ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วิชา IS

    ลำดับตอนที่ #2 : ตัวอย่างความเรียงขั้นสูง

    • อัปเดตล่าสุด 4 มี.ค. 56



    1. วิชา IS 1 หรือที่หลายๆคนรู้จักกันดีในชื่อว่า ความเรียงขั้นสูง
    การเขียนความเรียงขั้นสูง หรือโครงการเชิงวิชาการ




    เรียนรู้จากซากวิหารกรีก


    โดย
    นางสาวนันท์ชณัฐพร นาคพลั้ง
    ชั้น ม.๕/๘ เลขที่ ๒๗



    ราชวิชา ความเรียงขั้นสูง ท๓๓๒๐๓
    กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย


    ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔
    โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี





            ความเรียงขั้นสูงในหัวข้อเรียนรู้จากซากวิหารกรีกฉบับนี้  จัดทำโดย นางสาว         นันท์ชณัฐพร นาคพลั้ง     ครูประจำวิชา ครูที่ปรึกษา ได้พิจารณาความเรียงฉบับนี้แล้วเห็นสมควรได้รับการพิจารณาอนุมัติผลการเรียนรายวิชาความเรียงขั้นสูงได้


                                                         ..........................................................
                                                             (นางสาวปิยนันท์ แท่นทรัพย์)
                                                                           ครูที่ปรึกษา



                                                           .......………………………………..
                                                            (นางสาวสมหวัง เสืองามเอี่ยม)
                                                                              ครูผู้สอน





                                                                                คำนำ

                         การศึกษาโดยอิสระในหัวข้อ เรียนรู้จากซากวิหารกรีก นี้ เป็นผลงานจากการศึกษารายวิชาความเรียนขั้นสูง ท๓๓๒๐๓ ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าโดยอิสระ แล้วนำความรู้ที่ได้ มานำเสนอในรูปแบบงานเขียนรายงานทางวิชาการที่ต้องมีหลักฐานอ้างอิง การศึกษาค้นคว้า การประชุมที่ดีมีแนวทาง ครั้งนี้สำเร็จลงได้ด้วยความอนุเคราะห์จาก คุณครูปิยนันท์ แท่นทรัพย์ ที่ได้ให้คำแนะนำด้านเนื้อหา คุณครูสมหวัง เสืองามเอี่ยม ครูผู้สอนรายวิชา ความเรียงขั้นสูง ที่ได้ให้คำแนะในการค้นคว้า จะจัดทำรูปแบบการนำเสนอผลงานความเรียง ข้าพเจ้าขอขอบคุณคุณครูทั้งสองท่านด้วยความเคารพยิ่ง อนึ่งคุณค่าและประโยชน์อันพึงมีจากความเรียงขั้นสูงฉบับนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมเป็นเครื่องบูชาบุพการีบูรพคณาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา และผู้มีพระคุณทุกท่านด้วยระลึกถึงตลอดกาล


                                                                                                       นันท์ชณัฐพร นาคพลั้ง





                                                              เรียนรู้จากซากวิหารกรีก

    ชื่อความเรียงขั้นสูง เรียนรู้จากซากวิหารกรีก
    ผู้เขียน น.ส.นันท์ชณัฐพร นาคพลั้ง
    ครูที่ปรึกษา คุณครูปิยนันท์ แท่นทรัพย์
    วิชา ความเรียงขั้นสูง(Extended-Essay)
    ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๕/๘
    โรงเรียน เทพศิรินทร์ นนทบุรี
    ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๔


