ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องราวตำนานอียิปต์โบราณ

    ลำดับตอนที่ #16 : ปฏิทินแห่งแรกของโลกจากชาวอียิปต์โบราณ

    • อัปเดตล่าสุด 29 มิ.ย. 53



    รู้กันไหมว่า ปฏิทินแห่งแรกของโลก เกิดตอนไหน

           ชาวไอยคุปต์เป็นเผ่าพันธ์ทีช่างสังเกต อันนำมาซึ่งความคิด ขยายผลไปสู่การค้นคว้า และลงท้ายด้วยชิ้นงานที่เป็นรูปธรรม แล้วยังต่อเนื่องสู่วิวัฒนาการแห่งอารยธรรมต่อมวลมนุษย์โลกอีกหลายท้องที่ด้วยกัน อย่างนี้ใช่ไหมที่เขาเรียกว่า “วิทยาศาสตร์” ?

           แต่ก่อนนี้ เข้าใจกันว่า กรีซเป็นชาติแรกที่คิดค้นเรื่องของ “ปฏิทิน” ได้ ต่อเมื่อได้พบภาพแกะปฏิทินสลักบนผนังแห่งวิหารแห่งเมืองคาร์นัค จึงได้ทราบว่า แท้ที่จริงแล้วผู้ที่คิดค้นได้คนแรกคือ บรรพชนม์ชาวอียิปต์แต่โบราณกาลนั่นเอง เมื่อประดิษฐ์ตัวอักษร ประดิษฐ์แผ่นกระดาษสำหรับเขียน มีสีหมึกและมีปากกาแล้ว การบันทึกความจำได้บนแผ่นกระดาษจึงเกิดขึ้นในเวลาต่อมา และแพร่หลายไปทั่วทุกทวีป

           แรกเริ่มเดิมทีนั้น ชาวอียิปต์โบราณนับวัน เดือน ปี เช่นเดียวกับชาติโบราณอื่น ๆ คือ นับทาง “จันทรคติ” โดยกำหนดเอาข้างขึ้นคือคืนที่พระจันทร์ส่งแสงเต็มดวงคืนแรก ไปบรรจบกับคืนที่พระจันทร์ส่องแสงเต็มดวงในคราวต่อไป ซึ่งก็ถือว่าเป็น “หนึ่งเดือน” หรือ “หนึ่งรอบ” เพื่อใช้ในสัญญาที่ชาวนายืมข้าวมากิน เช่น ขอยืมข้าวมาเป็นเวลา 9 เดือน เมื่อพระจันทร์ส่งแสงเต็มดวงแล้ว 8 ครั้ง ก็หมายความว่ามีเวลาเพียงพระจันทร์เต็มดวงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็คือ 1 เดือน ก็จะต้องนำข้าวที่ยืมมานั้นไปคืนเจ้าของ แต่จากการที่นับเดือนทางจันทรคตินี้ ในเดือนหนึ่ง ๆ ที่จะถึงพระจันทร์เต็มดวงนี้มีไม่เท่ากัน บางเดือนก็มี 29 วันบ้าง 30 วันบ้าง ไม่แน่นอน ทำให้จำนวนวันในปีหนึ่ง ๆ ไม่เท่าเทียมกัน

           ชาวอียิปต์โบราณก็คงปวดหัวและงง ๆ อยู่กับปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นนี้ คงคิดอยากจะแก้ไขธรรมชาติอยู่หรอก และก็คงจะมีการทดลองและพิสูจน์ออกมาแล้วว่าเป็นไปได้

           ก็อย่างว่านั่นแหละ คนที่มีความช่างคิดช่างค้นอย่างชาวอียิปต์โบราณเช่นนี้ มีหรือจะปล่อยให้ความไม่เท่าเทียมนี้เกิดขึ้นต่อไป เขาจึงได้จัดทำปฏิทินขึ้นมาใหม่เสีย โดยเริ่มจากหลักการที่ว่า

    “ให้ 1 ปีมี 12 เดือน”

    “ให้ 1 เดือนมี 30 วันเท่ากันหมด”

    “ให้ 1 ปีมี 360 วัน”

    “ครบ 1 ปีแล้วก็ให้เพิ่มอีก 5 วัน รวมเป็น 365 วัน”

    อยู่ ๆ ชาวมนุษย์โบราณจะมาเพิ่ม 5 วันเอาเสียดื้อ ๆ ได้อย่างไรกัน ? เรื่องนี้มีที่มา

