ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติของนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ฯลฯ

    ลำดับตอนที่ #15 : นิโคลัส โคเปอร์นิคัส

    • อัปเดตล่าสุด 15 มี.ค. 51





    นิโคลัส โคเปอร์นิคัส : Nicolaus Copernicus
     

    เกิด        วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 ที่เมืองตูรัน (Torun) ประเทศโปแลนด์ (Poland)
    เสียชีวิต วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543 ที่เมืองฟรอนบูร์ก (Frauenburg) ประเทศโปแลนด์ (Poland)
    ผลงาน
      -
    ตั้งทฤษฎีโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Copernicus Theory) โดยทฤษฎีนี้กล่าวว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
                   ของสุริยจักรวาล โลก ดาวเคราะห์อื่น ๆ ต้องหมุนรอบดวงอาทิตย์ และโลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม

            โคเปอร์นิคัสเป็นนักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ ที่อาจจะมีชื่อเสียงไม่โด่งดังเท่ากับนักดาราศาสตร์อย่างกาลิเลโอ แต่ผลงาน
    และทฤษฎีต่าง ๆ ของเขา เช่น ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์และหมุนรอบตัวเอง เป็นต้น
    ก็ล้วนแล้วแต่เป็นทฤษฎีที่ถูกต้องและบุกเบิกแนวทางให้กับนักดาราศาสตร์รุ่นต่อมาอย่างกาลิเลโอ และก็ถือได้ว่าโคเปอร์นิคัสเป็น
    นักดาราศาสตร์คนแรกที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาลและโลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม นอกจาก
    นี้เขายังได้ตั้งทฤษฎีเพื่ออธิบายเกี่ยวกับฤดูกาล กลางวันและกลางคืนได้อย่างถูกต้อง
            
             โคเปอร์นิคัสเกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 ที่เมืองตูรัน ประเทศโปแลนด์ บิดาของเขาเป็นพ่อค้าผู้มั่งคั่งนามว่า
    นิโคลัส คอปเปอร์นิงค์ (Nicolaus Koppernigk) ส่วนมารดาของเขาชื่อบาร์บารา แวคเซนโรด (Barbara Waczenrode)
    ต่อมาเมื่อเขาอายุได้ 10 ปี เท่านั้น บิดาของเขาก็เสียชีวิต เขาจึงต้องอยู่ในความอุปการะของลุง (พี่ชายของมารดา) ซึ่งเป็นพระใน
    ตำแหน่งบิชอบ แห่งเออร์มแลนด์ ชื่อว่า ลูคัส แวคเซนโรด (Lucas Waczenrode) ลุงของเขาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในชีวิต
    ของเขาอย่างมาก เพราะเป็นอาจารย์คนแรก จึงทำให้เขามีความสนใจเกี่ยวกับศาสนาอย่างจริงจัง แต่ความคิดข้อนี้ก็ล้มเลิกไปใน
    ภายหลัง เมื่อเขามีความสนใจวิชาแพทย์มากกว่า และได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองคราโคว (University of Cracow)
    ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศโปแลนด์ ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้เขามีโอกาสได้ศึกษาวิชาต่าง ๆ มากมาย เพื่อเตรียมความพร้อม
    ในการศึกษาวิชาแพทย์ต่อไป เช่น ปรัชญา คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และดาราศาสตร์ เป็นต้น การที่เขามีโอกาสได้ศึกษาวิชา
    เกี่ยวกับดาราศาสตร์ ทำให้เขาเปลี่ยนแนวความคิดที่จะเรียนต่อแพทย์ ไปเรียนต่อเกี่ยวกับดาราศาสตร์แทน แต่ยังไม่ทันสำเร็จ
    วิชาดาราศาสตร์ เขาก็ย้ายไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยในเมืองโบโลญญา (University of Bologna) ในประเทศอิตาลี จากนั้น
    จึงไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเฟอร์รารา (Ferrara University) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ในวิชากฎหมายจาก
    มหาวิทยาลัยแห่งนี้ หลังจากสำเร็จการศึกษาโคเปอร์นิคัสได้เดินทางกลับบ้าน แต่เมื่อลุงเขารู้ว่าเขาไม่ได้เรียนแพทย์ก็ไม่พอใจ
    อย่างมาก และเพื่อเป็นการเอาใจลุง โคเปอร์นิคัสจึงต้องกลับไปศึกษาต่อวิชาแพทย์อีกครั้งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยปาดัว ในระหว่าง
    ที่เขาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เขามีโอกาสได้ศึกษาวิชาดาราศาสตร์ที่เขาชอบอีกด้วย เนื่องจากวิชาดาราศาสตร์เป็นส่วนหนึ่ง
    ของวิชาแพทย์ โคเปอร์นิคัสเรียนจบแพทย์ในปี ค.ศ. 1506 และเดินทางกลับบ้านในปีเดียวกัน

