ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด

    ลำดับตอนที่ #1 : อวกาศ

    • อัปเดตล่าสุด 19 ต.ค. 49



    การกำเนิดระบบสุริยะ
    ทฤษฎีเนบิวลา เป็นแนวความคิดของคานท์ และ ลาปลาซได้รวบรวมทฤษฎีที่ดีที่สุด
    ฮอยล์เสนอว่าแรกเริ่มมีก้อนก๊าซและฝุ่นหมุนรอบตัวเอง และยุบตัวลงที่ใจกลางเกิดดวงอาทิตย์ขึ้น
    ฝุ่นก๊าซที่เหลือจะแผ่แบนเป็นวงแหวนล้อมรอบโดยมีสนามแม่เหล็กเป็นเครื่องเชื่อมโยง
    ต่อมาเม็ดฝุ่นก่อตัวและใหญ่ขึ้นเรื่อยๆในวงแหวน กลายเป้นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์

      ระบบสุริยะประกอบด้วยดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ 9 ดวง

    ดาวเคราะห์
    ดาวเคราะห์เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเองโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี
     ดาวเคราะห์แต่ละดวงมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมีทั้งหมด 9 ดวง
    แต่ละดวงมีคุณสมบัติแตกกัน ดาวเคราะห์แต่ละดวงอาจมีบริวารหรือไม่มีก็ได้
    ซึ่งมีการจำแนกแตกต่างกันไป ลองคลิ้กดูสิ


    ดาวเคราะห์น้อย

    มีวงทางโคจรระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส เส้นผ่าศูนย์อยู่ระหว่าง 1-768 กิโลเมตร
    ส่วนใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 กิโลเมตร ซีเรส มีขนาดใหญ่ที่สุด

    ดาวหาง

    ดาวหางแหล่งกำเนิดของดาวหาง เชื่อกันว่าเป็นวัตถุที่เหลือจากการสร้างระบบสุริยะ
    เป็นคล้ายบริวารรอบนอกของระบบ ตามปกติจะมีดาวหางจำนวนหนึ่งโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์
    แล้วกลับคืนออกไปขอบนอกของระบบสุริยะ แต่มีบางดวงที่โคจรอยู่ภายในระบบสุริยะ

    ส่วนประกอบของดาวหาง เมื่อดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากๆ จะมีลมสุริยะ
    ทำให้ก๊าซแตกตัวเป็นไออนถูกผลักดันไปในทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์
    หางของมันจะมีความยาวมากเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์และจะชี้ออกจากดวงอาทิตย์เสมอ


    อุกาบาต

    เป็นวัตถุชิ้นเล็กๆ พุ่งผ่านบรรยากาศของโลกด้วยความเร็วสูงเสียดสีกับบรรยากาศทำให้สว่างจ้าขึ้นมักปรากฏหลังเที่ยงคืน

    ดวงอาทิตย์

    เป็นดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาถึงโลก 8 นาที มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,392,000 กิโลเมตร ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจน รองลงมาคือ ฮีเลียม ที่แกนมีความกดดันสูงมาก
    โดยความดัน ความหนาแน่นและอุณหภูมิ ของมวลจะเพิ่มขึ้นตามความลึกจากพื้นผิว

    ชั้นต่างๆของดวงอาทิตย์

    แบ่งเป็น 3 ชั้น โฟโตสเฟียร์ โครโมสเฟียร์ และโคโรนา

    โฟโตสเฟียร ์เป็นพื้นผิวของดวงอาทิตย์มีความหนา 4 ร้อยกิโลเมตร ก๊าซมีความเบาบางมาก
    ขอบของดวงอาทิตย์สว่างน้อยกว่ากลางดวง จุดบนดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ใจกลางสุด มี 2 ส่วนคือ
    เขตมืดและเขตมัว เขตมัวจะมีอุณหภูมิสูงกว่าและล้อมรอบเขตมืด จำนวนจุดที่เกิดขึ้นในแต่ละปีจะไม่คงที่
    การศึกษาการเคลื่อนที่ของจุดเป็นหลักฐานว่าดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง แต่คาบของการหมุนไม่เท่ากัน
    มีสนามแม่เหล็ก โดยความเข้มของสนามแม่เหล็กจะขึ้นอยู่กับขนาดของจุด