                                                                          สาระย่อ

                 ความเรียงขั้นสูงเรื่อง เรียนรู้จากซากวิหารกรีก เป็นความเรียงทางวิชาการ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจุดมุ่งหมายในการค้นคว้าเรียนรู้ดังนี้ ๑)เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ทำได้ศึกษาค้นคว้าสิ่งที่ตนเองสนใจได้อย่างอิสระ ๒)เพื่อให้ผู้ที่ศึกษษได้ทราบถึงประวัติศาสตร์สมัยไมนวน ๓)เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาของวิหารกรีก ๔)เพื่อให้รู้จักรักษา หวงแหนไม่ให้ศิลปวัฒนธรรมโบราณสูญหายไปจากโลก ๕)เพื่อให้รู้ซึ้งถึงเอกลักษณ์ และศิลปวัฒนธรรมแบบฉบับกรีกโบราณ ๖)เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาของผู้ที่สนใจในชิ้นงาน และการเขียนความเรียงขั้นสูง การดำเนินงานศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียง เป็นความเรียงขั้นสูงเรื่อง เรียนรู้จากซากวิหารกรีก มีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้ ๑)กำหนดหัวข้อเรื่อง ๒)กำหนดจุดมุ่งหมาย ๓)วางเค้าโครงเรื่อง ๔)จัดทำโครงร่าง ๕)ตรวจทานปรับปรุงแก้ไข ๖)จัดทำรูปเล่มจริง ผลของการศึกษาค้นคว้าแล้วพบว่า วิหารกรีกในสมัยไมนวนนั้นได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆของชาวกรีกเกี่ยวกับเทพเจ้า เป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้ต่างๆของชาวกรีกสมัยก่อน เช่น ดาราศาสตร์ สถาปัตยกรรม ศิลปะหลายแขนง รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับโชคชะตาเป็นต้น ทั้งยังมีความเชื่อของสมัยก่อนว่าเป็นที่สถิตของเทพเจ้าตอนเวลาลงมายังโลกมนุษย์เพื่อดูแลและปกป้องคุ้มครองมนุษย์ และในปัจจุบันวิหารกรีกไม่ใช่แค่เพียงสิ่งที่เรียกว่าตัวแทนแห่งการเวลาของประวัติศาสตร์กรีกเพียงอย่างเดียว แต่กลับเป็นที่ค้นคว้าศึกษา อนุรักษ์หวงแหน แล้วภาคภูมิใจ ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของโลกเช่นกัน.




                                                                          สารบัญ

    เรื่อง                                                                                                                                       หน้า
    คำนำ
    สาระย่อ
    สารบัญ
    เนื้อหา
    บรรณานุกรม








                                                             เรียนรู้จากซากวิหารกรีก

     ในปัจจุบันเวลาที่คุณได้เห็นวิหารโบราณอย่างพาร์เธนอน คุณนึกถึงอะไร? การวางรากฐานอย่างลงตัวแบบสถาปนิกโบราณ หรือแหล่งที่รวบรวมความเชื่อมากมายและศาสตร์ในแขนงต่างๆที่ชนยุคก่อนนั้นได้สร้างขึ้น หรือไม่ก็คงเป็นตำนานปรำปราอย่างเช่น ปกรณัมเทพกรีก-โรมัน แต่ในที่นี้ข้าพเจ้าจะชวนคุณมาเริ่มนับหนึ่งจากซากประวัติศาสตร์ตรงนี้ ไปยังประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่และยาวนานของการเริ่มต้นของกลุ่มชนผู้สรรค์สร้างความงดงามของโลกตรงนี้ด้วยกัน เมื่อโลกเกิดขึ้นมานั้น กาลเวลาก็เริ่มเกิดขึ้นมาด้วยเช่นกัน ถัดจากาลเวลาแล้วก็ย่อมที่ต้องจะมีสรรพชีวิตนานาพันธุ์ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย หลังจากนั้นอีกนับหลหายๆล้านปี ต่อมาก็ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ของสัตว์ใหญ่ๆภายในโลก เช่น ไดโนเสาร์ และช้างแมมมอธ เป็นต้นโดยมีหลากหลายทฤษฏีที่กล่าวถึงเรื่องในการสาปสูญเป็นอันมาก เช่นทฤษฏีอุกกาบาตพุ่งชนโลก ทฤษฏีรภูเขาไฟระเบิดพร้อมๆกันทั่วทุกมุมโลกในสมัยนั้น เป็นต้น จากนั้นอีกหลายๆล้านปีต่อมาก็ได้มีเผ่าพันธุ์หนึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับเหล่าสรรพสัตว์นานาซึ่งเผ่าพันธุ์นั้นได้ถูกเรียกว่า “มนุษย์” มนุษย์ก็เริ่มที่จะมีความคิดความเชื่อจึงรวมตัวกันเป็นกลุ่ม พอเป็นกลุ่มก็เริ่มที่จะสร้างบ้านเรือน และก็คล้อยๆกลายมาเป็นชุมชน และแล้วก็กลายเป็นเมืองในที่สุด ชายฝั่งทะเลอันไกลโพ้นตั้งอยู่ ณ แผ่นเปลือกโลกทางทวีปยุโรป ยังมีเกาะเล็กๆเกาะหนึ่งนามว่า เกาะครีต ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนเมืองเล็กๆกลุ่มหนึ่งที่ที่ไม่มีใครคาดคิดเอาไว้ว่าจะเป็นแหล่งที่ก่อกำเนิดอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของโลกขึ้นมา ชนกลุ่มนั้นถูกขนานนามเอาไว้ว่า “ชาวครีตัน” ชาวครีตันนี้ตอนที่เริ่มเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นๆ จึงต้องอพยพจากเกาะครีต ไปยังฝั่งทะเลอีกฝั่งหนึ่งซึ่งเป็นรูปรองเท้าบู๊ท และในปัจจุบันพื้นที่รูปรองเท้าบู๊ทตรงนั้นก็คือ ประเทศอิตาลีนั้นเอง

