ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมข้อมูลแต่งนิยายจีน (ชิง)

    ลำดับตอนที่ #1 : เสื้อผ้าของราชวงศ์ชิง

    • อัปเดตล่าสุด 18 มี.ค. 58


     image281

    ปี 1644—ปี 1911

     image280

                    การปกครองสมัยชิงนั้นสถาปนาขึ้นโดยชนกลุ่มน้อยแมนจู    เนื่องจากวิถีชีวิตที่เร่รอนมาเป็นระยะเวลานานกอปรกับสถานการณ์ทางสงคราม  ดังนั้นเครื่องแต่งกายจึงต้องกระชับเข้ารูปเพื่อให้ง่ายต่อการขี่ม้าและยิงธนู ซึ่งกลายมาเป็นคุณสมบัติหลักของวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวแมนจูอันแตกต่างจากวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวฮั่นค่อนข้างมาก   ผู้ปกครองในสมัยชิงมีความเข้าใจที่ไม่เหมือนใครเกี่ยวกับการแต่งของเผ่าตัวเอง พวกเขาไม่เพียงคิดว่าเครื่องแต่งกายนี้เป็นสิ่งที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเท่านั้น  แต่ยังตระหนักว่าชุดเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เมื่อออกรบแล้วไม่มีวันแพ้พ่าย  ดังนั้นจึงได้ให้ความสำคัญกับการสืบทอดและพัฒนาชุดประจำเผ่าอย่างยิ่ง  นอกจากนั้นเครื่องแต่งกายสมัยชิงก็ยังเป็นหนึ่งในบรรดาเครื่องแต่งกายที่สลับซับซ้อนและกระจุกกระจิกมากที่สุดในประวัติศาสตร์จีนอีกด้วย  ทั้งยังส่งผลกระทบค่อนข้างมากต่อการแต่งกายของชาวจีนในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา

     image282

    套金护指的慈禧(北京故宫博物院藏《慈禧写真像》

    พระนางซูสีไทเฮาเล็บทอง  (พระสาทิสลักษณ์ของพระนางซูสีไทเฮาจากพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม กรุงปักกิ่ง)

     image283

    พระมาลาของพระจักรพรรดิ

    พระมาลาขององค์พระจักรพรรดิแบ่งเป็นสองประเภทคือ冬朝冠เหมันตมาลา (หมวกสำหรับฤดูหนาว)และ 夏朝冠คิมหันตมาลา (หมวกสำหรับฤดูร้อน)  ตัวเหมันตมาลามีลักษณะเป็นโดมลาดโค้งลงมา  บริเวณขอบยกขึ้นสูงและบุด้วยขนมิงค์หรือขนจิ้งจอกสีดำ  บนยอดประกอบเสามังกรสุวรรณเมฆาฝังมุก  เสาทองคำนี้แบ่งเป็นสามชั้นด้วยกัน  ชั้นล่างเป็นส่วนฐาน พาดลายมังกรสี่ตัว  ประกอบด้วยไข่มุกสี่เม็ด   ชั้นที่สองและสาม ก็ประกอบด้วยมังกรสี่ตัวเช่นกัน แต่ละชั้นมีไข่มุกสี่เม็ดหันไปทั้งสี่ทิศ  เสามังกรมีไข่มุกรวมทั้งสิ้นสิบห้าเม็ด  เรือนยอดมีไข่มุกเม็ดใหญ่หนึ่งเม็ด

    image284 image285

    คิมหันตมาลามีลักษณะเป็นทรงกรวยกลม  ด้านล่างเป็นหมวกปากบาน    โดยสานขึ้นจากหญ้าหยก เถาวัลย์เส้นเล็ก หรือไม้ไผ่ ด้านนอกสานเป็นตาข่าย  ใช้ผ้าหงซา(ผ้าบางสีแดง)หรือดิ้นทองถักบนผ้าสีแดงบุไว้ด้านใน   ขอบปากหมวกทั้งสองชั้นขลิบด้วยทอง  ด้านหน้าประดับด้วยพระปฏิมาทองคำ  โดยรอบองค์พระฝังมุกทั้งสิ้นสิบห้าเม็ด  ด้านหลังประดับมุกอีกเจ็ดเม็ด  บนยอดประดับด้วยเสามังกรสุวรรณเมฆาฝังมุกเหมือนกับเหมันตมาลา

     image286

     (台北故宫博物院藏)

     จากพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม ณ กรุงไทเป

     image287

     清高宗夏朝冠冠顶

    (台北故宫博物院藏)

    ยอดพระคิมหันตมาลาของจักรพรรดิเฉียนหลงฮ่องเต้
    (ชิงเกาจง)

    (จากพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม ณ กรุงไทเป)

     

    ชุดคลุมมังกร

    ในสมัยชิงมีเพียงพระจักรพรรดิเท่านั้นที่สามารถสวมเสื้อคลุมลายมังกรสิบสองตัวได้    ชุดคลุมมังกรมีลักษณะ คอกลม ปกคอเสื้อมีขนาดใหญ่  ตัวชุดพับไปทางขวา(ขวาทับซ้าย)  แขนเสื้อและปลายมีขนาดเล็กเรียว  ปลายแขนเสื้อรูปทรงกีบม้า   มีลักษณะเป็นชุดคลุมแหวกสี่ทาง  สีเหลืองสด  ปักเป็นลวดลายมังกรเก้าตัว  แล้วปักลายมงคลสิบสองแบบลงไป   ตรงกลางเป็นลายเมฆห้าสี  ด้านล่างปักเป็นลายน้ำกระเพื่อมแปดระรอก   ที่หลังปกคอเพิ่มมังกรหนึ่งตัว ปกคอซ้ายขวาข้างละหนึ่งตัว  ปลายแขนเสื้อรูปกีบม้าอีกข้างละหนึ่งตัว   ปกเสื้อและแขนประดับโดยใช้หินสีเขียวหรือดำที่ฝังลงบนผ้าต่วนสีทอง  ชุดมังกรนี้สามารถเปลี่ยนผ้าที่ใช้เย็บไปตามฤดูกาล อาจจะเป็น  ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้านวม ผ้าขนสัตว์หรือวัสดุอื่นๆ

     image288    

    清乾隆皇帝一式冬朝服(北京故宫博物院藏)