    โครโมสเฟียร์ มีลักษณะเป็นก๊าซโปร่งแสงอยู่เหนือโฟรโตสเฟียร์

    โคโรนา เป็นบรรยากาศนอกสุดของดวงอาทิตย์เป็นชั้นบางๆ ล้อมรอบดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิประมาณ 2 ล้านองศาเคลวิน

     

    นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ดวงอาทิตย์จะดำรงอยู่ได้เพียงห้าล้านๆปีเท่านั้น

     

    ารจำแนกดาวเคราะห์

    ใช้ตำแหน่งของโลกเป็นหลัก ดาวเคราะห์ดวงใดมีวงโคจรอยู่ในวงโคจรของโลกจะเป็นดาวเคราะห์วงใน และ
    ดาวเคราะห์ที่อยู่นอกวงโคจรของโลกจะเรียกว่าดาวเคราะห์วงนอก

    ดาวเคราะห์วงใน มีพื้นผิวเต็มไปด้วยหินประกอบด้วยแร่ต่างๆ มีบรรยากาศทุกดวงยกเว้นดาวพุธ

    ดาวเคราะห์ชั้นนอกมีขนาดใหญ่และประกอบด้วยแก๊สต่างๆ ยกเว้นดาวพลูโตประกอบด้วยน้ำแข็งและหิน

    นักวิทยาศาสตร์ใช้หน่วยดาราศาสตร์ในการวัดระยะทาง หนึ่งหน่วยดาราศาสตร์ = 149.6 ล้านกิโลเมตร

    ารหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์

    มีวิธีการศึกษา 2 วิธีคือ

    1. การศึกษาโดยวัดเส้นสเปกตรัม การเคลื่อนที่ของเส้นสเปกตรัมขึ้นอยู่กับความเร้วของแหล่งกำเนิดแสง
    ถ้าการเคลื่อนมีมากแสดงว่าดาวเคราะห์นั้นมีอัตราเร็วในการหมุนรอบตัวเองมากด้วย การศึกษาวิธีนี้ใช้ได้ดีสำหรับ
    ดาวเคราะห์ดวงใหญ่ ถ้าเป็นดวงเล็กการเคลื่อนของสเปกตรัมจะไม่ชัดเจน

    2. การศึกษาโดยการสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ คลื่นที่สะท้อนจากขอบที่กำลังหนุมเข้าหาโลกจะมีความถี่มาก ส่วนคลื่นที่สะท้อนจากขอบที่กำลังหมุนออกจากโลกจะมีความถี่น้อย ข้อมูลนี้สามารถหาอัตราเร็วของการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์ได้

    จากการศึกษาพบว่า ดาวเคราะห์ทุกดวงของระบบสุริยะจะหมุนรอบตัวเองในทิศทวนเข็มนาฬิกายกเว้นดาวศุกร์

    ดาราศาสตร์


    ดาราศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาวิทยาศาสตร์ทั้งหลายมันเป็นการศึกษาดาวเคราะห์ ในเชิงวิทยาศาสตร์

    นักดาราศาสตร์ชาวกรีกได้พัฒนาทฤษฎีที่ว่าโลกคือศูนย์กลางของจักรวาลต่อมานักดาราศาสตร์ชื่อโคเปอร์นิคัส
    ได้กล่าวว่าดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของระบบสุริยะ

    ปัจจุบันข้อมูลมากมายได้มาจากกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ซึ่งมีกระจกโค้งหรือเลนส์ที่ใหญ่ซึ่งรวบรวมแสง
    จำนวนเล็กน้อยที่กรองจากท้องฟ้าในเวลากลางคืน


    สมัยแรกเริ่ม
    ดาราศาสตร์สมัยเริ่มแรก ดาราศาสตร์สมัยนี้เป็นดาราศาสตร์ที่เกิดจาก
    การศึกษาโดยไม่มีอุปกรณ์ใดๆ  แต่เป็นการศึกษาโดยใช้การคำนวณและการสังเกตเป็นส่วนใหญ่
    ข้อมูลที่ได้มักไม่ค่อยมีความแม่นยำ อาจมีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง

    ดาราศาสตร์สมัยกลาง

    นิโคเลาส์ โคเพอร์นิคัส สร้างอุปกรณ์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์มีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเอกภพ
    ไทโค บราฮี ค้นพบดาวดวงหนึ่งปะทุขึ้นในกลุ่มดาวค้างคาว ตรวจสอบตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ
    แต่มีความเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของเอกภพ

