ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด

    ลำดับตอนที่ #7 : ประวัตินักวิทยาศาสตร์1

    • อัปเดตล่าสุด 26 ต.ค. 49



     
     
    ชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการ
    อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ : Albert Einstein
     

    เกิด        วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม (Ulm) ประเทศเยอรมนี (Germany)
    เสียชีวิต วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 ที่เมืองนิวเจอร์ซี่ (New Jersey) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
    ผลงาน   - ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity)
                 - ค้นพบทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)
                 - ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1921

            ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ไอน์สไตน์ถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และอาจกล่าวได้ว่า เขาคือผู้ยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระเบิดปรมาณูอันทรงอานุภาพแห่งการทำลายล้าง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น ไอน์สไตน์
    ได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin Delano Roosevelt) เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของ
    แร่ยูเรเนียมที่สามารถนำมาสร้างลูกระเบิดพลังงานการทำลายสร้างรุนแรง เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงคราม และนำสันติภาพ
    มาสู่โลกอีกครั้งหนึ่ง ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกลงที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) ประเทศญี่ปุ่น
    ซึ่งส่งผลให้คนเสียชีวิตทันทีกว่า 60,000 คน และเสียชีวิตภายหลังอีกกว่า 100,000 คน

            ไอน์สไตน์เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม ประเทศเยอรมนี ไอน์สไตน์เป็นชาวเยอรมันแต่ก็มีเชื้อสายยิวด้วย
    บิดาของไอน์สไตน์เป็นเจ้าของร้านจำหน่ายเครื่องยนต์และสารเคมี ชื่อว่า เฮอร์แมน ไอน์สไตน์ (Herman Einstein) ต่อมาเมื่อ
    ไอน์สไตน์อายุได้ 1 ขวบ บิดาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองมิวนิค ซึ่งคนส่วนใหญ่ในเมืองเป็นชาวยิวเช่นเดียวกับเขา ทำให้เขาไม่มีปัญหากับ
    เพื่อนบ้าน ไอน์สไตน์เป็นเด็กที่เงียบขรึม และมักไม่ค่อยชอบออกไปเล่นกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน จนบิดาเข้าใจว่าเขาเป็นคนโง่
    จึงได้จ้างครูมาสอนพิเศษให้กับไอน์สไตน์ที่บ้าน โดยเฉพาะเรื่องการพูด ถึงแม้ว่าการพูดของเขาจะดีขึ้น แต่เขาก็ยังเงียบขรึม และ
    ไม่ออกไปเล่นกับเพื่อนเหมือนเช่นเคย เมื่อไอน์สไตน์อายุได้ 5 ขวบ บิดาได้ส่งเข้าโรงเรียนที่ยิมเนเซียม (Gymnasium) นักเรียน
    ในโรงเรียนแห่งนี้ทั้งหมดเป็นชาวเยอรมัน และนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ถึงอย่างนั้นไอน์สไตน์ก็เข้ากับเพื่อนได้ดี
    แต่สิ่งที่เขาไม่ชอบมากที่สุดในโรงเรียนก็คือการสอนที่น่าเบื่อหน่าย ที่ใช้วิธีการท่องจำเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีการที่เขาเกลียดที่สุด
    ทำให้ไอน์สไตน์ไม่อยากไปโรงเรียน มารดาจึงหาวิธีแก้ปัญหาให้ไอน์สไตน์ โดยการให้เขาเรียนไวโอลินและเปียโนแทน แต่วิชาที่
    ไอน์สไตน์ให้ความสนใจมากที่สุดคือ คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาเรขาคณิตเป็นวิชาที่เขาชอบมากที่สุด ทำให้เขาละทิ้งวิชาอื่น
    ยกเว้นวิชาดนตรี และเรียนวิชาอื่นได้แย่มาก แม้ว่าจะทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีมาก เขาก็มักจะถูกครูตำหนิอยู่เสมอ

            ต่อมาไอน์สไตน์อายุ 15 ปี กิจการโรงงานของพ่อเขาแย่ลง เนื่องจากการรวมตัวของบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและเคมีหลายแห่ง
    ทำให้โรงงานของพ่อเขาไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ ครอบครัวของเขาต้องย้ายไปอยู่ที่เมืองมิลาน (Milan) ประเทศอิตาลี (Italy)
    แต่ไอน์สไตน์ไม่ได้ย้ายตามไปด้วย เพราะยังติดเรียนอยู่ แต่ด้วยความที่เขาคิดถึงครอบครัวมาก หลังจากนั้นอีก 6 เดือน เขาได้วางแผน
    ให้แพทย์ออกใบรับรองว่าเขาป่วยเป็นโรคประสาท เพื่อให้เขาได้เดินทางไปหาพ่อกับแม่ที่อิตาลี เมื่อเป็นเช่นนั้นไอน์สไตน์จึงเดินทาง
    ไปหาครอบครัวที่มิลาน แต่ก่อนที่เขาจะออกเดินทางเขาได้ขอใบรับรองทางการศึกษา เพื่อสะดวกในการเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนอื่น

            ต่อมาไอน์สไตน์ได้สอบเข้าเรียนต่อวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ที่วิทยาลัยโปลีเทคนิค เมืองซูริค (Federal Poleytechnic
    of Zurich) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไอน์สไตน์สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนดีมาก ส่วนวิชาชีววิทยาและภาษา ได้แย่มาก ทำให้
    เขาไม่ได้รับคัดเลือกให้เข้าเรียนในวิทยาลัยแห่งนี้ ต่อมาอีก 1 สัปดาห์ เขาได้รับจดหมายจากครูใหญ่วิทยาลัยโปลีเทคนิค ได้เชิญเขา
    ไปพบและแนะนำให้เขาไปเรียนต่อ เพื่อให้ได้ประการศนียบัตร ซึ่งสามารถเข้าเรียนต่อวิทยาลัยโปลีเทคนิคได้โดยไม่ต้องสอบ หลัง
    จากนั้นเขาจึงเข้าเรียนที่วิทยาลัยของสวิตเซอร์แลนด์ ตามหลักสูตร 1 ปี ระหว่างนี้เขาได้พักอาศัยอยู่กับครูผู้หนึ่งที่สอนอยู่ในโรงเรียน
    แห่งนี้ ไอน์สโตน์รู้สึกชอบวิทยาลัยแห่งนี้มาก เพราะการเรียนการสอนเป็นอิสระไม่บังคับ และไม่จำกัดมากจนเกินไป แนวการสอน
    เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในการเรียนยังดีมากดีด้วย เพราะได้มีการจัด
    ห้องเรียนเฉพาะสำหรับแต่ละวิชา เช่น ห้องเรียนภูมิศาสตร์ก็มีภาพแผนที่ สถานที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แขวนไว้
    โดยรอบห้อง ส่วนห้องเคมีก็มีอุปกรณ์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย นอกจากนี้โรงเรียนแห่งนี้ยังมีนักเรียนจำนวนมาก ทำให้
    ไอน์สไตน์ไม่รู้สึกว่ามีปมด้อยที่เป็นชาวยิวอีกต่อไป หลังจากที่เขาจบหลักสูตรที่โรงเรียนมัธยม 1 ปี ไอน์สไตน์ได้เข้าเรียนต่อที่วิทยาลัย
    เทคนิคในสาขาวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ตามที่ได้ตั้งใจไว้