    เสื้อกันหนาวรูปแบบหนึ่งของจักรพรรดิเฉียนหลง

    (จากพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามปักกิ่ง)

    image290

     清康熙皇帝祈谷穿用的夏朝服

    (国家博物馆藏)

    ชุดฤดูร้อนสำหรับเสด็จประภาสชมภูเขาของจักรพรรดิคังซี  (จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน)

     image291

    清太祖努尔哈赤朝服像

    พระบรมสาทิสลักษณ์ของปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ชิง

    ชิงไท่จู่นู๋เอ๋อร์ฮาชรื่อ

     

     image289

    清乾隆二式皇后缂丝龙袍

    (北京故宫博物院藏)

    image293

     image294

    清乾隆帝慧贤皇贵妃冬朝服像(北京故宫博物院藏)

    พระสาทิสลักษณ์ของพระนางฮุ่ยเสียนวรราชเทวี

    (หวงกุ้ยเฟย)ในพระจักรพรรดิเฉียนหลงฮ่องเต้

     

    พระมาลาของสมเด็จพระบรมราชินี(ฮองเฮา)

    พระเหมันตมาลาทำจากขนมิงค์องค์พระมาลาเป็นทรงครึ่งวงกลมคว่ำลักษณะเป็นโดมโค้งลาด  ประดับด้วยไข่มุก  ด้านข้างมีแผงสำหรับเป็นขอบ  บนยอดมีลักษณะคล้ายยอดเจดีย์ แบ่งเป็นสามชั้น แต่ละชั้นฝังไข่มุกหนึ่งเม็ดพร้อมหงส์ทองคำชั้นละหนึ่งตัว  ซึ่งประดับมุกด้วยไข่มุกตัวละ ๓ เม็ด รวมทั้งสิ้นใช้ไข่มุก ๑๗ เม็ด บนยอดของเสาหงส์ประกอบไข่มุกเม็ดใหญ่อีกหนึ่งเม็ด   ด้านบนของพระมาลายังประกอบหงส์ทองอีก ๗ ตัว  บนหงส์แต่ละตัวฝังมุกอีก ๙ เม็ด และ แก้วไพฑูรย์หรือเพชรตาแมวอีกหนึ่งเม็ด  หางของหงส์แต่ละตัวก็จะประดับด้วยไข่มุกอีก  ๒๑ เม็ด   ด้านหลังของพระมาลาประดับด้วยหางไก่ฟ้าซึ่งถัดลงมาเป็นพวงระย้าจากสร้อยไข่มุก ๕ เส้น  แต่ละเส้นใช้ไข่มุก ๖๔ เม็ด  ลักษณะการร้อยแบบนี้เรียกว่า อู่หังเอ้อร์จิ้ว五行二就 (หมายถึงมีสายสร้อยห้าเส้น โดยแผงไข่มุกห้าเส้นจะแบ่งเป็นสองท่อน จึงเรียกว่าเอ้อร์จิ้ว นอกจากพระบรมราชินีแล้วพระมเหสีหรือพระราชเทวีองค์อื่นจะสามารถประดับแผงไข่มุกได้เพียง ๓ เส้น  คือ 三行二就)  นอกจากนั้น ด้านหลังบริเวณที่แขวนแผงสายสร้อยไข่มุกยังประดับด้วยแผงผ้าสีดำรูปน้ำเต้าคว่ำเพื่อป้องกันการเสียดสีหรือกันกับพระศอและพระเกศา  บริเวณด้านล่างของแผงผ้าประดับด้วยสายสร้อยไหมสีเหลืองทองอีกสองเส้น และตกแต่งด้วยอัญมณีมีค่า  ด้านซ้ายและขวามีริบบิ้นสีนิลสองเส้น    ส่วนพระคิมหันตมาลาทำจากผ้ากำมะหยี่สีดำและส่วนประกอบอื่นๆเหมือนกับพระเหมันตมาลาทุกประการ

    image295  image296

     image297

    清代皇后朝冠

    (选自《大清会典图》)

     image298

     image299

    ไก่ฟ้า

     image300image301

     

     

    เสื้อคลุมด้านนอกสำหรับสตรีตำแหน่งสูง (เสื้อกั๊กยาว)

    เสื้อกั๊กยาวของสมเด็จพระบรมราชินีมีลักษณะเป็นสีเขียวเข้ม สีน้ำเงินเข้ม หรือสีดำ ขลิบขอบด้วยผ้าแพรยกทองหรือผ้าไหมยกทอง  ปักเป็นลวดลายต่างๆ  ปกคอด้านหลังมีสายผ้าสีเหลืองทองผูกไว้  ประดับด้วยไข่มุก  โดยปกติแล้วเสื้อกั๊กยาวนี้จะสวมไว้ด้านนอกของชุดคลุม(ผาว)อีกชั้น  เวลาสวมใส่จะประดับด้วยพิมพาภรณ์(เครื่องประดับ)หลายหลาก  ที่พระศอจะสวมสร้อยพระศอทรงกลม มีสายห้อย  สร้อยประคำ  บนพระเศียรสวมพระมาลา  ที่พระบาทสวมร้องเท้ามีส้นที่อยู่ตรงกลาง  ทรงพระสิริโฉมงดงามยิ่ง

     image302

    清顺治孝康章皇后像

    (北京故宫博物院藏)

    พระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระราชินีเสี้ยวกังจางฮองเฮาในองค์พระจักรพรรดิซุ่นจื้อฮ่องเต้

    image303

    清乾隆皇后褂(北京故宫博物院藏)

