วัดแสนเมืองมาไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นในปีใด แต่จากการศึกษาข้อมูลเอกสาร รายงาน ผลงานวิชาการ ฯลฯ จะเริ่มต้นในราวปี พ.ศ.2351
วัดแสนเมืองมา ตั้งอยู่เลขที่ 133 บ้านมาง หมู่ที่ 4 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ 69 ตารางวา น.ส.3 อาณาเขต ทิศเหนือจดแม่น้ำ ทิศใต้จดหมู่บ้าน ทิศตะวันออกจดถนน ทิศตะวันตกจดถนน อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ วิหาร โรงเรียนพระปริยัติธรรม และกุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุ มีพระประธานเป็นพระพุทธรูป สมัยเชียงแสน วัดแสนเมืองมา สร้างเมื่อ พ.ศ.2351 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2494 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 35 เมตร ยาว 70 เมตร
วัดแสนเมืองมา หรือ วัดมาง ตั้งอยู่เลขที่133 บ้านมาง หมู่ที่ 4 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ 69 ตารางวา น.ส. 3 อานาเขต ทิศเหนือจดแม่น้ำ ทิศใต้จดหมู่บ้าน ทิศตะวันออกจดถนน ทิศตะวันตกจดถนน ในเขตเทศบาลอำเภอเชียงคำ ก่อนที่จะตั้งรกรากถิ่นฐาน อยู่ในที่นี้ ได้อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ต่อมาจึงได้พากันอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอเชียงคำ ประมาณ พ.ศ.2351 วัดแสนเมืองมานั้น เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งในอำเภอเชียงคำ ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาเป็นลำดับ คือในปี พ.ศ.2496 ได้บูรณะก่อสร้างกำแพงล้อมรอบบริเวณวัดทั้งสี่ด้านพร้อมกัน การบูรณะวิหารได้ทำการผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตในปี พ.ศ.2494 เขตวิสุงสีมากว้าง 35 เมตร ยาว 70 เมตร และในปี พ.ศ.2515 ได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียน เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น ขนาด 15 ห้องเรียน เพื่อเป็นสถานที่เล่าเรียนของพระภิกษุสามเณรในอำเภอเชียงคำ และได้เป็นสถานที่สอบธรรมสนามหลวงประจำปีของอำเภอเชียงคำ และได้เปิดการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ขึ้นในปี 2537 ในปี พ.ศ.2527 กรมศิลปกรได้นำเอาอุโบสถขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน (อุโบสถไทลื้อ) ในปี พ.ศ.2533 ได้ทำการก่อสร้างหอพิพิธภัณฑ์ขึ้น เพื่อเป็นที่รวบรวมโบราณวัตถุของล้านนา และทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ในรูปแบบเดิม ตามคำแนะนำขอกรมศิลปากร เพื่อเป็นที่อนุรักษ์ศิลปะของชาวไทลื้อ ไม่ให้สูญหายไป เพื่อให้ลูกหลานคนรุ่นหลังได้สืบต่อไป
|
|
....ลักษณะเด่นของพระอุโบสถไทลื้อเมืองมาง ลักษณะเด่นของพระอุโบสถไทลื้อมางนั้น มีความแปลกและสวยงามกว่าที่อื่น ๆ คือ จะทำหลังคาลดหลั่นกันหลายชั้น และไม่นิยมทำหลังคาทรงสูงเหมือนกับทางภาคกลาง การสร้างหลังคาอุโบสถลดหลั่นซ้อนกันหลายชั้นนี้ ที่สิบสองปันนาก็ยังพบเห็นอยู่ อาจเป็นเพราะสมัยก่อนอากาศที่นั้นหนาวเย็นเวลาทำบุญ ก็เลยมีการสร้างหลังคาอุโบสถให้ลดหลั่นต่ำลงเพื่อป้องกันลมหนาว และพบว่ายังมีการทำช่องหน้าต่างไว้ พอให้แสงสอดเข้ามาได้เท่านั้นจึงเป็นไปได้ที่ชาวไทลื้อ จะถือเอาคตินิยมนี้มาสร้าง จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะไปในตัวไปก็เป็นได้ ตรงหลังคาจะประดับช่อฟ้า ซึ่งจะเป็นเป็นรูปหงษ์ หรือนาคคาบแก้ว และก็ยังประดับประดาด้วยไม้แกะสลัด กระจกสีต่าง ๆ งดงามมาก ที่สำคัญตามผนังอุโบสถด้านใน ยังมีภาพวาดเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ ตั้งแต่เริ่มต้นมาอีกด้วย เป็นการสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม อันมีค่าของชาวไทลื้อ ที่ควรอนุรักษ์ให้คงอยู่ให้ลูกหลานและอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ส่วนประตูทางเข้าสู่พระอุโบสถ จะทำเป็น 3 มุข หรือ 3 ประตู ประตูใหญ่ อยู่ด้านหน้าเป็นประตูนาค มีพญานาคที่แปลกกว่าที่อื่น ๆ มุขด้านขาวเรียกว่าประตูเสือ มุขด้านซ้ายเรียกว่าประตูสิงห์ เป็นความเชื่อของไทลื้อในอดีตที่ว่าสัตว์ทั้ง 3 นี้ จะคอยปกป้องคุ้มกันศาสนสถาน จึงนิยมปั้นรูปสัตว์เหล่านี้ไว้ตามวัดของหมู่บ้าน ปูชนียวัตถุที่สำคัญ มีพระประธานเป็นพระพุทธรูป สมัยเชียงแสน ...
