ชาวไทลื้อ(Lue) - ชาวไทลื้อ(Lue) นิยาย ชาวไทลื้อ(Lue) : Dek-D.com - Writer

    ชาวไทลื้อ(Lue)

    ผู้เข้าชมรวม

    2,851

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    2.85K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  20 ต.ค. 49 / 21:47 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



       ไทยลื้อ (Lue )


         
           ชาวลื้อ หรือไทลื้อ เชื่อกันว่ามีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณเขตสิบสองพันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีนตอนใต้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมี ีชาวลื้ออาศัยอยู่ทั่วไป ทั้งเขตประเทศจีน พม่า ลาว และภาคเหนือของไทย ในประเทศไทยพบชาวลื้ออาศัยอยู่บริเวณ จังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย แพร่ ลำพูน ลำปาง และเชียงใหม่ สำหรับชาวไทลื้อในจัหวัดแพร่สันนิษฐานกันว่าเป็นกลุ่มที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองยองและเมืองเชียงแสน ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ปัจจุบันมีหมุ่บ้านไทยลื้อ 2 แห่ง คือ บ้านถิ่น ต.บ้านถิ่น อ.เมืองและที่บ้านพระหลวง ต.พระหลวง อ.สูงเม่น
      ชาวไทลื้อในภาคเหนือได้เปลี่ยนแปลงสภาพสังคมและวัฒนธรรมกลมกลืนไปกับคนเมือง ลักษณะเด่นที่ยังเหลืออยู่คือ ภาษาลื้อ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับภาษาผู้ไท ไทยวน และไทลาว การแต่งกายของชาวลื้อ ผู้หญิงสวมเสื้อปัดมีสายหน้าเฉียงมาผูกติดกัน หรือใช้กระดุม เงินขนาดใหญ่ เรียกว่า เสื้อปั๊ด มีสีดำหรือคราม ตัวเสื้อรัดรูปเอวลอย ชายเสื้อยกลอยขึ้น 2 ข้าง สาบเสื้อ ขลิบด้วยแถบผ้าสีต่าง ๆ ประดับด้วย กระดุมเงิน นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง มีลวดลายสีต่าง ๆ ต่อเชิงด้วยผ้าสีดำ นิยมโพกศีรษะด้วยผ้า สีขาว หรือชมพู หญิงนิยมเกล้าผมมวยตรงยอด มวยมีการม้วนผมเป็นวงกลมเรียก “มวยว้อง” นิยมเจาะหูใส่ลานเงิน สวม กำไลเงิน ส่วนผู้ชายมีทั้งการนุ่งผ้าต้อยผืนเดียวเพื่อให้เห็นลาย สักแบบไทยวนสมัยก่อน และชุดเต็มยศ คือ สวมเตี่ยวสะดอสีดำ หรือสีคราม สวมเสื้อเอวลอยสีดำขลิบด้วยแถบผ้าสีต่าง ๆ แต่รูปทรงเสื้อต่าง จากหญิง นิยมโพกศีรษะด้วยผ้าขาว ชาวไทลื้อ นิยมสักหมึก คือสักลาย ผู้หญิงนิยมสักรูปดอกไม้ตรงข้อมือทั้ง 2 ข้าง (ทรงศักดิ์ 2529, น.70-71)
      ที่อยู่อาศัยของชาวไทลื้อคล้ายคลึงกับเรือนของไทยวน คือเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง หลังคาบ้านทรงปั้นหยาหรือหน้าจั่ว มีทั้งมุงด้วยตับคา แป้นเกล็ด (กระเบื้องไม้) และดินขอ (กระเบื้องดินเผา) เรือนแบบดั้งเดิมมีเตาไฟอยู่ในบริเวณห้องนอน แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไป ชาวไทลื้อใน จังหวัดน่านนิยมทำหลังคาคลุมบันได ตรงฝาเรือนส่วนรับแขก มักจะทำประตูเปิดออก รับลมได้ และนิยมทำยุ้งข้าวติดกับตัวเรือน ใต้ถุนจะมีหูกทอผ้า มีห้างสำหรับนั่งเล่น รั้วบ้านนิยมปลูกต้นไม้
      ศาสนาดั้งเดิมของชาวไทลื้อ คือการนับถือผี แต่ต่อมานับถือพุทธศาสนาด้วย พิธีกรรมที่สำคัญ คือ พิธีเข้ากรรม ซึ่งเป็น พิธีการไหว้ผีและ ีและเลี้ยงผี กระทำกันปีละครั้ง บางแห่งอาจทำ 3 ปีครั้งหนึ่ง พิธีเข้ากรรมมี 2 ระดับคือ พิธีเข้ากรรมเมือง คือ การเลี้ยงผีเจ้าเมืองและพิธีกรรม บ้าน คือการเลี้ยงผีประจำหมู่บ้าน ในพิธีเข้ากรรมจะมีการฆ่าวัวควาย หรือเป็ด ไก่ สังเวยผีแต่อาจมีรายละเอียดต่างกันไปในแต่ละพื้นที่

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×