    เสื้อกั๊กของพระราชินีในจักรพรรดิเฉียนหลง

    image304

    朝褂(传世实物,原件现藏故宫博物院)

     

      

    หมวกขุนนาง

    บนส่วนที่สูงที่สุดของหมวกขุนนางของราชสำนักชิงจะประดับยอดก้อนอัญมณีหรือวัสดุมีค่าสีต่างๆ อาทิเช่น แดง น้ำเงิน ขาว ทองเป็นต้น  ยอดอัญมณีเหล่านี้ใช้แสดงความแตกต่างและตำแหน่งหน้าที่ในราชสำนัก   จากกฎประเพณีในสมัยชิง

    ขุนนางขั้น ๑ ใช้พลอยทับทิมประดับยอดหมวก

    ขุนนางขั้น ๒  ใช้กัลปังหา

    ขุนนางขั้น ๓  ใช้พลอยไพลิน

    ขุนนางขั้น ๔  ใช้แก้ววิฑูรย์

    ขุนนางขั้น ๕  ใช้แก้วผลึกใส

    ขุนนางขั้น ๖  ใช้หินมือเสือ

    ขุนนางขั้น ๗  ใช้ทองคำขาว

    ขุนนางขั้น ๘  ใช้ทองโปร่งแกะสลักลายด้านสีดำ(ลวดลายเป็นสีดำ)

    ขุนนางขั้น ๙  ใช้ทองโปร่งแกะสลักลายด้านสีขาว(ลวดลายเป็นสีขาว)

    ไม่มียอดคือไม่มีตำแหน่ง

    image305 image306

    image307image308

     image309 image310

     image311

    image312

    พู่ประดับหมวก

    เวลาที่สวมหมวกในช่วงสมัยชิง  โดยปรกติแล้วด้านล่างของยอดหมวกจะมีพู่หนึ่งเส้นยาวประมาณ 6-7cm ติดอยู่  ใช้หยกขาวหรือมรกตทำเป็นส่วนยอดก้าน    โดยหลักๆยอดก้านเหล่านี้มีหน้าที่ยึดตำแหน่งของพู่นั่นเอง   ในสมัยชิงมีพู่ลายและพู่สีน้ำเงิน ซึ่งพู่ลายจะเป็นพู่ที่มีค่า   พู่ลายเหล่านี้ทำจากขนหางนกยูง มีตาสีน้ำเงิน หนึ่งดวงบ้าง สองดวงบ้าง สามดวงบ้าง จึงเรียกว่า“ดวงตา” ซึ่งก็เป็นการบ่งบอกถึงลวดลายและสีสันบนหางนกยูง บนขนหางนกยูงนั้น หากก้านใดมีดวงตาสามดวงจะถือว่ามีค่ามากที่สุด  สวนพู่สีน้ำเงินนั้นทำมากจากขนของนกกระสา  ไม่มีตา   วิธีการห้อยพู่ประดับหมวกในสมัยชิงนั้นจะผูกพู่ยึดกับยอดหมวกแล้วหันปลายไปทางด้านหลัง

     image313

     

     image314

     image315

    清单眼、双眼、三眼孔雀花翎

    (北京故宫博物院藏)

    image316

    冠帽上的顶子(传世实物)

     image317

    凉帽(传世实物)

     image318

    穿补服的官吏

    (清人《关天培写真像》)

     image319

    暖帽(传世实物)

     

    เสื้อคลุมปักลายมงคล  (补服)

    เสื้อคลุมปักลายสัตว์มงคล (ปู่ฝู) ในสมัยชิงนั้น ทั้งรูปแบบและตัวลวดลายล้วนได้รับการถ่ายทอดมาจากสมัยหมิงโดยตรง  เสื้อคลุมปู่ฝูเป็นหนึ่งในบรรดาเครื่องแต่งกายที่สำคัญๆของเหล่าขุนนางทั้งฝ่ายบุ๋น (วิชาการ) และฝ่ายบู๊ (ทหาร) ทั้งยังเป็นเครื่องแต่งกายที่สุภาพของสมัยชิง    เสื้อคลุมปู่ฝูใช้ลายปักด้านหน้าอกและด้านหลังเป็นเครื่องมือในการแยกแยะตำแหน่งสูงต่ำของข้าราชการ  พระบรมวงศานุวงษ์ใช้ลายปักทรงกลม  ขุนนางข้าราชการกรมการต่างๆใช้ลายปักทรงสี่เหลี่ยม    ลักษณะที่สำคัญๆของเสื้อลายปักเหล่านี้ก็คือ คอกลม มีกระดุม แขนเรียบ ส่วนแขนและข้อศอกเล็ก ส่วนลำตัวยาวคลุมเข่า  มีรางดุมสำหรับใส่กระดุม ๕ เม็ด  เสื้อปู่ฝูเป็นเสื้อคลุมชนิดหนึ่งมีลักษณะหลวมโพลก สีเข้ม สมัยนั้นถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  เสื้อนอก

    ลายปักบนชุดคลุมปู่ฝูแบ่งเป็นกลุ่ม ๒ กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มพระบรมวงศานุวงษ์และกลุ่มขุนนางข้าราชการ

    กลุ่มพระบรมวงศานุวงษ์แบ่งเป็น                  มังกรห้าเล็บและมังกรสี่เล็บ

    กลุ่มขุนนางข้าราชการฝ่ายเสนาธิการ(การเมือง)   แบ่งเป็น

    image320       – ขุนนางระดับ ๑ ปักลายนกกระเรียน

    image321 – ขุนนางระดับ ๒ ปักลายไก่ฟ้าสีทอง

    image322 – ขุนนางระดับ ๓ ปักลายนกยูง

    image323- ขุนนางระดับ ๔ ปักลายห่านป่า

    image324- ขุนนางระดับ ๕ ปักลายไก่ฟ้าสีเงิน

    image325- ขุนนางระดับ ๖ ปักลายนกกระยาง

    image326- ขุนนางระดับ ๗ ปักลายเป็ดหงส์

    image327- ขุนนางระดับ ๘ ปักลายนกขมิ้น
    (ภายหลังใช้นกกระทา)

    image328- ขุนนางระดับ ๙ ปักลายนกกระทา
    (ภายหลังใช้นกแซวสวรรค์)

