับปิแอร์ คูรี่เธอชื่อว่า
    มารียา สโคลดอฟสกา (Marja Sklodowska) บิดาของเธอชื่อว่า วลาดิสลาฟ สโคลดอฟสกา เป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์
    และคณิตศาสตร์อยู่ที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในกรุงวอร์ซอร์ บิดาของเธอมักพาเธอไปห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน
    ด้วยเสมอ ทำให้เธอมีความสนใจวิชาวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก ต่อมารัสเซียได้เข้ามายึดโปแลนด์ไว้เป็นเมืองขึ้น อีกทั้งกดขี่ข่มเหง
    ชาวโปแลนด์ และมีคำสั่งให้ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวเท่านั้นเพื่อป้องกันการก่อกบฏ ทำให้ครอบครัวของ
    มารีและชาวโปแลนด์ต้องได้รับความลำบากมากทีเดียว

              หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว มารีได้เข้าทำงานเป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง และรับสอนพิเศษให้กับ
    เด็ก ๆ แถวบ้าน มารีและพี่สาวของเธอบรอนยา ซึ่งเป็นครูในโรงเรียนอนุบาลเช่นเดียวกัน ทั้งสองมีความตั้งใจว่าถ้าเก็บเงินได้มาก
    พอเมื่อใดจะไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส แต่รายได้เพียงน้อยนิด ทำให้ทั้งสองต้องเก็บเงินอยู่เป็นเวลานานก็ยังไม่พอ ดังนั้นทั้งสอง
    จึงตกลงกันว่าจะนำเงินเก็บมารวมกัน โดยให้บรอนยาไปเรียนต่อแพทย์ก่อน เมื่อบรอนยาเรียนจบ แล้วหางานทำจึงส่งมารีไป
    เรียนต่อวิทยาศาสตร์บ้าง ดังนั้นบรอนยาจึงเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศสเพื่อเข้าศึกษาต่อในวิชาแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยปารีส
    (Paris University) หลังจากเรียนจบบรอนยาได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับมารี ในปี ค.ศ.1891 มารีได้เดินทางไปยังประเทศ
    ฝรั่งเศส เพื่อศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปารีส มารีต้องใช้ความอดทนและพยายามอย่างมากในการอยู่ที่ปารีส
    เพราะเงินที่บรอนยาส่งมาให้ใช้จ่ายน้อยมาก เพียงพอต่อค่าห้องพักและค่าอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนเสื้อผ้ามารีไม่มีเงินเหลือ
    พอที่หาซื้อมาใส่ให้ร่างกายอบอุ่นได้ ทำให้เธอเจ็บป่วยอยู่บ่อยครั้ง แต่ถึงอย่างนั้นมารีก็ยังใช้เวลาส่วนใหญ่กับการอ่านหนังสือ
    และด้วยเหตุนี้ทำให้เธอได้มีโอกาสได้พบกับปิแอร์ คูรี่ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมห้องทดลองและอาจารย์สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยปารีส
    ด้วยความที่ทั้งสองมีชีวิตที่คล้าย ๆ กัน และมีความรักในวิชาวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน ปิแอร์และมารีตกลงใจแต่งงานกันในปี
    ค.ศ.1895 และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จนกระทั่งปิแอร์เสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1906 จากอุบัติเหตุรถชน

