ขนบธรรมเนียมประเพณีของเมืองหล่ะปูน - ขนบธรรมเนียมประเพณีของเมืองหล่ะปูน นิยาย ขนบธรรมเนียมประเพณีของเมืองหล่ะปูน : Dek-D.com - Writer

    ขนบธรรมเนียมประเพณีของเมืองหล่ะปูน

    ผู้เข้าชมรวม

    1,685

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    1.68K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  13 ธ.ค. 49 / 20:30 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ประชาชนชาวจังหวัดลำพูนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในพระพุทธศาสนา เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ชอบทำบุญทำทาน รักสงบและมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด ชาวจังหวัดลำพูนมีวัฒนธรรม
            ขนบธรรมเนียมจังหวัดลำพูน




      ขนบธรรมเนียมประเพณี ของจังหวัดลำพูน



      ขนบธรรมเนียมประเพณี



      ประชาชนชาวจังหวัดลำพูนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในพระพุทธศาสนา เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ชอบทำบุญทำทาน รักสงบและมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด ชาวจังหวัดลำพูนมีวัฒนธรรม ประเพณีที่ยึดมั่นและสืบทอดกันมาทุกวันนี้ ได้แก่

      ด้านวัฒนธรรม



      1. ภาษา มีภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นชาวลำพูน ได้แก่ ภาษาคำเมือง ภาษาคำยอง ภาษาลื้อ ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัดลำพูนใช้กันอยู่



      2. การแต่งกาย เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา คือ ผู้ชายจะนุ่งกางเกงสะดอ สวมเสื้อผ้าฝ้าย คาดผ้าขาวม้าที่พุง ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อแขนกระบอก ไว้ผมมวยทัดดอกไม้



      3. การละเล่นดนตรีและขับร้องดนตรีพื้นเมือง ใช้ในการบรรเลงในงานมงคลต่าง ๆ และใช้ในการประกอบการฟ้อนรำ เช่น ระบำซอ เครื่องดนตรีประกอบด้วย สะล้อ ซอ ซึง ขลุ่ย การกล่าวค่าว การร้องจ๊อย ซอ ซึ่งเป็นลำนำพื้นบ้านของทางภาคเหนือ

      4. การแข่งขันตีกลองหลวง เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของเมืองลำพูน จะมีการจัดแข่งขันกันใน งานทำบุญ ประเพณีต่าง ๆ เช่น ปอยหลวง ปอยน้อย โดยการนำเอากลองไม้ขนาดใหญ่ของแต่ละ วัดหรือหมู่บ้าน ออกมาประชันจังหวะ ลีลา และเสียงจากการตีกลองหลวง เพื่อให้คณะกรรมการ เป็นผู้ตัดสินถึงความเป็นหนึ่งในการแข่งขันกลองหลวง



      ประเพณี ที่สำคัญของจังหวัดลำพูน ได้แก่



      1. ประเพณีกินสลาก (ทำบุญสลากภัตต์) นิยมทำในเดือนสิบสองเหนือ(ประมาณเดือน สิงหาคม) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้อง พ่อแม่ บุพการีที่ได้ล่วงลับไปแล้ว

      2. ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นที่เคารพสักการะ ของผู้คนทั่วไปในจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง นิยมทำกันในวันเพ็ญเดือนแปดเหนือ (เดือนพฤษภาคม)หรือที่เรียกว่าเดือนแปดเป็ง

      3. ประเพณีสรงน้ำพระเจ้าตนหลวง และประเพณีสรงน้ำพระเจ้าสะเลียมหวาน อ.บ้านโฮ่ง จะทำกันในเดือนเก้า(เดือนมิถุนายน)

      4 ประเพณีสรงกรานต์ หรือปี๋ใหม่เมือง วันที่ 13 - 15 เมษายน มีการละเล่นรดน้ำ สาดน้ำกันในกลุ่มของเด็ก หนุ่มสาว

      5. ประเพณีฟ้อนผีต่าง ๆ จะทำกันในเดือนเมษายน หลังสงกรานต์ เพื่อบวงสรวง ดวงวิญญาณของเจ้านายฝ่ายเหนือ

      6. ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ หลังวันสงกรานต์จะมีประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการขอขมาผู้ใหญ่ที่เคารพ

      7. ประเพณีแห่ลูกแก้ว เป็นการแห่เด็กชายที่จะบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา

      8. งานเทศกาลลำไย จะมีการจัดงานในเดือนสิงหาคม ของทุกปี เพื่อเผยแพร่ผลผลิต ของลำไย และชักชวนนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมผลผลิตลำไยจากเกษตรกรชาวสวนโดยตรง

      9. ประเพณีลอยกระทง หรืองานยี่เป็ง จัดขึ้นในวันที่ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 โดยจะมีการทำบุญที่วัด มีการลอยกระทงตามแม่น้ำลำคลอง มีการประกวดกระทงขนาด ใหญ่ การประกวดขบวนแห่ และนางนพมาศ

      10. งานกาชาดและงานฤดูหนาวประจำปี จะจัดประมาณต้นเดือนธันวาคมของทุกปี จังหวัดจะจัดงานเฉลิมฉลองขึ้น โดยมีการแสดงนิทรรศการของส่วนราชการ งานบันเทิง การประกวดธิดายอง งานแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน และงานแสดง แสง เสียง ประวัติศาสตร์ แห่งเมืองลำพูน

      11. ประเพณีทำบุญปอย ได้แก่ ปอยหลวง ปอยน้อย

      ปอยหลวง คือ งานทำบุญฉลองใหญ่ หลังจากที่วัดมีการจัดสร้างเสนาสนะภายในวัด เสร็จเรียบร้อย จะทำกันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม จะมีการตั้งต้นครัวทานที่บ้าน แล้วแห่ไปทำบุญกันที่วัด

      ปอยน้อย คือ งานบวชลูกแก้ว(บวชนาค) เจ้าภาพจะปรึกษาญาติพี่น้องก่อนว่าใครจะรับ ถวายเครื่องอะไรบ้าง ในจำนวนเครื่องอัฐบริขาร ถ้าเจ้าภาพมีฐานะดีก็จะจัดหาสิ่งของเองทั้งหมด

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×