    กลุ่มขุนนางข้าราชการฝ่ายกลาโหม แบ่งเป็น   

     image329

    - ขุนนางระดับ ๑ ปักลายสิงห์

    image330

    - ขุนนางระดับ ๒ ปักลายสิงห์
    (ภายหลังใช้กิเลน)

    image331

    - ขุนนางระดับ ๓ ปักลายเสือ
    (ภายหลังใช้เสือดาว)

     image332

    - ขุนนางระดับ ๔ ปักลายเสือดาว
    (ภายหลังใช้เสือ)

     image333

    - ขุนนางระดับ ๕ ปักลายหมี

    image334

    - ขุนนางระดับ ๖ ปักลายเสือดำ

    image335
    – ขุนนางระดับ ๗ ปักลายเสือดำ
    (ภายหลังใช้แรด)

    image335- ขุนนางระดับ ๘ ปักลายแรด

     

    image336- ขุนนางระดับ ๙ ปักลายม้าที่อยู่ในน้ำ

     

     image337

     image338

    清《万树园赐宴图》

    中穿吉服袍外罩补褂的官员们

     image339

    亲王补子——团龙

    (传世实物)

     

    สร้อยประคำประดับ

    สร้อยประคำประดับมีที่มาจากสร้อยประคำในพุทธศาสนา   เนื่องจากปฐมกษัตริย์ของพระราชวงศ์มีศรัทธาเลื่อมในศาสนาพุทธ ดังนั้นเสื้อผ้าอาภรณ์และพิมพาภรณ์จึงเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ  ระบบการแต่งกายในสมัยชิงนั้น เวลาสวมชุดทางการก็จะสวมสร้อยประคำไว้ด้านหน้าด้วย  สร้อยประคำเหล่านี้ทำจากลูกปัด ๑๐๘ เม็ดที่ร้อยเข้าด้วยกัน  แบ่งเป็นชุดละ ๒๗ เม็ด  โดยลูกปัดแต่ละชุดจะมีอยู่หนึ่งเม็ดที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า  โฝโถว   ห้อยไว้กลางหน้าอก โดยลูกปัดเม็ดใหญ่ เรียกว่า  โฝโถวถ่า  ร้อยด้วยเชือกสีเหลือง   ด้านหลังห้อย “เป้ยยวิ๋น”  ส่วนปลายห้อยน้ำเต้าเรียกว่า โฝจุ่ย   เป้ยยวิ๋นและโฝจุ่ยจะถูกห้อยไว้ด้านหลัง  บนส่วนโฝโถวถ่ายังแตกแขนงเป็นพวงลูกปัดเล็กอีกสามเส้น  แต่ละเส้นมีลูกปัด ๑๐ เม็ด  โดยเส้นแขนงเหล่านี้ถูกแขวนไว้ฝั่งหนึ่ง ๒ เส้น อีกฝั่งหนึ่งแขวนเส้นเดียว    ซึ่งผู้แขวนที่เป็นผู้ชายจะนำสองเส้นเล็กๆนี้ชี้ไปทาง ซ้าย  ส่วนผู้หญิงจะนำไว้ทางขวา  วัสดุที่ใช้ประดิษฐ์สร้อยประคำที่ถือว่ามีค่ามากที่สุดคือ ไข่มุกจากแม่น้ำซงฮวา นอกจากนั้นยังมี มรกต   หินโมรา หยกขาว เป็นต้น

     image340

    穿朝服、佩三串朝珠的清朝皇后

    (北京故宫博物院藏《清代帝后像》)

    image341

    清代朝珠(根据传世实物绘制,高春明绘)

     

    ตุ้มหู

    ตุ้มหูยุคชิงแบ่งเป็น ๒ ลักษณะใหญ่ๆ คือแบบที่มีพู่และแบบที่ไม่มีพู่  วัฒนธรรมที่สืบทอดต่อๆกันมาของหญิงสาวชาวแมนจูคือ ใบหูหนึ่งข้างจะเจาะหู ๓ รูสำหรับใส่ตุ้มหู ๓ วง ๓ รูปแบบ   เครื่องประดับใบหูในยุคชิง วัสดุที่ใช้ไม่เพียงแต่มีค่าเท่านั้น สีสันยังสวยงาม รูปแบบและสไตล์ไม่ซ้ำแบบ

     image342

    清银嵌珊瑚松石大耳坠,

    台北故宫博物院藏

    image343

    以绿松石及孔雀石

    制成的串饰(云南晋宁

    石寨山西汉墓出土)

    image344

    戴耳环的清代妇女

    (清无款人物堂幅)

      image345

     金镶珠宝耳环(传世品)

     

    หมวกครอบ(เตี้ยน)

    สตรีชั้นสูงในสมัยชิง โดยปกติแล้วจะทำผมทรงฉี (ทรงที่เห็นได้บ่อยในหนังจีนที่ดำเนินเรื่องอยู่ในยุคชิง)  นอกจากนั้นยังทำผมทรงที่มีหมวกครอบไว้อีกทรงหนึ่งด้วย เรียกว่า หมวกเตี้ยน    ในความเป็นจริงแล้วหมวกเตี้ยนนี้ก็คือหมวกที่ประดับตกแต่งด้วยอัญมณีต่างๆนั่นเอง  อาทิเช่น  ทอง หยก  ทับทิม ไพลิน ไข่มุก ปะการัง อำพัน หินโมรา หินมูลนกการะเวก (ทอยคอส) หรือขนนกกระเต็น เป็นต้น

     image346

    ผมทรงฉี

    image347

    清点翠嵌宝石福寿绵长钿子

     image353

    清光绪镶珠翠碧玉双喜字青钿子

    (北京故宫博物院藏)

     image348image352

    image351image349image350

     

