ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เคมี ชิวๆ

    ลำดับตอนที่ #1 : พื้นฐานเคมี

    • อัปเดตล่าสุด 10 พ.ค. 50


    เคมี เป็นวิชาว่าด้วยสสาร (สสาร) จริงๆน่ะ ไม่ได้ศึกษามากกว่านี้หรอก เค้าคงไม่ให้นักเรียนไปหาสสารใหม่หรือว่าสร้างใหม่หรอก อืม แล้วสสารที่จะมาศึกษาเนี่ย อยู่ไหน? ก็อยู่ทั้งในตัวและรอบตัวเราเนี่ยแหละ ใครจะไปบ้าศึกษาที่ไกลๆละเนอะ (ถึงเราไม่มีเค้าก็เอามาให้เราอยู่ดี ถ้ามันเหมาะสมน่ะ อิอิ) เอาละเรามาเริ่มในส่วนพื้นฐานกันละกันน่ะ แค่พื้นฐานที่ต้องรู้ (Everybody Know!!!) นั่นก็คือธาตุ ถ้าเรียนเคมีแต่ไม่เรียนธาตุ ถามหน่อยละกันน่ะว่าคุณเรียนเคมีจริงหรือเปล่า ? เอาละมาคุยกันเรื่องธาตุ อะตอม โมเลกุล หน่อยละกัน

    ม่ะ! เอาละ ธาตุคือสารชนิดหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบภายในเหมือนกัน คล้ายเคียงกันแบบสุดขั้ว หรือจะเรียกว่า ทั้งตัวมันไม่มีอะรัยปลอมปนเรย นั่นคือธาตุ

    ส่วนอะตอม ก็คือส่วนหนึ่งของธาตุ ประกอบไปด้วย P (Protron) e (Electron) n (nutron) และเพิ่งผ่านมาก็ได้ค้นพบว่า มีส่วนที่เล็กกว่านี้อีกนั่นคือ คว้าง (ประมาณนี้แหละ จำวิธีพิมพ์ไม่ได้ แต่อ่านประมาณนี้แหละ) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บอกว่ามีขนาดเล็กกว่าเจ้า 3 ตัวนี้อีก (อะรัยมันจะมองขนาดนั้น) ซึ่งเจ้า 3 ตัวนี้มันจะอยู่ในตัวของ อะตอม แล้วคราวนี้ P จะมีประจุ + ,e มีประจุ - , n มีประจุ เป็นกลาง การอาศัยอย่างร่วมกันของเจ้า 3 ประจุนี้ จะอาศัยแบบเซลล์พืชในชีวะวิทยา (ลืมก็ไปดู) ก็คือ มีนิวเคลียส แล้วมีประจุอยู๋รอบนิวเคลียส ซึ่งเจ้าตัวที่อยู่รอบๆนิวเคลียสนี้คือ e แล้วภายในนิวเคลียส จะประกอบด้วย P&n 

    ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับอะตอมมีอยู่ 4 อันที่ให้มา คือ
    1) ดอลตัน บอกว่า อะตอมเป็นสิ่งที่เล็กที่สุดของสสาร ไม่สามารถแบ่งย่อยได้
    2) ทอมสัน บอกว่า อะตอมสามารถแบ่งย่อยได้อีก มี P&e ที่ว่ามาเมื่อกี๊อะแหละ โดยอาศัยแบบกระจัดกระจายอย่างละเท่าๆกัน
    3) รัทเทอร์ฟอร์ด บอกว่าในอะตอมมีนิวเคลียส โดยในนิวเคลียสมี P&n อาศัยอยู่ แล้วมี e อยู่รอบๆนิวเคลียส
    4) ยุคปัจจุบัน ค้นพบว่า การอาศัยของอะตอมเป็นกลุ่มหมอก โดยหมอกที่หนาแน่นจะประกอบด้วย P&n แล้วส่วนที่บางๆ จะเป็นส่วนของ e อาศัย

    เปงงัยละ เข้าใจบ้างไหม ไม่เข้าใจก็ คอมเม้นไว้ เด๋ยวจะเพิ่มเติมให้เอง 

    คราวนี้เพิ่มขนาดขึ้นมาหน่อย โมเลกุล

    โมเลกุล คือการที่อะตอมชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมาต่อกันโดยพันธะใดพันธะหนึ่งแล้วเกิดเป็นสารประกอบซึ่งมีคุณสมบัติไม่เหมือนกันสารที่นำมาต่อพันธะกัน
    (เรื่องพันธะจะอยู่ในตอนถัดไป)

    ก็คืออธิบายแบบง่ายๆว่า อะตอม 2 อะตอม มาต่อกันแล้วได้สารใหม่ เช่น
    A + B ได้ C อย่างงี้แหละ ง่ายโคด

    ต่อมาเรามาเข้าใจเรื่องธาตุเพิ่มอีกหน่อย 
    ธาตุ เป็นอะตอมที่มีขนาดไม่เท่ากัน โดยแต่ละธาตุจะมีสมบัติเฉพาะ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งธาตุออกมาจนเป็นตารางธาตุในยุคปัจจุบัน

    แต่อันนั้นไปดูเองได้ สำหรับคนที่อยากจะได้เคมีแบบ เอาไปสอบได้อะ อยากให้จำธาตุที่พบทั่วๆไปก่อน

    H (Hydrogen ไฮโดรเจน)
    C (Carbon คาร์บอน)
    N (Nitrogen ไนโตรเจน)
    O (Oxygen ออกซิเจน)

    ซึ่งธาตุพวกนี้จะได้เจอกับมันบ่อยมากๆ ชนิดที่ว่า ห่างมันไม่ค่อยได้ อย่างน้อยก็ สูดอากาศเข้าไปก็ Oxygen กินน้ำก็เป็น H2O แล้วพอหายใจออกก็ CO2 ฉี่ออกมาเปง CO(NH2)2 เหงม่ะ แค่นี้ก็ยังไม่ออกห่างจากพวกนี้เรย

    ซึ่งมันไม่ได้ยากมากนัก เพราะถ้าคุณได้ 4 สารนี้ คุณก็สามารถเรียน สารประกอบ Hydro Carbon ได้แล้วครึ่งหนึ่ง

    เปงงัยละ ชิวๆ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×