คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่น (日本語, นิฮงโงะฟังเสียง ) เป็นภาษาราชการ ในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่าง ๆ
ตัวอักษร
ตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นสามารถจำแนกออกเป็นสองกลุ่ม คือ ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียง ซี่งได้แก่ ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะกับ ตัวอักษรที่แสดงความหมาย ที่เรียกว่า คันจิ โดยใช้ร่วมกับตัวเลขอารบิก และตัวอักษรโรมัน ซึ่งจะมีความหลากหลายมากกว่าภาษาที่ใช้ในประเทศใกล้เคียง เช่น ภาษาจีนซึ่งใช้ตัวอักษรจีน เป็นหลัก ส่วนภาษาเกาหลีก็จะใช้อักษรฮันกุลเป็นหลัก
อย่างไรก็ดี เนื่องจากตัวคันจิซึ่งญี่ปุ่นรับมาจากภาษาจีนนั้นมีจำนวนมาก และบางครั้งมีการใช้ตัวอักษรที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดมาตรฐานของตัวคันจิ ซึ่งเรียกว่า โจโยคันจิ ประกอบด้วยตัวอักษร 1,945 ตัว เป็นตัวคันจิที่คนญี่ปุ่นทั่วไปรู้จัก โดยไม่จำเป็นต้องเขียนคำอ่านกำกับ
ไวยากรณ์
โครงสร้างประโยคในภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานประกอบด้วย ประธาน + กรรม + กริยา โดยแต่ละส่วนจะมีคำช่วยที่ใช้เชื่อมแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน ดังจะได้เห็นจากไวยากรณ์พื้นฐานดังต่อไปนี้
รูปประโยคบอกเล่าพื้นฐาน
คำนาม 1 + は + คำนาม 2 + です。 |
มีความหมายว่าคำนาม 1 นั้นคือ คำนาม 2 ตัวอย่างเช่น
わたしは ソムチャイです。 | ฉันชื่อสมชาย |
わたしは タイ人(じん)です。 | ฉันเป็นคนไทย |
ในโครงสร้างประโยคนี้ใช้ は เป็นคำช่วยใช้ชี้หัวข้อเรื่องที่กำลังจะพูด ในที่นี้คือ "ฉัน" ประโยคบอกเล่าสามารถเปลี่ยนให้เป็นประโยคคำถามเพื่อถามว่าใช่หรือไม่ โดยการเติม か ลงท้ายประโยค เวลาพูดให้ออกเสียงสูงท้ายประโยค ตัวอย่างเช่น
あなたは 日本人(にほんじん)ですか? | คุณเป็นคนญี่ปุ่นใช่หรือไม่ |
- いいえ、中国人(ちゅうごくじん)です。 | ไม่ใช่, เป็นคนจีน |
คำศัพท์
わたし | ฉัน |
あなた | คุณ |
タイ人 | คนไทย |
日本人 | คนญี่ปุ่น |
アメリカ人 | คนอเมริกัน |
中国人 | คนจีน |
はい | ใช่ |
いいえ | ไม่ใช่ |
ประธาน + は + กรรม + を+ กริยา |
มีความหมายว่า ประธานกระทำกริยากับกรรม ตัวอย่างเช่น
わたしは ごはんを 食(た)べます。 | ฉันกินข้าว |
かれは 本(ほん)を 読(よ)みます。 | เขาอ่านหนังสือ |
ในโครงสร้างประโยคนี้ จะเห็นว่าเราใช้คำช่วย を ต่อท้ายคำที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
คำศัพท์
ごはん | ข้าว |
本 | หนังสือ |
食べます | กิน |
読みます | อ่าน |
かれ | เขา(ผู้ชาย) |
かのじょ | เขา(ผู้หญิง) |
กริยารูปอดีต และปฏิเสธ
ในภาษาญี่ปุ่นนั้นจะมีการผันรูปของกริยา ไปตามเวลาเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นในประโยคปฏิเสธจะมีการผันกริยาเพื่อแสดงความหมายว่า "ไม่" อีกด้วย หลักการผันกริยามีดังนี้
รูปปัจจุบัน บอกเล่า | รูปอดีต บอกเล่า | รูปปัจจุบัน ปฏิเสธ | รูปอดีต ปฏิเสธ |
ーます | ーました | ーません | ーませんでした |
食(た)べます | 食べました | 食べません | 食べませんでした |
飲(の)みます | 飲みました | 飲みません | 飲みませんでした |
見(み)ます | 見ました | 見ません | 見ませんでした |
きょう テレビを 見ます。 | วันนี้จะดูโทรทัศน์ |
きのう テレビを 見ました。 | เมื่อวานดูโทรทัศน์ |