     

     

     

    image354

    ปิ่น กิ๊บหนีบ  ปิ่นพวง  ปิ่นปลายไม้แคะหู  แถบสำหรับจัดทรงผม

    ปิ่น กิ๊บหนีบ  ปิ่นพวง  ปิ่นปลายแหลม ล้วนเป็นเครื่องประดับที่ใช้ประดับบนศีรษะ  แบ่งเป็น ๒ ส่วน     ส่วนแรกคือส่วนที่ติดประดับอยู่บนศีรษะ มักเป็นดอกไม้ต่างๆมักทำมาจาก ไข่มุก มรกต อัญมณี  ขนนกกระเต็น เป็นต้น     ในสมัยชิงนิยมความงดงามแบบธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเครื่องประดับซึ่งมีความซ้อบซ้อน  เช่นเครื่องประดับเงินทองประกอบขนนกกระเต็น  กิ๊บดอกไม้เงินดอกไม้ทองฝังมุกซึ่งประกอบด้วย  “ดอกไม้ ๙ ชนิด”  “ผีเสื้อล้อวสันต์”  “มังกรคู่เล่นแก้ว”    “ห้าค้างคาว(สื่อถึงความสุข)ล้อมอักษรโซ่ว(อายุยืน)”     สวนกลางของก้านกิ๊บรูปไม้แคะหูจะประดับตกแต่งด้วยลวดลายต่างๆ  มีทั้งฝังอักษร 安如 ที่ทำจากกัลปังหา   ขนนกกระเต็นประดับทองและไข่มุกรูปอักษร 寿喜  เป็นต้น   ส่วนที่สองคือแถบสำหรับจัดทรงผมมักมีรูปร่างยาวและเป็นเหลี่ยม  บนแถบนี้มักประดับด้วยไม้กฤษณาฝังพลอยสามสีและไข่มุกสีเขียวโดยตกแต่งเป็นรูปนกและดอกไม้  ยังมีกระดองเต่าฝังทองคำ  หงส์และดอกไม้ไข่มุก  และเครื่องประดับที่สวยงามอีกหลายหลาก  นอกจากนั้นแผ่นจัดทรงผมที่ยาวและเรียบ  หรือแบบที่ทำมาจากหยกสีเขียวซึ่งสวยงามเป็นมัน  แลมีค่าเป็นอย่างยิ่ง

     image355

      清银镀金点翠嵌珠宝花蝶簪

    (台北故宫博物院藏)

      image356

    清珊瑚珠玉步摇(台北故宫博物院藏)

    image357

    清白玉嵌珠

    翠碧玺扁方

    (台北故宫博物院藏)

     image358

    银耳挖簪(山东嘉祥元曹元用墓出土)

     image359

    金镶玉步摇

     

    ที่ครอบนิ้วมหาธำมรงค์และแหวน

    การใช้ดอกบอลซัมสำหรับทาเล็บนั้น เป็นที่นิยมในหมู่สตรีชาวแมนจูมาช้านาน   สตรีชั้นสูงชาวแมนจูมักจะไว้เล็บยาว แล้วใช้แผ่นทองหรือแผ่นเงินขึ้นรูปเป็นเล็บปลอมสวมซึ่งมีลวดลายที่งดงามมากไว้สำหรับป้องกันนิ้วมือ

    มหาธำมรงค์นั้นมีที่มาจากการยิงธนูในสมัยโบราณ แหวนหินในยุคชิงเป็นเครื่องประดับนิ้วซึ่งสวมไว้ที่หัวแม่มือขวาของบุรุษชั้นสูงแมนจู (บ้างก็สวมไว้ทางซ้าย)  ส่วนมากทำมากจากมรกต ทัวมาลีน(พลอยสามสี) หินโมรา กัลปังหา  คริสตัล ทอง เงิน ทองแดง เหล็ก หรือเซรามิกเป็นต้น บ้างก็แกะสลักบทกวีไว้ข้างบน  บ้างก็สลักเป็นลวดลายต่างๆ

    แหวนในสมัยชิง ทำมาจากวัสดุมีค่าที่แตกต่างกันไป  ทั้งแหวนมังกรคาบแก้ว แหวนหงส์เล่นมุก แหวนฉลุลายดอกเหมยฝังมุก  แหวนฉลุลายดอกไม้และแมลง แหวนผิงอันและหรูอี้ หรือแหวนลวดลายที่สวยงามอื่นๆ

     image360

    清慈禧太后着色照片
    (北京故宫博物院藏)

     image361

    江苏扬州市郊清墓出土金护指

     image362

    清玳瑁嵌珠宝花蝶指甲套

    (台北故宫博物院藏)

     image363

    清翠玉搬指/清翠玺搬指
    (台北故宫博物院藏)

    image364

    清开金镂空古钱纹戒指
    (台北故宫博物院藏)

     

    ตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวแมนจูนั้น เวลาออกเดินทางไกลๆจะผูกถุงอาหารสำหรับประทังความหิวไว้ที่บั้นเอวด้วย   ต่อมาก็ได้เลียบแบบชาวฮั่นที่ใช้ผ้าไหม ผ้าซาตินหรือสิ่งทออื่นๆทำเป็นถุงเงิน ถุงหอม แถบผ้าปักลาย ถุงเครื่องมือสำหรับจุดไฟ อัน เล็กๆ(คล้ายๆไฟแช็กในสมัยปัจจุบัน) ถุงใส่พัด เป็นต้น ซึ่งต่างก็มักจะประดับด้วยพู่หรือจี้เล็กๆเพื่อความสวยงาม แล้วผูกไว้ที่สายรัดเอวทั้ง ๒ ด้าน  บรรดาผู้หญิงก็จะแขวนถุงเงิน ถุงหอมไว้ที่รังดุมเป็นต้น      ภายหลังก็มีแขวนถุงแว่น ถุงไพ่ ถุงนาฬิกาหรือของเย็บปักถักร้อยอื่นๆ

     image365 image366

    彩绸荷包(传世品)

    image367

    着便服、挂什件的男子

     image368

    清香囊(北京故宫博物院藏)

    image369

    清烟荷包(北京故宫博物院藏)