    ไพฑูรย์ มีกุศล ได้เขียนขึ้นว่า กลุ่มชนที่อยู่ที่เกาะครีตนั้น ขนานนามตนเองเอาไว้ว่า “ชาว ครีตันหรือชาวครีต” ส่วนชื่ออารยธรรมกรีกโบราณนี้ก็ไม่ได้ชื่อว่าอารยธรรมกรีกโบราณโดยตรง แต่สมัยนั้นเรียกอารยธรรมที่เกิดขึ้นบนเกาะครีตเอาไว้ว่า อารยธรรมไมนวน ซึ่งเป็นชื่อของกษัตริย์องค์หนึ่งบนเกาะครีตนั้นเอง หลังจากตั้งรกรากในดินแดนใหม่ ทำให้เกิดศิลปวัฒนธรรมขึ้นมาตั้งแต่การตั้งบ้านเรือน วิหารการสลัก การแต่งกายรวมไปถึงความเชื่อเรื่องโลกและดาราศาสตร์แห่งการพยากรณ์ โพเซดิส ได้เขียนเกี่ยวกับความเชื่อของชนในสมัยนั้นว่า ที่ซึ่งพวกเขานับถือและเชื่อว่าทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกนั้นล้วนเป็นฝีมือของเทพเจ้าทั้งสิ้น ถ้าเกิดภัยพิบัติหรือภัยธรรมชาติใดๆ ก็จะคิดว่าเทพเจ้าทรงพิโรธเหล่ามวลมนุษย์จึงลงโทษ เพราะเทพเจ้าเป็นผู้ที่เสกสร้างมนุษย์ขึ้นมา ถ้าเทพเจ้าเป็นผู้สร้างก็เปรียบเสมือนพ่อ ถ้าลูกกระทำความผิด ผู้เป็นพ่อก็ต้องลงโทษลูกเป็นธรรมดา เพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิดมีการบูชาเทพเจ้าด้วยวิธีนานา เช่นการบูชายัญบ้าง หรือไม่ก็เป็นการสร้างวิหารให้เป็นที่สถิตย์ของเหล่าทวยเทพ เพื่อตอนที่ลงมาพักร้อนบนโลกมนุษย์ จึงก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมของชาวกรีก โคลงกวีใดๆไหนเล่าจะกล่าวเปรียบ จะมาเทียบโคลงกวีของโฮเมอร์ไปได้ สมัยกรีกการกวีก็รุ่งเรืองเฟื่องฟูมากมายไม่แพ้พ่ายการรุ่งเรืองเฟื่องฟูในด้านต่างๆเช่นกัน แต่การกวีนี้สร้างสีสันให้กับชีวิตไม่ให้ตกลงสู่ความเครียดในด้านต่างๆ แต่สามารถทำให้เราได้ลิ้มลองรสชาติของภาษาที่ถูกแต่งแต้ม จัดวาง ร้อยเรียงอย่างลงตัว ถ้อยคำลำนำนานาของโฮเมอร์ซาบซึ้งและตรึงตราไม่ใช่แค่เพียงชนสมัยนั้น แต่ยังเป็นชนรุ่นหลังก็ต่างสรรเสริญ ผลงานเรื่องโคลฃงกวีต่างๆของโฮเมอร์เป็นวรรณกรรมที่ยอดเยี่ยมที่สุดในสมัยนั้นโดยมีวรรณกรรมเรื่องเยี่ยมเช่น มหากาพย์อีเลียด และโอเดียสซีย์ สงครามกรุงทรอย เป็นต้น แต่คนกวีที่มีชื่อเสียงไม่ได้มีแค่โฮเมอร์เพียงคนเดียว ยังมีท่านอื่นๆอีกมากมายเช่น เพลโต เฮโลดิตัส เป็นต้น ความหายนะของกรีกค่อยๆย้ำกลายเข้ามาทุกที ทุกที เพราะสงครามชิงนางจนทำให้เมืองที่งดงามเมืองหนึ่งย่อยยับลงอย่างน่าอนาจใจจากกลลวงของชาวโรมันที่ถูกกล่าวขึ้นว่า กรุงทรอยล่มลงนั้นเพราะกลลวงม้าไม้ของพวกโรมัน

