ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องราวตำนานอียิปต์โบราณ

    ลำดับตอนที่ #20 : ฤารูปปั้นเนเฟอร์ติติ จะเป็นของปลอม

    • อัปเดตล่าสุด 29 มิ.ย. 53



    ศิลปะแบบอมาร์น่า แสดงภาพฟาโรห์อัคเคนาเตน พระนางเนเฟอร์ติติ และพระธิดาอีก 3 องค์

           เมื่อกล่าวถึงสตรีที่ขึ้นชื่อว่างดงามที่สุดในอียิปต์โบราณ ก็คงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากพระนางเนเฟอร์ติติ (Nefertiti) บางท่านอาจจะบรรยายถึงความงดงามของพระนางได้เป็นอย่างดี จากรูปปั้นครึ่งตัวของพระนาง ซึ่งตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เบอร์ลิน (Berlin Museum)

           ล่าสุด เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมปีนี้ มีข่าวสะเทือนวงการโบราณคดีอียิปต์ ออกมาให้ได้ตื่น เต้นกันว่า รูปปั้นครึ่งตัวของพระนางเนเฟอร์ติตินี้ อาจจะเป็นของปลอม!!

           เนเฟอร์ติติ แปลว่า "สาวงามมาแล้ว" พระนางเป็นมเหสีเอกของฟาโรห์ อัคเคนาเตน? (Akhenaten) ฟาโรห์ที่หาญกล้ายกเลิกการบูชาเทพเจ้าหลายองค์ของอียิปต์โบราณแต่ดั้งเดิม โดยสั่งปิดวิหารที่บูชาเทพเจ้าอื่นๆจนสิ้น และสั่งให้หันมาบูชาเทพเจ้าองค์เดียว นั่นคือเทพ อเตน (Aten) เทพเจ้าที่มีลักษณะเป็นวงสุริยะ แผ่รังสีออกมาเป็นมือ บางมือถืออังค์ (Ankh) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิตมอบให้แด่ฟาโรห์และองค์ราชินี

           แน่นอน ผู้มีอิทธิพลที่สนับสนุนอยู่เบื้อง หลังการปฏิรูปศาสนาครั้งนี้ ก็คงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากพระนางเนเฟอร์ติติผู้นี้นี่เองเนเฟอร์ติติกับฟาโรห์อัคเคนาเตนมีธิดาด้วยกัน 6 องค์ ซึ่งภาพที่ปรากฏในศิลปะยุคนี้ เรียกว่า ศิลปะแบบอมาร์น่า (Amarna)? เป็นภาพที่แสดงฟาโรห์ประทับกับมเหสี โดยมีพระธิดานั่งอยู่บนตัก หรืออาจจะอยู่ในอากัปกิริยาอื่นๆ เช่น อยู่ในท่าอุ้ม คลอเคลีย หรือแม้กระทั่งจุมพิต ซึ่งไม่เคยมีศิลปะอียิปต์โบราณยุคใดมาก่อน สาเหตุที่ศิลปะในยุคนี้แสดงออกถึงความรักอย่างลึกซึ้งก็เป็นเพราะพระนางเนเฟอร์ติติเป็นผู้ "จัดฉาก" ให้เห็นว่าอัคเคนาเตนทรงหลงรักพระนางมากเพียงใด

    ภาพถ่ายด้านข้างของรูปปั้นที่กำลังเป็นปัญหาว่าจริงหรือปลอม

           นักวิชาการว่ากันว่า เมื่อฟาโรห์อัคเคนาเตน สิ้นพระชนม์หลังจากครองราชย์ไปได้ประมาณ 17 ปี แผ่นดินก็ตกไปอยู่ในการครอบครองของเนเฟอร์ติติ โดยที่พระนางอาจจะใช้ชื่อว่า สเมนคาเร (Smenkhkare) ซึ่งเป็นฟาโรห์ ปริศนาที่ยังไม่มีใครทราบว่าพระองค์เป็นใครก็เป็นได้

