ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ASEAN โลกใหม่ที่เด็กไทย(ต้อง)เตรียมรับมือ

    ลำดับตอนที่ #8 : #4

    • อัปเดตล่าสุด 1 พ.ค. 55


     


     องค์ประกอบของ ASEAN

                    มาถึงตรงนี้ เรื่องขององค์ประกอบของ ASEAN นี่แหละที่ทำให้การรวมกลุ่มของเรามีความพิเศษแตกต่างไปจากการรวมกลุ่มอื่นๆ เพราะ ASEAN นั่น ดึงเอาเรื่องของการเมืองความมั่นคง เรื่องศิลปวัฒนธรรม และเรื่องเศรษฐกิจ เอามาไว้รวมกัน จึงอาจจะเรียกได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มแบบครอบจักรวาลเลยทีเดียว ซึ่งจะมีชื่อเรียกง่ายๆว่า “3 เสาหลักของ ASEAN” นั่นเอง เราจะมาดูว่าแต่ละ “เสา” ที่ว่านั้น มีรายละเอียด มีประเด็นสำคัญ และมีความน่าสนใจอย่างไร




    เสาที่ 1 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
    (ASC : ASEAN Security Community)

    {pic-alt}  
    ภาพ: ภาพหน้าจอyoutube 
             เสานี้จะเน้นถึงการร่วมมือกันเพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นภายในภูมิภาคเรา นั่นคือ การอยู่อย่างสงบสุข ไม่มีการทะเลาะ ไม่มีความตึงเครียด ไม่มีสงคราม รวมไปถึงเรื่องการเมืองทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศด้วย
                สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ ASEAN นั้น มีความหลากหลายทางการเมืองอยู่มาก เรียกได้ว่ามีทุกระบอบการปกครองอยู่ในนี้ เรามีทั้งประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยสไตล์โหวกเหวกเสียงดัง (ไม่รู้ประเทศไหน ?) มีประชาธิปไตยแบบผูกขาด มีระบอบเผด็จการทหาร มีระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ และมีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งทำให้เรามีความหลากหลายเป็นอย่างมาก และหากใครที่เป็นคนติดตามข่าวสารมาตลอด ก็จะรู้ว่าประเทศ ASEAN เองก็มีปัญหาเรื่องนี้อยู่พอสมควร กรณีที่ทุกคนน่าจะรู้จักดี คือ เรื่องของกรณีพิพาทเขาพระวิหาร และในความเป็นจริงแล้ว ยังมีปัญหาอีกมากมายก่ายกอง อย่างกรณีของประเทศไทย นอกจากเรื่องเขาพระวิหารแล้ว ก็ยังมีอีกหลายเรื่องราวที่เรายังมีปัญหากับเพื่อนบ้าน เช่น ปัญหาเรื่องพรมแดน ยาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย แรงงานนอกกฎหมาย สินค้าผิดกฎหมาย และความไม่สงบในพื้นที่ต่างๆ



      {pic-alt}
     
    ภาพ:Abhisit Vejjajiva, flickr
                 นอกจากประเทศไทยเองจะมีปัญหาแล้ว ประเทศสมาชิกอื่นๆ ก็มีปัญหาเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน เช่น ประเทศเวียดนามเข้าไปแทรกแซงการเมืองในกัมพูชา, ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียแย่งกันถือกรรมสิทธิ์ในหมู่เกาะใหญ่น้อยในคาบสมุทรมาลายู, ประเทศมาเลเซียมีกรณีเรื่องแหล่งน้ำจืดกับสิงคโปร์ หรือกรณีพิพาทถือกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ ก็น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะมีคู่กรณีมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ คือ ประเทศเวียดนาม มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์  จีน ไต้หวัน แย่งกันเป็นเจ้าของหมู่เกาะนี้


           นอกจากปัญหาระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น บางประเทศยังมีปัญหาภายในประเทศเองอีกด้วย ซึ่งตามหลักการแล้ว ASEAN จะไม่เข้าไปแทรกแซงในกิจการภายในเหล่านั้น (Non-Interference) เพราะถือเป็นเรื่องภายในที่ต้องสะสางกันเอง เหมือนกับเวลาเราทะเลาะกับเพื่อน เราก็มักจะต่อว่าเพื่อนเราว่า “อย่ามายุ่ง นี่มันเรื่องของฉันนะ” แต่ความจริงแล้ว ณ ปัจจุบันอาจจะมีการเข้าแทรกแซงบ้าง ด้วยเพราะโลกยุคปัจจุบันมีการติดต่อบูรณาการระหว่างกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นคล้ายกับโดมิโน นั่นคือ จะส่งผลกระทบต่อกันเป็นทอดๆกันไป จึงต้องมีการเข้าแทรกแซงบ้างในบางเรื่อง เพื่อป้องกันปัญหามิให้บานปลาย จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่ามีปัญหาอีกมากมายกว่าที่เรารับรู้ และปัญหาเหล่านี้จะต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งการรวมกลุ่ม ASEAN อาจจะเป็นหนทางแก้ไขหนทางหนึ่งก็เป็นได้


    บทความโดยพี่ปอ





     กลับไปหน้าหลักของเรื่อง 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×