ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #134 : 'สตาร์ทรัม'รถไฟฟ้าพลังแม่เหล็กสุดล้ำ ท่องห้วงอวกาศราคาประหยัด

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 250
      1
      19 มี.ค. 55

    'สตาร์ทรัม'รถไฟฟ้าพลังแม่เหล็กสุดล้ำ ท่องห้วงอวกาศราคาประหยัด



     
    ปัจจุบันต้นทุนในการบรรทุกสัมภาระหนัก 1 กิโลกรัมใส่จรวดขึ้นสู่วงโคจรระดับล่างของโลก หรือ Low Earth Orbit (LEO) ตกประมาณ 30,000 บาท ส่วนต้นทุนของผู้โดยสารแพงกว่านั้น 10 เท่า แต่ความจริงการเดินทางสู่ LEO ไม่จำเป็นต้องใช้จรวดเท่านั้น มีนักวิทยาศาสตร์นำเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับการเดินทางด้วยรถไฟพลังแม่เหล็ก หรือแม็กเลฟ เทรน ที่ให้บริการนั่งได้หลายคนพร้อมสัมภาระไปยังห้วงอวกาศในราคาประหยัด

    ระบบรถไฟพลังแม่เหล็กดังกล่าวมีชื่อว่า สตาร์ทรัม เป็นผลงานของดร.จอร์จ เมซี่ ที่พัฒนาร่วมกับดร.เจมส์ เพาเวล ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาสารตัวนำยิ่งยวดที่ทำให้รถไฟลอยตัวจากรางเหล็กและเป็นผลงานที่ชนะรางวัลแฟรงคลิน เมดัล ด้านวิศวกรรมเมื่อปี 2545

    พลังแม่เหล็กจะทำให้รถไฟลอยตัว หลีกเลี่ยงการเสียดสี ขณะเดียวกันยังช่วยเร่งให้รถไฟแล่นถึงที่หมายอย่างรวดเร็ว เมื่อบรรทุกผู้โดยสารสามารถทำความเร็วได้เกือบ 600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    รางของสตาร์ทรัมจะวางตัวขนานกับผิวโลก โดยจะยกสูงเหนือระดับน้ำทะเล 20 กิโลเมตรเพื่อหลีกเลี่ยงแรงโน้มถ่วง นอกจากนี้ ยังจะติดตั้งเครื่องดูดอากาศที่ขบวนรถเพื่อลดแรงปะทะของอากาศ และมีหน้าต่างพลาสมาป้องกันอากาศไหลเข้า อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างอาจต้องใช้เวลา 20 ปี และมีงบประมาณถึง 60,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1.8 ล้านบาท

    ทั้งนี้ การพัฒนาและใช้งานจรวดเพื่อเดินทางท่องอวกาศ ทั่วโลกมีต้นทุนถึง 5 ล้านล้านบาท เฉพาะไปเยือนสถานีอวกาศนานาชาติมีค่าใช้จ่าย 4.5 ล้านล้านบาท แต่ยังมีการใช้งานพื้นที่ห้วงอวกาศใกล้โลกในเชิงพาณิชย์นอกเหนือไปจากเพื่อการสื่อสารและดาวเทียมน้อยมาก โครงการรถไฟพลังแม่เหล็กที่ช่วยลดต้นทุนการบรรทุกสัมภาระไปอวกาศลงได้ถึง 15,000 บาทต่อกิโลกรัม จึงถือเป็นก้าวแรกในการเริ่มต้นใช้ทรัพยากรจากอวกาศในเชิงพาณิชย์อย่างคุ้มค่า และต่อไปอาจกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของชนชั้นกลางในอนาคต


    ที่มา ข่าวสดออนไลน์
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×