พฤษภาทมิฬ - พฤษภาทมิฬ นิยาย พฤษภาทมิฬ : Dek-D.com - Writer

    พฤษภาทมิฬ

    ประวัติศาสตร์นองเลือดล้างแผ่นดินประชาธิปไตย

    ผู้เข้าชมรวม

    3,198

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    7

    ผู้เข้าชมรวม


    3.19K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  28 ต.ค. 51 / 10:38 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ย้อนรอยประวัติศาสตร์ "พฤษภาทมิฬ" 17 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 

                   พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการรัฐประหารรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง


      เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ มีนายทหารกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งประกอบด้วย
      พล.อ.สุจินดา คราประยูร
      พล.อ.สุนทร์ คงสมพงษ์
      พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล
      พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี ฯลฯ 
      ได้ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534โค่นอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งแล้วตรารัฐธรรมนูญการปกครอง(ชั่วคราว)ขึ้นโดยเสนอตั้ง นาย อนันท์ ปันยารชุน เป็นนายรัฐมนตรี ขัดตาทัพ รสช.ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นมาด้วยอำนาจเผด็จการ ทำการคลอดรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 "ฉบับหมกเม็ด" เตรียมสืบทอดอำนาจให้ตนเอง เพาะเชื้อเผด็จการขึ้นมาเต็มรูปแบบอีกครั้ง โดยกำหนดว่า

      นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง (ไม่ต้องเป็น ส.ส.)
      ให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งได้ (ควบตำแหน่งได้)
      แต่งตั้งนายทหารในกลุ่มเครือญาติคนสนิทขึ้นมาคุมกองทัพ
      การผนึกอำนาจทางการเมืองและการทหารเป็นศูนย์อำนาจ
      เมื่อกระแสประชาชนคัดค้าน "สุจินดา" ก็ยอมรับปากจะไม่รับตำแหน่งผู้นำ แต่ในที่สุด "สุจินดา" ก็ยอมเสียสัตย์แก่ตนเองและสาธารณะชนยอม "เสียสัตย์" เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 โดยไม่ผ่านการเลือกตั้ง จนนำไปสู่การประท้วงคัดค้านของประชาชนนับแสนคนบนถนนราชดำเนิน และหัวเมืองใหญ่ๆทั่วประเทศและถูก 3 หัวโจ๊กเผด็จการดังกล่าว ใช้กำลังปราบปรามประชาชนและนิสิตนักศึกษาอย่างนองเลือดโหดร้ายทารุณ สร้างรอยด่างพร้อยให้กับประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยอีกตำนานหนึ่ง

      เที่ยง มีประชาชนกว่า 5,000 คนทยอยมาที่สนามหลวงทั้ง ๆ ที่เวทียังไม่เริ่มตั้ง มีการขายเทปวีดีโอคำปราศรัยการชุมนุมเมื่อวันที่ 6-11 พ.ค. ที่ผ่านมา รวมทั้งเสื้อยืด สติกเกอร์ต่อต้าน พล.อ.สุจินดา และเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งขายดีมาก

      น.พ. เหวงประกาศให้ประชาชนเดินไปทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอคำตอบจาก พล.อ. สุจินดา ประชาชนจึงทยอยเดินออกจากท้องสนามหลวงไปตามถนนราชดำเนินกลาง โดยมีขบวนของ พล.ต. จำลองเป็นผู้นำ

      รายการบนเวทียังดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อดึงคนบางส่วนไว้ให้การเคลื่อนขบวนเป็นไปอย่างต่อเนื่องและไม่วุ่นวาย นางประทีปกล่าวถึงเหตุผลที่ต้องเคลื่อนขบวนว่า เพื่อตอกย้ำเจตนารมณ์อย่างสันติวิธีและขอให้ผู้ร่วมขบวนทุกคนรักษาความสงบ

      ไม่นาน ถนนราชดำเนินกลางก็เต็มไปด้วยฝูงชน ธงเล็กสีขาวโบกไสวตลอดขบวน พร้อมกับเสียงร้องขับไล่ พล.อ. สุจินดาดังเป็นระยะ ๆ การจราจรย่านสนามหลวงเป็นอันพาตไปทันที