    กาลิเลโอ กาลิเลอี พบดาวระเบิดใหญ่ในกลุ่มดาวงูใหญ่ พบลักษณะดวงจันทร์ที่เป็นบ่อเป็นหลุมเขียนแผนที่ดวงจันทร์
    พบบริวาร 4 ดวงของดาวพฤหัสบดี เชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเอกภพ พบว่าดวงอาาาทิตย์มีการหมุนรอบตัวเอง

    ดาราศาสตร์สมัยปัจจุบัน

     

    โจฮันส์ เคปเลอร์ ทำปฏิทินอันแรกขึ้น เป็นศาสดาพยากรณ์ ได้ตั้งกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ขึ้น

    เซอร์ไอแซก นิวตัน ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นเป็นครั้งแรก ตั้งกฎของการเคลื่อนที่ของวัตถุและ
    กฎแห่งความโน้มถ่วง

    โจฮัน เอแลต โบด กฎเกี่ยวกับระยะห่างของดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวง

     

    จะเห็นได้ว่าความรู้ทางดาราศาสตร์พัฒนามาเรื่อยๆ จนมาถึงในยุคปัจจุบันที่เราสามารถใช้
    เครื่องมือที่ตรวจจับแสงสว่างที่มองไม่เห็น ตรวจจับคลื่นวิทยุที่ส่งออกมาจากดวงดาวต่างๆ
    และในที่สุดมนุษย์ก็สามารถส่งยานอวกาศออกไปสู่อวกาศได้ ทำให้สามารถค้นพบข้อมูลต่างๆ
    จะเห็นได้ว่าความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ยังคงพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง


    เอกภพ
    คือระบบรวมของดาราจักร ในแต่ละดาราจักรประกอบด้วย
    ระบบของดวงดาวต่างๆ ซึ่งรวมถึงระบบสุริยะด้วย
    ดังนั้นดวงอาทิตย์จึงเป็นดาวดวงหนึ่งในดาราจักร
    ดาราจักรหรือกาแล็คซี่ของเรามีชื่อว่ากาแลคซีทางช้างเผือก

    กาแลคซีที่มีการค้นพบอีกคือกาแล็คซีแอนโดรเมดา
    ปัจจุบันกาแล็คซีที่อยู่ไกลที่สุดมีระยะทางไกลถึง15ล้านๆปีแสง
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจักรวาลมีการขยายตัวและพยายามคาดคะเน
    ต่อไปว่าจักรวาลจะหยุดการขยายตัวหรือไม่ซึ่งยังไม่สามารถหา
    คำตอบได้

    ความหมายและส่วนประกอบของดาราจักร

    ดาราจักรคือวัตถุท้องฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในเอกภพ

           ประกอบด้วย
             ระบบรวมของดาวฤกษ์
             กระจุกดาว
             เนบิวลา
             ฝุ่นธุลีคอสมิก และก๊าซ
             ที่ว่าง
     

     

     

     

    ดาราจักรแบ่งออกเป็น

    1.ส่วนใจกลาง มีดาวฤกษ์เป็นส่วนมาก

    2.จาน ส่วนที่เป็นแผ่นราบอยู่รอบๆใจกลาง

    3.แขนของดาราจักร ส่วนที่อยู่ถัดจากจานออกไป

    ใจกลางของดาราจักรจะมีดาวฤกษ์อยู่เป็นจำนวนมากและจะเริ่มน้อยลงเมื่ออยู่บริเวณขอบของดาราจักร

     

    ดาราจักรแบ่งได้เป็น 2 พวกใหญ่ๆด้วยกันคือ

    1.ดาราจักรของเรา คือ ดาราจักรทางช้างเผือก เป็นดาราจักรที่มีระบบสุริยะของเราอยู่ ห่างจากใจกลางดาราจักร
    ประมาณ 30000 ปีแสง ลักษณะคล้ายเลนส์นูน

    ดวงดาวที่เรามองเห็นล้วนเป็นดวงดาวในดาราจักรของเราทั้งนั้น ดาวต่างๆจะเคลื่อนที่รอบดาราจักรด้วยความเร็ว
    ต่างกันตามระยะทางพวกที่อยู่ใกล้แกนจะมีความเร็วมาก

    2.ดาราจักรอื่นๆ ที่ค้นพบมี 2 ดาราจักร คือ ดาราจักรอันโดรเมดา และกลุ่มเมฆแมกเจลแลน