            หลังจากจบการศึกษาแล้ว ไอน์สไตน์ได้สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค แต่ได้รับ
    การปฏิเสธโดยไม่มีเหตุอันเหมาะสม และด้วยความเห็นใจจากศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยซูริคได้ออกใบรับรองผลการศึกษาให้เข้า
    จากนั้นไอน์สไตน์ได้เริ่มออกหางานทำจากประกาศตามหน้าหนังสือพิมพ์ซึ่งมีประกาศรับอาจารย์หลายแห่ง ไอน์สไตน์ได้เข้ารับการ
    สัมภาษณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีสถาบันแห่งใดรับเขาเข้าทำงานเลยแม้แต่สักที่เดียว ไอน์สไตน์เข้าใจว่าอาจจะเป็นเพราะเขาเป็นชาวยิว
    ดังนั้นในปี ค.ศ.1901 ไอน์สไตน์ได้โอนสัญชาติเป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถทำให้เขาหางานทำได้อยู่ดี
    ในที่สุดไอน์สไตน์ก็ได้งานทำเป็นครูในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง แต่ทำอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็ถูกไล่ออก จากนั้นไอน์สไตน์จึงรับจ้างเป็น
    ครูสอนพิเศษตามบ้าน แต่ก็ทำได้ไม่นานก็ถูกพ่อแม่ของเด็กเลิกจ้าง เนื่องจากไอน์สไตน์ได้แสดงความผิดเห็นว่าไม่ควรให้เด็กไปเรียน
    ที่โรงเรียนอีก เนื่องจากครูที่โรงเรียนสอนคณิตศาสตร์ในแบบผิด ๆ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่ไอน์สไตน์สอน แม้ว่าเด็ก ๆ จะรักและชอบ
    วิธีการสอนของเขาก็ตาม ไอน์สไตน์ก็ยังถุดไล่ออกอยู่ดี

            ต่อมาในปี ค.ศ.1902 ไอน์สไตน์ได้เจอกับเพื่อนเก่าคนหนึ่งได้ฝากงานที่สำนักงานจดทะเบียนสิทธิบัตรที่กรุงเบิร์น ถึงแม้ว่า
    ไอน์สไตน์จะไม่ชอบงานที่นี่มากนัก แต่รายได้ปีละ 250 ปอนด์ ซึ่งทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น และมีโอกาสได้พบกับสิ่ง
    ประดิษฐ์ที่แปลกใหม่อีกด้วย ในระหว่างที่ไอน์สไตน์ทำงานอยู่ที่นี่ เขาได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการประดิษฐ์สิ่งของเช่นกัน
    สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของไอน์สไตน์คือ เครื่องมือบันทึกการวัดกระแสไฟฟ้า

             ในปี ค.ศ.1903 ไอน์สไตน์ได้แต่งงานกับมิเลวา มารี เพื่อนเก่าสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค และในปีเดียวกันนี้เขา
    ได้เขียนบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้กับนิตยสารเยอรมนีฉบับหนึ่ง และในปี ค.ศ.1905 บทความเรื่องของไอน์สไตน์ก็ได้รับ
    ความสนใจ และยกย่องอย่างมาก บทความเรื่องนี้เป็นของทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับความ
    สัมพันธ์ระหว่างพลังงาน กับมวลสาร โดยเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ E = mc2 โดย
            E (Energy) = พลังงาน
            m (mass) = มวลสารของวัตถุ
            c = ความเร็วแสง

             ทฤษฎีสัมพัทธภาพต่อมาได้นำไปสู่การค้นคว้าเรื่อง พลังงานปรมาณู เพราะทฤษฎีนี้อธิบายว่ามวลเพียงเล็กน้อยของแร่ชนิดหนึ่ง
    สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลที่ใช้ในโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้อย่างสบาย ในระยะแรกที่ไอน์สไตน์เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ออก
    ไป ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจนัก แต่เมื่อไอน์สไตน์อธิบายให้ฟังด้วยวิธีง่าย ๆ ก็เกิดความเข้าใจมากขึ้น และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขา
    ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตขั้นเกียรตินิยมสูงสุด

            ในปี ค.ศ.1909 เขาได้รับเชิญให้เป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซูริค (Zurich University) ซึ่งไอน์สไตน์ตอบรับทันที
    ทั้งนี้เขาต้องการแสดงให้ทุกคนได้เห็นถึงความสามารถของเขา ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้เคยปฏิเสธเขามาครั้งหนึ่งแล้ว

             ในปี ค.ศ.1911 ไอน์สไตน์ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยปราค (Prague) ในปีต่อมาไอน์สไตน์
    ได้รับเชิญจากวิทยาลัยเทคนิค ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของเขา ไอน์สไตน์ตกลงทันทีเนื่องจากเขาต้องการพิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นถึงความ
    สำคัญของเขา ในระหว่างนี้มีมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ อีกหลายแห่งเชิญเขาไปสอน แต่เขาก็ปฏิเสธ และเขาได้ตอบรับเป็น
    ศาสตราจารย์พิเศษสอนที่สถาบันไกเซอร์วิลเฮล์ม (Kaiser Wilhelm Institute) การที่เขาตอบรับครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการได้สนทนา
    กับพระเจ้าไกเซอร์ ผู้ก่อตั้งสถาบันแห่งนี้ ไอน์สไตน์รู้สึกถูกอัธยาศัยที่สนุกสนานเป็นกันเอง ประกอบกับความสนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์
    เช่นเดียวกัน และอีก 2 ปีต่อมา ไอน์สไตน์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการประจำสถาบันแห่งนี้

