ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติของนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ฯลฯ

    ลำดับตอนที่ #25 : รูดอล์ฟ ดีเซล

    • อัปเดตล่าสุด 15 มี.ค. 51





    รูดอล์ฟ ดีเซล : Rudolph Diesel
     

    เกิด         วันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1858 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)
    เสียชีวิต  ค.ศ.1913 ที่ลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
    ผลงาน    - ประดิษฐ์เครื่องยนต์แบบดีเซล

            ปัจจุบันเครื่องยนต์ประเภทอัดอากาศ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่าเครื่องยนต์ดีเซล เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในรถยนต์
    ที่ใช้น้ำมันดีเซล เพราะทั้งประหยัดและมีประสิทธิภาพในการใช้งานดีมากชนิดหนึ่ง และผลงานชิ้นนี้ก็ได้เกิดจากความทุ่มเทของ
    นักวิศวกรผู้หนึ่งที่ชื่อว่า รูดอล์ฟ ดีเซล

             ดีเซลเกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1858 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่อันที่จริงแล้ว เขาเป็นชาวเยอรมัน แต่บิดามารดา
    ได้อพยพมาอยู่ที่ฝรั่งเศส ดีเซลเกิดมาในตระกูลที่มีฐานะดีพอสมควร ทำให้เขาได้รับการศึกษาทีดีมาก อีกทั้งเขาเป็นคนที่มีความ
    เฉลียวฉลาด สำหรับการศึกษาขึ้นต้นดีเซลได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นเขาได้เดินทางไปศึกษาที่โรงเรียน
    อาชีวศึกษาที่อ็อกซเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ดีเซลสามารถเรียนได้ดีมาก โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเครื่องกลต่าง ๆ
    หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนอาชีวศึกษาด้วยผลการเรียนทีดีเยี่ยม ทำให้เขาได้รับทุนสำหรับศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
    กรุงมิวนิค ประเทศเยอรมนี และในระหว่างนี้เองที่ทำให้เขารู้จักเครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องจักรไอน้ำ ซึ่งเป็น
    เครื่องยนต์ที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น แต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งานเท่าที่ควร โดยเครื่องจักรไอน้ำนี้ประกอบไปด้วยเตาเผา
    หม้อน้ำ และปล่องไฟ ซึ่งเมื่อนำมาประกอบกันแล้วดูรุ่มร่ามและใช้การได้ยาก อีกทั้งยังต้องใช้พลังงานจำนวนมากสำหรับให้เครื่อง
    ทำงาน

             จากนั้นดีเซลก็ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเครื่องจักรไอน้ำเป็นอย่างมาก อีกทั้งเขายังต้องการที่จะพัฒนาปรับปรุงให้เครื่องกล
    ชนิดนี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดีเซลเริ่มต้นการศึกษาเครื่องจักรไอน้ำอย่างละเอียดตั้งแต่ประวัติความเป็นมา วิธีการ จุดเด่น และ
    ข้อด้อยของเครื่องจักรไอน้ำ ดีเซลได้รับคำแนะนำความรู้เหล่านี้จาก ศาสตราจารย์คาร์ฟอน ลินเด อาจารย์ของเขานั่นเอง ซึ่งท่านได้
    ศึกษาเรื่องนี้มาเป็นเวลานานแล้ว หลังจากที่ได้ทำการศึกษามาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เขารู้ความจริงเกี่ยวกับสิ่งนี้ในข้อที่ว่า เมื่อลด
    ความร้อนลงมาเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดพลังงานขึ้นมาได้ ซึ่งเป็นผลจากความร้อนนั่นเอง ทำให้ดีเซลเกิดความคิดที่จะนำพลังงาน
    ดังกล่าวมาใช้ในการเดินเครื่องจักรไอน้ำ และนี้คือแนวทางสำคัญในการพัฒนาเครื่องยนต์ของเขาในเวลาต่อมา

             หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี กรุงมิวนิค ประเทศเยอรมนี ดีเซลได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่กรุงปารีส
    และได้เข้าทำงานในโรงงานประกอบเครื่องทำน้ำแข็งของลินเดในหลายตำแหน่งหน้าที่ ได้แก่ ตัวแทนซื้อขาย คนคุมงาน ประดิษฐ์
    ซ่อมเครื่องกล ผู้อำนวยการและที่ปรึกษา แม้ว่าเขาต้องทำงานอย่างหนัก และรับหน้าที่ในหลายตำแหน่ง แต่เขาก็ทำงานด้วยความ
    ตั้งใจ และแน่วแน่ว่าจะต้องทำงานเหล่านี้ให้ดีในทุกหน้าที่ที่เขารับผิดชอบ ทั้งด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรกลินเดซึ่งเป็น
    ทั้งอาจารย์และนายจ้างของเขา ได้ชี้แจงแก่เขาว่าการทำงานภายในโรงงานแห่งนี้ ถือว่าเหมือนได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก
    ทางวิศวกรรมศาสตร์เลยก็ว่าได้เพราะไม่ได้ฝึกทักษะทางด้านวิชาการเท่านั้น ยังได้ประสบการณ์ชีวิตจากด้านอื่นอีกด้วย อีกประการ
    หนึ่งเขาต้องการสร้างเนื้อ สร้างตัวให้ได้เร็วที่สุด เพราะเขาได้แต่งงานกับหญิงชาวเยอรมันผู้หนึ่ง แต่ต้องแยกกันอยู่เพราะดีเซลไม่มี
    เงิน เพียงพอที่จะเลี้ยงดู ต่อมาเมื่อลินเดเปิดโรงงานประกอบเครื่องทำน้ำแข็งขึ้นในเมืองมิวนิค ดีเซลได้ขอลินเดให้เขาได้ย้ายไป
    ทำงานที่นั่นทันที แต่ลินเดมีข้อแม้ว่า ห้ามไม่ให้ดีเซลยุ่งเกี่ยวกับเครื่องประกอบน้ำแข็งของลินเดอย่างเด็ดขาด แม้ว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่
    ดีเซลต้องการแต่เขาก้รับปากลินเด และไม่ยุ่งเกี่ยวกับเครื่องประกอบน้ำแข็งเลยแม้แต่น้อย

             แม้ว่าดีเซลจะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับเครื่องทำน้ำแข็งของลินเดเลย แต่เขาก็มีความคิดที่จะสร้างเครื่องกลชนิดอื่น ๆ และในระหว่างนี้
    เขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักร ดีเซลสามารถประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซแอมโมเนียแทนการใช้พลังงานไอน้ำได้ และเครื่อง
    ยนต์ที่อาศัยหลักการสันดาป ซึ่งเครื่องยนต์ของดีเซลก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับดีเซลมากที่สุด
    ก็คือ เครื่องยนต์แบบใช้อากาศอัด โดยดีเซลเกิดความคิดมาจากขณะที่เขากำลังนั่งสังเกตการณ์เครื่องเปลี่ยนความร้อนเป็นพลังงาน
    ซึ่งใช้ในการเดินเครื่องยนต์ผลิตน้ำแข็ง เขาได้นำหลักการเดียวกันนี้มาปรับปรุง และใช้ในเครื่องยนต์ชนิดใหม่ที่เขาเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น
    ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามลำดับ ต่อมาเขาได้นำเครื่องยนต์แบบอัดอากาศนี้ไปทำการทดลอง แต่ในครั้งแรกนั้นยังไม่ประสบความ
    สำเร็จ อีกทั้งยังเกิดระเบิดขึ้นอีกด้วยซึ่งเกือบทำให้เขาเสียชีวิต แม้ว่าการทดลองในครั้งแรกจะล้มเหลว แต่สิ่งที่เขาได้จากการทดลอง
    ในครั้งนี้ก็คือ ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงดันอากาศที่ว่า "ความร้อนสามารถทำให้อากาศมีแรงดันเพียงพอสำหรับการจุดไฟให้ติดได้"
    ดีเซลยังคงพยายามประดิษฐ์เครื่องยนต์ของเขาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการค้นหาสาเหตุระเบิดและหาทางแก้ไขปัญหานั้นได้
    และในที่สุดเครื่องยนต์เขาสามารถใช้ประโยชน์ได้