           การสิ้นพระชนม์ของพระนางก็ยังเป็นปริศนา มีความเห็นที่ต่างกัน ออกไปว่า พระนางอาจจะสิ้นพระชนม์ไปก่อนสวามีก็เป็นได้ ไม่มีใครทราบ ว่าพระศพของพระนางอยู่ที่ไหน หลักฐานชิ้นสำคัญที่พอจะแสดงรูปโฉม อันงดงามได้นั่นก็คือ รูปปั้นครึ่งตัวของพระนางในพิพิธภัณฑ์เบอร์ลินนั่นเอง

           แล้วใครเป็นคนปั้นรูปปั้นรูปนี้ ตำราทั้งหลายต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า รูปปั้นนี้เป็นผลงานของช่างปั้นนาม ทุตโมส (Tuthmose) ซึ่งมีโรงปั้นอยู่ที่ชานเมืองทางใต้ของอมาร์น่า แต่พอกาลเวลาล่วงมาจนถึงยุคสมัยของฟาโรห์ตุตันคาเมน ที่มีการย้ายเมืองหลวงกลับไปที่เมืองธีบส์ (Thebes) แล้ว ทุตโมสก็ละทิ้งโรงปั้นของเขาไป ทำให้รูปปั้นกว่า 50 ชิ้น จมใต้ผืนทรายในเมืองอมาร์น่าในที่สุด รวมทั้งรูปปั้นของพระนางเนเฟอร์ติติรูปนี้ด้วย

           หลังจากที่ลูกทีมของลุดวิก บอร์ชาร์ดท์ (Ludwig Borchardt) ค้นพบรูปปั้นรูปนี้ ในวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1912 ดร.เจมส์ ไซมอน (Dr.James Simon) ผู้สนับสนุนทางการเงินให้แก่ทีมสำรวจ ก็ได้ ชื่นชมรูปปั้นรูปนี้ สุดท้ายรูปปั้นก็ถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์เบอร์ลินในปี ค.ศ. 1920 และได้ออกแสดงสู่สายตาสาธารณะในปีค.ศ. 1924

           รูปปั้นรูปนี้เป็นสัญลักษณ์ความงามของสาวไอยคุปต์มาเนิ่นนาน แต่ข่าวล่าสุดที่กล่าวว่ารูปปั้นรูปนี้อาจจะเป็นของปลอมนั้น จะทำให้เกิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่หรือไม่ เรามาติดตามข่าวที่ว่านี้ไปพร้อมๆกันครับ

           เรื่องเริ่มต้นที่นายเฮนรี สเตียร์ลิน (Henri Stierlin) นักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวสวิส ออกมาแถลงว่า รูปปั้นพระนางเนเฟอร์ติติในพิพิธภัณฑ์เบอร์ลิน ซึ่งเคยเชื่อกันว่ามีอายุกว่า 3,400 ปีนั้น? แท้จริงแล้วเป็นของที่ทำ ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1912 นี้เอง และสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทดสอบสีย้อม (Pigment) ที่ช่างศิลป์โบราณใช้ในการตกแต่งรูปปั้น

           สเตียร์ลินกล่าวว่า รูปปั้นนี้ทำขึ้นใหม่โดยช่างฝีมือนามว่าเจอราร์ดท์ มาร์คส์ (Gerardt Marks) ชาวเยอรมัน ผ่านการร้องขอของบอร์ชาร์ดท์ เพื่อแสดงรูปของพระนางสวมสร้อยคอที่เชื่อว่าเป็นของนาง และเพื่อเป็นการลองใช้สีย้อมที่พบจากการขุดค้นมาลงสีกับตัวรูปปั้นด้วย แต่เรื่องเริ่มบานปลายในวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1912 เมื่อเจ้าชายแห่งเยอรมนีได้ ชื่นชมรูปปั้นรูปนี้ และพระองค์ปักใจเชื่อว่าเป็นของแท้แต่ดั้งเดิม บอร์ชาร์ดท์ เองก็ไม่รู้ว่าจะบอกเจ้าชายอย่างไร เพราะกลัวว่าพระองค์จะเสียหน้านั่นเอง