             ในปี ค.ศ.1914 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทำให้ทุกหนทุกแห่งวุ่นวาย โดยเฉพาะในยุโรป แต่ถึงอย่างนั้นในปี ค.ศ.1915
    ไอน์สไตน์ก็ยังทำการค้นคว้าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และออกตีพิมพ์หนังสืออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General
    Theory of Relativity) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่หลายต่างก็ไม่เข้าใจในทฤษฎีข้อนี้ แต่ด้วยความที่ไอน์สไตน์เป็นคนสุขุมเยือกเย็น เขาได้
    อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีในหลายลักษณะเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า มีรถไฟ 2 ขบวน ขบวนหนึ่งจอดอยู่กับที่ อีกขบวนหนึ่งกำลังวิ่งสวน
    ทางไป ผู้โดยสารที่อยู่บนรถไฟที่จอดอยู่อาจจะรู้สึกว่ารถไฟกำลังวิ่งอยู่ เพราะฉะนั้น อัตราเร็ว ทิศทาง จึงมีความเกี่ยวข้องกัน

             ในปี ค.ศ.1921 ไอน์สไตน์ได้เสนอผลงานออกมาอีกชิ้นหนึ่ง คือ ทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)
    และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และรางวัลจากอีกหลายสถาบัน ได้แก่ ค.ศ.1925 ได้รับเหรียญคอพเลย์
    จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ค.ศ.1926 ได้รับเหรียญทองราชดาราศาสตร์ ค.ศ.1931 ดำรงตำแหน่งนักค้นคว้าของวิทยาลัย
    ไครสต์เชิร์ช แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ค.ศ.1933 เขาได้รับเชิญจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของ
    สถาบันบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ (Institute for Advance Study at Princeton, New
    Jersey) นอกจากนี้ทฤษฎีของเขายังสามารถล้มล้างทฤษฎีของจอห์น ดาลตัน (John Dalton) นักฟิสิกส์และเคมีชาวอังกฤษที่ว่า
    "สสารย่อมไม่สูญไปจากโลกเพราะอะตอมเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร ซึ่งไม่สามารถจะแยกออกไปได้อีก" แต่ไอน์สไตน์ได้กล่าวว่า
    สสารย่อมมีการสูญสลาย นอกจากพลังงานเท่านั้นที่จะไม่สูญหาย เพราะพลังงานเกิดขึ้นจากสสารที่หายไป และอะตอมไม่ใช่ส่วนที่
    เล็กที่สุดของสสาร เพราะฉะนั้นจึงสามารถแยกออกได้อีก

             ในปี ค.ศ.1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้ไอน์สไตน์ได้รับความทุกข์ทางใจมาก เนื่องจากเยอรมนีในฐานะผู้ก่อ
    สงคราม และมีฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ฮิตเลอร์รังเกียจชาวยิว และกล่าวหาชาวยิวว่าเบียดเบียนชาวเยอรมันในการประกอบอาชีพ แต่
    ไอน์สไตน์ ก็ยังโชคดีเพราะว่าก่อนหน้านี้ ในปี ค.ศ.1933 ได้อพยพออกจากเยอรมนี เพราะในขณะนั้นฮิตเลอร์ได้ดำรงตำแหน่ง
    ประธานาธิบดีของเยอรมนี และเริ่มขับไล่ชาวยิวออกจากเยอรมนีตั้งแต่ปี ค.ศ.1932 ไอน์สไตน์เห็นว่าสถานการณ์ไม่สู้ดีนักจึงเดิน
    ทางออกมา แต่ยังมีชาวยิวกว่า 2,000,000 คน ที่ยังอยู่ในเยอรมนี และถูกสังหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กว่า 1,000,000 คน

            สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามที่ยืดเยื้อนานกว่า 6 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ประเทศสหรัฐ
    อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ และรัสเซีย และฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ต่อมาช่วงกลางปี ค.ศ.1945 เยอรมนี และอิตาลี
    ได้ยอมแพ้สงครามเหลือเพียงแต่ญี่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้นที่ยังไม่ยอมแพ้ ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งลูกระเบิดปรมาณู
    เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม ระเบิดปรมาณูได้ทำการทดลองสร้างขึ้นในระหว่างสงครามครั้งนี้ ซึ่งมีไอน์สไตน์เป็นผู้ริเริ่ม
    และควบคุมการผลิต ลูกระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกได้ทำการทดลองทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945
    ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายกว่า 150,000 คน แต่ญี่ปุ่นยังไม่ประกาศยอมแพ้ ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งระเบิดอีก 1 ลูก
    ที่เมืองนางาซากิ (Nagasaki) ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 100,000 คน เช่นกัน ลูกระเบิด 2 ลูก นี้
    ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม และปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เพียงเท่านี้

             ไอน์สไตน์เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 หลังจากที่ไอน์สไตน์เสียชีวิตไปแล้วมีการสร้าง
    อนุสาวรีย์ รูปไอน์สไตน์ครึ่งตัวขึ้นภายในสถาบันฟิสิกส์ แห่งกรุงเบอร์ลิน เรียกว่า หอคอยไอน์สไตน์ เพื่อระลึกถึงความสามารถของเขา

    หลุยส์ ปาสเตอร์ : Louis Pasteur
     

    เกิด        วันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโดล (Dole) มลรัฐจูรา (Jura) ประเทศฝรั่งเศส (France)
    เสียชีวิต วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895 ประเทศฝรั่งเศส (France)
    ผลงาน   - ค้นพบวัคซีนป้องกันพิษสุนัขป่า
                 - ค้นพบว่า จุลินทรีย์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย
                 - ค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยการนำมาต้มหรือเรียกว่า พาลเจอร์ไรเซชัน(Pasteurization)

              ปาสเตอร์เป็นนักเคมีผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขา และคุณประโยชน์อย่างมากให้กับศาธารณชน
    คือ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้เป็นโรคระบาดที่รุนแรง แต่ก็สามารถคร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมากเช่นกัน
    นอกจากนี้เขายังค้นพบวัคซีนอีกหลายชนิด ได้แก่ อหิวาตกโรค วัณโรค และโรคคอตีบ ผลงานของเขาที่สร้างคุณประโยชน์อย่าง
    มากอีกชิ้นหนึ่ง คือ การค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แบบพาสเจอร์ไรต์ ในปัจจุบันวิธีการนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะสามารถเก็บ
    รักษาอาหารได้นานและปลอดภัยมากที่สุด