             แต่เครื่องยนต์ชนิดใหม่ที่ดีเซลได้ประดิษฐ์ขึ้น ก็ยังมีข้อเสียอยู่ที่ผนังกระบอกสูบไม่แข็งแรงพอที่จะต่อความดันอากาศสูง ๆ ได้
    ดังนั้นดีเซลจึงหันมาปรับปรุงการประดิษฐ์กระบอกสูบ โดยดีเซลได้ทดลองนำกระบอกสูบขนาดต่าง ๆ กันมาทำการทดลอง
    เพื่อทดสอบแรงดัน และปริมาณที่ว่างระหว่างหัวสูบกับปลายกระบอกสูบ เครื่องยนต์ของดีเซลประสบความสำเร็จในปี ค.ศ.1897
    โดยเขาได้ใช้เวลาในการค้นคว้านานถึง 5 ปี ดีเซลได้ตั้งชื่อเครื่องยนต์ตามชื่อของเขาว่า ดีเซล ตามคำแนะนำของภรรยา

             เครื่องยนต์ที่ดีเซลเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นได้ใช้หลักการส่งเชื้อเพบิงจำนวนเพียงเล็กน้อยส่งเข้าไปในกระบอกสูบ จนกระทั่ง
    น้ำมันที่ฉีดเข้าไปในกระบอกสูบ ระเหยเป็นไอออกมาจากรูกระบอก เพื่อใช้เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ ซึ่งลักษณะ
    ของเครื่องยนต์ดีเซลนี้เป็นการเปลี่ยนพลังงานความร้อนให้เป็นพลังงานกล และด้วยวิธีการเช่นนี้ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง
    ถ้าเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ชนิดอื่น

             ต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง ดีเซลได้ตั้งบริษัทขึ้นเพื่อผลิตเครื่องยนต์ดีเซลออกจำหน่าย โดยตั้งชื่อบริษัทแห่งนี้ว่า
    ไรซิงเกอร์ไมเยอร์ และดีเซล บริษัทของเขาได้ดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี นอกจากนี้เขายังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก
    มหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง แต่ในไม่ช้าดีเซลก็ต้องพบกับความเดือดร้อนแสนสาหัส เนื่องจากในขณะนั้นกฎหมายเรื่องสิทธิบัตร
    ยังมีความละหลวมอยู่มาก ทำให้ดีเซลต้องเสียเงินทองเป็นจำนวนมากสำหรับการฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องในสิทธิบัตรของเขา
    อีกทั้งสุขภาพของเขายังเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ เพราะความเหน็ดเหนื่อยทั้งทางกายและทางใจจากการต่อสู้ในเรื่องของสิทธิบัตร
    เครื่องยนต์ของเขาและต่อมาบริษัทของเขาก็ต้องประสบกับภาวะการขาดทุนอย่างรุนแรง

            ในช่วงบั้นปลายชีวิตของดีเซล เขาต้องท้อแท้ใจอย่างมากเพราะสิ่งที่เขาทุ่มเทอย่างหนักมาตลอดระยะเวลาต้องล้มเหลวลง
    อย่างไม่เป็นท่าดังนั้นในปี ค.ศ.1913 เขาได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และไม่ได้เดินทางกลับมาอีกเลย ซึ่งภายหลังมีข่าวว่าเขา
    ได้หายไปในช่องแคบอังกฤษ แม้ว่าดีเซลจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่สิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้สร้างคุณประโยชน์ให้กับนักประดิษฐ์รุ่นหลังเป็น
    อย่างมากก็คือ เครื่องยนต์ดีเซลที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×