ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องราวตำนานอียิปต์โบราณ

    ลำดับตอนที่ #30 : กระดาษ :: อดีตและอนาคต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 474
      0
      29 มิ.ย. 53


         นับตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์มนุษย์ได้มีความต้องการที่จะบันทึกเหตุการณ์ชีวิต  และจินตนาการของตนเพื่อแสดงความคิดเห็น และเพื่อสะสมความรู้ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง  แต่เมื่อไม่มีวัสดุใดๆ  ที่จะสนองตอบความประสงค์เช่นนั้นได้  มนุษย์เมื่อ 30,000  ปีก่อน  จึงได้วาดภาพสัตว์ลงบนผนังถ้ำ  คน  Sumerian  เมื่อ 5,200  ปีก่อนเขียนภาพอักษรลงบนดินเหนียว  คนจีนโบราณแกะสลักข้อความบนกระดองเต่าและเขียนภาพบนผ้าไหม  คน กรีกในอดีตใช้วิธีเขียนข้อความลงบนหนังแกะ แพะ หรือวัว  ชนเผ่ามายาในอเมริกากลางใช้วิธีวาดภาพลงบนเปลือกไม้  คนโรมัน  และคนอียิปต์ เมื่อ 4,500  ปีมาแล้ว  ใช้ใบของต้น  papyrus  ที่มีขึ้นมากมายตามสองฝั่งแม่น้ำ  Nile  สำหรับเขียนภาพและภาษา  เป็นต้น  เหล่านี้เป็นวิธีที่มนุษย์โบราณใช้ ในการบันทึกความนึกคิดและความทรงจำ



         แต่ปัจจุบันมนุษย์เราใช้กระดาษในการดำรงชีวิตมาก  และบ่อยจนอาจจะถือได้ว่า  กระดาษเป็นปัจจัยหนึ่งของชีวิตและอารยธรรม เช่น Shakespeare  เขียนบทประพันธ์ลงบนกระดาษ  Beethoven  เขียนซิมโฟนีลงบนกระดาษ Picasso  วาดภาพบนกระดาษ และ Einstein  ก็ใช้กระดาษในการคิดทฤษฎีสัมพัทธภาพให้ โลกรู้และเข้าใจความคิดสร้างสรรค์ที่อัจฉริยะบุคคลเหล่านี้ได้บันทึกลงบนกระดาษได้เปลี่ยนโฉม  และทิศทางความเป็นอารยะของมนุษย์มากถึงขนาด  Martin  Luther  ได้เคยกล่าวว่า  หากคนทุกคนในโลกมีคัมภีร์ไบเบิล โลกก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องมีสันตะปาปาอีกต่อไป

         แต่ถ้าหากเราถามใครสักคนว่า  ใคร เป็นผู้ประดิษฐ์กระดาษเป็นคนแรกของโลก  คนส่วนมากจะตอบไม่ได้  ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า  ชาวจีนคนหนึ่งชื่อ  Ts' ai Lun  ผู้ทำงานประจำราชสำนักของจักรพรรดิ์  Ho Ti  เป็นบุคคลแรกที่รู้จักทำกระดาษ ในปี พ.. 648  ทำให้องค์จักรพรรดิ์ทรงพอพระทัยมากจึงได้ทรงพระราชทานเงินทอง  และทรัพย์สมบัติให้ Ts' ai Lun มาก มาย  แต่ Ts' ai Lun  เหิมเกริม คิดจะล้มราชบัลลังก์  ดังนั้นเมื่อเขาถูกจับจึงถูกบังคับให้กินยาพิษตาย


         กระดาษที่ Ts' ai Lun  ทำขึ้นมาได้เป็นที่นิยมใช้กันมากในประเทศจีน  เช่น  ใช้ทำเป็นธนบัตร  และใช้ในประเพณีเผากระดาษเวลามีงานศพ  เป็นต้น  ถึงแม้เทคโนโลยีการทำ กระดาษจะอุบัติในจีนในสมัยพุทธศตวรรษที่ ก็ตาม  แต่ชนชาติอื่นก็มิได้ล่วงรู้เทคนิคการทำเลย  เพราะสังคมจีนโบราณเป็นสังคมปิดที่คนจีนไม่ติดต่อกับต่างชาติ  แต่เมื่อประเทศจีนเจริญก้าวหน้าและผู้คนได้ทำมาค้าขายกับประเทศใกล้เคียงคนเกาหลีและญี่ปุ่นจึงได้รู้วิธีทำกระดาษในพุทธศตวรรษที่และ ตามลำดับ

     