ประเพณีความเชื่อ ประเพณีความเชื่อของไทลื้อบ้านมาง ก็เหมือนกับไทลื้อทั่วไป และเหมือนกับประเพณีของคนในล้านนาที่สุด จนไม่สามารถแยกออกมาได้ ซึ่งมีเอกลักษณ์ของไทลื้อที่สืบเชื้อสายมาจากเมืองในสิบสองปันนา เช่นประเพณีเลี้ยงเทวดาหลวง,การเลี้ยงผีเทวดาบ้าน,ประเพณีตั้งธรรมหลวง เป็นต้น เทวดาหลวง หรือเจ้าหลวงเมืองมางนั้น คือ เจ้าเมืองที่ปกครองเมืองมาในอดีต ซึ่งชาวเมืองให้ความเคารพยกย่อง และนับถือดวงวิญญาณ ของเจ้าเมืองเหล่านั้นให้เป็นเทวดา ผู้ดูแลความสงบร่มเย็นให้ตน และถือเป็นต้นตระกูลของชาวเมืองมางทั้งหมด การเลี้ยงเทวดาหลวงเมืองมาง เป็นพิธีกรรมประจำปีของไตมาง อันถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนของบรรพบุรุษไตมาง ซึ่งจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง วัตถุประสงค์ของการจัดเลี้ยงเทวดาหลวงเมืองมาง มีอยู่ 2 หัวข้อ คือ 1 เพื่อเป็นการระลึกถึงบรรพบุรุษผู้มีพระคุณแต่ละท่าน ที่ได้ประพฤติคุณงามความดีไว้กับบ้านเมืองที่ล่วงมาแล้วในอดีต และเป็นการแสดงความเคารพสักการะบรรพบุรุษประจำปี 2 เพื่อเป็นการพบปะสังสรรค์ญาติพี่น้องที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งเราถือว่าคนมีเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน นับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่พี่น้องทุกคนน่าจะมาพบปะสังสรรค์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อทำความเข้าใจแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองตลอดไป จนถึงส่วนรวมของสังคมและบ้านเมืองประเทศชาติที่สุด และจะถือว่าเป็นวันคืนสู่เหย้า หรือรวมญาติ เพื่อพลังสามัคคีกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันสืบไป ในการเลี้ยงเทวดาหลวงเมืองมานั้น เป็นพิธีกรรมประจำปีของชาวไทลื้อเมืองมางที่อพยพมาจากสิบสองปันนา อันถือเป็นธรรมเนียมประจำปีที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนของบรรพบุรุษไตมาง การจัดเลี้ยงจะทำปีละครั้ง จะถือเอา วันขึ้น 16 ค่ำ เดือน 8 ลื้อ จะตรงกับ วันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 9 เหนือ เพราะว่า คนลื้อมีการนับวัน เดือน ปี ที่ช้า กว่าคนเมืองไปหนึ่งเดือน
|
การบริหารและปกครอง มีเจ้าอาวาสที่ทราบนาม ดังนี้ พ.ศ. - 2482 ไม่ทราบนาม พ.ศ.2483 - 2485 พระครูลัทธภิรัต พ.ศ.2485 - 2487 พระครูนันตา พ.ศ.2488 - 2489 พระครูศีลคันธสาร พ.ศ.2489 - 2527 พระครูอริยลังการ พ.ศ.2527 - 2537 พระครูสุวรรณบุรีรักษ์ พ.ศ.2537 - 2542 พระครูพิศาลปิยธรรม พ.ศ.2542 - ปัจจุบัน พระครูสุนทรวุฒิสาร |
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น