ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สะสมคำศัพท์

    ลำดับตอนที่ #32 : [กริยา] ดุ ด่า ว่า กล่าว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.96K
      4
      14 เม.ย. 53


    โขกสับ ก. ด่าว่าข่มขี่.

    ค่อน ๑ ก. ติ, ว่าให้สะเทือนใจ.

    ด่าก. ใช้ถ้อยคําว่าคนอื่นด้วยคําหยาบช้าเลวทราม.

    เฉ่ง ก. ชําระเงินที่ได้เสียกัน, ชําระเงินที่ติดค้างกันอยู่, โดยปริยายหมายความว่า
    ด่า ว่า หรือทําร้ายร่างกาย. (จ.).

    ด่าทอ ก. ด่า, ด่าตอบกัน.

    ตอกหน้า (ปาก) ก. ว่าใส่หน้าอย่างไม่ไว้หน้า.

    ถากถาง ก. ค่อนว่า, มีเจตนาว่าให้เจ็บใจ.

    บริภาษ [บอริพาด] ก. กล่าวติเตียน, กล่าวโทษ, ด่าว่า. (ส. ปริภาษ).

    เปิง ว. ยับเยิน, พัง, ทลาย, เช่น หลังคาเปิง ด่าเสียเปิง.

    ว่า ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป
    เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง
    ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้
    ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน
    เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า.
    (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า
    กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.

    ว่าไม่ไว้หน้า ก. ดุด่าว่ากล่าวผู้ใดผู้หนึ่งต่อหน้าให้ได้รับความอับอาย
    โดยไม่เกรงใจ.

    ลอบกัด ก. ทำร้ายลับหลัง, ด่าว่าหรือกลั่นแกล้งลับหลังให้เสียหาย.

    สวด ก. ว่าเป็นทํานองอย่างพระสวดมนต์ เช่น สวดสังคหะ สวด
    พระอภิธรรม; (ปาก) นินทาว่าร้าย, ดุด่า, ว่ากล่าว, เช่น ถูก
    แม่สวด.

    สาดเสียเทเสีย ก. ใช้สิ่งของสิ้นเปลืองไปเปล่า ๆ. ว. อย่างเจ็บแสบทําให้เสียหาย
    อย่างรุนแรง เช่น ด่าว่าอย่างสาดเสียเทเสีย.

    อุบอิบ, อุบอิบ ๆ, อุบ ๆ อิบ ๆ ว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบอิบ
    พูดอุบอิบ ๆ บ่นอุบ ๆ อิบ ๆ, อุบ ก็ว่า.

    อุบ ๒ ก. นิ่งไว้ไม่เปิดเผย เช่น เรื่องนี้อุบไว้ก่อน; ถือเอา, ริบเอา, เช่น
    อุบเอามาเป็นของตน, ไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลง เช่น ที่รับปากไว้
    แล้ว อุบละนะ. ว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบ
    บ่นอุบ, อุบอิบ อุบอิบ ๆ หรือ อุบ ๆ อิบ ๆ ก็ว่า.

    เอ็ด ๒ ก. ทําเสียงดัง, ดุ, ดุเสียงดัง; แพร่งพราย; มักใช้ในความ
    ปฏิเสธว่า อย่าเอ็ดไป. ว. เอะอะ, อึกทึก.

    เอ็ดตะโร ก. ทําเสียงอึกทึกครึกโครม, ดุด้วยเสียงดังลั่น. ว. อึกทึกครึกโครม.
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×