             โคเปอร์นิคัสถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในหลายสาขาวิชา ทั้งกฎหมาย แพทย์ ปรัชญา ศาสนา ภาษาละตินและ
    ดาราศาสตร์ ต่อมาในปีค.ศ. 1512 ลุงของเขาเสียชีวิต เขาจึงเดินทางไปอยู่ที่เมืองฟรอนบูร์ก (Frauenburg) เพื่อศึกษาค้นคว้า
    เกี่ยวกับดาราศาสตร์อย่างจริงจัง ส่วนวิชาแพทย์ที่เขาเล่าเรียนมาก็ไม่ละทิ้งให้เสียประโยชน์ เขายังช่วยรักษาผู้ป่วยที่ยากจน
    ในเมืองโดยไม่คิดค่ารักษาพยาบาลส่วนงานค้นคว้าดาราศาสตร์ ในระยะแรกของโคเปอร์นิคัส ส่วนใหญ่จะเป็นการนำทฤษฎีที่
    ว่าด้วยเรื่องศูนย์กลางของสุริยจักรวาลของนักปราชญ์ในอดีตมาศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ทฤษฎีของอาคีสทาร์คัส (Akistarchus)
    ที่กล่าวว่า "ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล" ทฤษฎีของปโตเลมี (Ptolemy) ที่กล่าวว่า "โลกเป็นศูนย์กลางของ
    สุริยจักรวาล" ซึ่งมีอาริสโตเติล นักปราชญ์เอก เป็นผู้สนับสนุนทฤษฎีของปโตเลมี โดยอาริสโตเติลกล่าวว่า "โลกอยู่กับที่ไม่ได้หมุน
    ส่วนดวงอาทิตย์นั้นโคจรรอบโลก" รวมถึงทฤษฎีของปีทาโกรัส (Pythagoras) ก็สนับสนุนทฤษฎีนี้เช่นกัน โดยกล่าวว่า "โลก
    ดวงอาทิตย์และดวงดาวต่าง ๆ โคจรรอบดวงไฟดวงใหญ๋ ทฤษฎีเกี่ยวกับสุริยจักรวาลทั้งหมดนี้ โคเปอร์นิคัสเชื่อถือเพียงทฤษฎี
    ของอาคีสทาร์คัสเท่านั้น เขาจึงเริ่มทำการค้นคว้าและหาข้อพิสูจน์ทฤษฎีเหล่านี้ แต่เนื่องจากในสมัยนั้นขาดแคลนอุปกรณ์ทาง
    ดาราศาสตร์ โคเปอร์นิคัสจึงใช้วิธีเจาะช่องบนฝาผนัง เพื่อให้แสงสว่างผ่านเข้ามา แล้วเฝ้าสังเกตการเดินทางของโลกผ่านทาง
    ช่องนี้เอง ซึ่งเขาพบว่าแสงสว่างจะเดินทางผ่านช่องหนึ่ง ๆ ในทุก ๆ 24 ชั่วโมง ซึ่งหมายถึงการที่โลกหมุนรอบตัวเอง นอกจากนี้
    เขาได้กำหนดเส้นเมอร์ริเดียนเพื่อใช้เป็นหลักการคำนวณทางดาราศษสตร์อีกด้วย ในที่สุดเขาก็สามารถสรุปหาข้อเท็จจริงได้ว่า
    ทฤษฎีของอาร์คีสทาร์คัสที่เขาเชื่อถือนั่นถูกต้องที่สุด คือ ดวงอาทิตย์เป็นศนย์กลางของสุริยจักรวาล โลกและดาวเคราะห์อื่น ๆ
    ต้องหมุนรอบดวงอาทิตย์ แต่เขาไม่ได้เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ออกไป เพราะเกรงกลัวต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเขา เนื่องจาก
    ความเชื่อในทฤษฎีของอาริสโตเติลที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล อีกทั้งทฤษฎีนี้ก็ไปตรงกับความเชื่อทางศาสนาคริสต์
    เพราะฉะนั้นทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสจึงขัดแย้งทั้งทฤษฎีของอาริสโตเติล และหลักศาสนา
      
