ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ อาชญกรรม/ฆาตกรรม

    ลำดับตอนที่ #4 : การข่มขืน (3)

    • อัปเดตล่าสุด 12 ต.ค. 53



    สถานที่

    ขัดแย้งกับความเชื่อของคนโดยทั่วไป การข่มขืนภายนอกบ้านน่าจะมากที่สุด แท้จริงแล้วเป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้น มากกว่า 2 ใน 3 ของการข่มขืนทั้งหมด เกิดที่ บ้าน ของใคร คนใดคนหนึ่ง,
    30.9 % เกิดในบ้านของผู้กระทำการ,
    26.6 % เกิดในบ้านของเหยื่อ,
    10.1 % เกิดในบ้านที่เช่าร่วมกันของเหยื่อและผู้กระทำความผิด ,
    7.2 % เกิดในงานปาร์ตี้,
    7.2 % เกิดในยานพาหนะ,
    3.6 % เกิดนอกบ้าน
    และ
    2.2 % เกิดในบาร์

    สถิติของการข่มขืน

    สหประชาชาติได้รับความยินยอมจากรัฐบาลจากหลักฐานที่แสดงว่า มากกว่า 250,000 คดีข่มขืน หรือพยายามข่มขืนทุกปี ได้ถูกบันทึกไว้โดยตำรวจ ข้อมูลนี้ครอบคลุมถึง 65 ประเทศ

    สืบเนื่องมาจากเอกสารทางความยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรมในสหรัฐอเมริกา การทำให้เป็นเหยื่ออาชญากรรมในสหรัฐอเมริกา” , มีเหยื่อ 191,670 คนจากการข่มขืนและการขู่บังคับในปี 2005 เพียง 16% เท่านั้นของทั้งสองอย่างนี้ ที่ถูกรายงานถึงตำรวจ (การข่มขืนในอเมริกา: รายงานต่อประชาชาติ. 1992 Rape in America: A Report to the Nation. 1992)

    1 ใน 6 ของผู้หญิงอเมริกันมีประสบการณ์ของการถูกพยายามข่มขืนหรือถูกทำจนสำเร็จ บางประเภทของการข่มขืนถูกแยกออกไปจากการรายงานอย่างเป็นทางการ (คำจำกัดความของ FBI ตัวอย่างเช่น ไม่รวมการข่มขืนทุกประเภท ยกเว้นการข่มขืนแบบใช้กำลังบังคับเพศหญิงเท่านั้น) เพราะจำนวนตัวเลขหลักๆ ของการข่มขืนไม่ได้ถูกรายงาน ถึงแม้เขาจะรวบรวมในสิ่งที่รายงานได้ไปแล้ว และเพราะจำนวนตัวเลขต่างๆเหล่านั้นที่รายงานเข้ามาถึงตำรวจ ไม่ดำเนินการต่อในการฟ้องร้องด้วย

    การข่มขืนโดยผู้หญิงเป็นปรากฏการณ์ที่ยากจะเข้าใจ นั่นคือเป็นที่โจษขานว่าไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และถ้ามี ก็จะเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความตกใจ, ช็อค, หรือความสับสนอย่างมาก ในสหรัฐอเมริกาสืบเนื่องจาก การวิจัยเหยื่ออาชญากรรมแห่งชาติ การปรับเปลี่ยนอัตราการการเป็นเหยื่อหรือการข่มขืน ต่อประชากร 1 ได้ลดลงจากประมาณ 2.4 % ต่อประชาชน 1,000 คน (อายุ 12 ขึ้นไป) ในปี 1980 ประมาณ 0.4 ต่อ 1,000 คน ซึ่งลดลงถึง 85% แต่การสำรวจของรัฐบาลอื่นๆ เช่น การตกเป็นเหยื่อทางเพศของวิทยาลัยสตรีศึกษา วิจารณ์การวิจัยเหยื่ออาชญากรรมแห่งชาติ บนพื้นฐานที่ว่ามันรวบรวมแค่การกระทำที่จามความเข้าใจของเหยื่อว่าเป็นอาชญากรรมเท่านั้น และรายงานอัตราการตกเป็นเหยื่อที่สูงขึ้น

