ไทใหญ่หรือเงี้ยว ( Shan ) - ไทใหญ่หรือเงี้ยว ( Shan ) นิยาย ไทใหญ่หรือเงี้ยว ( Shan ) : Dek-D.com - Writer

    ไทใหญ่หรือเงี้ยว ( Shan )

    ผู้เข้าชมรวม

    2,153

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    2.15K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  20 ต.ค. 49 / 21:52 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



      ไทใหญ่หรือเงี้ยว ( Shan
      )

         ไทใหญ่ หรือ ไต ชาวพม่าเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ ว่า Shan ในเขตประเทศจีนชนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ไทใหญ่ ส่วนคนไทย และคนลาวเรียกชนกลุ่มนี้ว่า เงี้ยว ส่วนพวก Kachins เรียกพวกนี้ ว่า Sam (Lebar and others’ 1964, p.192) คนไทใหญ่เองเรียก ตัวเองว่า “ไต” ไท ใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณพม่า ลาว ไทย และในเขตประเทศจีนตอนใต้ ในประเทศไทย พบชาวไทใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ และแม่ฮ่องสอน
      หมู่บ้านของชาวไทใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มหุบเขาหรือบริเวณที่อยู่ใกล้ แหล่งน้ำ บ้านเรือนสร้างจากไม้ไผ่ยกพื้น สูงประมาณ 8 ฟุต หลังคามุงด้วยหญ้าแห้ง ภายในบ้านจะมีเตาไฟ มีห้องนอน บ้านแต่ละหลังจะมีสวนล้อมรอบสัตว์เลี้ยงจะผูก อยู่บริเวณประตูบ้าน ชาวไทใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว โดยการวิดน้ำเข้านา แบบนาดำ โดยมีแปลงเพาะกล้า ส่วนบริเวณที่มีน้ำน้อย จะใช้วิธีปลูกข้าวบนที่ดอน พืชชนิด อื่นๆ ที่ปลูกได้แก่ ฝ้าย ยาสูบ อ้อย ข้าวโพด ถั่ว มะเขือเทศ ส้ม กล้วย มะนาว มะม่วง มะละกอ เป็นต้น สัตว์เลี้ยงได้แก่ วัว ควาย ม้า หมู ไก่ เป็นต้น อุตสาหกรรมในครัวเรือนของไทใหญ่ ได้แก่ การปั้นหม้อไห การแกะสลัก การทำเครื่องเงิน การทอผ้าฝ้าย การทำกระดาษ เป็นต้น หน้าที่ของผู้หญิง ชาวไทใหญ่ ได้แก่ ทอผ้า ตักน้ำ เก็บฟืน ตำข้าว ทำอาหาร จ่ายตลาด ส่วนผู้ชายทำหน้าที่สร้างบ้านเรือน ทำนาทำไร่ อย่างไรก็ตามชายหญิงจะช่วย กันเพาะปลูกในฤดูหว่านไถและเก็บเกี่ยว (Lebar and others 1968, p.194)

         หมู่บ้านของชาวไทใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มหุบเขาหรือบริเวณที่อยู่ใกล้ แหล่งน้ำ บ้านเรือนสร้างจากไม้ไผ่ยกพื้น สูงประมาณ 8 ฟุต หลังคามุงด้วยหญ้าแห้ง ภายในบ้านจะมีเตาไฟ มีห้องนอน บ้านแต่ละหลังจะมีสวนล้อมรอบสัตว์เลี้ยงจะผูก อยู่บริเวณประตูบ้าน ชาวไทใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว โดยการวิดน้ำเข้านา แบบนาดำ โดยมีแปลงเพาะกล้า ส่วนบริเวณที่มีน้ำน้อย จะใช้วิธีปลูกข้าวบนที่ดอน พืชชนิด อื่นๆ ที่ปลูกได้แก่ ฝ้าย ยาสูบ อ้อย ข้าวโพด ถั่ว มะเขือเทศ ส้ม กล้วย มะนาว มะม่วง มะละกอ เป็นต้น สัตว์เลี้ยงได้แก่ วัว ควาย ม้า หมู ไก่ เป็นต้น อุตสาหกรรมในครัวเรือนของไทใหญ่ ได้แก่ การปั้นหม้อไห การแกะสลัก การทำเครื่องเงิน การทอผ้าฝ้าย การทำกระดาษ เป็นต้น หน้าที่ของผู้หญิง ชาวไทใหญ่ ได้แก่ ทอผ้า ตักน้ำ เก็บฟืน ตำข้าว ทำอาหาร จ่ายตลาด ส่วนผู้ชายทำหน้าที่สร้างบ้านเรือน ทำนาทำไร่ อย่างไรก็ตามชายหญิงจะช่วย กันเพาะปลูกในฤดูหว่านไถและเก็บเกี่ยว (Lebar and others 1968, p.194)
      ครอบครัวของชาวไทใหญ่เป็นระบบผัวเดียวเมียเดียวแต่ในชนชั้นปกครองอาจพบว่า ผู้ชายสามารถมีเมีย ได้หลายคน การแยกครอบครัวของไทใหญ่จะเกิดขึ้นหลังแต่งงาน ชายหญิงจะออกไปสร้างเรือนหลังใหม่ ่ของตัวเองโดยทั่วไปลูกชายที่แต่งงานแล้วอาจยัง อาศัยอยู่กับบิดามารดาก็ได้ (Lebar and others 1964, p.195)

         ศาสนาของชาวไทใหญ่ คือพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็กชายจะเข้าโรงเรียนวัด ตั้งแต่อายุ 10-12 ปี เพื่อ เรียนรู้พุทธศาสนา นอกจากนั้นชาวไทใหญ่ยังมีความเชื่อเรื่อง ไสยศาสตร์ เด็กชายจะเริ่มสัก ร่างกายตั้งแต่อายุ 14 ปี ลายสักจะมีความหมายถึง ความเป็น ชาย (manhood) และเป็นบุคคลที่สตรีจะเลือก เป็นคู่ครอง (Labar and others 1964, p.196) ชาวไทใหญ่ยังเชื่อในเรื่องขวัญเมื่อมีผู้อาวุโสตาย ชาวไทใหญ่จะไม่ร้องไห้เพราะเชื่อว่าการร้องไห้ ้จะทำให้วิญญาณของผู้ตาย ไม่สงบสุข ชาวไทใหญ่นิยมฝั่งศพคนตาย โดยนำไปฝังที่ป่าช้านอกหมู่บ้าน

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×