           สเตียร์ลินตั้งข้อสังเกตที่บ่งชี้ว่ารูปปั้นนี้เป็นของปลอมไว้หลายประการ เช่น? รูปปั้นไม่มีตาข้างซ้าย? และเหมือนว่ายังไม่เคยมีมาเลยตั้งแต่แรกซึ่งก็ถือว่าผิดวิสัยของชาวอียิปต์โบราณ? ที่เชื่อว่ารูปปั้นก็คือตัวแทนของตัวบุคคลคน ดังนั้น จึงไม่น่าปั้นให้ดวงตาไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด

    พระสิริโฉมอันงดงามของเนเฟอร์ติติ

           อีกประการหนึ่งคือ ที่ไหล่ของรูปปั้น เพราะไหล่ของรูปปั้นรูปนี้ถูกตัดในแนวตั้ง ซึ่งเป็นรูปแบบของศิลปะในศตวรรษที่ 19 นี้เอง ซึ่งรูปปั้นส่วนใหญ่ของอียิปต์โบราณจะเผยไหล่ในแนวนอนสเตียร์ลินยังกล่าวอีกว่า การตรวจ สอบอายุรูปปั้นด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ นั้นไม่สามารถทำได้ เพราะว่ารูปปั้นรูปนี้ทำจากหิน ซึ่งฉาบรอบนอกไว้ด้วยปูนปลาสเตอร์ แต่สีที่ใช้ในการตกแต่งรูปปั้นนั้นสามารถตรวจหาอายุได้ และมันเป็นสีในสมัยโบราณจริงๆ

           ข้อสังเกตใหญ่อีกข้อหนึ่งคือ เรื่องของการค้นพบรูปปั้น? รวมไป ถึงการขนส่งรูปปั้นมาที่เบอร์ลิน และรายงานการขุดค้น

           สเตียร์ลินกล่าวว่า นักโบราณ- คดีชาวฝรั่งเศสที่ขุดอยู่ในบริเวณขุดค้นนั้นไม่ได้กล่าวถึงการค้นพบนี้เลย อีกทั้งยังไม่มีการจดบันทึกรายการสิ่งของที่ขุดพบในบริเวณนั้นออกมาด้วย เอกสารรายงานอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับรูปปั้นของพระนางเนเฟอร์ติติรูปนี้ออกมาในปี ค.ศ. 1923 หลังจากค้นพบถึง 11 ปี

           ตรงนี้ สเตียร์ลินบอกว่า "นักโบราณคดีไม่น่าที่จะไม่พรรณนาถึงรูปร่างลักษณะของชิ้นงานสุดพิเศษที่ยังอยู่ในสภาพดี ไม่บุบสลายอย่างเช่นรูปปั้นรูปนี้"

           สเตียร์ลินกล่าวปิดท้ายว่า "บอร์ชาร์ดท์รู้ดีว่ารูปปั้นรูปนี้เป็นของปลอม เขาทิ้งรูปปั้นนี้ไว้ในห้องนั่งเล่นของสปอนเซอร์ของเขาเป็นเวลากว่า 10 ปี คุณก็ลองนึกเปรียบเทียบเล่นๆว่ามันก็คล้ายๆกับการที่เขาทิ้งหน้ากากทองคำของตุตันคาเมนไว้ในห้องนั่งเล่นของเขาเองนั่นแหละ"

           เมื่อเรื่องมาถึงขั้นนี้ ก็ต้องร้อนไปถึงผู้ เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีอียิปต์ แน่นอนเขาไม่ใช่ ใครที่ไหน ก็ ซาฮี ฮาวาส (Zahi Hawass) เจ้าเก่า เขาออกมาโต้ทันควัน "ข้ออ้างที่กล่าวว่ารูปปั้นพระนางเนเฟอร์ติติเป็นของปลอมนั้น ไม่มีมูลความจริงเลย"