    ขณะที่นักวิจัยและทนายความไม่เห็นด้วยกับเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอนของการกล่าวหา พวกเขาเห็นด้วยว่า น่าจะประมาณ 2 – 8 % ความเชื่อที่ว่ามีการกล่าวหาที่ผิดเป็นปัญหาธรรมดา เป็นเรื่องไม่เข้าท่า ด้วยเรื่องความเชื่อนี้ได้บั่นทอนกำลังใจของผู้ถูกข่มขืนไม่ให้ฟ้องร้อง เพราะกลัวว่าตัวเองจะต้องตกเป็นผู้ต้องหาเสียเอง สืบเนื่องจากรายงานของกระทรวงป้องกันผู้ต้องสงสัยทั่วไป ที่ออกมาในปี 2005 ประมาณว่า 73% ของผู้หญิงและ 72% ของผู้ชายในการศึกษาด้านทหาร เชื่อว่าการกล่าวหาที่ผิดจากการข่มขู่ทางเพศเป็นเป็นปัญหาใหญ่

    จากปี 2000 -2005 , 95% ของการข่มขืนไม่ถูกรายงานภายใต้ระบบกฎหมาย ปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจผิดอันนี้คือ การข่มขืนส่วนใหญ่กระทำโดยคนที่ไม่รู้จัก ในความเป็นจริง จากแผนกสถิติเพื่อความยุติธรรม กล่าวว่า 38% ของเหยื่อ ถูกข่มขืนโดยเพื่อนหรือคนรู้จัก ,28% ถูกข่มขืนโดย เพื่อนสนิท” , 7% โดยคนที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อื่นๆ, และ 26% ถูกข่มขืนโดยคนแปลกหน้า เกือบ 4 ใน 10 ของการขู่บังคับทางเพศ เกิดที่บ้านของเหยื่อเอง

    มากกว่า 67,000 คดี ที่เกิดขึ้นกับเด็ก ถูกรายงานในปี 2000, ในแอฟริกาใต้ กลุ่มสวัสดิการเด็ก เชื่อว่าจำนวนตัวเลขที่ไม่ได้ถูกรายงานเข้ามาน่าจะมากกว่าจำนวนตัวเลขที่มี 10 เท่า ความเชื่อที่เป็นสากลของแอฟริกาใต้คือ การมีเพศสัมพันธ์กับสาวพรหมจารีจะช่วยรักษาผู้ชายจาก HIV หรือโรคเอดส์ได้ แอฟริกาใต้มีจำนวนประชากรติดเชื้อ HIV สูงที่สุดในโลก สืบเนื่องจากตัวเลขของทางการ 1 ใน 8 ของชาวแอฟริกามีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว Edith Kriel, นักสังคมสงเคราะห์ ที่ช่วยผู้ถูกกระทำเด็ก ในแหลมตะวันออก กล่าวว่า การกระทำทารุณกรรมเด็กทางเพศมักจะทำโดยญาติของเด็กเอง อาจเป็นพ่อหรือคนที่หาเลี้ยงครอบครัว

    สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัย Durban-Westville แผนกมานุษยวิทยาและนักวิจัย ชื่อ Suzanne Leclerc-Madlana, "ตำนานการมีเพศสัมพันธ์กับพรหมจารี เพื่อรักษาเอดส์ไม่ได้มีแค่ในแอฟริกาใต้เท่านั้น" กลุ่มนักติดตามผู้วิจัยเรื่องเอดส์ในแซมเบีย, ซิมบับเว และไนจีเรีย กล่าวว่า ความเชื่อนี้มีอยู่ในประเทศเหล่านี้ มันจึงถูกโทษว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้อัตราการใช้เด็กในทางที่ผิดทางเพศสูง โดยเฉพาะต่อเด็กเล็กๆ


    ผลกระทบของการข่มขืน

    หลังถูกข่มขืนเป็นเรื่องปกติสำหรับเหยื่อที่จะประสบกับความเครียด และบางครั้งก็คาดเดาไม่ได้ ความรู้สึกอ่อนไหวมาก และพวกเขาอาจจะพบว่ายากที่จะจัดการกับความทรงจำของพวกเขาต่อเหตุการณ์ ผู้ถูกกระทำอาจรู้สึกบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการขู่บังคับและอาจพบความยากลำบากในการดำเนินชีวิตปกติ ไม่มีสมาธิ รูปแบบการนอนและการรับประทานเปลี่ยนไป เช่น อาจรู้สึกดีในการอยู่ที่ขอบตึก ในหลายเดือนต่อมาหลังเกิดเหตุการณ์ ปัญหาเหล่านี้จะรุนแรงขึ้น เศร้าสลดมากขึ้น และอาจทำให้ผู้ประสบเหตุการณ์ไม่บอกเล่าเหตุการณ์เหล่านี้กับเพื่อนหรือคนในครอบครัว ไม่ไปแจ้งความกับตำรวจหรือมองหาการให้คำปรึกษา นี่อาจมีผลต่ออาการเครียดอย่างรุนแรงและควบคุมไม่ได้ (Acute Stress Disorder) ซึ่งมีอาการดังนี้

