ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #178 : เที่ยวขอบอวกาศบริการใหม่ไปกับ “บอลลูน”

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 215
      0
      28 ต.ค. 56

    เวิล์ดวิวเสนอบริการทัวร์ขอบอวกาศรูปแบบใหม่ นำลูกทัวร์ขึ้นไปสัมผัสวิวขอบโลกด้วยบอลลูน (เวิล์ดวิวเอนเตอร์ไพรส์/สเปซด็อทคอม))
           เปิดทัวร์ขอบอวกาศใหม่ไม่ต้องขี่จรวด แต่พาลูกทัวร์นั่งบอลลูนสู่บรรยากาศชั้นบนของโลก ให้เห็นบรรยากาศขอบโลกสีน้ำเงินตัดสีอวกาศอันมืดมิด
           
           บริการใหม่นี้สเปซด็อทคอมระบุว่าเป็นของบริษัทเวิลด์วิวเอนเตอร์ไพรส์ (World View Enterprises) ที่จะพาคุณไปสัมผัสมุมมองจากบรรยากาศชั้นบนที่ความสูง 30 กิโลเมตรจากพื้นที่ แม้ยังไปไม่ถึงอวกาศที่ความสูง 100 กิโลเมตรตามนิยามที่ยอมรับโดยทั่วไป แต่ก็จะได้เห็นขอบโลกตัดสีอวกาศอันมืดมิด เพียงคุณมีเงินจ่าย 2.25 ล้านบาท
           
           เจน พอยน์เตอร์ (Jane Poynter) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเวิล์ดวิวกล่าวว่า การได้เห็นโลกแขวนอยู่ผืนอวกาศอันมืดมิด จะช่วยให้คนได้ตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างดาวเคราะห์ที่เป็นบ้านของเรากับเอกภพที่อยู่รอบ และเชื่อว่าจะให้ประสบการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงแก่ลูกค้าของบริษัทได้ โดยเป้าหมายคือการเปิดไปสู่อาณาจักรใหม่ที่บริหารความใคร่รู้ของมนุษย์ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการศึกษา  
           
           ผู้โดยสารบอลลูนยักษ์ของเวิล์ดวิวจะโดยสารอยู่ในแคปซูลที่ออกแบบโดยบริษัทพารากอนสเปซเดเวลอปเมนต์คอร์ป (Paragon Space Development Corp.) ซึ่งได้เริ่มทดสอบชิ้นส่วนแคปซูล และคาดว่าจะเริ่มสาธิตประสิทธิภาพของเที่ยวบินทั้งระบบได้ในไม่ช้า
           
           ทั้งนี้ พารากอนสเปซเดเวลอปเมนต์ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาเที่ยวบินเอกชนที่ต้องการไปดาวอังคาร 2 ภารกิจ คือปฏิบัติการอินสไปเรชันมาร์ส (Inspiration Mars) ที่ตั้งเป้าส่งมนุษย์อวกาศ 2 คนไปโคจรรอบดาวอังคารในปี 2018 และปฏิบัติการมาร์สวัน (Mars One) อันลือเลื่องที่ต้องการส่งมนุษย์ 4 คน ไปตั้งรกรากถาวรอยู่บนดาวอังคารในปี 2023
     &nbs p;     
           

           

           
           

           
           พอยน์เตอร์ยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทพารากอนร่วมกับ เทเบอร์ แมคแคลลัม (Taber MacCallum) หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีของเวิล์ดวิว ส่วนประธานนักวิทยาศาสตร์ของเวิล์ดวิวคือ อลัน สเติร์น (Alan Stern) อดีตหัวหน้าแผนกวิทยาศาสตร์ขององคืการบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ซึ่งเคยทำหน้าที่หัวหน้าปฏิบัติการส่งยานนิวออไรซอนส์ (New Horizons) ไปยังดาวเคราะห์แคระพลูโต   
           
           บอลลูนของเวิล์ดวิวจะไต่สู่ระดับสูงสูดด้วยเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งต่างจากบริษัททัวร์อวกาศรายอื่นๆ อย่างเช่น เวอร์จินกาแล็กติค (Virgin Galactic) และ เอ็กซ์คอร์แอโรสเปซ (XCOR Aerospace) ที่เสนอเที่ยวบินวงโคจรต่ำเป็นเวลาสั้นๆ สู่ระดับความสูง 100 กิโลเมตร ด้วยเครื่องบินอวกาศที่นำส่งโดยจรวด ซึ่งจะให้ผู้โดยสารได้สัมผัสกับสภาพไร้น้ำหนักไปพร้อมๆ กับวิวที่ยอดเยี่ยมด้วย
           
           สำหรับเวอร์จินกาแล็กติคเก็บค่าตั๋วที่นั่งละ 7.5 ล้านบาท ซึ่งจะโดยสารไปบนสเปซชิปทู (SpaceShipTwo) ยานอวกาศ 6  ที่นั่ง ส่วนเอกซ์คอร์จะนำผู้โดยสารเดินทางไปบนยานลิงซ์ (Lynx) ด้วยราคาตั๋ว 2.85 ล้านบาท แต่ยังไม่มียานอวกาศของรายใดที่พร้อมท่องอวกาศได้อย่างเต็มรูปแบบในขณะนี้ แม้ว่าทั้งสองบริษัทระบุว่าจะนำผู้โดยสารขึ้นไปท่องอวกาศในปีหน้าหรือหลังจากนั้น
           
           
    ที่มา 
    http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000134516



    free counters
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×