              ปาสเตอร์เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโดล มลรัฐจูรา ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาเป็นช่างฟอกหนังชื่อว่า
    จีน โจเซฟ ปาสเตอร์ (Jean Joseph Pasteur) และเคยเป็นทหารในกองทัพของพระเจ้านโปเลียนมหาราช และได้รับเหรียญ
    กล้าหาญจากสงครามด้วย ต่อมาครอบครัวของปาสเตอร์ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอาร์บัวส์ (Arbors) แม้ว่าฐานะครอบครัวของเขาจะมี
    ฐานะไม่ดีนัก แต่บิดาก็ต้องการให้หลุยส์มีความรู้ที่ดี การศึกษาขั้นแรกของปาสเตอร์เริ่มต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดอาร์บัวส์
    ซึ่งวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่เขาเรียนได้ดีที่สุด นอกจากนี้เขามีความสามารถในการวาดรูปอีกด้วย โดยเฉพาะภาพเหมือน
    (Portrait) เขามีความชำนาญมากที่สุดรูปเหมือนที่ปาสเตอร์ได้วาด เช่น ภาพบิดา มารดา และเพื่อน ๆ ของเขา เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน
    ภาพเหล่านี้ได้ถูกแขวนประดับไว้ในสถาบันปาสเตอร์ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (The Pasteur Institute in Paris)
    ด้วยความที่ปาสเตอร์เป็นนักเรียนที่เรียนดี มีความสามารถ และความประพฤติเรียบร้อย จึงได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ใหญ่
    ของวิทยาลัยอาร์บัวส์ให้ไปเรียนที่อีโคล นอร์เมลซูพีเรีย (Ecole Normale Superiere) ซึ่งเป็นสถาบันฝึกหัดครูชั้นสูงที่มี
    ชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงปารีสด้วยอาจารย์ใหญ่ต้องการให้เขากลับมาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยอาร์บัวส์นั่นเอง แต่ปาสเตอร์เรียนอยู่ที่นี่
    ได้ไม่นาน บิดาก็ต้องมารับกลับบ้าน ด้วยเขาป่วยเป็นโรคคิดถึงบ้าน (Home Sick) อย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะถึงขั้นเป็นโรคประสาท
    ได้ในเวลาต่อมา

             ต่อมาเขาได้เข้าเรียนต่อวิชาอักษรศาสตร์ ที่รอยับลคอลเลจ (Royal College) ในเบซานกอน (Besancon) หลังจาก
    จบการศึกษาแล้ว ปาสเตอร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ต่อจากนรั้นปาสเตอร์ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบันฝึกหัดครูชั้นสูง
    Ecole Normale Superiere อย่างที่เขาตั้งใจในครั้งแรก ในระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ที่นี่เขามีโอกาสได้เรียนวิชาเคมีกับนักเคมี
    ผู้มีชื่อเสียง 2 ท่าน คือ เจ.บี. ดีมาส์ (J.B. Dumas) และ เอ.เจ. บาลาร์ด ซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne
    University) เนื่องจากมีบางวิชาที่ต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ในช่วงปีสุดท้ายของการศึกษาที่ อีโคล นอร์เมล ซูพเรีย
    เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับผลึก (Crystallography) ในปี ค.ศ. 1852 เมื่อปาสเตอร์จบการศึกษาแล้ว เขาได้ทำการทดลอง
    เกี่ยวกับกรดทาร์ทาริก หรือกรดปูนที่ใช้ทำน้ำส้ม (Tartaric acid) จากผลงานการทดลองชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1849 เขาได้รับเชิญ
    จากมหาวิทยาลัยสตราส์เบิร์ก (Strasburg University) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาเคมี

             ต่อจากนั้นในปี ค.ศ. 1854 ปาสเตอร์ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองลิลล์ (University of Lille) ให้ดำรงตำแหน่ง
    ศาสตราจารย์วิชาเคมีและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ด้วยความที่เมืองลิลล์เป็นเมืองอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีทั้งเหล้า
    เบียร์ และไวน์ และครั้งหนึ่งปาสเตอร์ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานทำแอลกอฮอล์จากน้ำตาลหัวผักกาดแห่งหนึ่ง ทำให้เขารู้ปัญหา
    ของโรงงานที่ว่าเกิดการเน่าเสียของแอลกอฮอล์ และยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ ดังนั้นปาสเตอร์จึงนำตัวอย่างแอลกอฮอล์ไปตรวจสอบ
    ในขณะนั้นมีนักวิทยาศาสต์ท่านหนึ่งสามารถประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ได้สำเร็จ เขาจึงนำกล้องจุลทรรศน์มาใช้ในการตรวจสอบ
    ครั้งนี้ด้วย โดยในส่วนแรกเป็นแอลกอฮอล์ที่ดีเมื่องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูปรากฏว่า มีแบคทีเรียชนิดหนึ่งลำตัวกลมมีชื่อว่า ยีสต์
    (Yeast) ซึ่งมีฤทธิ์เปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นแอลกอฮอล์และได้พบแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเป็นท่อน ๆ แบคทีเรียชนิดนี้มี
    ชื่อว่า บาซิลลัส (Bacillus) ซึ่งมีฤทธิ์สามารถเปลี่ยนน้ำตาลแดงให้เป็นกรดแลคติกได้ หรือเป็นตัวการที่ทำให้แอลกอฮอล์มีคุณภาพ
    ต่ำ จากการค้นพบครั้งนี้ทำให้ปาสเตอร์เริ่มทำการทดลองเกี่ยวกับของหมักดอง ในที่สุดปาสเตอร์ได้พบว่า การหมักดองทำให้เกิด
    กรดขึ้น 2 ชนิด ได้แก่ กรดซักซินิก (Succinic acid) และกลีเซอร์ไรน์ (Glycerin) การค้บพบครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากใน
    วงการอุตสาหกรรมและเป็นการบุกเบิกการค้นคว้าหาสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากขึ้น ปาสเตอร์ได้ตั้งทฤษฎีการหมักดอง
    (Fermentation Theory) กล่าวว่า การหมักดองเป็นผลมาจากจุลินทรีย์

             เมื่อเขาค้นพบว่าจุลินทรีย์ทำให้เกิดผลเสียมากมาย ปาสเตอร์จึงทำการค้นคว้าเกี่ยวกับจุลินทรีย์ต่อไป และพบว่า จุลินทรีย์
    ที่มีอยู่ทั่วไปในอากาศทำให้เกิดความเจ็บป่วย และอาหารรวมถึงนมเน่าเสียได้ง่ายมาก เพราะฉะนั้นวิธีการเก็บรักษาของให้อยู่ได้
    นาน ๆ ก็คือ ต้องฆ่าจุลินทรีย์เหล่านี้ให้หมดไป ปาสเตอร์ได้ทดลองฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ โดยการนำนมมาต้มในความร้อน 145 องศา
    ฟาเรนไฮต์ ทำให้เย็นลงโดยเร็วที่สุด ภายใน ? ชั่วโมง เพื่อให้จุลินทรีย์ตายหมด ก่อนนำไปบรรจุใส่ขวด จากนั้นใช้สำลีอุดปากขวด
    ให้แน่นป้องกันไม่ใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้าได้ ผลปรากฎว่านมสดอยู่ได้นานกว่าปกติ โดยที่ไม่เน่าเสีย จากนั้นปาสเตอร์ได้นำวิธีการดังกล่าว
    ไปใช้กับเครื่องดื่มชนิดอื่น เช่น เหล้า เบียร์ น้ำกลั่น และไวน์ เป็นต้น วิธีการนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ พาสเจอร์ไรเซชัน
    (Pasteurization) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากการค้นคว้าทดลองครั้งนี้ปาสเตอร์
    ยังพบวิธีการทำน้ำส้มสายชูโดยใช้จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดเหล้าองุ่นมาเพาะ แล้วเติมลงไปในเหล่าองุ่นที่ผ่านวิธีพาสเจอร์ไรต์แล้ว
    ด้วยวิธีการนี้จะได้น้ำส้มสายชูที่มีคุณภาพดี