    1.รู้สึกชา และถูกตัดขาด เหมือนอยู่ในภวังค์หรือความฝัน หรือรู้สึกว่าโลกนี้เปลี่ยนไปและไม่เป็นความจริง

    2.ยากที่จะจำเหตุการณ์ส่วนสำคัญของการขู่บังคับได้

    3.ผ่อนบรรเทาความรู้สึกแย่ๆได้โดยการคิดซ้ำแล้วซ้ำอีกในความทรงจำอันนั้น

    4.หลีกเลี่ยงสิ่งของ สถานที่ ความคิด ความรู้สึก ที่จะเตือนถึงการขู่บังคับวันนั้น

    5.เครียดกังวลเพิ่มสูงขึ้น หรือถูกรุกเร้าได้ง่าย (นอนหลับยาก ควบคุมสมาธิยาก ฯลฯ)

    6.หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตในสังคม หรือสถานที่เกิดเหตุ

    มันสามารถทำให้เกิด ความผิดปกติของความเครียดของบาดแผลย้อนหลัง (Post-Traumatic Stress Disorder หรือ PTSD) อย่างไรก็ดีขณะที่ผลกระทบของฝันร้ายอาจจะแย่มาก และอาจส่งผลกระทบต่อผู้รอดมาได้ในการใช้กำหนดชีวิต มันยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจำว่าการตอบสนองของผู้รอดชีวิตเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลและแตกต่างกันไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละคน

    ในปี 1972 แอน วอล์เบิร์ท เบอร์เก็สส์ และลินดา ลีทเทิ่ล โฮลสตอร์ม ได้ทำการศึกษาของผลการตอบสนองต่อการข่มขืน พวกเขาสัมภาษณ์เหยื่อที่ได้ให้คำปรึกษาแล้วจากห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลเมืองบอสตันและพบว่ามีรูปแบบของปฏิกิริยาตอบสนองที่เขาเรียกว่า อาการบาดเจ็บของการข่มขืน พวกเขาอธิบายว่า มี 2 องค์ประกอบที่สำคัญคือระยะล่อแหลม (Acute) และระยะปรับตัวใหม่ (Reorganization)

    ระหว่างระยะล่อแหลมผู้รอดชีวิตจะพบกับความช็อกและไม่เชื่อ รู้สึกตัวแข็ง หรืออาจจะพยายามงดติดต่อกับผู้อื่น และมองว่าตัวพวกเขาเอง คือ พวกคนที่ถูกข่มขืนเขาจะรู้สึกอับอาย สับสน สกปรก สำนึกผิด กับการขู่เข็ญที่ได้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ข่มขืนเป็นคนรู้จัก ความฝันที่เลวร้ายนี้ ทำให้ความวิตกกังวลถึงขีดสุด บ่อยครั้งมีภาพหวนซ้ำๆและความพยายามอย่างแข็งแกร่งที่จะหยุดติดต่อกับอารมณ์ของตัวเอง เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้น และนั่นคือ การปฏิเสธพยายามที่จะทำให้ตนเองเชื่อว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นความจริง ถ้าการข่มขืนเป็นไปโดยคนรู้จัก เหยื่ออาจจะพยายามปกป้องผู้กระทำการ

    เหยื่ออาจจะตอบสนองการข่มขืนในทางที่แสดงออกหรือในทางควบคุม ในทางที่แสดงออกจะปรากฏภายนอกอย่างชัดเจน เช่น ร้องไห้, สั่น, โกรธ, ความเครียด, การประชดประชัน, การหัวเราะอิหลักอิเหลื่อ, ความไม่ผ่อนคลาย ในแบบควบคุม จะปรากฏคือเหยื่อเงียบ ขรึม และพยายามไล่เลียงเหตุการณ์อย่างเป็นระบบ แม้เมื่อเผชิญหน้ากับความสับสนภายในตัวที่รุนแรง ไม่มีการกำหนดว่าต้องเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่เกิดกับเหยื่อ ทุกๆคน จะต้องเผชิญกับอารมณ์ที่โศกสับสนสุดขีด แตกต่างกันไป

