ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #159 : ฮัมบูร์กผุด'ตึกพลังสาหร่าย'หลังแรก นำร่องพลังงานยั่งยืน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 205
      0
      23 เม.ย. 56



    บริษัทเอรัพจากสเปนซึ่งอยู่เบื้องหลังการสร้างศูนย์ปอมปิดู และอาคารซิดนีย์ โอเปร่า เฮาส์ในออสเตรเลีย เปิดตัวตึกพลังสาหร่ายหลังแรกของโลกในเมืองฮัมบูร์กของเยอรมนี ส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริงในโลกอนาคต



    ส่วนสำคัญของอาคารหลังดังกล่าวคือ แผงกระจกปฏิกรณ์ชีวภาพจำนวน 129 แผง ซึ่งติดอยู่โดยรอบ แต่ละแผงมีขนาด 2.5 x 0.7 เมตร ประกอบด้วยสาหร่ายจิ๋วที่เป็นแหล่งพลังงานชีวมวล เมื่อแสงแดดส่องกระทบ สาหร่ายจะสังเคราะห์อาหาร และปล่อยพลังงานความร้อนออกมาซึ่งสามารถเก็บไปทำน้ำร้อนได้ นอกจากนี้แผงดังกล่าวยังทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนให้กับอาคาร และช่วยป้องกันเสียงรบกวนด้วย



    แจน เวิร์ม จากเอรัพ กล่าวว่า การใช้ประโยชน์จากกระบวนการชีวเคมีเป็นแหล่งพลังงานในชุมชนเมืองเป็นแนวคิดนวัตกรรมที่กลายเป็นความจริงแล้ว



    ก่อนหน้านี้เอรัพเพิ่งนำเสนอวิสัยทัศน์เกี่ยวกับตึกระฟ้าแห่งอนาคตว่าจะมีการนำสาหร่ายซึ่งตอบสนองต่อสภาพอากาศโดยอัตโนมัติมาเป็นแหล่งพลังงาน และอาคารจะมีระบบอัจฉริยะที่ออกแบบให้มีครบวงจร สามารถทำงานตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้อย่างอัตโนมัติ โดยใช้ข้อมูลการบริโภคพลังงาน สภาพอากาศ และวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยมา คำนวณการจ่ายพลังงานต่างๆ ทั้งยังพยากรณ์ถึงการใช้สีทาผนังที่เปลี่ยนพลังแสงแดดเป็นไฟฟ้า กังหันลม รวมถึงแขนกลที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมอาคารด้วย

    ที่มา ข่าวสดออนไลน์







    ส่วนสำคัญของอาคารหลังดังกล่าวคือ แผงกระจกปฏิกรณ์ชีวภาพจำนวน 129 แผง ซึ่งติดอยู่โดยรอบ แต่ละแผงมีขนาด 2.5 x 0.7 เมตร ประกอบด้วยสาหร่ายจิ๋วที่เป็นแหล่งพลังงานชีวมวล เมื่อแสงแดดส่องกระทบ สาหร่ายจะสังเคราะห์อาหาร และปล่อยพลังงานความร้อนออกมาซึ่งสามารถเก็บไปทำน้ำร้อนได้ นอกจากนี้แผงดังกล่าวยังทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนให้กับอาคาร และช่วยป้องกันเสียงรบกวนด้วย



    แจน เวิร์ม จากเอรัพ กล่าวว่า การใช้ประโยชน์จากกระบวนการชีวเคมีเป็นแหล่งพลังงานในชุมชนเมืองเป็นแนวคิดนวัตกรรมที่กลายเป็นความจริงแล้ว



    ก่อนหน้านี้เอรัพเพิ่งนำเสนอวิสัยทัศน์เกี่ยวกับตึกระฟ้าแห่งอนาคตว่าจะมีการนำสาหร่ายซึ่งตอบสนองต่อสภาพอากาศโดยอัตโนมัติมาเป็นแหล่งพลังงาน และอาคารจะมีระบบอัจฉริยะที่ออกแบบให้มีครบวงจร สามารถทำงานตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้อย่างอัตโนมัติ โดยใช้ข้อมูลการบริโภคพลังงาน สภาพอากาศ และวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยมา คำนวณการจ่ายพลังงานต่างๆ ทั้งยังพยากรณ์ถึงการใช้สีทาผนังที่เปลี่ยนพลังแสงแดดเป็นไฟฟ้า กังหันลม รวมถึงแขนกลที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมอาคารด้วย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×