ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เล่าเรื่องเมืองไทย อดีตที่ยังไม่เสื่อมคลาย

    ลำดับตอนที่ #18 : เรือดำน้ำของไทยในอดีต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 292
      4
      22 ก.ค. 58



              เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ ประเทศไทยได้มีเรือดำน้ำไว้ใช้ในกองทัพเรือเป็นคราวแรก โดยครั้งนั้น รัฐบาลไทยได้ว่าจ้างให้บริษัทมิตซุยบิชิ โกเบ ที่ประเทศญี่ปุ่น จัดสร้างเรือดำน้ำ จำนวน ๔ ลำ แต่บริษัทสามารถจัดสร้างเรือดำน้ำแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๗๙ จำนวน ๒ ลำ และได้ทำพิธีปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ ๒๔ ธ.ค. ๒๔๗๙ ส่วนอีก ๒ ลำ ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยใน พ.ศ. ๒๔๘๐ เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ นี้ กองทัพเรือได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชนามตามระเบียบการตั้งชื่อของกองทัพเรือ


     
             คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล(พระปรมาภิไธยในขณะนั้น)อันประกอบด้วยนายนาวาเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (พระอิสริยยศในครั้งนั้น) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และนายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) ได้ขนานนามเรือดำน้ำ ทั้ง ๔ ลำ นั้นว่า "มัจฉานุ" ลำหนึ่ง "วิรุณ" ลำหนึ่ง "สินสมุทร" ลำหนึ่ง และ "พลายชุมพล" ลำหนึ่ง 
     
    ประวัติเรือดำน้ำในกองทัพเรือไทย

    กองทัพเรือได้มีแนวความคิดที่จะปรับปรุงและสร้างกำลังรบทางเรือให้เข้มแข็ง และทันสมัยขึ้น ในระยะแรกนั้น เรือดำน้ำเป็นกำลังรบที่ใหม่ ทรงอานุภาพทางทะเลมากที่สุด เพราะสามารถกำบังตัว หรือหลบหนีด้วยการดำน้ำ สามารถเข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่ซึ่งเรือผิวน้ำไม่สามารถเข้าไปได้ และมีอาวุธตอร์ปิโดอันเป็นอาวุธสำคัญที่เป็นอันตรายแก่เรือผิวน้ำมากที่สุด ไม่มีเครื่องมือค้นหา และอาวุธปราบเรือดำน้ำที่จะทำอันตรายแก่เรือดำน้ำได้ ดังเช่นปัจจุบันนี้ จึงนับได้ว่าเรือดำน้ำ เป็นกำลังสำคัญในการป้องกันประเทศทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง เรือดำน้ำได้อยู่ในแนวความคิดของกองทัพเรือไทยมาตั้งแต่ พ.ศ.2453 แล้ว ดังจะเห็นได้จากโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ






     
    โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ พ.ศ.2453

    โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือนี้มีคณะกรรมการอันประกอบด้วย นายพลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (ต่อมาเป็น นายพลเรือเอก กรมหลวงฯ) นายพลเรือตรี พระยาราชวังสวรรค์ (ฉ่าง แสง-ชูโต ต่อมาเป็นนายพลเรือเอก พระยามหาโยธา) และนายพลเรือตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร (ต่อมาได้เป็นนายพลเรือเอก กรมหลวงฯ) ได้จัดทำขึ้นถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต (ต่อมาเป็น จอมพลเรือ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระฯ) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ และเสนาบดีฯ ทรงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 มกราคม ร.ศ.129 (พ.ศ. 2453) โครงการนี้ได้กำหนดให้มี “เรือ ส.(1) จำนวน 6 ลำ” ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้อธิบายไว้ว่า “เรือ ส. คือเรือดำน้ำสำหรับลอบทำลายเรือใหญ่ข้าศึก….. แต่ยังกล่าวให้ชัดไม่ได้เพราะยังไม่เคยลงแลลอง แต่ที่พูดถึงด้วยนี้โดยเห็นว่าต่อไปภายหน้าการศึกษาสงครามจะต้องใช้เป็นมั่นคง แต่ไม่ใช่เดี๋ยวนี้” เวลานั้นเรือดำน้ำเป็นอาวุธที่นาวีของมหาอำนาจในยุโรปกำลังพัฒนาและทดลองใช้อยู่
     
    ต่อมาใน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ออกจากประจำการ และต้องจ้าง นายนาวาเอก ชไนด์เลอร์ (J.Schneidler) นายทหารเรือชาติสวีเดนเข้ามาเป็นที่ปรึกษาการทหารเรือ ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 นายนาวาเอก ชไนด์เลอร์ ได้เสนอโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือสำหรับป้องกันประเทศ และได้กล่าวถึง “เรือดำน้ำ” ว่า “เป็นเรือที่ดีมากสำหรับป้องกันกรุงเทพฯ แต่จะผ่านเข้าออกสันดอนลำบาก ถ้าเก็บไว้ในแม่น้ำก็ไม่คุ้มค้า” และได้เสนอไว้ในโครงการให้มีเรือดำน้ำ 8 ลำ สำหรับประจำอยู่กับกองทัพเรือที่จันทบุรี
              