             ต่อมาจอร์จ โจคิม เรติคัส (George Joachim Rheticus) ักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันและศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์
    แห่งมหาวิทยาลัยวิทเทนเบิร์ก (Wittenburg University) ได้เดินทางมาพบโคเปอร์นิคัส เพื่อทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง
    ดาราศาสตร์ร่วมกัน ทั้งสองทำงานอยู่รวมกันนานถึง 2 ปี จอร์จผู้นี้เองที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้โคเปอร์นิคัสเผยแพร่ผลงานเกี่ยวกับ
    ระบบสุริยจักรวาลที่เขาค้นพบให้กับสาธารณชนได้รับรู้ จอจ์รได้พยายามขอร้องโคเปอร์นิคัสให้เปิดเผยผลงาน เพื่อให้สาธารณชน
    ได้รับรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นการพัฒนาด้านดาราศาสตร์ไปอีกก้าวหนึ่ง ในที่สุดโคเปอร์นิคัสก็ยอมทำตามที่จอร์จขอร้องจอร์จจึง
    ได้ส่งผลงานของโคเปอร์นิคัสไปให้เพื่อนเขาที่อยู่เมืองนูเรมเบิร์ก (Nuremburg) ในประเทศเยอรมนีตีพิมพ์ แต่เพื่อนของจอร์จ
    ก็ไม่ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้จนกระทุ่งโคเปอร์นิคัสเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1543 จึงทำการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของเขาออกมาในชื่อว่า
    การปฏิวัติทางโคจรแห่งดาวบนฟากฟ้า (De Revolutionibus Orbrium Codestium) มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า On the
    Revolutions of the Heavenly Bodies หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า Revolutions มีทั้งหมด 6 เล่ม ด้วยกัน หนังสือเล่มนี้
    ได้รวบรวมเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาลที่โคเปอร์นิคัสเป็นผู้ค้นพบ โดยสามารถสรุปเป็นทฤษฎีได้ทั้งหมด 3 ข้อ คือ
            1. ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล โลก และดาวเคราะห์อื่น ๆ ต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์ การโคจรของโลก
                รอบดวงอาทิตย์ต้องใช้เวลา 1 ปีหรือ 365 วัน ซึ่งทำให้เกิดฤดูกาลขึ้น
            2. โลกมีสัณฐานกลมไม่ได้แบนอย่างที่เข้าใจกันมา โคเปอร์นิคัสให้เหตุผลในข้อนี้ว่า มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นดาวดวงเดียวกัน
                ในเวลาเดียวกันและสถานที่ต่างกันได้ อีกทั้งโลกต้องหมุนอยู่ตลอดเวลาไม่ได้หยุดนิ่ง โดยโลกใช้เวลา 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง
                ในการหมุนรอบตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดกลางวัน และกลางคืน
            3. ดาวเคราะห์ต่าง ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นไปในลักษณะวงกลม  โคเปอร์นิคัสได้เขียนรูปภาพแสดงลักษณะการโคจร
                ของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ แต่ทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสข้อนี้ผิดพลาดเพราะเขากล่าวว่า "การโคจรของดาวเคราะห์
                รอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม" ต่อมานักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน โจฮันเนส เคพเลอร์ (Johanes Kepler) ได้ค้นพบว่า
                 การโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์นั้น มีลักษณะเป็นวงรี

             ตลอดชีวิตของโคเปอร์นิคัสได้ทำงานอย่างหนัก ทั้งงานด้านดาราศาสตร์ การแพทย์ นอกจากนี้แล้วเขายังทำงานเกี่ยวกับ
    เศรษฐกิจด้วย โคเปอร์นิคัสเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้โปแลนด์รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ทางการเงินมาได้ ภายหลัง
    สงคราม โปแลนด์ต้องประสบกับปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง ทั้งระบบเงินตราที่ไม่มีหลักการแน่นอน เนื่องมาจากระบอบการ
    ปกครองของโปแลนด์ในสมัยนั้นแยกออกเป็นรัฐ ซึ่งเป็นเอกเทศไม่ได้ขึ้นกับส่วนกลาง ส่งผลให้ภาวะเงินฝืด จากการที่ประชาชน
    ไม่ยอมนำเงินออกมาใช้จ่าย โคเปอร์นิคัสได้เสนอให้ทางรัฐบาลกลางของโปแลนด์ผลิตเงินออกมาใหม่ โดยบังคับให้ใช้เป็นระบบ
    เดียวกันทั้งประเทศ โดยให้ประชาชนนำเงินเก่าออกมาแลกเปลี่ยนกับเงินใหม่ได้ ซึ่งระบบนี้สามารถใช้ได้เป็นอย่างดี

             โคเปอร์นิคัสเสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543 ที่เมืองฟรอนบูร์ก ประเทศโปแลนด์ แม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้ว
    ก็ตาม แต่ผลงานของเขาก็ถือว่าเป็นการปฏิวัติความเชื่อใหม่ที่ถูกต้องให้กับวงการดาราศาสตร์เลยทีเดียว และนักดาราศาสตร์
    รุ่นต่อมาได้นำแนวทางของเขามาใช้ ในการค้นหาความลับทางดาราศาสตร์อีกด้วย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×