ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติของนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ฯลฯ

    ลำดับตอนที่ #13 : แซมมวล มอร์ส

    • อัปเดตล่าสุด 15 มี.ค. 51




    แซมมวล มอร์ส : Samuel Morse
     

    เกิด        วันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1791 ที่รัฐแมสซาชูเซส (Massachusette) ประเทศสหรัฐอเมริกา
                 (United State of America)
    เสียชีวิต วันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1872 ที่กรุงนิวยอร์ค (New York) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
    ผลงาน
     
     - คิดค้นรหัสมอร์ส ซึ่งใช้แทนตัวหนังสือในการส่งโทรเลข
                 - คิดค้นประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลข


             มอร์สนักวิทยาศาสตร์ผู้ประดิษฐ์เครื่องโทรเลข ซึ่งมีคุณประโยชน์อย่างมหาศาลในการสื่อสารที่รวดเร็ว ซึ่งต่อมาโทรเลขถือว่า
    เป็นส่วนสำคัญในชีวิตของมนุษย์เลยทีเดียว
             
             มอร์สมีชื่อเต็มว่า แซมมวล ฟินเลย์ บรีส มอร์ส (Samuel Finley Breeze Morse) เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1791
    รัฐแมศซาชูเซส ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาชื่อว่า เจดิเดียทมอร์ส มีอาชีพเป็นนักบวช และนักเขียน มอร์สเข้ารับการศึกษา
    ขั้นต้นที่โรงเรียนแห่งหนึ่งซึ่งมีเจ้าของเป็นหญิงชรานามว่า มาดามแรนท์ ซึ่งเป็นคนเจ้าระเบียบ และชอบลงโทษเด็ก ๆ ด้วยการใช้
    ปิ่นปักผมจิ้มตามตัว ซึ่งมอร์สก็เป็นผู้หนึ่งที่เคยถูกลงโทษ หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้วมอร์สได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเยล
    (Yale University) ในวิชาศิลปะ ซึ่งเป็นวิชาที่เขาชอบมากอีกทั้งเขายังมีพรสวรรค์ในเรื่องนี้มาตั้งแต่เด็ก นอกจากวิชาศิลปะแล้ว
    มอร์สได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายเกี่ยวกับวิชาไฟฟ้า เคมี และฟิสิกส์ อย่างสม่ำเสมอ แต่ก็ไม่ทำให้มอร์สมีความชำนาญด้านนี้มากนัก
    ด้วยมอร์สมีความสนใจด้านศิลปะมากกว่า อีกทั้งทางครอบครัวก็ให้การสนับสนุนด้านนี้ด้วย ดังนั้นเมื่อมอร์สจบการศึกษาจาก
    มหาวิทยาลัยเยลในปี ค.ศ. 1810 เขาได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษเพื่อศึกษาต่อทางด้านศิลปะ ในระหว่างที่มอร์สได้ศึกษาอยู่ที่
    ประเทศอังกฤษเขาได้รับอุปการะจากเบนจามิน เวสต์ จิตรกรชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียง อาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษแต่ถึงอย่างนั้นมอร์ส
    ก็ได้รับความลำบากเพราะค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นมอร์สจึงต้องทำงานให้กับทางสถาบันราชศิลป์อีกทางหนึ่ง เพื่อแลกกับค่าใช้จ่ายใน
    สถาบัน งานที่มอร์สต้องทำก็คือการสเกตช์ภาพอนุสาวรีย์แห่งหนึ่งด้วยชอล์กขาวและดำ

             นอกจากนี้แล้วเขายังได้วาดภาพเพื่อขายสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ต่อมามอร์สได้ปั้นรูปเฮอร์คิวลิสด้วยดินเหนียวส่งเข้า
    ประกวด ตามคำแนะนำของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งในสถาบันราชศิลป์ ซึ่งมอร์สได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองของสมาคมศิลป์
    อเดลฟี มอร์สยังคมทำงานด้านศิลปะต่อไป ในปี ค.ศ. 1813 ภาพเขียนสีน้ำมันชื่อว่า การตายของเฮอร์คิวลิส (The Dead of
    Hercules) ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 ภาพ ของงานนิทรรศการแสดงภาพของสถาบันราชศิลป์ ปัจจุบันภาพนี้ได้แสดงอยู่ใน
    พิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัยเยล และในปี ค.ศ. 1815 ภาพเขียนสีน้ำมันของเขาได้ร่วมในงานนี้อีกครั้งหนึ่ง ภาพนี้มีชื่อว่า
    การตัดสินใจของจูปีเตอร์ (The Decide of Jupiter) หลังจากประสบความสำเร็จทางด้านศิลปะในประเทศอังกฤษ มอร์สจึง
    ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศสหรัสอเมริกาในปี ค.ศ. 1815