            ดาราจักรแอนโดรเมดา อยู่ห่างออกไป1.5ล้านปีแสงมีขนาดใหญ่กว่าดาราจักรของเรา

    กลุ่มเมฆแมกเจลแลน รูปร่างไม่สม่ำเสมอ เป็นกลุ่มประจำถิ่น ซึ่งมีรูปร่างดังนี้

     ดาราจักรรูปกังหัน

     ดาราจักรรูปไม่สม่ำเสมอ

     ดาราจักรรูปไข่

      

     

     

     

     

    ประเทศฮอลแลนด์ ได้ค้นพบหลักและคุณสมบัติของเลนส์นูนและเลนส์เว้า
    เมื่อกาลิเลโอทราบข่าวเขาจึงนำหลักการนี้มาใช้สร้างกล้องโทรทรรศน์
    เพื่อใช้ในการส่องดูสิ่งที่อยู่ในอวกาศ  อย่างไรก็ตามกล้องของกาลิเลโอยังมีข้อบกพร่อง
    คือ เขาใช้เลนส์ตาเป็นเลนส์เว้า ทำให้ภาพที่เห็นมีความแคบ  

    เคปเลอร์ได้สร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้นโดยใช้เลนส์ตาเป็นเลนส์นูน
    ทำให้เขาสามารถเห็นภาพได้กว้างขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาความคลาดเคลื่อนทรงกลม
    และความคลาดเคลื่อนสี  ต่อมานิวตันได้แก้ปัญหาดังกล่าวโดยใช้กระจกเว้าแทนเลนส์
    ซึ่งแก้ปัญหาความคลาดสีได้ เขานับเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่สร้างกล้องโทรทรรศน์
    โดยใช้หลักการสะท้อนของแสง  อีก 50 ปีต่อมา จอห์น ฮาร์ดลี่
    ได้แก้ปัญหาการคลาดทรงกลมได้โดยใช้ผิวสะท้อนแสงเป็นผิวโค้งแบบพาราโบลา
    ทำให้กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสงเป็นที่นิยมกันมากขึ้น

     

    กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง  ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
    เลนส์วัตถุทำหน้าที่รับแสงจากวัตถุที่อยู่ไกลๆแล้ว เกิดภาพที่จุดโฟกัสและ
    เลนส์ตาทำหน้าที่ขยายภาพจากเลนส์วัตถุ ถ้ามีความยาวโฟกัสสั้น
    จะทำให้มองเห็นภาพได้โตกว่าเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสยาว  
    กล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
    แบบที่ใช้เลนส์ตาเป็นเลนส์เว้าได้ภาพเสมือนหัวตั้งขนาดขยาย
    และแบบเลนส์ตาเป็นเลนส์นูน จะได้ภาพจริงหัวกลับขนาดขยาย

    กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่สหรัฐอเมริกา
    ขนาดเลนส์ 40 นิ้ว มีความยาวโฟกัส 63 ฟุต

     

     

    กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง ใข้กระจกเว้าแทนเลนส์วัตถุ
    แลัวใช้เลนส์ตาขยายภาพอีกครั้ง  แบ่งเป็นหลายแบบตามลักษณะของโฟกัส

    กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสงที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่โซเวียต มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 236 นิ้ว

    ทคโนโลยีอวกาศ


    เทคโนโลยีอวกาศ คือการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่นอกโลกของเราและสำรวจโลกของเราเองด้วย
     ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น
    โดยองค์การที่มีส่วนมากในการพัฒนาทางด้านนี้คือองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดทำโครงการขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อการสำรวจดาวที่ต้องการศึกษาโดยเฉพาะและที่ทำขึ้นเพื่อศึกษาสิ่งต่างๆในจักรวาล
    การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศนั้นมีทั้งด้านการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารในปัจจุบันทำได้อย่างรวดเร็ว
     การสำรวจทรัพยากรโลก ทำให้ทราบว่าปัจจุบันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง    
     และการพยากรณ์อากาศก็จะทำให้สามารถเตรียมพร้อมที่จะรับกับสถานการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป

    จุดหมายปลายทางในอวกาศ


     ดวงจันทร์ นับเป็นดาวดวงแรกที่มนุษย์คิดจะเดินทางไป ดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศ ดังนั้น
    ดวงจันทร์จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยมากนักตั้งแต่ถือกำเนิดมาเนื่องจากไม่มีบรรยากาศ
    นักดาราศาสตร์จึงเข้าใจว่าดวงจันทร์เป็นแหล่งที่จะให้รายงานทางวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย
    นอกจากนี้การใช้ดวงจันทร์เป็นฐานที่มั่นในการสำรวจอวกาศก็จะเป็นการประหยัดเชื้อเพลิงยิ่งขึ้น
    เนื่องจากดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศจึงใช้แรงขับดันเพียงเล็กน้อยในการขับดันจรวดออกสู่อวกาศ

     

     

    ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ได้รับความสนใจมาก เพราะเป็นความหวัง
    สุดท้ายว่าอาจจะมีสิ่งมีชีวิตอาศียอยู่ ลักษณะเด่นคือมองเห็นเป็นเส้นตัดกันจนอาจทำให้คิดว่า
    เป็นคลอง  ทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นจึงมีการส่งยานมารีเนอร์เข้าไปสำรวจ

    ารสำรวจดาวเคราะห์

    โครงการของสหรัฐอเมริกา มีดังนี้

              1. โครงการไพโอเนียร์
              2. โครงการมารีเนอร์
              3. โครงการไวกิง
              4. โครงการวอยเอจเยอร์
              5. โครงการไพโอเนียร์ - วีนัส
              6. โครงการกาลิเลโอ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     


    การสำรวจดาวศุกร์

    มียานมาริเนอร์-1 ยานมาริเนอร์-2 ยานมาริเนอร์-5 ยานมาริเนอร์-10 โดยรายงานเกี่ยวกับอุณหภูมิความกดอากาศ บรรยากาศของดาวศุกร์และมีการถ่ายภาพกลับมาด้วย

    ไพโอเนียร์ โดยใช้ชื่อโครงการว่า ไพโอเนียร์-วีนัส ลำที่ 1 และ ลำที่ 2 ทำแผนที่ของดาวศุกร์และได้ลงจอดที่พื้นของดาวศุกร์

     

    การสำรวจดาวพุธ

    สำรวจครั้งแรกโดยยานมาริเนอร์-10 ทำแผนที่ 1/3 ของดาวพุธทั้งดวงและสำรวจบรรยากาศของดาวพุธ

     

    การสำรวจดาวอังคาร

    สำรวจโดยยานมาริเนอร์-4 ยานมาริเนอร์-7 ยานมาริเนอร์-6 ยานมาริเนอร์-8 สำรวจด้านอุณหภูมิ ภูมิประเทศ แรงโน้มถ่วง แร่ต่างๆ และพบปล่องภูเขาไฟ

    ยานไวกิ้ง มี ไวกิ้ง 1 กับ ไวกิ้ง 2 พบว่าพื้นที่เต็มไปด้วยหินของภูเขาไฟไม่พบร่องรอยของสิ่งมีชีวิต

     

    การสำรวจดาวพฤหัส

    สำรวจโดยยานไพโอเนียร์ 2 ลำ คือ ไพโอเนียร์-10 กับไพโอเนียร์-11มีวอยเอจเยอร์-1 กับวอยเอจเยอร์-2  สำรวจทางด้านภูมิประเทศ

     

    การสำรวจดาวเสาร์

    สำรวจโดยไพโอเนียร-11 พบวงแหวนใหม่ 2 วง มีการค้นพบดวงจันทร์ของดาวเสาร์

     

    นักบินอวกาศ

     

     

     

     สิ่งมีชีวิตแรกที่เดินทางไปยังอวกาศคือสุนัขมีชื่อว่าไลก้า โดยขึ้นไปกับยานสปุตนิก 2

    นักบินอวกาศคนแรกของโลกคือ ยูริ กาการิน สหภาพโซเวียตขึ้นไปกับยานวอสต๊อก 1

    นักบินอวกาศคนแรกที่โคจรรอบโลกคือ จอห์น เกลน สหรัฐอเมริกา

    นักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลกเป็นชาวโซเวียต ชื่อ วาเลนติน่า เทเรชโกว่า เดินทางไปกับยานวอสต๊อก

    ยานอวกาศที่เดินทางไปยังดวงจันทร์เป็นของสหรัฐอเมริกาโดย นีลอาร์มสตรอง เป็นคนแรกที่ได้เดินบน
    ดวงจันทร์เดินทางไปกับยานอพอลโล 11