    มาลัย(จุฑฑารัตน์)ได้เขียนเอาไว้ว่า สงครามในครั้งนั้นถูกเรียกขึ้นมาว่า “สงครามกรุงทรอยหรือ สงครามม้าไม้” โดยมีพวกโรมันมาตีเพื่อนำม้าไม้บันจุทหารไว้ด้วยในพอตกดึกทหารเหล่านั้นก็ได้ลงมาเผาบ้านเมืองจนวอดวายไปนั้นเอง โรมันจึงกลายเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่นั้นแทน. หลังจากที่คุณได้กลับมาพร้อมๆกับข้าพเจ้า คุณได้รับรู้สิ่งใหม่ต่างๆที่คุณอาจจะไม่เคยรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอไปเองหรือไม่? แต่ถ้าข้าพเจ้าคิดว่าพวกคุณๆทั้งหลายคงได้รับประโยชน์อย่างมากเมื่อได้อ่านแล้ว เพราะการที่ได้รับรู้เรื่องราวต่างๆในอดีตแล้วนี้ คุณก็จะสามารถมองซากปรักหักพังที่อยู่ ณ ที่แห่งนั้น ในอีกแง่มุมหนึ่งได้อย่างแน่แท้ โดยคุณจะรู้สึกศรัทธาในตัวผู้สร้างและจะชื่นชมเชิดชูความเป็นมนุษย์ผู้คิดค้นและเจ้าความสามารถของตัวผู้สร้างสรรค์เป็นแน่ หวังว่าความเรียงฉบับนี้อาจจะมีความคิดบางอย่างที่คุณสามารถนำมาทบทวนและเอาไปใช้ได้.





                                                                   บรรณานุกรม

    คอสมอส. บันทึกโลกฉบับรวม เล่ม ๑-๒. (๑๑-๒๑). กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์. ๒๕๕๒

    โพเซดิส. ตำนานศักดิ์สิทธิ์เทพกรีก. กรุงเทพฯ: ปราชญ์ . ๒๕๕๔.

    ไพฑูรย์ มีกุศล และคณะ. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ม.๔-๖ เล่ม ๒
                      (๘๗-๙๔). กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช. ๒๕๕๑.

    มาลัย(จุฑารัตน์). ตำนานเทพกรีก-โรมัน(ฉบับสมบูรณ์). (๓๗๑-๔๕๔). ครั้งที่ ๕.กรุงเทพฯ:
                     พิมพ์คำ. ๒๕๔๘. การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่. (ออนไลน์).

    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81% . ๒๐ กุมภาพันธ์ ๕๕. กรีกโบราณ.
                     (ออนไลน์). http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B 2.
                      ๒๐ กุมภาพันธ์ ๕๕. 
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×