             การค้นคว้าเรื่องจุลินทรีย์ของปาสเตอร์ไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านี้ ในปี ค.ศ. 1865 เขาพบถึงสาเหตุของเซลล์ที่ตายแล้วเน่าเปื่อย
    ก็เป็นผลมาจากเชื้อจุลินทรีย์เช่นเดียวกัน ดังนั้นเขาจึงทำการทดลองต่อไป ด้วยปาสเตอร์กลัวว่าเมื่อฝังศพทั่งของสัตว์ และมนุษย์ลง
    ในดินแล้ว ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นลงไปอยู่ในดินได้และอาจจะปนเปื้อนไปกับน้ำบาดาล เมื่อคนนำน้ำบาดาลไปดื่มโดยที่ไม่ต้องต้ม
    ฆ่าเชื่อก่อน อาจจะทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ เมื่อการค้นคว้าของปาสเตอร์จบสิ้นลงผลปรากฏว่าเป็นดังเช่นที่ปาสเตอร์กล่าวไว ้คือ
    มีจุลินทรีย์บางชนิดสามารถอยู่ในดินได้จริง เช่น เชื้อบาดทะยัก และแอนแทรกซ์ เป็นต้น

             ต่อมาเขาได้ทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดที่ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับตัวไหม ซึ่งทำความเสียหายอย่างหนักให้กับโรงงานอุตสาหกรรม
    ผ้าไหม เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมได้มาขอความช่วยเหลือจากปาสเตอร์ เขาได้ทำการค้นคว้าเรื่องนี้อยู่นางถึง 5 ปี จึงพบว่าโรคนี้เกิดขึ้น
    จากเชื้อจุลินทรีย์ชื่อว่า โนสิมา บอมบายซิล (Nosema Bombysis) ซึ่งตัวหนอนกินเข้าไป ดังนั้นปาสเตอร์จึงอธิบายวิธีการป้องกัน
    โรคนี้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมฟังอย่างละเอียด ซึ่งสามารถป้องกันโรคนี้ได้เป็นอย่างดี จากผลงานทาวิทยาศาสตร์วิชาเคมี
    ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne University) และในปีเดียวกันนี้เขาได้เผยแพร่ผลงานการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องการ หมักดองออกมาอีกเล่มหนึ่งจากความสามารถของปาสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เขาได้เชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคม
    อะเคดามี ออฟ เมดิซีน (Academy of Medicine)

             ในปี ค.ศ. 1887 ปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์ โดยเริ่มจากโรคที่ร้ายแรงที่สุด คือ โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) ปาสเตอร์ใช้ปัสสาวะของสัตว์ที่ป่ายเป็นโรคแอนแทรกซ์มาเพาะเชื้อให้อ่อนกำลังลง แล้วไปทำวัคซีน การที่เขานำ
    ปัสสาวะของสัตว์มาทำวัคซีนทำให้คนทั่วไปไม่เชื่อถือในวัคซีนของเขา ปาสเตอร์ต้องการให้สาธารณชนประจักษ์แก่สายตาจึงทำ
    การทดลอง ปาสเตอร์ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมเกษตร (Agriculture Society) มอบแกะในการทดสอบวัคซีนถึง 50 ตัว
    ปาสเตอร์แบ่งแกะออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 ตัว กลุ่มหนึ่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ฉีด จากนั้นจึงฉีด
    เชื้อโรคแอนแทรกซ์ให้กับแกะทั้งหมด ผลปรากฏว่าแกะกลุ่มที่ฉีดวัคซีนไม่ป่วยเป็นโรคแอนแทรกซ์เลย แต่แก่กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน
    ป่วยและเสียชีวิตหมดทุกตัว

              จากผลงานการค้นคว้าชิ้นนี้ ทางรัฐบาลประเทศฝรั่งเศสได้ขอร้องและมอบเงินสนับสนุนให้กับปาสเตอร์ในการค้นคว้าหา
    วัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ ปาสเตอร์ทำการทดลองค้นคว้าและสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ได้สำเร็จ
    โดยเขาผลิตวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนฉีดให้กับไก่
    ปรากฏว่าไก่ที่ป่วยมีอาการดีขึ้นและหายไปในที่สุด

              การค้นพบวัคซีนที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุด คือ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าน แม้ว่าจะไม่ใช่โรคระบาดที่ร้ายแรงแต่ก็
    สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนได้มากเพราะเมื่อผู้ใดที่ถูกสุนัขบ้ากัดแล้วต้องเสียชีวิตทุกรายไป สัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ก็ต้องตายโดย
    ไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกัน จากการค้นคว้าปาสเตอร์พบว่าเชื้อสุนัขบ้าอยู่ในน้ำลาย ดังนั้นเมื่อถูกน้ำลายของสุนัขที่มีเชื้อโรคอยู่ไม่ว่าจะ
    ทางใด เช่น ถูกเลียบริเวณที่เป็นแผล หรือถูกกัด เป็นต้น เชื้อโรคในน้ำลายก็จะซึมเาไปทางแผลสู่ร่างกายได้ ปาสเตอร์ได้นำเชื้อ
    มาเพาะวัคซีน และนำไปทดลองกับสัตว์ ปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างดี แต่ปาสเตอร์ไม่กล้านำมาทดลองกับคน จนกระทั่งวันหนึ่งโจเวฟ
    เมสเตร์ เด็กชายวัย 9 ปี ถูกสุนัขบ้ากัด ถึงอย่างไรก็ต้องเสียชีวิต ดังนั้นพ่อแม่ของเด็กจึงได้นำบุตรชายมาให้ปาสเตอร์รักษาซึ่งเป็น
    โอกาสดีที่ปาสเตอร์จะได้ทดลองยา ปรากฏว่าเด็กน้อยไม่ป่วยเป็นโรคสุนัขบ้าน การค้นพบครั้งนี้ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น