    หลังระยะล่อแหลม ระยะปรับตัวใหม่จะเกิดขึ้น และผู้รอดชีวิตพยายามที่จะสร้างโลกใบใหม่ที่ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยรู้จัก ระยะนี้จะอยู่ไปเป็นเดือนๆหรือเป็นปีๆหลังการขู่บังคับ และแม้ว่า

    เขาจะมีความพยายามอย่างมากที่สุดในระยะนี้มันก็จะผ่านไปด้วยความรู้สึกของผิด ละอาย กลัว และเครียดกังวล อารมณ์ต่างๆ อย่างเช่น โกรธ วิตกกังวล การหักล้างกัน และ การสูญเสีย (ความมั่นคง) จะปรากฏขึ้น การพัฒนาการในการไร้ความสามารถที่จะ เชื่อ มักจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดตามมาหลังการข่มขืน ความสูญเสียนี้ ในความต้องการขั้นพื้นฐาน สามารถที่จะทำลายชีวิตของผู้ถูกข่มขืนให้พังราบเลยทีเดียว ทำให้พวกเขารู้สึกไร้กำลัง และไม่สามารถควบคุมร่างกายมนุษย์ของตนได้ เขาอาจจะรู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งสามารถทำให้ความเครียดวิตกกังวลสูงขึ้นเช่นเดียวกับความยากลำบากในการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด เหยื่ออาจจะพยายามที่จะกลับไปสู่การตอบสนองที่ธรรมดาตามรูปแบบสังคม (เช่น มีการหมั้นหมาย) แต่ก็จะพบว่า ตัวของเขาเองไม่สามารถทำได้ และความพยายามที่จะ
    ปั้นตัวเขาขึ้นใหม่ในความสัมพันธ์อาจต้องถูกยกเลิกไปเพราะการขาดความเชื่อมั่น

    ผู้รอดชีวิตมักจะแยกตัวอยู่ตามลำพังจากกลุ่มคนที่สนับสนุนเขา อาจเป็นทางร่างกายหรือทางอารมณ์ความรู้สึก ผู้รอดชีวิตอาจจะรู้สึกแปลกแยกจากเพื่อนเนื่องจากมุมมองที่เกี่ยวเนื่องกับประสบการณ์ส่วนตัว การกระจัดกระจายไปของความเชื่อ ทำให้มีผลต่อความสัมพันธ์เชิงลึก เพราะผู้รอดชีวิตมักจะมีความสงสัยที่เพิ่มขึ้นต่อแรงจูงใจและความรู้สึกของผู้อื่น

    อีกขอบข่ายหนึ่งของการค้นคว้า อ้างถึง การเป็นเหยื่อครั้งที่สองนั่นคือการที่ตำรวจและแพทย์ สอบสวนและปฏิบัติกับเขาอย่างทำลายจิตใจ และมีข้อสงสัย
    การข่มขู่ทางเพศสามารถมีผลกระทบต่อคนๆ นั้นตลอดไป เปลี่ยนเขาให้เป็นคนที่อยู่ในระยะยุ่งเหยิงตลอดเวลา ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดผลลัพธ์ออกมาอาจเป็นการฆ่าตัวตาย

    การฟ้องผิดของตัวเหยื่อเอง

    การฟ้องผิดของตัวเหยื่อเองเป็นสิ่งที่ยึดเหยื่อไว้กับอาชญากรรม อาจจะหมายถึงว่าทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกิดขึ้น เหยื่อต้องรับผิดชอบ ในบริบทของการข่มขืน ความคิดนี้อ้างถึงทฤษฎี โลกที่ยุติธรรม” (Just World Theory) และเป็นความคิดที่นิยมมากว่าพฤติกรรมของเหยื่อคนนั้น (เช่นชอบหว่านเสน่ห์, หรือใส่เสื้อผ้าที่เปิดเผย) อาจทำให้เกิดการข่มขืนขึ้น ในกรณีที่มากที่สุด เหยื่ออาจบอกว่า เรียกร้องมากเหลือเกินเพียงแค่ไม่ได้ประพฤติตัวเรียบร้อยเป็นผ้าพับไว้เท่านั้น