             เมื่อกลับมาถึงประเทศสหรัฐอเมริกาเขาได้เปิดร้านจำหน่ายภาพเขียน (Gallery) แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก
    จากนั้นเขาจึงรับวาดภาพเหมือน ซึ่งทำให้เขามีชื่อเสียงมากขึ้นเพราะเขาได้วาดภาพเหมือนของบุคคลสำคัญหลายคนแต่ก็ไม่ทำ
    ให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น

            ต่อมาในปี ค.ศ. 1818 มอร์สแต่งงานกับลูกเครียเทีย พิคเคอร์ริ่ง วอคเกอร์ หลังจากแต่งงานแล้วมอร์สจำเป็นต้องหารายได้
    จากงานอื่น เพราะรายได้จากงานวาดภาพเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว และเพราะเหตุนี้เขาและภรรยา
    ต้องแยกกันอยู่ชั่วคราว โดยมอร์สได้เดินทางไปทำงานที่เมืองนิวยอร์ค และได้เข้าทำงานในตำแหน่งนักเขียน และผู้บรรยายวิชา
    ศิลปะในเมืองนิวยอร์ค ในระหว่างที่ทั้งสองต้องแยกกันอยู่นี้เอง ต่อมาในปี ค.ศ. 1825 ภรรยาของมอร์สเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ
    วาย แต่การโทรคมนาคมในสมัยนั้นยังล้าช้า ทำให้กว่าจะทราบข่าวก็ล่วงเลยไปหลายวันแล้ว มอร์สรู้สึกเสียใจมาก และตั้งใจว่า จะหาวิธีส่งข่าวสารให้ได้รวดเร็วกว่านี้ให้ได้สักวันหนึ่ง

            หลังจากที่ภรรยาของเขาเสียชีวิตก็ทำให้มอร์สเศร้าโศกเป็นอย่างมาก ดังนั้นในปี ค.ศ. 1829 จึงตัดสินใจเดินทางไปยัง
    ประเทศอิตาลี และเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1832 ระหว่างเดินทางกลับจากทวีปยุโรป มอร์ส
    ได้มีโอกาสรู้จักกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าหลายท่าน โดยเฉพาะชาร์ล เอฟ. แจ็คสัน (Charles F. Jaxkson) นักเคมี
    ชาวอเมริกัน ได้เป็นผู้ที่คอยตอบปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับผู้สนใจเสมอ ซึ่งมอร์สก็เป็นผู้หนึ่งที่ใช้ความสนใจเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
    และเป็นผู้หนึ่งที่นั่งฟังคำบรรยายเกี่ยวกับไฟฟ้าเสมอ นอกจากนี้แจ็คสันยังทำการทดลองอย่างง่ายเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับผู้โดยสาร
    บนเรือได้ชม โดยการใช้แท่งเหล็กพันด้วยลวดทองแดง จากนั้นก็ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ลวดทองแดง ปรากฏว่าแท่งเหล็กนั้น
    กลายเป็นแม่เหล็กชั่วคราว โดยดูดตะปูเหล็กขึ้นมาได้ แต่เมื่อหยุดปล่อยกระแสไฟฟ้าแท่งเหล็กก็จะกลายเป็นแท่งเหล็กธรรมดา
    และตะปูก็หลุดร่วมลงบนพื้น นอกจากนี้ามอร์สได้เข้าร่วมฟังการสนทนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการนำกระแสไฟฟ้า
    มาใช้ในการส่งข่าวสารในระยะไหล ดังนั้นมอร์สจึงใช้เวลาที่อยู่บนเรือร่างต้นแบบเครื่องส่งโทรเลขขึ้น

             เมื่อมอร์สเดินทางมาถึงกรุงนิวยอร์คเขาเหลือเงินไม่มากนักจึงต้องรับจ้างเป็นครูสอนศิลปะตามบ้านและเวลาว่างส่วนที่เหลือ
    เขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องโทรเลข ต่อมาในปี ค.ศ. 1835 มอร์สได้เข้าทำงานมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค (New York
    University) ในตำแหน่งศาสตราจารย์ทางศิลปะ การทำงานในมหาวิทยาลัยแห่งนี้มอร์สไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน แต่ได้รับ
    สิทธิพิเศษในการเรียนวิชาใดก็ได้ในมหาวิทยาลัยแทน มอร์สเลือกเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ซึ่งเข้ามีความรู้พื้นฐานมาบ้างแล้ว