             ในปี ค.ศ. 1888 ปาสเตอร์ได้ก่อตั้งสถาบันปาสเตอร์ (Pasteur Institute) ขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นสถาบัน
    ปาสเตอร์ก็ได้ก่อตั้งขึ้นอีกหลายแห่ง ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยในประเทศไทยใช้ชื่อว่า สถานเสาวภา
    สถาบันปาสเตอร์ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดต่อชนิดต่าง ๆ เช่นโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
    ปาสเตอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895

    อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ : Alexander Graham Bell
     

    เกิด        วันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1847 ที่เมืองเอดินเบิร์ก (Edinburg) ประเทศสก็อตแลนด์ (Scotland)
    เสียชีวิต วันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ.1922 ที่เมืองโนวา สโคเทีย (Nova Scotia)
    ผลงาน   - ประดิษฐ์โทรศัพท์ ในปี ค.ศ.1876
                 - ก่อตั้งสมาคมแนะนำ และสอนคนหูพิการ ชื่อว่า American Association to Promote the Teaching of
                   Speech to Deaf

            การติดต่อสื่อสารถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากทั้งในอดีต ปัจจุบัน รวมถึงต่อไปอนาคต ในอดีตมนุษย์ใช้วิธีการส่งข่าวสาร
    ถึงกันด้วยวิธีต่าง ๆ มากมาย เช่น ใช้นกพิราบ ควันไฟ เป็นสัญญาณ หรือการใช้มนุษย์เดินทางส่งข่าวสาร ซึ่งแต่ละวิธีที่ได้กล่าวมา
    ล้วนแต่ล่าช้า ไม่สะดวก อีกทั้งเกิดความผิดพลาดได้ง่าย ต่อมาแซมมวล มอร์ส นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์โทรเลขทำให้
    การสื่อสารมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นอีกลำดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถส่งคำพูดได้ จนกระทั่งเบลล์สามารถประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้น
    สำเร็จ ทำให้การสื่อสารมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก ในปัจจุบันโทรศัพท์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีความสำคัญมากสำหรับการ
    ติดต่อสื่อสารเพราะสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย และเวลา

             เบลล์เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1847 ที่เมืองเอดินเบิร์ก (Ddinburg) ประเทศสก๊อตแลนด์ (Scotland) บิดาของเขา
    เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาษาที่ใช้สำหรับคนหูพิการ ชื่อว่า อเล็กซานเดอร์ เมลวิน เบลล์ (Alexander Melvin Bell) การที่บิดา
    ของเบลล์ได้ศึกษาเกี่ยวกับคนหูพิการ เพราะปู่ของเบลล์ได้ศึกษาเรื่องนี้มาก่อน อีกทั้งมารดาของเขาก็เป็นคนหูพิการ และเพราะเหตุ
    นี้เองทำให้เบลล์สามารถใช้ภาษาใบ้ อ่านริมฝีปาก และแยกแยะเสียงได้อย่างละเอียด โดยทั้งหมดนี้เบลล์ได้รับการถ่ายทอดมาจาก
    บิดาของเขานั่นเอง เบลล์มีพี่ชายคนหนึ่งซึ่งเสียชีวิตด้วยโรควัณโรค แม้ว่าเบลล์จะโชคดีที่ไม่เสียชีวิต แต่เขาก็ติดโรคมาจากพี่ชาย
    ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สุขภาพของเบลล์จึงไม่ค่อยดีนัก เบลล์ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนเอดินเบิร์ก (Edinburg
    School) จากนั้นเบลล์ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยลอนดอน (London University) เมื่อจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย
    ลอนดอน เบลล์ได้เดินทางไปประเทศเยอรมนี เพื่อเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวูซเบิร์ก จนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกในปี ค.ศ.
    1867 หลังจากจบการศึกษาเบลล์ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยของบิดาในการสอนและพัฒนาคนหูพิการ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1870 อาการ
    ป่วยของเบลล์ได้ทรุดหนักขึ้น เบลล์จึงเดินทางพร้อมกับบิดาไปอยู่ที่เมืองออนตาริโอ (Ontario) ประเทศแคนาดา (Canada)
    ตามคำแนะนำของแพทย์ว่าควรไปพักในสถานที่ที่มีออนตาริโอ (Ontario) ประเทศแคนนาดา (Canada) ตามคำแนะนำของ
    แพทย์ว่าควรไปพักในสถานที่ที่มีอากาศดี เมื่อเขารักษาตัวจนอาการทุเลาลง เบลล์ได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา (United
    State of America) และเข้าทำงานในตำแหน่งอาจารย์สอนการออกเสียงที่มหาวิทยาลัยบอสตัน (Boston University)
    จากความสามารถของเบลล์ เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาสรีรวิทยาว่าด้วยเรื่องเสียง เบลล์ได้พยายามประดิษฐ์
    เครื่องมือสำหรับคนหูพิการให้มีโอกาสได้ยินเสียงเหมือนเช่นคนปกติ ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นโทรศัพท์

            ด้วยความที่เบลล์เป็นคนที่ชอบเล่นเปียโน วันหนึ่งเขาสังเกตว่าเสียงเพลงจากเปียโนเกิดจากการสั่นสะเทือนของเส้นลวด
    เพราะฉะนั้นเส้นลวดน่าจะเป็นตัวนำเสียงจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ ในปี ค.ศ.1873 เบลล์ได้ทำงานเป็นครูสอนหนังสือใน
    โรงเรียนคนหูพิการที่เมืองบอสตัน และต่อมาเบลล์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สรีรวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต
    และเสียง และในระหว่างนี้เบลล์ได้ทำการทดลองค้นคว้าเพื่อจะส่งเสียงตามสาย เขาได้ร่วมมือกับโทมัส เอ. วัตสัน (Thomas A.
    Watson) ผู้ช่วยของเขา ซึ่งเป็นลูกชายเจ้าของร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้า ที่เบลล์ได้ซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับการทดลองเป็นประจำ

            ทั้งสองประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์โทรศัพท์ในปี ค.ศ.1876 โดยการใช้เส้นลวดโยงจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง
    ส่วนปลายทั้งสองข้างจะเป็นหูฟัง ซึ่งภายในประกอบไปด้วยแท่งแม่เหล็กพันด้วยทองแดง ต่อจากนั้นจะเป็นแผ่นเหล็กบาง ๆ เพื่อ
    พูดใส่กระบอกนี้จะเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในขดลวด แต่ผลการทดลองในครั้งแรกยังไม่ประสบความสำเร็จ
    เพราะไม่สามารถเข้าใจในคำพูดที่ส่งมาทางโทรศัพท์ได้ แต่ก็ประสบความสำเร็จในการส่งเสียง ต่อมาอีก 8 เดือน ทั้งสองได้
    ปรับปรุงโทรศัพท์ให้ดีขึ้น คำพูดแรกที่ใช้ในการส่งข้อความทางโทรศัพท์ครั้งนี้ คือ "คุณวัตสันมานี้หน่อย ผมต้องการคุณ"
    การที่เบลล์พูดเช่นนี้ก็เพราะเขาได้ทำกรดแบตเตอรี่หกรดเสื้อ เขาเรียกวัตสันจากห้องหนึ่ง วัตสันได้ยินคำพูดของเบลล์ได้อย่าง
    ชัดเจน

            ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1876 เบลล์ได้นำโทรศัพท์เข้าประกวดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่เมืองฟิลลาเดลเฟีย (Philadelphia) และ
    ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมในครั้งนี้ด้วย ในช่วงแรกไม่มีกรรมการคนใดให้ความสนใจในสิ่งประดิษฐ์ของเบลล์เลย แม้ว่า
    เบลล์จะพยายามอธิบายถึงประโยชน์ของโทรศัพท์ แต่เบลล์ก็ยังโชคดีอยู่มาก เมื่อมีกรรมการท่านหนึ่งชื่อ โดม ปริโด รู้จักและนับถือ
    เบลล์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง และครูสอนคนหูพิการ และเมื่อปริโดได้ทดลองเอาหูแนบตรงหูฟัง ซึ่งเมื่อเขาได้ยินเสียงคนพูด
    ออกมาจากหูฟัง เขารู้สึกตื่นเต้นมากพร้อมกับอุทานออกมาด้วยเสียงอันดัง จนกรรมการที่อยู่บริเวณนั้นเดินเข้ามาดู เมื่อทุกคนทดลอง
    เอาหูแนบกับหูฟัง และได้ยินเสียงคนพูดออกมา ต่างก็ตื่นเต้นและประหลาดใจมาก

             และในปีเดียวกันเบลล์ได้เปิดบริษัทร่วมกับวัตสันผู้ช่วยของเขา เพื่อดำเนินการติดตั้งสายโทรศัพท์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1876
    เบลล์ได้ดำเนินการติดตั้งสายโทรศัพท์จากแบรนด์ฟอร์ดถึงออนตาริโอ ประเทศแคนาดา รวมระยะทาง 8 ไมล์ ต่อมาอีก 2 เดือน
    เบลล์ได้ติดตั้งโทรศัพท์แบบ 2 ทาง ได้เป็นผลสำเร็จ จากนั้นเขาจึงดำเนินการติดตั้งสายโทรศัพท์จากบอสตันไปยังแมสซาชูเซส
    รวมระยะทาง 2 ไมล์ กิจการของเบลล์ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี จนกระทั่งปี ค.ศ.1876 บริษัทของเบลล์ได้ถูกฟ้องร้องจาก
    บริษัท เวสเทิร์น ยูเนียน เทเลกราฟ (Western Union Telegraph Company) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโทรเลข
    แต่ในที่สุดศาลได้ตัดสินให้เบลล์ชนะคดี เบลล์ได้นำโทรศัพท์ของเขาไปจดทะเบียนสิทธิบัตร และก่อตั้งบริษัทขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
    โดยใช้ชื่อว่า บริษัท อเมริกันเบลล์ เทเลโฟน (American Bell Telephone Company)

            จากผลงานชิ้นนี้ทำให้เบลล์มีชื่อเสียง และเงินทองมากขึ้น เบลล์ได้บริจาคเงินส่วนหนึ่งในการก่อตั้งสมาคมเพื่อคนหูพิการ ชื่อว่า
    American Association to Promote the Teaching of Speech of Deaf นอกจากนี้เขายังให้การสนับสนุนการวิจัย
    เกี่ยวกับการบิน ต่อมาในปี ค.ศ.1915 เบลล์ได้รับเชิญไปเปิดผลงานในโอกาสที่ดำเนินการติดตั้งสายโทรศัพท์ข้ามทวีปเป็นครั้งแรก
    โดยเบลล์ได้พูดสนทนากับวัตสันในคำพูดเดิม คือ "คุณวัตสันมานี้หน่อย ผมต้องการคุณ"


             เบลล์ย้ายไปอยู่ที่เมืองโนวา สโคเทีย และอยู่ที่นั่นจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ.1922

    อังเดร มารี แอมแปร์ : Andre Marie Ampere
     

    เกิด        วันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1775 ที่เมืองโปลีมีเยอร์ (Polemieux) ประเทศฝรั่งเศส (France)
    เสียชีวิต วันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1836 ที่เมืองมาร์แชลล์ (Marseilles) ประเทศฝรั่งเศส (France)
    ผลงาน   - ค้นพบทฤษฎีแม่เหล็กโลก
                 - ประดิษฐ์มอเตอร์ไฟฟ้า (Motor)
                 - ค้นพบสมบัติของไฟฟ้าและแม่เหล็ก


             ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันมาก เพราะฉะบั้นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าก็คือสิ่งที่มีความ
    สำคัญที่สุด และนักวิทยาศาสตร์ผู้ที่ประดิษฐ์มอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าก็คือ อังเดร มารี แอมแปร์ และถ้ากล่าวถึง
    แอมแปร์แล้วทุกคนต้องนึกถึงหน่วยวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลบนตัวนำ ซึ่งชื่อนี้ตั้งเป็นเกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้นี้
    ที่ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างไฟฟ้าและแม่เหล็ก โดย 1 แอมแปร์ หมายถึงกระแสไฟฟ้าที่สามารถแยกเงินบริสุทธิ์ออกจากสารละลาย
    เกลือเงินไนเตรท 0.1 กรัม ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ได้น้ำหนัก 0.001118 กรัม ในเวลา 1 นาที

             แอมแปร์เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1775 ที่เมืองโปลีมีเยอร์ ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาเป็นพ่อค้าที่มีฐานะดีพอสมควร
    ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีทำให้แอมแปร์ได้รับการศึกษาที่ดีแอมแปร์มีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างมาก โดยเฉพาะคณิตศาสตร์ เขามี
    ความสนใจมากเป็นพิเศษจนมีความชำนาญในวิชา Differential Calculus ในขณะที่เขามีอายุเพียง 12 ปี เท่านั้นและในปี ค.ศ.
    1793 เขาได้รับการยกย่องในฐานะนักคณิตศาสตร์ผู้มีความสามารถคนหนึ่งของฝรั่งเศสเลยทีเดียว ในปี ค.ศ. 1974 เกิดการปฏิวัติ
    ใหญ่ในฝรั่งเศส ฝ่ายปฏิวัติต้องการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ และสามารถทำการได้สำเร็จ ฝ่ายปฏิวัติมีคำสั่งให้สังหารคน
    ที่ต้องสงสัยว่าเป็นฝ่ายกษัตริย์เป็นจำนวนมาก รวมถึงพ่อของแอมแปร์ด้วย หลังจากที่พ่อของเขาถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตีน
    (Guillotine) ทำให้เขาเศร้าโศกเสียใจมากและต้องลาออกจากโรงเรียน แอมแปร์ได้เข้าทำงานเป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนแห่ง
    หนึ่ง ต่อจากนั้นได้เข้าทำงานเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ชั้นมัธยม ที่เมืองลีอองส์ (Lyons) หลังจากนั้นอีก 2 ปี
    เขาได้รับเชิญให้เป็นศาสตราจารย์สอนวิชา Analytical Calculus และกลศาสตร์ที่โรงเรียนโปลีเทคนิคแห่งฝรั่งเศส
    (Polytechnic School of France)