         ในปี พ..1294  ได้เกิด สงครามระหว่างจีนกับอาหรับ  เมื่อนักทำกระดาษของจีน หลายคนถูกจับเป็นเชลย  เทคโนโลยีการทำกระดาษของจีน จึงได้แพร่หลายไปในโลกอาหรับ  และคนยุโรปก็ได้เรียน วิธีทำกระดาษจากชาวอาหรับอีกทอดหนึ่ง  เมื่อ  J. Gutenberg  ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ในปี พ.. 1995  กระดาษได้เป็นวัสดุหลักที่ใช้ เขียนในโลกตะวันตก  และเมื่อคนยุโรปรู้วิธีทำกระดาษ และมีวิธีการพิมพ์โดยเครื่องจักร  อารยธรรมของยุโรป ก็เริ่มมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว  จนล้ำหน้าจีนไป ทันที  เพราะเครื่องพิมพ์ของ  Gutenberg  ได้ทำให้คนจำนวนมากสามารถรับข่าวสารได้ พร้อมๆ  กัน  ในขณะที่จีนยัง คงใช้วิธีพิมพ์ด้วยวิธีธรรมดา  ทำให้ความรู้และ ข้อมูลต่างๆ  เดินทางช้า  ดัง นั้นถึงแม้คนยุโรปจะรู้จักทำกระดาษหลังจีนร่วม 1,000  ปีก็ตาม  แต่การมีเทคโนโลยี การพิมพ์ที่ทันสมัยทำให้วิทยาศาสตร์ของยุโรปก้าวทันจีนและล้ำหน้าไปในที่สุด

     

         ปัจจุบันโลกผลิตกระดาษประมาณปีละ  300  ล้านตัน  คนอเมริกันคนหนึ่งๆ  ใช้กระดาษเฉลี่ยปีละ 330  กิโลกรัม  ในรูปของหนังสือพิมพ์วัสดุห่อ ของกระดาษโฆษณา ฯลฯ  คนญี่ปุ่นนิยมใช้กระดาษพับรูป สัตว์ (origami)  ทำว่าว  ร่ม  และม่านบังตา  เป็นต้น

     

         ถึงแม้ประวัติความเป็นมาของกระดาษจะยาวนานเกือบ 2,000  ปี ก็ตาม  แต่องค์ประกอบหลักของกระดาษก็ยังคงเหมือนเดิม คือ  กระดาษต้องมีน้ำและใยเซลลูโลส  และ พันธะเคมีระหว่างโมเลกุลทั้งสองชนิดนี้เองทำให้กระดาษแข็ง

     

         แต่กระดาษก็เช่นเดียวกับวัสดุอื่นๆ  คือ มีการสลาย  เพราะเมื่อเวลาผ่านไปนาน  เนื้อ กระดาษที่เคยมีสีขาว  หรือหมึกกระดาษที่เคยมีสีดำจะ กลายสภาพ  คือ เปราะ  หัก  และหมึกจะขาดความคมชัด  ดังนั้น นักอนุรักษ์กระดาษจึงต้องคิดหาหนทางเก็บกระดาษที่มีความสำคัญทางประวัติ ศาสตร์ ให้คงสภาพดีตลอดไป

     

         เช่น  หอสมุดรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา ใช้วิธีบรรจุหนังสือล้ำค่าลงในกล่องพิเศษที่ได้รับการปกป้องมิให้มีความชื้น  หรือฝุ่นละอองมารบกวน  ส่วนกรณี เอกสารที่ถูกตีพิมพ์ในสมัยสงครามกลางเมืองของสหรัฐฯ  ซึ่ง ได้ถูกมอดไชเป็นรูเล็กก็ได้รับการซ่อม  โดยนัก อนุรักษ์ใช้วิธีเติมเนื้อกระดาษชนิดเดียวกันลงในรูเหล่านั้นให้กลมกลืน

     

         เทคโนโลยีอวกาศก็ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทในการอนุรักษ์กระดาษ เช่นกัน  โดยนักอนุรักษ์ใช้กล้องถ่ายภาพที่ใช้ในดาว เทียมจารกรรม  ถ่ายภาพตัวอักษรที่ปรากฏบนกระดาษ  การมีประสิทธิภาพในการเห็นสูง  จะ ทำให้กล้องสามารถเห็นความเข้มของหมึกได้อย่างชัดเจน  ดัง นั้นเมื่อความเข้มหมึกเปลี่ยนแปลง  กล้องก็จะตรวจพบ  และนี่คือสัญญาณชี้บอกให้นักอนุรักษ์เริ่มหยิบแปรง  พู่กัน  มาเติมแต่งให้คงสภาพเดิม

     

         ถึงแม้กระดาษจะมีประโยชน์สักปานใดก็ตาม  แต่ กระดาษก็เช่นเดียวกับสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ  คือมีโทษ เช่นกัน  คือ  ในการทำกระดาษ เราต้องการตัดต้นไม้  เช่น  ไผ่  เพื่อเอาเยื่อมาทำกระดาษ  หมึก กระดาษก็มีราคาแพง  อุตสาหกรรมกระดาษต้องใช้น้ำมาก และน้ำที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงานทำกระดาษเป็นน้ำที่มีมลพิษและปัญหาการจำกัด กระดาษที่ใช้แล้วคือปัญหาขยะ  มาบัดนี้ปี 2000  โลก กำลังคิดจะใช้สื่อใหม่แทนกระดาษ  ถ้าสื่อใหม่ได้รับ ความนิยมจากสังคม  นั่นก็หมายความว่ายุคการใช้กระดาษ ก็จะถึงกาลอวสาน  สิ่งนั้นคือกระดาษอิเล็กทรอนิกส์  และหมึกอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะใช้ควบคู่กับคอมพิวเตอร์ใน การแสดงภาพตัวอักษร  และภาพถ่ายต่างๆ