       

    หมวกรูปแตงโม

    หมวกรูปแตงโมเป็นหมวกที่ประกอบจากผ้า ๖ ชิ้น บ้างก็เรียกว่า หมวกน้อย    หมวกนี้แฝงความหมายว่า “หกรวมเป็นหนึ่ง”  ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง    หมวกรูปแตงโมนี้ หากใช้ใส่ในฤดูร้อนหรือฤดูใบไม้ร่วงจะถูกเย็บจากผ้าบาง(ผ้าซา) ส่วนหมวกสำหรับฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิจะใช้ผ้าต่วนในการเย็บขึ้นรูป   หมวกชนิดนี้ส่วนมากใช้สีดำ ภายในเป็นสีแดง หากพิถีพิถันหน่อยก็จะขลิบขอบด้วยผ้าไหมตาด   รูปร่างของหมวกชนิดนี้มีอยู่หลากหลาย  ทั้งยอดแบน ยอดแหลม และ แบบแข็ง แบบอ่อน       ชนิดยอดแบนส่วนใหญ่เป็นเป็นหมวกแบบแข็ง ภายในบุผ้าฝ้าย   ส่วนยอดแหลมก็มักจะเป็นหมวกอ่อน  เพื่อความสะดวกเวลาที่ไม่ได้สวมใส่ ก็สามารถพับเก็บไว้ในกระเป๋าได้    ที่ยอดของหมวกก็จะมีจุก เรียกว่า เจ๋ย์จึ  ยอดจุกนี้โดยปกติทำมาจากเชือกไหมสีแดง    หากที่ใช้เวลามีงานศพ ก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีขาว  ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับความนิยม  แล้วก็จะไม่ใช้พวกของมีค่าเช่น กัลปังหา คริสตัล หรือไข่มุกต่างๆมาทำเป็นยอดจุก

    image370 image371

    戴小帽的男子(传世图照)

     

    เสื้อหม่ากว้า (แจ็คเก็ตแบบจีน)

    เครื่องแต่งกายของผู้ชายยุคชิงโดยปกติแล้วจะเป็นเสื้อคลุมยาวหรือไม่ก็เป็นกระโปรงกับเสื้อหม่ากว้าและเสื้อกั๊ก  คาดเข็มขัดยาว     เสื้อหม่ากว้ามีความยาวถึงสะดือ  ด้านข้างสองข้างและด้านหลังจะมีช่องแหวก(คล้ายกระโปรงแหวกข้าง)  แขนเสื้อตรงและไม่มีปลายรูปเกือกม้า   บ้างมีความยาวกว่ามือ บ้างก็ยาวพอดีมือ  แบบที่ไม่มีปกเสื้อ มีแบบรังดุมตรง รังดุมใหญ่ รังดุมรูปผีผา    เสื้อหม่ากว้าของผู้หญิงจะมีปลอกแขน (แขนเสื้อยาวกว่าข้อมือ)

    image372

      image373

    琵琶襟马褂(传世实物)

    image374

    穿对襟马褂及行袍者

    image375

    晚清刺绣对襟女衫

    image376晚清天青纱大镶边右衽女马褂(传世品,国家博物馆藏)

      

    image377เสื้อกั๊ก

    เสื้อกั๊กของผู้ชายในสมัยชิงมีรูปแบบต่างๆ เช่น สาบเสื้อขวาง  สาบเสื้อรูปผีผา  สาบเสื้อตรง  สาบเสื้อทางขวา  และรูปแบบของสาบเสื้ออื่นๆที่หลากหลาย  นอกจากรูปแบบที่ไม่มีปกคอซึ่งมีรูปแบบสาบเสื้อลักษณะต่างๆแล้ว  ก็ยังมีแบบที่มีปกคอด้วยเช่นกัน    รังดุมและสาบเสื้อของเสื้อกั๊กนั้นจะอยู่ด้านหน้า สาบเสื้อแนวขวางจะสะดวกต่อการสวมใส่และถอดออก  ทุกด้านของตัวเสื้อและส่วนปกคอต่างขลิบด้วยผ้า

    เสื้อกั๊กของผู้หญิงแมนจู มีแบบ สาบเสื้อขวาง สาบเสื้อรูปผีผา  สาบเสื้อข้าง  สาบเสื้อแหวกสองข้าง  ส่วนใหญ่จะสวมเสื้อกั๊กไว้ด้านนอก  ปักลวดลายสวยงาม   ลวดลายที่อยู่บนเสื้อกั๊กนั้นก็มีลายดอกไม้บาน กิ่งก้านต่างๆ ดอกตูม ผีเสื้อ นกกระเรียนเป็นต้น ต่างเป็นลวดลายที่สื่อความหมายมงคลทั้งสิ้น    ในช่วงกลางและช่วงปลายของสมัยชิงยังเพิ่มลายยอดก้านหรูอี้เข้าไป ตกแต่งหลายชั้นซับซ้อน  นอกจากการปักดอกไม้แล้ว ยังมีการขลิบริมด้วยผ้าซาตินสีทอง  บ้างก็เพิ่มพู่หรือลูกปัดเพิ่มเข้าไปด้วย

     image378

     清慈禧太后竹子纹样紧身小样四种 (北京故宫博物院藏)

    image379

    清琵琶襟女马褂小样

    (北京故宫博物院藏)

     

     