           ฮาวาสบอกว่า "สเตียร์ลินไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ เขาเพียงแค่เพ้อ (Delirious) ไปเท่านั้น" และได้อธิบายข้อสังเกตของสเตียร์ลินเป็นเรื่องๆดังนี้

           เรื่องแรกที่สเตียร์ลินอ้างว่าไหล่ของรูปปั้นเป็นแบบศิลปะสมัยปัจจุบัน ฮาวาสแย้งว่า ในช่วงสมัยฟาโรห์อัคเคนาเตนและพระนางเนเฟอร์ติตินั้น เป็นช่วงที่มีศิลปะรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าศิลปะแบบอมาร์น่า "ดังนั้นศิลปะและรูปปั้นในยุคนี้จึงต้องแตกต่างออกไป"

           สำหรับเรื่องตาข้างซ้ายที่หายไป ฮาวาสโต้ว่า แท้จริงแล้วมันเสียหายไป โดยกล่าวว่า "ช่างปั้นหลวงทุตโมสได้ใส่ตาของรูปปั้นไว้ทั้ง 2 ข้างแล้ว แต่ว่าภายหลังตาข้างหนึ่งได้ถูกทำลายไป" แต่เขาก็ไม่ได้อ้างหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าตาข้างซ้ายถูกทำลายไปจริงแต่อย่างใด

           เรื่องสุดท้ายคือ เรื่องรายงานอย่างเป็นทาง การของรูปปั้น ที่ออกมาหลังจากการค้นพบครั้งแรกถึง 11 ปี ฮาวาส เห็นด้วยกับเรื่องรายงานนี้ แต่ก็ยังอ้างว่านักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสในการดูแลของกรมโบราณคดีอียิปต์ไม่ได้อยู่ที่เมืองอมาร์น่า ณ เวลาที่อ้างว่ามีการค้นพบรูปปั้นของเนเฟอร์ติติ

           เชื่อกันว่าสาเหตุที่รูปปั้นไปอยู่ที่เยอรมันนั้น เป็นเพราะว่าบอร์ชาร์ดท์ได้ลักลอบนำมันออกไปจากอียิปต์ โดยเขาได้นำรูปปั้นไปเก็บไว้ที่ไคโร ก่อนที่จะซ่อนมันไว้ท่ามกลางบรรดาเศษหม้อที่จะนำไปซ่อมแซมที่เบอร์ลิน และหลังจากนั้นมา รูปปั้นรูปนี้ก็ถูกตั้งแสดงอยู่ที่เบอร์ลิน

           ในเรื่องนี้ฮาวาสชี้แจงว่า จริงๆแล้วบอร์ชาร์ดท์ได้ทำรายงานเกี่ยวกับรายละเอียดของรูปปั้นเอาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และบันทึกของเขาก็บรรยายได้อย่างถูกต้องน่าเชื่อถือเสียด้วย

           ท้ายสุด ฮาวาสปิดประเด็นไว้ว่า "เร็วๆนี้ผมจะเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับรูปปั้นรูปนี้ว่าถูกลักลอบเอาออกไปจากอียิปต์ได้อย่างไร เพื่อที่เราจะได้นำมันกลับมาสู่เจ้าของที่แท้จริง"

           สรุป รูปปั้นพระนางเนเฟอร์ติติก็ยังอยู่ ระหว่างการถกเถียงกันของผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่าย และยังไม่มีการสรุปว่ารูปปั้นนี้เป็นของจริงหรือของปลอมกันแน่ แต่ไม่ว่าผลสุดท้ายจะออกมาเช่นไร รูปปั้นรูปนี้ก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความงดงามของสตรีอียิปต์โบราณได้อย่างไม่เสื่อมคลาย

    เครดิต :: เว็บบอร์ดฟังเพลง

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    อ่านแล้วก็อย่าลืม Comment ให้กันบ้างนะค่ะ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×