     

         กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นี้จะบาง  ทำ ให้สามารถทำให้นำติดตัวไปไหนมาไหนได้  และก็อ่านง่าย เช่นเดียวกับกระดาษธรรมดาเพราะเพียงแต่เปิดสวิทช์  ผู้ อ่านก็จะอ่านข้อมูลในกระดาษได้ทันที  คุณสมบัติที่ ประเสริฐข้อหนึ่งของกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ก็คือ  ภาพ  และตัวอักษรที่ปรากฏบนกระดาษจะปรากฏอยู่ได้นาน  โดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจากที่ใดมาในการอนุรักษ์เลย

     

         ขณะนี้ก็ได้มีการนำกระดาษอิเล็กทรอนิกส์  มา ใช้ตามร้านค้า  ร้านซูเปอร์มาเก็ตสนามบิน  และที่สาธารณะอื่นๆ  แล้ว  และอีก 7 ปีนับจากนี้ไป  เมื่อเทคโนโลยีการใช้สี หมึกอิเล็กทรอนิกส์ก้าวหน้าขึ้น จอคอมพิวเตอร์หน้าปัทม์นาฬิกา  และเครื่องคิดเลขต่างๆ  ก็จะใช้ กระดาษอิเล็กทรอนิกส์แทน  และอีก 20 ปีข้างหน้า  ผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศต่าง ก็คาดคะเนว่า  หนังสือจำนวนมากมายที่มีในห้องสมุดจะ ถูกแทนที่ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพียง 1 เล่ม  ได้อย่างสบายๆ

     

         จากการที่เราสามารถอ่านกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย  และ สามารถนำกระดาษที่ข้อมูลมากนี้ติดตัวไปไหนมาไหนได้สะดวก  อีก ทั้งสามารถนำมาอ่านได้  100  ล้านครั้ง กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ก็ไม่สลาย  คือ  เป็นคราบเหลืองเช่นกระดาษทั่วไป  เพราะ สีอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ทำด้วยอนุภาคกลมเล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.01 มิลลิเมตรจำนวนมากมาย  โดยอนุภาค ถูกบรรจุอยู่ในแคปซูล (capsule)  ขนาดใหญ่กว่า 40  เท่า ตัว  และครึ่งหนึ่งของตัว อนุภาคถูกทาด้วยสารประกอบ  titanium  dioxin  ทำให้มีสี ขาว  และอีกครึ่งหนึ่งมีสีดำ  อนุภาค ส่วนที่มี titanium  dioxin ถูก ทำมีประจุไฟฟ้าลบ  ดังนั้นเวลาเราเอาขั้วไฟฟ้าขนาบบน capsule โดยให้บางตำแหน่งเป็นขั้วบวก  บางตำแหน่งเป็นขั้วลบ  บริเวณเป็น บวกก็จะดูดประจุลบบนเม็ดอนุภาคบริเวณที่เป็นขั้วลบก็จะผลักประจุลบบนอนุภาค  มีผลทำให้อนุภาคหมุนตัว  กลับลงล่าง  หันส่วนที่เป็นดำขึ้น  ข้างบนแทนทันที  ทั้งนี้โดยมี คอมพิวเตอร์เป็นตัวกำหนดบริเวณขาวดำ  ทุกบริเวณบน กระดาษอิเล็กทรอนิกส์

     

         ปัจจุบันราคาของกระดาษชนิดนี้ประมาณตารางเมตรละ 12,000 บาท  และ เทคโนโลยีใหม่ที่จะใช้ในการทำกระดาษนี้  คือ pointer ขนาดเท่าดินสอ  ที่ภายในมี  memory  ดัง นั้นเวลาเราเคลื่อน   pointer  ไปบนผิวกระดาษอิเล็กทรอนิกส์  การสัมผัสทางไฟฟ้าระหว่าง pointer  กับกระดาษจะทำให้ข้อมูลจาก pointer  ถูกถ่ายทอดลงสู่กระดาษได้ทันที

     

         หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ว่านี้หน้าเดิมสามารถบรรจุข้อมูล แทนหนังสือธรรมดาได้ 100  เล่ม  และในการ เปิดอ่านหรือคนก็สามารถอ่านได้เร็วถึง 20  หน้า/วินาที (ถ้า อ่านทัน)

     

    ราคานะซิที่เป็นปัญหา

     

       โลกของคนรวยในอนาคตคงเป็นโลกกระดาษอิเล็กทรอนิกส์  โลกของคนจนก็คงจะใช้กระดาษธรรมดาเหมือนเดิมอีกนาน


    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    อ่านแล้วก็อย่าลืม Comment ให้กันบ้างนะค่ะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×