    ในประเทศแถบตะวันตก การป้องกัน
    การเปิดเผยไม่ถูกยอมรับว่าจะทำให้การข่มขืนผ่อนคลายลง การสำรวจทั่วโลกพบว่าทัศนคติที่มีต่อความรุนแรงทางเพศที่มีในคุยกันรอบโลกเพื่อการวิจัยด้านสุขภาพ (Global Forum for Health Research) แสดงว่าทฤษฎีเรื่องการโทษตัวเองของเหยื่ออย่างน้อยก็ได้รับการยอมรับในประเทศต่างๆ มากมาย ในบางประเทศ การที่เหยื่อโทษตัวเองยิ่งเป็นสิ่งธรรมดากว่า และผู้หญิงที่ถูกข่มขืนก็จะถูกลงความเห็นว่าประพฤติตัวไม่เหมาะสม บ่อยครั้งที่หลายประเทศมีการรณรงค์ทางการเมืองและสร้างสื่อโฆษณาเพื่อกำจัดเรื่องราวของการข่มขืน (ทัศนคติและความเชื่อยุยงที่ก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงทางเพศ) การยืนกรานอย่างแข็งขัน แต่หลายๆ ความคิดเห็นก็ยังคงโต้แย้งว่าต้องมีผู้หญิงบางคน ที่ชอบกามวิปริตและการหลอกลวง

    การกล่าวโทษตัวเอง

    มีการกล่าวโทษตัวเอง 2 ประเภท คือ การกล่าวโทษตัวเองแบบไม่สมควรต่อบุคลิก และกล่าวโทษตัวเองแบบไม่สมควรต่อการกระทำ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า บุคลิกทางจิตวิทยาที่โทษตัวเอง และ พฤติกรรมการโทษตัวเอง

    พฤติกรรมการโทษตัวเอง

    พฤติกรรมการโทษตัวเองอ้างถึง การที่เหยื่อรู้สึกว่าน่าสมควรกระทำอะไรบางอย่างที่แตกต่างออกไป (ดังนั้น จึงรู้สึกว่าตัวเองผิด) การโทษตัวเองชนิดนี้เป็นวิธีสำหรับเหยื่อที่จะคงความรู้สึกอยู่ในการควบคุม ถ้าหากเหยื่อสามารถตั้งเป้าหมายอย่างเจาะจง (บางทีก็เดาสุ่ม) นิสัยที่เขาอาจจะสร้างภาพได้ว่าเป็นต้นเหตุ เขาก็จะไม่สูญเสียการควบคุมตัวเองต่อสถานการณ์นั้นๆไป และป้องกันการตกเป็นเหยื่อในอนาคต ถ้าหากมันเป็นความผิดพลาดของพวกเขาเอง โลกก็จะไม่เคยออกไปนอกการควบคุมของเขาเลย

    บุคลิกทางจิตวิทยาที่โทษตัวเอง

    บุคลิกทางจิตวิทยาที่โทษตัวเองใช้เมื่อเหยื่อรู้สึกว่ามันมีอะไรบางอย่างที่ตกทอดมาถึงพวกเขาอย่างผิดๆ (ทำให้พวกเขาสมควรถูกขู่บังคับ) การกล่าวโทษประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อเหยื่อไม่สามรถคิดได้อีกแล้วว่าเขาทำอะไรผิดจนทำให้เกิดการขู่เข็ญครั้งนี้ขึ้น เขาเปลี่ยนห้วเลี้ยวความคิดมาเป็น วิญญาณของพวกเขาเอง หรือการเป็นตัวของตัวเอง ประเภทนี้จะร่วมไปกับผลกระทบในแง่ลบทางด้านจิตวิทยา

    คำจำกัดความของการโทษตัวเอง

    การโทษตัวเองเป็นทักษะที่เกี่ยวเนื่องกับการหลีกเลี่ยงในการเยียวยารักษา ความคิดประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการกล่าวโทษตัวเองของเหยื่ออย่างไม่ถูกต้องในกระบวนการเหตุผล (รู้จักในฐานะ การคิดที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง หรือ counterfactual thinking) ซึ่งสามารถที่จะรักษาได้โดยเทคนิคการบำบัดรักษาที่รู้จักกันในนาม การสร้างใหม่ด้วยเหตุผล (cognitive restructuring) ปัญหาหลักที่เหยื่อคือความรู้สึกว่ากระทำความผิด (เป็นตราบาปให้ตัวเอง) ก่อให้เกิดเกิดปัญหาทางจิตวิทยามากขึ้น มากกว่าการกระทำ มันง่ายที่จะเปลี่ยนการกระทำมากกว่าเปลี่ยนความเป็นตัวบุคคล ความรู้สึกผิดทำให้เกิดการหาทางออกและความละอายทำให้เกิดการเหวี่ยงทิ้ง (pulling away) หรือต้องการอยากหายตัวไปจากโลก การกระทำดังกล่าวจะปิดกั้นเหยื่อจากความช่วยเหลือที่จะเข้ามาและการดำเนินคดีกับผู้ข่มขืน ความรู้สึกว่าเราสามารถควบคุมได้ในขณะปฏิบัติการ (ข่มขืน) (ควบคุมในอดีตหรือการกล่าวโทษตัวเอง) จะมาพร้อมไปกับความรู้สึกมีความเศร้าโศกเสียใจมากขึ้น ในขณะที่การเชื่อว่าคุณสามรถจะควบคุมได้ดีที่สุดในตอนนี้ (การควบคุมในปัจจุบัน หรือควบคุมในกระบวนการรักษา) จะเกี่ยวข้องไปกับการเศร้าเสียใจที่น้อยลง การถอนตัวที่น้อยลงและมีกระบวนการสร้างใหม่ที่มากขึ้น