    ทหารเรือไทยและคนไทยได้มีโอกาสเห็นเรือดำน้ำจริงๆ เป็นครั้งแรกที่ไซ่ง่อน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2454 ในโอกาสที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสอินโดจีนฝรั่งเศส ได้จัดเรือดำน้ำมาแล่น และดำถวายให้ทอดพระเนตรในบริเวณที่เรือพระที่นั่งมหาจักรีเทียบท่าอยู่
              
    เรือเหล่านี้ขึ้นระวางประจำการแล้วได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญคือ เมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส หลังจากที่ ร.ล.ธนบุรี และเรือตอร์ปิโดถูกเรือรบฝรั่งเศสยิงจมแล้ว เรือดำน้ำ 4 ลำได้ลาดตระเวนเป็นแถว อยู่หน้าบริเวณฐานทัพเรือของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมงขึ้นไป นับเป็นการดำน้ำที่นานที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมี หมวดเรือดำน้ำเป็นต้นมา

              เรือดำน้ำในกองทัพเรือไทย (มี 4 ลำ)
    1. ร.ล.มัจฉาณุ ลำที่สอง (ร.ล.มัจฉาณุ ลำที่หนึ่ง เป็นเรือในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) 
    2. ร.ล.วิรุณ
    3. ร.ล.สินสมุทร
    4. ร.ล.พลายชุมพล

    เรือหลวงมัจฉาณุ (ลำที่สอง)
     

    ประเภท : เรือดำน้ำ
    ระวางขับน้ำ : น้ำหนักบนผิวน้ำ 374.5 ตัน น้ำหนักขณะดำ 430 ตัน
    ขนาด : ความยาวตลอดลำ 51 เมตร ความกว้างสุด 4.1 เมตร สูงถึงหลังคาหอเรือ 11.65 เมตร
    กินน้ำลึก : กินน้ำลึก 3.6 เมตร
    อาวุธ : ปืนใหญ่ 76 มม. 1 กระบอก ปืน 8 มม. 1 กระบอก ตอร์ปิโด 45 ซม. 4 ท่อ
    เครื่องจักร : เครื่องจักรใหญ่ชนิดดีเซล 2 เครื่อง ๆ ละ 8 สูบ กำลัง 1,100 แรงม้า เครื่องไฟฟ้ากำลัง 540 แรงม้า (ใช้เดินใต้น้ำ)
    ความเร็ว : ความเร็วมัธยัสถ์ 10 นอต
    รัศมีทำการ : รัศมีทำการ 4,770 ไมล์
    ทหารประจำเรือ 33 คน (นายทหาร 5 พันจ่า-จ่า 28)

    เรือนี้ต่อที่อู่ บริษัท มิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ.2479 มีอยู่ 4 ลำด้วยกัน คือ เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และ เรือหลวงพลายชุมพล
    วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูกงูพร้อมกับ เรือหลวงวิรุณ 
    วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479 ลงน้ำพร้อมกับ เรือหลวงวิรุณ
    วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2479 เรือหลวงมัจฉาณุ (ลำที่สอง) และเรือดำน้ำอีก 3 ลำ ออกจากน่านน้ำประเทศญี่ปุ่น เดินทางมายังประเทศไทย โดยไม่มีเรือพี่เลี้ยง ซึ่งแสดงถึงความสามารถของทหารเรือไทย
    วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย
    วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ
    เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส หลังจาก เรือหลวงธนบุรี และเรือตอร์ปิโด ถูกเรือฝรั่งเศส ยิงจมแล้ว เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ได้ไปลาดตระเวนเป็น 4 แนว อยู่หน้าบริเวณฐานทัพเรือเรียมของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาดำอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมง ขึ้นไป นับเป็นการดำที่นานที่สุด ตั้งแต่ได้เริ่มมีหมวดเรือดำน้ำมาจนกระทั่งได้ถูกยุบเลิกไป 
    วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ

    เรือหลวงวิรุณ
     

    เรือนี้เป็นเรือพี่น้องของ เรือหลวงมัจฉาณุ สร้างแห่งเดียวกัน โดยสัญญาเดียวกัน
    วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูงู
    วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เรือลงน้ำ
    วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย
    วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ
    วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ

    เรือหลวงสินสมุทร
     

    เรือนี้เป็นเรือพี่น้องของ เรือหลวงมัจฉาณุ สร้างแห่งเดียวกัน โดยสัญญาเดียวกัน
    วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูงูพร้อมกับ เรือหลวงพลายชุมพล 
    วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เรือลงน้ำพร้อมกับ เรือหลวงพลายชุมพล 
    วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย
    วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ
    วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ

    เรือหลวงพลายชุมพล
     

    เรือนี้เป็นเรือพี่น้องของ เรือหลวงมัจฉาณุ สร้างแห่งเดียวกัน โดยสัญญาเดียวกัน
    วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูงู
    วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เรือลงน้ำ
    วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย
    วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ
    วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ

               อนึ่ง ความคิดเรื่องประเทศไทยควรจะมีเรือดำน้ำนี้ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้เคยทรงพระนิพนธ์รายงานเกี่ยวกับเรือดำน้ำไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น ทำให้ต้องระงับการสร้างเรือดำน้ำไป จนได้มีการรื้อฟื้นการสร้างเรือดำน้ำขึ้นอีกในสมัย
    รัชกาลที่ ๘

    ที่มา 
    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1437454299
    http://www.navy.mi.th/navalmuseum/002_history/html/his_od_submarine_thai.htm
    http://social.tnews.co.th/content/153521/

     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×