            แม้ว่ามอร์สจะมีเวลาน้อยลง แต่ะเขาก็คงพยายามประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขต่อไปมอร์สต้องประสบปัญหาหลายประการ
    ทั้งเงินทองและเวลา มอร์สใช้เวลาเฉพาะช่วงกลางคืนเท่านั้นในการทำงาน เนื่องจากกลางวันเขาต้องทำงานในมหาวิทยาลัย
    อีกทั้งมอร์สไม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้ซื้ออุปกรณ์ทีละมาก ๆ ทำให้ต้องซื้อลวดทองแดงได้ทีละน้อย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ
    ในการสร้างโทรเลข แต่ในที่สุดมาร์สก็สามารถสร้างเครื่องส่งโทรเลขได้เป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1837 ซึ่งเขาใช้ระยะเวลาถึง 5 ปี
    แต่การส่งโทรเลขนั้นไม่สามารถส่งเป็นตัวหนังสือได้ดังนั้นมอร์สจึงคิดเป็นรหัสเพื่อให้แทนตัวหนังสือ โดยสร้างสวิตช์ไฟอย่างง่าย
    ขึ้น ทำจากสปริงทองเหลือง ส่วนปลายมีปุ่มสำหรับกดซึ่งติดอยู่กับสปริงและแม่เหล็กไฟฟ้าอันเล็ก ๆ เรียกว่า "อาร์เมเจอร์"
    และเมื่อกดปุ่มก็ทำให้กระแสไฟฟ้าเดิน ถ้ายกมือออกจากปุ่มกระแสไฟฟ้าก็จะตัดสวิตช์ชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า "สะพานไฟของมอร์ส"
    ซึ่งมีประโยชน์ในสำหรับส่งกระแสไฟฟ้าออกมาในช่วงสั้น ช่วงยาว ซึ่งทำให้เกิดรหัสในการส่งสัญญาณโทรเลข เรียกว่า
    "รหัสมอร์ส" คือ กดสั้น เป็นจุด ( . ) และกดยาวเป็นขีด ( _ ) ได้แก่

            มอร์สได้แสดงการส่งโทรเลขครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1873 ภายในห้องประชุมของทางมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค
    โดยมีระยะทางในการส่งครั้งแรกเพียง 1,700 ฟุต แต่ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะมีผู้คนเข้าชมอย่างมาก อีกทั้งการแสดง
    ครั้งนี้ทำให้มอร์สได้รับการสนุบสนุนเงินทุนในการพัฒนางานโทรเลขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากอัลเฟรด เวลล์ บุตรชายเจ้า
    ของกิจการจำหน่ายเหล็กและทองเหลืองที่รัฐนิวเจอร์ซี มอร์สได้ปรับปรุงเครื่องโทรเลขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เขาได้นำผลงาน
    ชิ้นนี้เดินทางไปยังกรุงนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1838 เพื่อเสนอผลงานของเขาต่อสภาคองเกรส ซึ่งครั้งนี้มอร์สสามารถส่งโทรเลขได้
    เป็นระยะทางถึง 10 ไมล์แต่ถึงอย่างนั้น สภาคองเกรสก็ไม่ได้สนับสนุนเรื่องเงินทุนแก่เขา

             มอร์สได้พยายามขออนุมัติเงินทุกจากสภาคองเกรสอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1843 ซึ่งครั้งนี้ทางสภาคองเกรสได้อนุมัติเงิน
    ให้เขาจำนวน 30,000 ดอลลาร์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการวางสายโทรเลขจากกรุงวอชิงตันไปยังบัลติมอร์ รวมระยะทาง 38 ไมล์
    ซึ่งการวางสายโทรเลขได้สำเร็จลงในปี ค.ศ. 1884 เมื่อวางสายโทรเลขเสร็จเรียบร้อย จึงมีการทดลองส่งโทรเลขเป็นครั้งแรก
    เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 ใจความว่า "พระเจ้าทำงานอะไร" ส่วนปลายทางที่บัลติมอร์ตอบกลับมาว่า "เขียนที่สุด
    ปลายทาง" ถือว่าการส่งโทรเลขครั้งแรกประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี หลังจากนั้นกิจการโทรเลขก็ได้รับความนิยมอย่างมาก
    ในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งต่อมาก็ได้เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยด้วย จากผลงานประดิษฐ์เครื่องโทรเลขทำให้มอร์สเป็นผู้ที่มี
    ชื่อเสียงโด่งดังเขาได้เปิดบริษัทร่วมกับเวลล์ผู้ซึ่งเคยให้การสนับสนุนเขามาก่อน มอร์สยังได้รับรางวัลจากกลุ่มประเทศยุโรปเป็นเงิน
    ถึง 40,000 ฟรังก์ นอกจากนี้เขายังได้รับเชิญจากสมาคมวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ใช้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอีกด้วย

             มอร์สเสียชีวิตวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1872 ที่กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วย โรคปอดบวม ก่อนหน้าที่เขาจะเสีย
    ชีวิต 1 ปี สมาคมโทรเลขแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สร้างอนุเสาวรีย์เป็นเกียรติแก่เขาที่สวนสาธารณะในเมืองนิวยอร์ค

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×