             ในระหว่างนั้นมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านทำการทดลองและค้นพบรังสีหลายชนิด เช่น ในปี ค.ศ.1879 วิเลี่ยม ครุกส์
    (William Crooks) พบรังสีคาโทด (Cathode Ray) ในปี ค.ศ.1895 วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน (Wilheim Konrad
    Roentgen) ค้นพบรังสีเอกซ์ (X- ray) และอังตวน อังรี เบคเคอเรล (Anton Henri Becquere) ซึ่งเป็นเพื่อนสนิท
    ของปิแอร์ และมาได้ค้นพบกัมมันตภาพรังสีจากแร่ยูเรเนียม จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์หลายท่านทำให้มารีมีความคิด
    ที่จะทดลองหากัมมันตภาพรังสีจากแร่ชนิดอื่นบ้าง การทดสอบหารังสียูเรเนียมทำได้โดยการนำธาตุมาบดให้ละเอียด แล้วนำ
    มาโรยใส่แผ่นฟิล์มถ่ายรูป แต่ต้องทำให้ห้องมืด เพื่อไม่ให้แสงโดนฟิล์ม จากนั้นจึงนำไปล้างถ้าปรากฏจุดสีดำบนแผ่นฟิล์ม
    แสดงว่าธาตุชนิดนั้นสามารถแผ่รังสีได้ นอกจากนี้ยังสามารถทดสอบได้จากเครื่องแสดงกำลังประจุไฟฟ้า (Electroscope)
    มารีได้ร่วมมือกับสามีของเธอคือ ปิแอร์ คูรี่ ทำการค้นหารังสียูเรเนียมจากธาตุชนิดอื่น มารีได้นำธาตุเกือบทุกชนิดมาทำการทดสอบ
    หารังสียูเรเนียม ทั้งธาตุที่มีสารประกอบยูเรเนียมผสมอยู่ และธาตุที่ไม่มียูเรเนียมผสมอยู่ จากการทดสอบทั้งสองพบว่า
    ธาตุที่เป็นสารประกอบยูเรเนียมสามารถแผ่รังสียูเรเนียมได้ แต่ก็ให้กำลังน้อยมากอีกทั้งการสกัดยูเรเนียมออกมาก็ทำได้ยาก
    แต่มารีก็ยังไม่ละความพยายามเธอยังค้นหาและแยกธาตุชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย มารีใช้เวลานานหลายปีในการทดสอบแร่
    และในที่สุดเธอก็พบว่าในแร่พิทซ์เบลนด์ (Pitchblende) ซึ่งเป็นออกไซด์ชนิดหนึ่งของแร่ยูเรเนียม และสามารถ
    แผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมหลายเท่า แต่การที่แร่พิทซ์เบลนด์สามารถแผ่รังสีได้ น่าจะมีธาตุชนิดอื่นผสมอยู่ มารีตั้งชื่อธาตุชนิด
    นี้ว่า เรเดียม (Radium)

             มารีได้นำผลงานการค้นพบธาตุเรเดียมมาทำวิทยานิพนธ์สำหรับรับปริญญาเอก เมื่อคณะกรรมการพิจารณารายงานของเธอ พร้อมกับซักถามเกี่ยวกับรายงานอย่างละเอียด คณะกรรมการได้ลงมติให้รายงานของเธอผ่านการพิจารณา ทำให้เธอได้รับปริญญา
    เอกจากผลงานชิ้นนี้เองปิแอร์ และมารีได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเรเดียมต่อไปเพื่อแยกธาตุเรเดียมออกจากแร่พิทซ์เบลนด์ให้ได้
    แต่ทั้งสองก็ต้องพบกับอุปสรรคมากมาย ตั้งแต่ห้องทดลองที่คับแคบ อีกทั้งเครื่องมือในการทดลองก็เก่า และล้าสมัย รวมถึงใน
    ขณะนั้น มารีได้ให้กำเนิดบุตรสาวคนแรก ทำให้ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายอีกด้วย แต่ทั้งสองก็ยังคงพยายาม
    แยกเรเดียมให้บริสุทธิ์ ซึ่งก็ยังมีโชคดีอยู่บ้างที่ทางมหาวิทยาลัยปารีสได้อนุญาตให้ทั้งสองใช้ห้องหนึ่งที่อยู่ใกล้ ๆ กับห้องทดลอง
    เป็นสถานที่แยกเรเดียมได้

             ดังนั้นในปี ค.ศ.1898 ทั้งสองจึงเริ่มทำการค้นคว้าหาวิธีแยกเรเดียมอย่างจริงจัง โดยมารีได้สั่งซื้อเรเดียมจากออสเตรีย
    จำนวน 1 ตัน เพื่อใช้สำหรับการทดลอง ทั้งสองพยายามแรกแร่เรเดียมด้วยวิธีการต่าง ๆ หลายวิธี เช่น ใช้สารเคมี บดให้ละเอียด
    แล้วนำไปละลายน้ำ แยกด้วยไฟฟ้าและใช้เครื่องแสดงกำลังประจุไฟฟ้าบางชนิด เป็นต้น ในที่สุดทั้งสองก็พบวิธีการแยกเรเดียม
    บริสุทธิ์ ได้สำเร็จในปี ค.ศ.1902 และเรียกเรเดียมบริสุทธิ์นี้ว่า "เรเดียมคลอไรด์ (Radium chloride)" เรเดียมบริสุทธิ์นี้
    สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมถึง 2,000,000 กว่าเท่า ในขณะที่แร่ พิทช์เบลนด์แผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเดียมเพียง 4 เท่า
    เท่านั้น อีกทั้งเรเดียมบริสุทธิ์ยังมีสมบัติสำคัญอีกหลายประการ ได้แก่ สามารถให้แสงสว่าง และความร้อนได้ นอกจากนี้เมื่อ
    เรเดียมแผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี และสามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับเรเดียม

              ต่อมาในระหว่างที่ปิแอร์ทำการทดลองเกี่ยวกับธาตุเรเดียมอยู่นี้ บังเอิญรังสีโดนผิวหนังของปิแอร์ ทำให้เกิดอาการปวดแสบ
    ปวดร้อนบนผิวหนังบริเวณนั้นอีกทั้งยังมีรอยแดงเกิดขึ้น แม้ปิแอร์จะตกใจเมื่อเห็นเช่นนั้นแต่ด้วยความอยากรู้ เขาจึงทำการค้นคว้า
    ทดลองเกี่ยวกับเรเดียมที่มีผลกระทบต่อผิวหนัง จากการค้นคว้าทดลองปิแอร์สรุปได้ว่าเรเดียมสามารถรักษาโรคผิวหนังและโรค
    มะเร็งได้ ทั้งสองได้นำผลงานชิ้นนี้ออกเผยแพร่ให้กับสาธารณชนได้รับรู้ และจากผลงานชิ้นนี้ทั้งสองได้รับมอบรางวัลจากสมาคม
    วิทยาศาสตร์หลายแห่ง ได้แก่ เหรียญทองเดวี่ จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน และ ค.ศ.1903 ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขา
    ฟิสิกส์ รวมกับเบคเคอเรลผู้ค้นพบรังสีจากธาตุยูเรเนียม นอกจากนี้ทั้งสองยังได้รับเงินสนับสนุนจากสภาวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส
    ในการจัดซื้อแร่พิทช์เบลนด์ ซึ่งทั้งสองเหมาะสมที่จะได้รับรางวัลเหล่านี้เป็นที่สุด เพราะแม้ว่าการแยกแร่เรเดียมออกจากธาตุ
    พิทช์เบลนด์จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้เวลาในการค้นหานานถึง 4 ปี ก็ตาม แต่ทั้งสองก็ไม่ได้นำผลงานชิ้นนี้ไปจด
    ทะเบียนสิทธิบัตร อีกทั้งยังเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับรู้อย่างละเอียดทุกขั้นตอน ในปี ค.ศ.1906 ปิแอร์ได้ประสบอุบัติเหตุรถชน
    ทำให้เสียชีวิตทันที นำความเศร้าโศกเสียใจมาสู่มารีเป็นอันมาก แต่เธอก็ไม่ได้ละทิ้งการทดลองวิทยาศาสตร์

             ต่อมามหาวิทยาลัยปารีสได้อนุมัติเงินก้อนหนึ่งให้กับมารี ในการจัดสร้างสถาบันเรเดียม พร้อมกับอุปกรณ์อันทันสมัย เพื่อทำ
    การทดลองค้นคว้าและแยกธาตุเรเดียม สำหรับประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป จากการค้นคว้าเกี่ยวกับธาตุเรเดียมอย่างจริงจังในปี
    ค.ศ.1911 มารีได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์อีกครั้งหนึ่งจากผลงานการค้นคว้าหาประโยชน์จากเรเดียมเพิ่มเติม มารีได้ออกแบบ
    สถาบันแห่งนี้ด้วยตัวของเธอเอง สถาบันแห่งนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1914 ถึงแม้ว่าจะมีห้องทดลองและอุปกรณ์ที่ทันสมัยแล้ว
    แต่ก็มีเหตุที่ทำให้การทำงานต้องหยุดชะงัก เพราะได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทำให้ผู้ช่วยและคนงานที่ทำงานในสถาบัน
    เรเดียม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชายต้องถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เมื่อเป็นเช่นนั้นมารีจึงสมัครเข้าร่วมกับอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือทหาร
    ที่บาดเจ็บ อีกทั้งยังนำความรู้ไปใช้ในงานครั้งนี้ด้วย เธอจัดตั้งแผนกเอกซเรย์เคลื่อนที่ขึ้น เพื่อตระเวนรักษาทหารที่บาดเจ็บตาม
    หน่วยต่าง ๆ มารีได้รักษาทหารที่บาดเจ็บด้วยรังสีเอกซ์มากกว่า 100,000 คน

             หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สงบลง มารีได้กลับมาทำงานอีกครั้งหนึ่ง และผลจากการทดลองค้นคว้าเรเดียมทำให้เธอ
    ได้รับผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสีของเรเดียม ทำให้ไขกระดูกเธอถูกทำลาย และเสียชีวิตในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1934

    จอร์จ ไซมอน โอห์ม : George Simon Ohm
     


    เกิด        วันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1787 ที่เมืองเออร์แลงเกนประเทศเยอร์มนี
    เสียชีวิต วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1854 ที่เมืองมิวนิคประเทศเยอรมนี
    ผลงาน
      - ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า
                 - ตั้งกฎของโอห์ม (Ohm's Law)


            โอห์มเกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1787 ที่เมืองเออร์แลงเกน ประเทศเยอรมนี บิดาของเขาชื่อว่า โจฮัน โอห์ม (John
    Ohm) มีอาชีพเป็นช่างทำกุญแจ และปืน แม้ว่าฐานะทางครอบครัวของเขาจะค่อนข้างยากจน ถึงอย่างนั้นโอห์มก็ขวนขวายหา
    ความรู้อยู่เสมอ โอห์มเข้าเรียนขั้นต้นในโรงเรียนรีลสคูลในแบมเบิร์ก หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว โอห์มได้เข้าศึกษาเกี่ยวกับ
    วิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองเออร์แลงเกน (University of Erlangen) แต่เรียนอยู่ได้เพียงปี
    กว่า ๆ เท่านั้นเขาก็ลาออก เพราะขาดทุนทรัพย์ จากนั้นโอห์มได้สมัครงานเป็นครูสอนหนังสือที่ Gattstodt ในเมืองเบิร์น (Bern)
    ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมาโอห์มได้เข้าศึกษาต่ออีกครั้งหนึ่ง และได้รับปริญญาเอกทางคณิตศาสตร์ แต่เขาก็ยังคงทำงาน
    อยู่ที่โรงเรียนแห่งนั้นจนกระทั่วปี ค.ศ. 1817 โอห์มได้รับเชิญจากพระเจ้าเฟรดเดอริคแห่งปรัสเซีย (King Frederick of
    Prussia) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ ประจำวิทยาลัยจีสุท (Jesuit College) แห่งมหาวิทยาลัย
    โคโลญ (Cologne University) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

            ต่อมาในปี ค.ศ. 1822 นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โจเซฟ ฟอร์เรอร์ (Joseph Fourier) ได้เผยแพร่ผลงานออกมา
    เล่มหนึ่ง ชื่อว่า การไหลของความร้อน (Analytic Theory of Heat) ภายในหนังสือเล่มนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่
    ของความร้อนไว้ว่า "อัตราการเคลื่อนที่ของความร้อนจากจุด A ไปยังจุด B ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของจุด
    ทั้งสอง และขึ้นอยู่กับตัวนำด้วยวาสามารถถ่ายทอดความร้อนได้ดีขนาดไหน" เมื่อโอห์มได้อ่านผลงานชิ้นนี้เขาได้เกิดความ
    สนใจ ที่จะทำการทดลองเช่นเดียวกันนี้กับไฟฟ้าขึ้นบ้าง หลังจากทำการทดลองโดยอาศัยหลักการเดียวกับฟอร์เรอร์ เขาพบว่า
    การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าระหว่างจุด 2 จุด จะต้องขึ้นอยู่กับวัตถุที่นำมาใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าเช่นกัน คือ ควรเลือกโลหะที่เป็น
    ตัวนำไฟฟ้าที่ดี เช่น ทองแดง เงิน หรืออะลูมิเนียม เป็นต้น นอกจากนี้เมื่อโลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้ามีความร้อนมากขึ้น ก็จะทำให้
    กระแสไฟฟ้าไหลได้น้อยลงด้วย หลังจากการทดลองไฟฟ้าในขั้นต้นสำเร็จลงแล้ว โอห์มได้เดินทางไปยังเมืองโคโลญ เพื่อเข้าเป็น
    อาจารย์สอนที่ยิมเนเซียม (Gymnasium) ในระหว่างนี้ในปี ค.ศ. 1826 โอห์มได้จัดพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า
    Bestimmung des Gesetzes nach Welohem die Metalle die Kontaktee