    ความหมายของดาวเทียม ดาวเทียมคือห้องทดลองที่บรรจุอุปกรณ์เอาไว้ ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก
    มีรูปทรงต่างๆ  ดาวเทียมมีระยะเวลาโคจรรอบโลกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดและระยะห่างของวงโคจร


     


    ความหมายของยานอวกาศคือยานที่ทำขึ้นเพื่อใช้สำหรับสำรวจอวกาศ
    โดยมีวัตถุประสงค์ของการใช้งานในแต่ละครั้งแตกต่างกันไป ตามความต้องการของมนุษย์

    ยานอวกาศ

    ยานอวกาศ มี 2 ประเภทคือ ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมและไม่มีมนุษย์ควบคุม

    ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม ส่วนใหญ่สำรวจ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และห้วงอวกาศ
    ระหว่างดาวเคราะห์ จะขอกล่าวถึง โครงการที่สำรวจดวงจันทร์คือ

    1. โครงการเรนเจอร์ ออกแบบให้ยานพุ่งชนดวงจันทร์

    2. โครงการลูน่าออบิเตอร์ กำหนดให้ยานไปวนถ่ายภาพรอบดวงจันทร์

    3. โครงการเซอเวเยอร์ ออกแบบให้ยานจอดลงบนพื้นอย่างนุ่มนวล

    ยานอวกาศมีมนุษย์ควบคุม เป็นของสหรัฐอเมริกา มีโครงการต่างๆ ดังนี้

    1. โครงการเมอคิวรี่ มีจุดประสงค์ที่จะส่งมนุษย์ขึ้นไปโคจรในอวกาศ สำหรับให้มนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 1 คน
    โครงการได้ยุติลงไปแล้วในปัจจุบัน

    2. โครงการเจมินี มีจุดประสงค์คือ นำมนุษย์ 2 คนขึ้นไปดำรงชีพในอวกาศให้นานที่สุด ฝึกการเชื่อต่อกับยานลำอื่น
    ปรับปรุงการนำยานลงสู่พื้นและหาผลกระทบที่เกิดจากสภาวะไร้น้ำหนัก โครงการนี้ได้ยุติลงแล้ว

    3. โครงการอพอลโล มีจุดประสงค์คือ นำมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์ ใช้มนุษย์อวกาศครั้งละ 3 คน เป็นโครงการ
    ต่อจากเมอคิวรี่และเจมินี มนุษย์อวกาศชุดแรกที่หยุดบนพื้นดวงจันทร์เป็นชุดอวกาศที่เดินทางไปกับยานอพอลโล 11
    โครงการอพอลโลเรียกว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายมาตลอด มีเพียงอพอลโล 13 ลำเดียวที่เกิดอุบัติเหตุ
    ขณะมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ อพอลโล 17 ถือเป็นยานลำสุดท้ายที่เกิดในโครงการนี้

     

     

    4. โครงการสกายแล็บ จุดประสงค์คือให้มนุษย์ขึ้นไปบนสถานีลอยฟ้าเพื่อค้นคว้าทดลองให้ได้นานที่สุด เป็นโครงการที่ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ การแพทย์ ฟิสิกส์ ผลกระทบของสภาพไร้แรงดึงดูด โครงการนี้มี 3 ชุด

     

     

    5. โครงการอพอลโล - โซยูส มีจุดประสงค์คือ เพื่อขึ้นไป ทดสอบระบบนัดพบและเชื่อมยานอวกาศ เป็นโครงการ
    ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต

    6. โครงการยานขนส่งอวกาศ เพื่อใช้เป็นพาหนะสำหรับบรรทุกสิ่งของและมนุษย์ที่ไปบนอวกาศ และเพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการใช้ประโยชน์จากอวกาศ ถูกแบบสำหรับคนได้มากถึง 7 คน ในกรณีฉุกเฉินอาจเพิ่มได้เป็น 10 คน ปฏิบัติงานนานครั้งละ 7 วัน พร้อมที่จะใช้งานได้อีกภายใน 14 วัน ถ้าจำเป็นอาจโคจรอวกษสได้นานถึง 1 เดือน ยานลำแรกของ
    โครงการชื่อ เอ็นเตอร์ไพรส์ ต่อจากนั้นแบ่งเป็นโคลัมเบีย 7 เที่ยว แชลเลเจอร์ 10 เที่ยว ดิสคัฟเวอรี่ 6 เที่ยว
    แอตแลนติส 6 เที่ยว

     

     

     

     

    คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่


     




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×