      ที่สะพานผ่านฟ้าฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจนับพันนายพร้อมโล่หวาย ไม้กระบองตรึงกำลังอยู่โดยมีลวดหนาววางเป็นแนวกั้น รถดับเพลิงและทหารเสริมกำลังอยู่ด้านหลัง 

      มือที่สาม - การปะทะครั้งแรก

      การปะทะครั้งที่แรกเริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 21.20-22.00 น. เมื่อฝูงชนกลุ่มแรกที่มาถึงสะพานผ่านฟ้าฯ เผชิญหน้ากับแนวกีดขวางและขอร้องตำรวจให้เปิดทางแต่ไม่สำเร็จ ประชาชนจึงพยายามฝ่าแนวกั้นโดยใช้ไม้กระแทกสิ่งกีดขวาง ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มมือและเข้าดึงลวดหนาม บางคนก็ใช้มือเปล่า

      พล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์ รมช. มหาดไทยในขณะนั้น ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทำการฉีดน้ำสกัดฝูงชนในทันทีที่กลุ่มผู้ชุมนุมรุกล้ำผ่านเข้ามาแต่เนื่องจากน้ำที่ฉีกออกมานั้นแรงทั้งยังเป็นน้ำครำเน่าเหม็น ส่งผลให้ผู้ชุมนุมบางรายถึงกับเสียหลักและเกิดอารมณ์ฉุนเฉียว ประชาชนจึงตอบโต้ด้วยการขว้างปาขวดน้ำและก้อนหินเข้าใส่เจ้าหน้าที่

      ต่อมา ฝูงชนกลุ่มหนึ่งบุกยึดรถดับเพลิงจำนวนแปดคันที่กำลังฉีดน้ำใส่กลุ่มชน แล้วฉีดน้ำกลับใส่เจ้าหน้าที่ ทำให้ตำรวจต้องถอยร่นไป แต่ในที่สุดกำลังตำรวจนับพันนายก็บุกตะลุยเข้าชิงรถดับเพลิงคืนได้ โดยใช้กระบองรุมกระหน่ำตีกลุ่มผู้ยึดรถ การปะทะระหว่างฝูงชนกับตำรวจที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ และหน้ากรมโยธาธิการกินเวลานานนับชั่วโมง

      15.45 น. ข่าวด่วนพิเศษทางโทรทัศน์ประกาศว่า กองกำลังรักษาพระนครได้สลายกลุ่มก่อการจลาจลเรียบร้อยแล้วโดยไม่เสียเดือดเนื้อ

      การเข้าสลาบม๊อบครั้งนี้ใช้กำลังทหารสามกองพัน ร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดนในชุดปราบจราจลอีกหนึ่งกองพัน ประมาณ 2,000 คน พร้อมรถเกราะติดปืนกลสี่คัน ภายหลังการสลายม๊อบกำลังทหารยังหนุนเข้ามาไม่ขาดสาย ประมาณว่ามีกำลังทหารทั้งหมดไม่ต่ำกว่าหนึ่งกองพลกับอีกห้ากองพันหรือประมาณ 6,000-7,000 คน

      รัฐบาลแถลงข่าว

      ผู้สื่อข่าวต่างประเทศถามนายสมัครว่าเห็นด้วยกับการฆ่าประชาชนหรือไม่ นายสมัครตอบว่าทำไมเวลาจอร์ช บุช ส่งทหารไปแอลเอ 6,500 นาย ไม่เห็นมีใครด่าบุชเลย

      ต่อมา พล.อ. สุจินดาได้ออกแถลงข่าวทางโทรทัศน์เสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิด และยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตเพียง 40 คน บาดเจ็บ 600 คนเท่านั้น