             ในระหว่างที่เขาทำงานอยู่ที่โรงเรียนแห่งนี้เขาได้เริ่มการทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้า และได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นหัวหน้าภาควิชา
    คณิตศาสตร์และกลศาสตร์ในปี ค.ศ. 1809 และในปีเดียวกันนั้นแอมแปร์ได้เผยแพร่ผลงานของเขาออกมาหลายชิ้น ทั้งทางด้าน
    คณิตศาสตร์ เคมีและชีววิทยา จากผลงานดังกล่าว เขาได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์
    (Institute of Art and Science) และได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1804 เขาได้รับเชิญ
    จากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองบัวส์ (University of Boise) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ และเคมี แต่โชค
    ร้ายที่ภรรยาของเขาเสียชีวิตทำให้แอมแปร์เสียใจมาก จึงตอบปฏิเสธทางมหาวิทยาลัยบัวส์ไป หลังจากต้องเสียภรรยาไปแล้วแอมแปร์
    ได้ทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับการทดลอง ค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์

             และในปี ค.ศ. 1820 มีนักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก ฮานน์ คริสเตียน เออร์สเตด (Hans Christian Oersted) ได้เผยแพร่ผลงาน
    การค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างไฟฟ้าและแม่เหล็ก เออร์สเตดเป็นศาสตราจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ ประจำมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน
    (Copenhagen University) การค้นพบของเขาเกิดขึ้นจากความบังเอิญ ในขณะที่เขาทำการบรรยายวิชาฟิสิกส์ในหัวข้อเรื่อง
    สมบัติของกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีอุปกรณ์ประกอบการบรรยาย คือ แบตเตอรี่ สายไฟ และเข็มททิศเมื่อเออร์สเตดได้วางสายไฟซึ่งมีกระแส
    ไฟฟ้าไหลอยู่ลงใกล้กับเข็มทิศ ปรากฏว่าเข็มกระดิก สร้างความแปลกใจให้กับเออร์สเตดมาก เขาจึงทำการทดลองซ้ำอีกครั้งโดยการ
    วางสายไฟให้เข้าใกล้เข็มทิศมากขึ้น ปรากฏว่าเข็มกระดิกมากขึ้น จากการค้นพบครั้งนี้นำไปสู่ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างแม่เหล็ก
    กับไฟฟ้า หรือ ทฤษฎีอิเล็กโทรแมกเนติซัม (Electro Magnetism Theory)

             หลังจากแอมแปร์ได้ทราบข่าวการค้นพบครั้งนี้ เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าโดยครั้งแรกเขาได้ทำการทดลองตาม
    แบบเออร์สเตด หลังจากนั้นเขาได้สรุปสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า "เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดตัวนำจะทำให้รอบ ๆ
    ลวดตัวนำเกิดอำนาจแม่เหล็กขึ้น" จากการทดลองครั้งนี้แอมแปร์สามารถสรุปได้ว่า ในแม่เหล็กอาจมีไฟฟ้าซ่อนอยู่หลังจากนั้นแอมแปร์
    ได้ทำการทดลองโดยการต่อเส้นลวด 2 เส้น เข้ากับแบตเตอรี่และวางในแนวคู่ขนานกัน จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ถึงความ
    สัมพันธ์ระหว่างแม่เหล็กและไฟฟ้าว่า "อำนาจที่ได้จากแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้าวงจรปิดแบบเดียวกัน ปรากฏว่าถ้าปล่อยกระแสไฟฟ้า
    ไปในทิศทางเดียวกัน ลวดทั้ง 2 เส้นจะผลักกัน แต่ถ้าปล่อยกระแสไฟฟ้าในทิศทางตรงข้ามกันลวดทั้ง 2 เส้นจะดึงดูดกัน ส่วนในแท่ง
    แม่เหล็กนั้น ถ้าหันขั้วเดียวกันเข้าหากันก็จะผลักกัน แต่ถ้าหันคนละขั้วจะดึงดูดกัน"

             ต่อมาแอมแปร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการเดินทางของกระแสไฟฟ้าบนลวดตัวนำต่อไปโดยการนำคอยล์ (Coil) หรือขดลวด
    มาพันซ้อนกันหลาย ๆ รอบจนกลายเป็นรูปทรงกระบอกหรือที่เรียกว่า "โซเลนอยด์ (Solenoid)" จากนั้นจึงปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้า
    ไป ปรากฏว่าเกิดสนามแม่เหล็กภายในโซเลนอยด์ และจากการทดลองครั้งนี้ได้นำไปสู่การค้นพบทฤษฎีแม่เหล็กโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่
    ถกเถียงกันมาเป็นเวลานานแล้ว ว่าเหตุใดบริเวณขั้นโลกเหนือและใต้จึงมีอำนาจแม่เหล็กอยู่

             แอมแปร์ทำการทดลองเพื่อให้ทุกคนเข้าใจในทฤษฎีอันนี้ โดยการสร้างวงขดลวดไฟฟ้าขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งใช้ลวดลายมาพัน
    เป็นขดแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดทีละน้อย ผลปรากฏว่าเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปจะมีอำนาจเหมือนแท่งแม่เหล็ก
    นอกจากนี้เขายังพบว่ายิ่งพันขดลวดมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ามากขึ้น จากการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า การเกิดแม่เหล็ก
    โลกเกิดจากโลกมีประจุไฟฟ้าซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก และผลงานชิ้นนี้ได้นำไปสู่การสร้างสนามแม่เหล็ก และมอเตอร์
    ไฟฟ้า

             แอมแปร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1836 ที่เมืองมาร์แชลล์ ประเทศฝรั่งเศส


    This site is copyright @ 2004 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2354 3792
    Email : info@dss.go.th

    ปรับปรุง : 21-Sep-2004 1:53 PM

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×