    ทรงผมสตรีชาวแมนจู

    ทรงผมของหญิงชาวแมนจูแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1.ทรงสองแกละ   2.ทรงหมวกปีกกว้าง     ทรงสองแกละนั้นเริ่มจากการหวีผมไปไว้ด้านหลัง จากนั้นแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนล่างถึงลำคอ  แล้วแบ่งผมออกเป็นสองช่อยกสูง ตอนที่พับนั้นชโลมน้ำยาจัดทรงผมพร้อมกับจัดให้เรียบ ยกสูงขึ้นเล็กน้อย แล้วพับ จากนั้นรวมกันเป็นช่อเดียว  แล้วย้อนกลับไปด้านหน้า  ใช้เชือกมัดให้แน่นจากโคนผม    จากนั้นสอดแถบเหล็กสำหรับจัดทรง   แล้วนำเส้นผมพันรอบแถบเหล็กนั้นไว้  ให้เป็นรูปตัว T แล้วค่อยประดับด้วยดอกไม้ ลูกปัด และพู่ห้อยหรือตุ้งติ้ง       ภายหลังในสมัยเสียเฟิงฮ่องเต้ (ก่อนสมัยซูสีไทเฮา) ผมทรงนี้ก็ค่อยๆมีขนาดใหญ่ขึ้น แกละทั้งสองข้างก็มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จึงนำแถบรูปพัดสีดำมาประดับให้ปีกผมทั้งสองข้างกว้างขึ้น แล้วเรียกว่า   ฉีโถว หรือ  กวนจวง   ซึ่งเรารู้จักกันในนาม  ต้าลาเช่อ

    ฉนั้น เครื่องแต่งกายในหนังเรื่ององค์หยิงกำมะลอภาคก่อนจึงผิดอย่างมหันต์เลยครับ เพราะต้าลาเช่อสมัยนั้นยังไม่มี

                   image380

     梳旗髻的满族妇女

    (清人《贞妃常服像》)

     image381

    一字头

    image382

    大拉翅

    image383 image384

    image385

     

    เกี๊ยะแบบแมนจู

    จากการรับอิทธิพลจากบรรพบุรุษที่นิยมใช้ไม้มาทำรองเท้า  ผู้หญิงชาวแมนจูจึงสวมรองเท้าส้นไม้  เรียกว่า “เกี๊ยะแมนจู”  จุดเด่นคือรองเท้าจะมีส้นอยู่ตรงกลางสูงประมาณ 10 เซนติเมตร  ลักษณะคล้ายกระถางดอกไม้  จึงเรียกว่า “รองเท้ากระถางดอกไม้”  บ้างก็มีลักษณะคล้ายกีบม้า จึงเรียกว่า “รองเท้ากีบม้า” ส้นเท้าบุด้วยผ้าสีขาว  ตัวรองเท้าปักลวดลาย  อาจเพิ่มลูกปัดหรือเครื่องตกแต่งอื่นๆ  ผู้หญิงชาวแมนจูสวมเกี๊ยะชนิดนี้เนื่องจากพวกนางไม่ต้องการมัดเท้าเหมือนชาวฮั่น   ผู้หญิงที่มัดเท้า เวลาเดินจะต้องเกร็งสะโพก ซึ่งมีผลเวลาร่วมรักที่ทำให้สามีมีความพึงพอใจมากขึ้น สาวๆชาวแมนจูที่ไม่ต้องการมัดเท้าจึงประดิษฐ์รองเท้าชนิดนี้ขึ้นมา   ในสมัยนั้นผู้หญิงที่ไม่มัดเท้าอาจไม่มีผู้ชายมาสู่ขอพวกนาง สตรีชาวฮั่นส่วนใหญ่จึงต้องมัดเท้า ซึ่งนี่มีความเกี่ยวข้องกับหลักคำสอนของขงจื่ออีกด้วย

      image386

    image388image387

    缎钉绫凤戏牡丹纹高底旗鞋

    (北京故宫博物院藏)

     

     

    เสื้อคลุมยาวฉ่างอี

    เสื้อคลุมยาวมีความคล้ายคลึงกับเสื้อเชิ้ต  แต่เสื้อเชิ้ตไม่มีการแหวกข้าง ซึ่งเสื้อคลุมฉ่างอีมีการแหวกข้างซ้ายขวายาวขึ้นไปถึงหน้าอก   ซึ่งจุดปลายของเส้นแหวกนี้จะต้องประดับลายเมฆ  และบนผืนเสื้อคลุมก็ประดับลายที่หรูหรามาก และจะต้องมีการกุ๊นขอบริบทุกด้าน  ทั้งคอเสื้อ ปลายแขนเสื้อ ปกเสื้อ ช่องแหวกและชายกระโปรงที่กุ๊นสีไม่เหมือนกัน  เทคนิคก็ต่างกัน  ลายลูกไม้ ลายไม้เลื้อย ลายฟันสุนัขก็ไม่เหมือนกัน     โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เจียงหนานซึ่งมีเทคนิคการปักลายที่สวยงามยิ่ง

    image389 image390

    穿旗袍的满族妇女

     

    กระโปรง

    กระโปรงในสมัยชิงนี้ได้แก่ กระโปรงร้อยจีบ  กระโปรงหน้าม้า กระโปรงตาชั่ง กระโปรงหางหงส์  กระโปรงจันทราทรงกลด   กระโปรงดอกไม้ดำ  เป็นต้น

    กระโปรงร้อยจีบ    ชายกระโปรงด้านหน้าและด้านหลังมีความกว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร     ชายกระโปรงส่วนครึ่งล่างเป็นพื้นที่หลักสำหรับประดับตกแต่งซึ่งปักเป็นลวดลายดอกไม้หลายหลากรูปแบบ  ซึ่งลายดอกไม้ ลายนก และลายผีเสื้อถือเป็นลายที่แพร่หลายมากที่สุด  ด้านข้างขลิบริม  นอกจากนั้นยังมีการตีเกล็ดทั้งสองข้างของแถบผ้า บนแถบผ้านั้นก็ยังปักลายบุปผาชาติอย่างละเดียดสวยงาม   สวนเอวมีการเพิ่มสายรัด  ส่วนชายกระโปรงด้านล่างก็มีการขลิบขอบเช่นกัน

