คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #18 : ที่ตั้งในอดีต-ปัจจุบันของอาณาจักรอียิปต์
ที่ตั้งในอดีต
บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์เป็นบริเวณที่มีการไหลบ่าของแม่น้ำท่วมสองฝั่งในเดือนสิงหาคม ถึงตุลาคมเป็นประจำทุกปี เมื่อน้ำลดโคลนตมที่พัดพามาจะตกตะกอนเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์ทั้งสองฝั่งทำให้ชาวอียิปต์โบราณรวมตัวกันอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำร่วมแรงร่วมใจกันสร้างระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำท่วม มีการสร้างทำนบกั้นน้ำ ขุดคูน้ำไปยังพื้นที่ที่ห่างไกล เกิดการรวมตัวของบ้านเรือนและพัฒนาเป็นนครรัฐ
ที่ตั้งในปัจจุบัน
อียิปต์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทางทิศเหนือของเมดิเตอร์เรเนียน ทางทิศตะวันออกคือทะเลแดงทิศใต้คือนูเบียหรือซูดานปัจจุบัน ตะวันตกคือทะเลทรายสะฮารา
แม้อารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมียจะเกิดขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำเช่นเดียวกัน และเกิดในระยะเวลาใกล้เคียงกัน แต่อียิปต์มีการพัฒนาอารยธรรมที่ต่อเนื่องกว่า และการก่อตั้งอาณาจักรของอียิปต์มีความเข้มแข็งมีเอกภาพมากกว่าเมโสโปเตเมีย เนื่องจากอียิปต์มีพรมแดนธรรมชาติคือทะเลทรายขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบ ได้แก่ ทะเลทรายลิเบียทางด้านทิศตะวันตก ทะเลทรายซาฮาราทางทิศตะวันออก ทะเลทรายนูเบียทางทิศใต้ ส่วนทิศเหนือติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากชนชาติอื่น ทำให้สามารถสร้างอารยธรรมอย่างต่อเนื่องมั่นคงเป็นระยะเวลายาวนานร่วม 3,000 ปี ฟาโรห์ปกครองถึง 31 ราชวงค์ ก่อนสูญเสียอำนาจให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเมื่อ 332 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
อียิปต์แบ่งเป็น 2 อาณาจักร ใหญ่ๆ คือ
1. อียิปต์บน (Upper Egypt)
ได้แก่ บริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่านหุบเขา ระหว่างเขื่อนอัสวันและกรุงไคโรในปัจจุบัน มีความยาว 500 ไมล์ กว้าง 15-20 ไมล์ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ตอนนี้เป็นหน้าผาลาดกว้างไปจนสุดสายตา เต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้ง มีเนินทรายสีแดงและสีเหลืองเป็นตอนๆ
2. อียิปต์ล่าง ( Lower Egypt)
ได้แก่ บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัดไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณนี้ชาวกรีกโบราณเรียกว่า เดลต้า (Delta) มีความยาวประมาณ 200 ไมล์ กว้าง 6-22 ไมล์อารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญขึ้นในบริเวณแถบเดลต้านี้
ลักษณะภูมิประเทศ
อียิปต์เป็นดินแดนกันดารฝน แต่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์ซึ่งได้รับน้ำอันเกิดจากหิมะละลาย และฝนในฤดูร้อนจากภูเขาในอบิสสิเนีย น้ำจะไหลบ่าลงมาตามแม่น้ำ ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมจนถึงตุลาคมทำให้สองฝั่งแม่น้ำไนล์จมอยู่ใต้น้ำเป็นบริเวณกว้าง เมื่อน้ำลดโคลนตมที่น้ำพัดพามาจะตกตะกอนเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
ความอุดมสมบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำไนล์ได้มาจากตะกอนโคลนตมอันอุดมด้วยปุ๋ยซึ่งน้ำที่ท่วมประจำปีนำมาทิ้งไว้เช่นเดียวกับบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ของเมโสโปเตเมียพัฒนาการของอารยธรรมก็ค่อนข้างจะเป็นไปตามแบบแผนเดียวกัน กล่าวคือมีการร่วมแรงกันสร้างระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำท่วม สร้างทำนบกั้นน้ำ ขุดคูน้ำไปยังดินแดนที่ห่างไกลออกไปแต่ทว่าพัฒนาการทางการเมืองของอียิปต์แตกต่างจากเมโสโปเตเมีย กล่าวคืออียิปต์ได้แบ่งแยกเป็นนครรัฐอิสระอย่างในเมโสโปเตเมีย หากแต่ร่วมกันเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของบุคคลเดียวคือกษัตริย์ซึ่งอียิปต์เรียกว่าฟาโรห์ (Pharaoh)
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้กษัตริย์อียิปต์สามารถรวบรวม และปกครองดินแดนทั้งหมดไว้ได้อย่างมั่นคงตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ปัจจัยดังกล่าวได้แก่
(1) ทะเลทรายช่วยป้องกันการแทรกซึมของพวกลิเบียจากทะเลทรายทางทิศตะวันตก ทะเลทราย ช่วยป้องกันการแทรกซึมของพวกลิเบียจากทะเลทรายทางทิศตะวันตก หรือพวกเอเซียทางทิศตะวันออกและพวกนูเบียจากทิศใต้ การป้องกันตนเองจึงไม่ใช่ปัญหาน่าหนักใจสำหรับผู้ปกครองอียิปต์
(2) แม่น้ำไนล์เปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง แม่น้ำไนล์เปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง และระบบประสาทในการรวมดินแดนเป็นรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำที่เรือแพล่องไปมาได้สะดวก โดยอาศัยการควบคุมการเดินเรือในแม่น้ำไนล์ ผู้ปกครองก็สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชน และการถ่ายเทของสินค้าได้โดยอัตโนมัติ และอาศัยแม่น้ำไนล์เป็นเส้นทางคมนาคม สำหรับการเดินเรือไปเก็บภาษีอากรจากประชาชนตลอดจนเป็นเส้นทางเดินทัพ นอกจากนี้การที่เขตอุดมสมบูรณ์จำกัดอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์เป็นแนวยาวตามสองฟากฝั่งทำให้ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณนี้ก็ยังเอื้อให้การปกครองประชาชนเป็นไปโดยง่าย
ความอุดมสมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอที่อียิปต์ได้รับจากแม่น้ำไนล์ ด้วยเหตุนี้นักภูมิศาสตร์ จึงเรียกอียิปต์ว่า ดอกผลแห่งแม่น้ำไนล์ (Gift of the Nile) ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นปราการป้องกันศัตรูจากภายนอกทำให้ชาวอียิปต์โบราณมีความรู้สึกที่มั่นคงปลอดภัย มองไม่เห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงชีวิตดำเนินไปเหมือนกันหมด พลังผักดันจากภายนอกที่จะให้มีความปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงมีอยู่น้อยมาก ด้วยเหตุนี้อารยธรรมอียิปต์จึงเจริญติดต่อกันมาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงระยะเวลาอันยาวนาน
เครดิต :: supernatural
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็น