きょう テレビを 見ません。 | วันนี้จะไม่ดูโทรทัศน์ |
きのう テレビを 見ませんでした。 | เมื่อวานไม่ได้ดูโทรทัศน์ |
คำศัพท์
見ます | ดู | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
テレビ | โทรทัศน์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
きょう | วันนี้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
きのう | เมื่อวาน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
さって | วันมะรืนการเขียนคำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น |
ความหมาย | ภาษาญี่ปุ่น | คะนะ | โรมาจิ | ||
---|---|---|---|---|---|
เฮปเบิร์น | คุนเรชิกิ | นิฮงชิกิ | |||
โรมาจิ | ローマ字 | ローマじ | rōmaji | rômazi | rōmazi |
ภูเขาฟูจิ | 富士山 | ふじさん | Fujisan | Huzisan | Huzisan |
ชา | お茶 | おちゃ | ocha | otya | otya |
รัฐบาล | 知事 | ちじ | chiji | tizi | tizi |
ย่อขนาด | 縮む | ちぢむ | chijimu | tizimu | tidimu |
(ตอน)ต่อไป | 続く | つづく | tsuzuku | tuzuku | tuduku |
เสียงตามระบบเฮ็ปเบิร์นเป็นเสียงที่ใกล้เคียงกับการออกเสียงภาษาอังกฤษมากที่สุด โดยในปัจจุบันมีการใช้กันมากที่สุด สำหรับในหนังสือหรือแหล่งอ้างอิงในบางแหล่งอาจจะมีการใช้โรมาจิแบบเก่า ซึ่งเมื่อถอดเสียงต่อมาเป็นภาษาไทย จะทำให้เกิดเสียงเพี้ยนได้ ซึ่งการถอดเสียงภาษาไทย ควรจะอ้างอิงจากตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นเอง เช่นคำว่า ภูเขาูฟูจิ ในตารางด้านบน รูปแบบของเฮ็ปเบิร์นจะใช้ตัวอย่าง ā แทน aa และō แทน oo
วิธีการถอดเสียงภาษาไทยจากโรมาจิ
การแยกพยางค์
แยกพยางค์ก่อน เพราะคำในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วย สระ และ/หรือพยางค์ต้น โดยไม่มีพยางค์ท้ายทุกคำเหมือนภาษาไทยยกเว้น ตัว ん (ออกเสียง ง,น,ม) โดยสระที่อยู่ติดแยกคำอ่าน ยกเว้น aa, ei, ou ถือเป็นพยางค์เดียว
- chijimu แยก chi-ji-mu อ่าน ชิจิมุ
- aoi แยก a-o-i อ่าน อะโอะอิ
- nihongo แยก ni-hon-go อ่าน นิโฮนโงะ
- toori, tōri แยก too-ri tō-ri อ่าน โทริ
- Tōkyō แยก Tō-kyō อ่าน โท-เคียว
- fujieda แยก fu-ji-e-da อ่าน ฟุจิเอะดะ
- sensei แยก sen-sei อ่าน เซ็นเซ
- sai แยก sa-i อ่าน ซะอิ
ตารางเทียบเสียงสระภาษาญี่ปุ่น
โรมาจิ | ตัวอักษรญี่ปุ่น | การทับศัพท์ | ตัวอย่าง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
a | あ | อะ | yama = ยะมะ | |
aa, ā | ああ | อา | okaasan, okāsan = โอะกาซัง | |
e | え | เอะ | ike = อิเกะ | |
ee, ē,ei | ええ, えい | เอ | sensei = เซ็นเซ | |
i | い | อิ | hashi = ฮะชิ | |
ii, ī | いい | อี | oniisan, onīsan = โอะนีซัง | |
o | お | โอะ | ocha = โอะชะ | |
oo, ō | おう หรือ おお | โอ | sayoonara, sayōnara = ซะโยนะระ | |
u | う | อุ | shinbun = ชิมบุง | |
uu, ū | うう | อู | juuyoo, jūyoo = จูโย | |
ya | ゃ | เอียะ | kyaku = เคียะกุ | |
yaa, yā | ゃあ | เอีย | nyaanyaa, nyānyā = เนียเนีย | |
yo | ょ | เอียว | ryokoo = เรียวโก | |
yoo, yō | ょお | เอียว | byooin, byōin = เบียวอิง | |
yu | ゅ | อิว | kyu = คิว | |
yuu, yū | ゅう | อีว | kyuukoo, kyūkoo = คีวโก |
ตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่น
โรมาจิ | ตัวอักษรญี่ปุ่น | การทับศัพท์ | ตัวอย่าง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
b | ば び ぶ べ ぼ | บ | obi = โอะบิ | |
ch | ち | ช | chiisai = ชีซะอิ | ระบบโรมาจิแบบเก่า จะเขียน t แทนที่ ch |
d | だ で ど | ด | denwa = เด็งวะ Yamada = ยะมะดะ |
|
f | ふ | ฟ | Fujisan = ฟุจิซัง fune = ฟุเนะ |
|
g (พยางค์แรก) | が ぎ ぐ げ ご | ก | ginkoo = กิงโก | |
g (พยางค์อื่น ๆ) | が ぎ ぐ げ ご | ง | arigatoo = อะริงะโต | หมายเหตุ: เสียงพยัญชนะ g ในพยางค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่พยางค์แรก จะออกเสียงใกล้เคียงกับเสียง ง ในภาษาไทย จึงกำหนดให้ใช้ ง |
h | は ひ へ ほ | ฮ | hashi = ฮะชิ | |
j | じ ぢ | จ | kaji = คะจิ | |
k (พยางค์แรก) | か き く け こ | ค | kao = คะโอะ | |
k (พยางค์อื่น ๆ) | か き く け こ | ก | niku = นิกุ | |
kk | ก | gakkoo = กักโก | หมายเหตุ: เสียงพยัญชนะ k ในพยางค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่พยางค์แรก จะออกเสียงใกล้เคียงกับเสียง ก ในภาษาไทย จึงกำหนดให้ใช้ ก | |
m | ま み む め も | ม | mado = มะโดะ | |
n | な に ぬ ね の | น | Nagoya = นะโงะยะ | |
n | ん | ง,น,ม | ดูหมายเหตุท้ายตาราง | |
p (พยางค์แรก) | ぱ ぴ ぷ ぺ ぽ | พ | pen = เพ็ง | |
p (พยางค์อื่น) | ぱ ぴ ぷ ぺ ぽ | ป | tenpura = เท็มปุระ | |
p (ตัวสะกด) | ป | Nippon = นิปปง | หมายเหตุ: เสียงพยัญชนะ p ในพยางค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่พยางค์แรกจะออกเสียงใกล้เคียงกับเสียง ป ในภาษาไทย จึงกำหนดให้ใช้ ป | |
r | ら り る れ ろ | ร | ringo = ริงโงะ | |
s | さ す せ そ | ซ | sakana = ซะกะนะ | |
s (ตัวสะกด) | ส | kissaten = คิสซะเต็ง | ||
sh | し | ช | sashimi = ซะชิมิ | ในโรมาจิแบบเก่าอาจเขียน sh เป็น s |
t (พยางค์แรก) | た つ て と | ท | te = เทะ | |
t (พยางค์อื่น ๆ) | た つ て と | ต | migite = มิงิเตะ | |
t (ตัวสะกด) | ต | mittsu = มิตสึ | ||
tsu | つ | สึ | tsukue = สึกุเอะ | |
w | わ, は | ว | watashi = วะตะชิ | は ถ้าใช้สำหรับเชื่อมประโยค ออกเสียง วะ นอกนั้นออกเสียง ฮะ ยกเว้น こんにちは อ่าน konnichiwa |
y | や ゆ よ | ย | yama = ยะมะ | |
z | ざ じ ず ぜ ぞ づ | ซ | mizu = มิซุ |
หมายเหตุเพิ่มเติม
- “y” เป็นเสียงกึ่งสระเมื่อตามหลังพยัญชนะจึงกำหนดให้เป็นเสียงสระเพื่อความสะดวกในการออกเสียง
สำหรับ n ที่เป็นตัวสะกด
n เมื่อเป็นตัวสะกดจะออกเสียงได้หลายอย่าง จึงกำหนดไว้ดังนี้
- เมื่อตามด้วยพยัญชนะ b m และ p ให้ถอดเป็น ม เช่น
- shinbun = ชิมบุง
- sanma = ซัมมะ
- enpitsu = เอ็มปิสึ
- เมื่อตามด้วยพยัญชนะ g h k และ w ให้ถอดเป็น ง เช่น
- ringo = ริงโงะ
- ginkoo = กิงโก
- denwa = เด็งวะ
- เมื่ออยู่ท้ายสุดของคำ ให้ถอดเป็น ง เช่น
- hon = ฮง
- san = ซัง
- ในกรณีอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ 1, 2 และ 3 ให้ถอดเป็น น เช่น
- gunjin = กุนจิง
- hontoo = ฮนโต
- undoo = อุนโด
- chichimenchoo= ชิชิเม็นโช
- densha = เด็นชะ
- onna = อนนะ
- kanri = คันริ
- dansei = ดันเซ
ความคิดเห็น