    กระโปรงหางหงส์  มีสามแบบด้วยกัน  แบบแรกเป็นการปักลายดอกไม้และหางหงส์ไว้ที่ส่วนเอว    แบบที่สองเป็นการปักลายหางหงส์บนส่วนเนื้อผ้าของกระโปรง ซึ่งแต่ละปลายหางห้อยระฆังจิ๋วไว้     แบบที่สามคือส่วนเสื้อและส่วนกระโปรงปักลัยสัมพันธ์กัน  และหางหงส์ห้อยระฆังจิ๋วคล้ายชนิดที่สอง

     image391

    清代女裙样式(传世品)

    image392

    晚清红绸百褶裙

     image393

    清白暗花绸彩绣人物花草马面裙

    (中央工艺美术学院藏)

     image394

     红裙(传世实物)

     image395

    穿鱼鳞百褶裙的清代妇女

    (天津杨柳青晚清年画)

     

     

     

    กรองคอ

    กรองคอเป็นชิ้นส่วนประดับที่ผู้หญิงสวมไว้บนไหล่   สาวๆสมัยชิงส่วนมากนิยมสวมกรองคอในพิธีแต่งงาน  สตรีเจียงหนานช่วงปลายสมัยชิงไว้ผมทรงซูตี่ซุ่ย   ซึ่งกลัวว่าน้ำมันที่ใส่ผมจะมาเปื้อนเสื้อผ้า  จึงสวมกรองคอนี้กันเปื้อน กรองคอที่หญิงมีสกุลสวมใส่นั้นประดิษฐ์อย่างประณีต  มีสายริบบิ้นทำเป็นทรงดอกบัว   หรือจะใช้เชือกทำเป็นพู่แขนง  และมีบางรูปแบบที่ทำมาจากสายไข่มุก

     image396

    云肩(传世实物)

     image397

     披云肩的清代妇女

    (清禹之鼎《女乐图》局部

    image398

    清道光刺绣云肩(私人收藏)

     

    image399

    清刺绣云肩(私人收藏)

     

    เสื้อคลุมระฆังอี้โขวโจ่ง

    อี้โขวโจ่งก็คือเสื้อคลุมชนิดหนึ่ง แต่ไม่มีแขน  ไม่มีการแหวกข้างอะไรทั้งสิ้น  เสื้อคลุมระฆังในสมัยชิงนั้นแบ่งเป็นแบบสั้นแบบยาวสองประเภท  ส่วนปกเสื้อก็มีแบบปกใหญ่ แบบปกสูง และแบบปกสั้น  สวมได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง    เวลาแสดงความเคารพจะต้องถอดมันออก มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการไม่สุภาพ (คล้ายการถอดหมวก)   เสื้อคลุมระฆังที่ผู้หญิงสวมจะทำมาจากผ้าซาตินสีสดใส  ปักลวดลายสวยงาม  ในฤดูหนาวอาจเพิ่มแถบขนสัตว์ไว้สวมใส่เพื่อความอบอุ่น

     image400

    image401

    缎地盘金龙斗篷(传世实物)

    image402

    穿斗篷的妇女

    (清胡锡《梅花仕女图》)

     image403

     

    ชุดเกราะ

    ชุดเกราะสมัยชิงแบ่งเป็นเสื้อและกระโปรง  และสวมหมวก  เสื้อเกราะยุคชิงนี้มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุด  จุดเด่นของมันก็คือไม่ได้ทำมาจากโลหะ  แต่ทว่ากลับใช้ลวดทองทอเป็นลายบนผ้าซาตินสีเหลืองแทนการใช้แผ่นเหล็กอย่างที่เคยใช้ในอดีต   ส่วนหมวกนั้นทำมากจากหนังวัวทาสีฝังไข่มุกและทองสันสกฤต  ส่วนเสื้อเกราะบริเวณ คอ ไหล่ รักแร้ หน้าอก หลัง ส่วนป้องกันด้านหน้า และปลายแขน  ต่างมีการปักลายและฝังมุกเป็นปักลายมังกร เมฆสีรุ้ง  ภูเขาอักษรโซ่ว  และทะเลอักษรฝู (คำมงคล)  ส่วนกระโปรงทั้งสองฝั่งปักเป็นลายมังกรเล่นมุข  มีแถบทองอยู่ตรงกลาง   บริเวณขอบก็ขลิบลายด้วยแถวมังกรและมังกรผงาด  ส่วนรอบๆแผ่นเหล็กปกป้องหัวใจก็ยังมีลายเมฆและมังกรล้อมรอบ  และดูโอ่อ่าตระการตาอยากจะหาไหนมาเปรียบเทียบได้

     image404

    清意大利画家郎世宁绘乾隆帝南苑阅兵的

    《大阅铠甲骑马像》

    (北京故宫博物院藏)

    image405

    清乾隆金银珠云龙甲胄(北京故宫博物院藏)

     

    ลวดลาย

    ลายที่ปักลงบนผ้าสมัยชิงส่วนมากเป็นการร่างโดยมือก่อนแล้วจึงค่อยปัก ลายมังกร สิงโต กิเลนและสัตว์สี่เท้าต่างๆ  หงส์ กระเรียนและปักษานานาพันธุ์  ดอกเหมย กล้วยไม้ ไผ่ เบญจมาศ และดอกไม้อีกหลายหลากชนิด  ทั้งยังมีของมงคล ๘ ชนิด  โป๊ยเซียน  ฮกลงซิ่ว  เป็นต้น  ลายต่างๆที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นลายที่มักใช้บ่อยๆ  ซึ่งมีสีสันสดใสซับซ้อน  ลวดลายสลักเสลาอย่างละเอียด  มีลวดลายหลายชั้นลดหลั่นกันมากมาย

     image406

     补子

    image407

    清道光刺绣十二章龙袍料及十二章纹样特写

    (维也纳奥地利国家博物馆藏)

    ฮว๋างซ่างว่านฝูจิ้นอัน

    image408



     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×