กลองแสะ กลองพื้นบ้านของล้านนา - กลองแสะ กลองพื้นบ้านของล้านนา นิยาย กลองแสะ กลองพื้นบ้านของล้านนา : Dek-D.com - Writer

    กลองแสะ กลองพื้นบ้านของล้านนา

    ผู้เข้าชมรวม

    1,010

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    1.01K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  27 ก.ย. 49 / 23:49 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



      กลองแสะ กลองพื้นบ้านของล้านนา






       กลองแสะ อ่านว่า "ก๋องแสะ" เป็นคำนาม หมายถึงกลองสองหน้า ขึงด้วยหนังมีหมุดตอกโดยรอบ ไม้สำหรับตี มีสองลักษณะ กล่าวคือ ไม้ตีจังหวะหลัก เป็นซีกไม้ไผ่ขนาดเขื่อง ส่วนไม้ตีขัดจังหวะเป็นซีกไม้ไผ่ จักส่วนปลายให้เป็นซี่ ๆ เวลาตีเสียงดัง "แสะ ๆ" นอกจากนี้ยังมีเครื่องประกอบจังหวะอีก ๒ อย่าง คือ ฉาบ และฆ้อง ชื่อของกลองแสะได้มาจากเสียง กลองที่ถูกไม้ตีขัดจังหวะตีเสียงดัง"แสะๆ" สมัยโบราณงานบุญต่าง ๆ มักได้ยินเสียงกลองแสะบรรเลงอยู่เสมอ กลองชนิดนี้เกือบสูญหายไปจากความทรงจำของชาวล้านนาแล้ว พ่อครูคำ กาไวย์ ศิลปินแห่งชาติเล็งเห็นความสำคัญ จึงได้ฟื้นฟูขึ้นมาอีก ทำให้กลองแสะกลับมาเป็นที่รู้จักกันอีกครั้ง

      กลองสิ้งหม้อง อ่านว่า "ก๋องสิ้งหม้อง" เป็นคำนามหมายถึงกลองหน้าเดียว ลักษณะคล้ายกลองยาวหรือกลองเถิดเทิงของไทยภาคกลาง ชื่อของกลองเรียกตามเสียงกลองที่ตีรับกับเสียงฆ้องโหม่ง ซึ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะ ที่มีฉาบเป็นเครื่องตีขัดจังหวะ เวลาบรรเลงร่วมกันจะมีเสียงดัง "สิ้งหม้อง ๆ"

      กลองสิ้งหม้อง เป็นเครื่องบรรเลงที่เป็นที่นิยมโดยทั่วไปเพราะมีขนาดพอเหมาะ น้ำหนักเบา มีจังหวะในการบรรเลงง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ดังนั้นขบวนแห่งานบุญไม่ว่าจะขบวนผ้าป่า กฐิน แห่นาค เครื่องดนตรีที่ปรากฏเป็นประจำส่วนใหญ่จะเป็นกลองสิ้งหม้อง

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×