           ชีวิตของคนโบราณต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ ทั้งที่รับจ้างแรงงานให้กับตัวเองเพื่อปากท้องของตัวเอง หรือที่รับจ้างทำงานให้กับคนอื่น แต่เพื่อเลี้ยงปากท้องของตัวเอง หรือปากท้องของผู้มีอำนาจเหนือตนก็ตาม แบบไม่ได้หยุดได้หย่อนเอาเสียเลย หากเราจะให้เห็นภาพชัดเจนก็ลองดูพวกสิงห์สาราสัตว์ทั้งหลาย ที่เมือตอนพระอาทิตย์รุ่งสว่างแล้วต่างก็ลุกออกจากถ้ำไปหาอาหาร และจะกลับมาสู่รวงรังก็เมื่อตอนพระอาทิตย์จะอับแสง มนุษย์ดึกดำบรรพ์ของพวกเราก็คงเช่นเดียวกัน คงดำรงชีวิตไม่แตกต่างกันกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เท่าใดนัก แต่กษัตริย์อียิปต์โบราณให้ค่าของคนที่เหนือกว่าสรรพสิ่งทั้งหลาย จะไม่ให้เหนือกว่าอย่างไรได้ ในเมื่อสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่า “คน” นี้ สามารถทำทุกส่งทุกอย่างตามที่องค์กษัตริย์จะบัญชามา พวกเขาถือว่า “บัญชาจากกษัตริย์คือบัญชาจากพระเจ้า” ไม่ว่าจะเป็นการหาข้าวปลาอาหาร การล่าหาสมบัติ การรุกรานชนเผ่าต่าง ๆ และการป้องกันไม่ให้เผ่าต่าง ๆ เข้ามารุกรานเผ่าตน เป็นต้น ก็ล้วนทำเพื่อองค์กษัตริย์เท่านั้น อย่างนี้ต้องเห็นใจกันมากหน่อย พระองค์จึงกำหนดให้ 5 วันสุดท้ายของปีนั้น เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีของประชาชน ให้ทุกคนได้เฉลิมฉลองและสนุกสนานหลังจากที่ทำงานมาเหนื่อยทั้งปี แล้วจะได้เริ่มต้นปีใหม่ทำงานตัวเป็นเกลียวเพื่อองค์กษัตริย์อีกต่อไป

           ฟังแล้วก็ให้คิดถึงวันหยุดประจำปีของคนไทยเรา ที่กระทรวงแรงงานได้กำหนดไว้ว่าใน 1 ปี ให้บริษัทจัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้พนักงานได้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 วันทำการ รู้แต่ว่าแนวคิดเช่นนี้มาจากประเทศอุตสาหกรรมในยุโรป แต่ไม่รู้ว่าต้นตอมาจากไหน ก็เพิ่งมาคิดได้ตอนนี้เองว่า ชาวอียิปต์มีระบบการบริหารบุคคลมาแล้วถึง 5,000 – 6,000 ปี

           นักโบราณศึกษาจึงยกย่องให้ชาวอียิปต์โบราณคือผู้ที่คิดค้น “ปฏิทินของโลก” นับถึง พ.ศ. 2547 นี้ก็ตก6,255 ปีพอดีที่โลกได้นำเอาปฏิทินของชาวอียิปต์มาใช้เป็นของชาวโลก และในกาลต่อมาเมื่อชาวยุโรปรุ่นหลัง ๆ ได้รู้จักวิชาดาราศาสตร์มากขึ้น จึงได้พัฒนาและดัดแปลงจำนวนวันในแต่ละเดือนให้มี 30 วันบ้าง 31 วันบ้าง และเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันบ้าง 29 วันบ้างตามเหตุผลทางอธิกมาส เช่นที่พวกเราคุ้นเคยในทุกวันนี้

           การจดวันเดือนปีตามปฏิทินที่คิดขึ้นมานั้น นาน ๆ เข้าก็ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่า เป็นปีที่เท่าไหร่ และล่วงมาแล้วกี่ปี ทำให้เอกสารสัญญาต่าง ๆ มากขึ้นทุกที จนไม่สามารถอ้างอิงได้ ชาวอียิปต์จึงมีวิธีเรียงแะลเรียกปีตามลำดับของเหตุการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น เช่น ปีน้ำมาก ปีน้ำน้อย ปีไฟไหม้ใหญ่ หรือปีที่มีโรคอหิวาต์ระบาดเป็นต้น มาเป็นชื่อของปี เป็นต้น และสิ่งเหล่านี้ก็กลายมาเป็น “พงศาวดารโลก” ในเวลาต่อมาเลยทีเดียว หลักฐานบัญชีรายชื่อปีอย่างเก่าแก่ที่สุดยังมีเหลือมาอยู่จนกระทั่งปัจจุบันนี้ที่เรียกว่า “แผ่นหิน – ปาเลอร์โม (Palermo)” ในเกาะซิซิลี ประเทศอิตาลี ซึ่งชาวโรมันโบราณได้ขนไปในยุคที่ตัวเอง เรืองอำนาจ

           อย่างไรก็ตาม การวิวัฒนาการของมนุษย์โลกไม่มีการหยุดยั้ง เช่นเดียวกับวิวัฒนาการของธรรมชาติรูปแบบอื่นทั่วไป ปฏิทินของชาวอียิปต์โบราณก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาจน เป็นพุทธศักราช หรือคริสต์ศักราช เช่นที่เรายังคงใช้กันอยู่ตราบทุกวันนี้

    เครดิต :: skn

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    อ่านแล้วก็อย่าลืม Comment ให้กันบ้างนะค่ะ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×