      ประกาศเคอร์ฟิว

      เวลาทุ่มครึ่ง ได้มีประกาศห้ามบุคคลในท้องที่ กมม. ออกจากเคหสถานระหว่างเวลา 21.00-04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น แต่ขณะเดียวกันที่รามคำแหง ประชาชนยังคงทยอยมาร่วมชุมนุมกันเกือบแสนคน
      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง เข้าเฝ้า

      เวลาห้าทุ่มครึ่ง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจและสถานีวิทยุกระจายเสียงทุกแห่งได้ถ่ายทอดข่าวสำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.สุจินดา และพล.ต.จำลอง เข้าเผ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท 

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเตือนสติและสั่งสอนบุคคลทั้งสอง ทรงชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่จะมีต่อประเทศชาติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ขอให้บุคคลทั้งสองเป็นตัวแทนฝ่ายต่าง ๆ หันหน้าเข้าหากัน ช่วยกันแก้ปัญหาทำอย่างไรให้ประเทศชาติกลับคืนขึ้นมา

      ภายหลังจากกราบบังคมทูลลาแล้ว พล.อ. สุจินดา และ พล.ต. จำลอง พร้อมด้วยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี และ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้ร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นพล.อ.สุจินดา กับ พล.ต. จำลอง ได้ออกแถลงร่วมกันทางโทรทัศน์

      โดย พล.อ. สุจินดา แถลงว่าจะปล่อยตัว พล.ต. จำลอง และออกกฎหมาย นิรโทษกรรมให้แก่ผู้ชุมนุม และจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร็ว ส่วน พล.ต. จำลองแถลงว่า ขอให้ผู้ที่ก่อความวุ่นวายยุติการกระทำ

      ผู้ชุมนุมที่รามคำแหงหลังจากได้ชมข่าวสำคัญและการแถลงข่าวของบุคคลทั้งสอง ส่วนใหญ่รู้สึกผิดหวังที่ พล.อ. สุจินดายังไม่ลาออก แต่ที่ชุมนุมก็ได้ตัดสินใจสลายการชุมนุม แต่ยังคงอยู่รวมกันในมหาวิทยาลัยรามคำแหงจนกว่าจะถึงเวลาตีสี่ ซึ่งพ้นเวลาเคอร์ฟิวแล้ว จึงค่อยทยอยกันกลับบ้าน

      มีความเป็นไปได้สูงมากกว่า ถ้าเหตุการณ์การชุมนุมที่รามคำแหงยังไม่ยุติการนองเลือดคงเกิดขึ้นอีกครั้งแน่นอน เห็นได้จากรายงานที่กองทัพบกเสนอต่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของรัฐบาล (ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาวิปโยค) กล่าวว่า

      "การที่เจ้าหน้าที่ใช้ความนุ่มนวลต่อผู้ชุมนุม เช่น การเจรจาทำความเข้าใจการใช้น้ำฉีด การใช้แนวตำรวจแนวทหารประกอบอาวุธโดยมิได้บรรจุกระสุนปืนตามมาตรการขั้นเบา ไม่น่าจะได้ผลเพราะกลุ่มผู้ก่อการจราจลไม่ยำเกรง ..

      หากการดำเนินการของกลุ่มผู้ก่อการจลาจลที่รวมอยู่กับประชาชนยังคงอยู่ จะต้องเกิดความไม่ปลอดภัยทั้งแก่เจ้าหน้าที่และประชาชน ผู้ก่อการจลาจลเหล่านี้สมควรจะต้องถูกสลายและควบคุมตัวถ้าจำเป็น เพื่อหยุดก่อความวุ่นวายที่เกิดขึ้น"



      ขอขอบคุณ
      -Black May 1992, ลำดับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จากข่าวในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ โดย SiamWEB.org (ภาษาอังกฤษ) 
      -รำลึก13ปี...พฤษภาทมิฬ, ผู้จัดการออนไลน์, 17 พฤษภาคม 2548 (มีคลิปเสียงเหตุการณ์)
       -17-20 พฤษภาทมิฬ ลำดับเหตุการณ์ความรุนแรงทั้ง 4 วันด้วยภาพและเสียง 78 ภาพ

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×