             ในปีต่อมาโอห์มได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าต่ออีก และเขาก็พบสมบัติเกี่ยวกับการไหลของไฟฟ้าเพิ่มเติมอีก
    2 ประการ คือ ความยาวของสายไฟ (ถ้ายิ่งมีความยาวมากก็จะมีความต้านทานไฟฟ้ามาก) และพื้นที่หน้าตัดของสายไฟ
    (ถ้ายิ่งมีพื้นที่หน้าตัดมาก ก็จะมีความต้านทานไฟฟ้ามาก) กระแสไฟฟ้าก็ไหลได้น้อยลง การพบสมบัติข้อนี้เขาได้เขียนลงใน
    หนังสือชื่อว่า Die Galvanisehe Katte Mathemetisoh Bearbeitet ภายในหนังสือเล่มนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับ
    การทดลอง ซึ่งเขาตั้งเป็นกฎชื่อว่า กฎของโอห์ม (Ohm's Law) โดยมีหลักสำคัญว่า การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าที่ผ่าน
    ตัวนำไฟฟ้า เป็นปฏิภาคโดยตรงกับความต่างศักย์ และเป็นปฏิภาคผกปันกับความต้านทาน กล่าวคือ การเคลื่อนที่ของกระแส
    ไฟฟ้า ระหว่างจุด 2 จุด ย่อมขึ้นอยู่กับสมบัติสำคัญ 4 ประการของตัวนำไฟฟ้า คือ
            1. วัสดุที่ใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดี
            2. วัสดุที่ใช้ต้องทนความร้อนได้สูง
            3. ความยาวของสายไฟต้องไม่มากจนเกินไป
            4. พื้นที่หน้าตัดของสายไฟต้องไม่ใหญ่จนเกินไป
     
    โดยสามารถคำนวณความต่างศักย์ระหว่างจุดทั้ง 2 จากสมการดังต่อไปนี้ I = E/R โดย
                 I  หมายถึง ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟตัวนำ
                E หมายถึง แรงเคลื่อนทางไฟฟ้า
                R หมายถึง ความต้านทานของสายไฟตัวนำ

             จากผลงานชิ้นดังกล่าว แทนที่โอห์มจะได้รับยกย่องแต่เขากลับได้รับการต่อต้านอย่างมากจากชาวเยอรมันเเนื่องจากความ
    ไม่รู้ และไม่เข้าใจนั่นเอง ทำให้ในระหว่างนี้โอห์มได้รับความลำบาก แต่ชาวต่างประเทศกลับเห็นว่าผลงานชิ้นนี้ของโอห์มเป็น
    งาน ที่มีคุณประโยชน์มากและในปี ค.ศ. 1841 โอห์มได้รับมอบเหรียญคอพเลย์ (Copley Medal) จากราชสมาคมแห่งกรุง
    ลอนดอน (Royal Society of London) และในปีต่อมาเขาก็ได้รับเชิญให้ร่วมสมาคมนี้ด้วย เมื่อรัฐบาลเยอรมนี เห็นดังนั้น
    จึงเริ่มหันมาให้ความสนในโอห์ม และในปี ค.ศ. 1849 เมื่อโอห์มเดินทางกลับจากประเทศอังกฤษ เขาได้รับเชิญให้เป็น
    ศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยมิวนิค (Munich University) ไม่เฉพาะเรื่องไฟฟ้าเท่านั้นที่โอห์มทำการค้นคว้า เขายัง
    ค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องแสงด้วย แต่ไม่เป็นที่สนใจมากเท่ากับเรื่องไฟฟ้า โอห์มเสียชีวิตในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1854 ที่มิวนิค
    ประเทศเยอรมนี ถึงแม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้วแต่ชื่อของเขาก็ยังถูกนำมาใช้เป็นหน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า ในปี ค.ศ. 1881
    สมาคมไฟฟ้านานาชาติ (Internation Congress of Electrical Engineers) ได้ตกลงร่วมกันที่กรุงปารีสว่าควรใช้ชื่อ
    ของโอห์ม เป็นหน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า โดยความต้านทาน 1 โอห์ม หมายถึง กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ ไหลผ่านบนตัวนำ
    ไฟฟ้าภายใต้ความต่างศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×