    ผลกระทบที่ทำลายจากการโทษตัวเอง

    นักวิจัยที่โดดเด่นคนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องความรู้สึกฟ้องผิด แทงนีย์ ได้รวบรวม 5 ประการของความรู้สึกฟ้องผิดที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งคือ การขาดแรงจูงใจในการเข้ารับบำบัดรักษา, การขาดอารมณ์ร่วมตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ, การแยกตัวเองออกจากคนอื่นๆ, ความโกรธ และ การก้าวร้าว แทงนีย์ บอกว่าการกล่าวโทษเป็นตัวการที่สำคัญของความโกรธ ในชีวิตปัจจุบัน เมื่อคนรู้สึกละอายและโกรธ เขาก็จะกลับไปหาบุคคลคนนั้น และทำการแก้แค้น

    นอกจากนี้ความรู้สึกละอายยังเชื่อมโยงกับปัญหาทางด้านจิตใจ เช่น การกินไม่เป็นระบบ, การใช้สารเสพย์ติด, ความเครียดวิตกกังวล, ความเศร้าสลดและความผิดปกติทางด้านจิตใจในแบบต่างๆ เช่นเดียวกับการประพฤติผิดในทางพฤติกรรม ในการศึกษาครั้งหนึ่งในรอบหลายปีที่ผ่านมาพบว่าเด็กที่มีแนวโน้มฟ้องผิดมีแนวโน้มที่จะใช้สารเสพย์ติด มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร มีกิจกรรมทางเพศโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย และเกี่ยวข้องกับระบบพิจารณาคดีของศาล

    การเยียวยารักษา

    การตอบสนองทางคำปรึกษาพบว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์ในเยียวยาคือ ลดการฟ้องผิดในตัวเองลง, การให้ความรู้ความเข้าใจในทางจิตวิทยา (เรียนรู้เกี่ยวกับอาการทรมานจากการถูกข่มขืน) และสิ่งที่อธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของการฟ้องผิด การสำหรับการโทษตัวเองคือการสร้างใหม่ด้วยเหตุผล (cognitive restructuring) หรือ การเยียวยาจากพฤติกรรมเชิงเหตุผล ( cognitive-behavioral therapy) การสร้างใหม่ด้วยเหตุผลคือกระบวนการของการนำเอาความจริงมาสร้างข้อสรุปที่สมเหตุสมผลจากพวกเขา ซึ่งข้อสรุปนั้นที่ได้รับอิทธิพลน้อยที่สุดจากความละอายและความรู้สึกผิดของตัวเขาเอง

    มุมมองทางสังคมชีววิทยา

    บางคนโต้แย้งว่าการข่มขืน คือยุทธวิธีของการสืบเผ่าพันธุ์ ที่ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์หลายอย่างในอาณาจักรสัตว์ (เช่น เป็ด, ห่าน, และปลาโลมาบางชนิด) มันเป็นการยากที่จะกำหนดลงไปว่าอะไรทำให้เกิดการข่มขืนขึ้นมาระหว่างสัตว์ อย่างเช่น การขาดการแสดงออกถึงความยินยอม อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นท่ามกลางมนุษย์ สามารถดูได้อีกจาก Non-human animal sexuality.

    นักสังคมชีววิทยาบางคนโต้แย้งว่าความสามารถของเราที่จะเข้าใจการข่มขืน (และในการป้องกันมัน) เป็นเรื่องที่ครึ่งๆกลางๆอย่างรุนแรง เพราะจุดเริ่มต้นของมันในวิวัฒนาการมนุษย์ถูกเพิกเฉยเสีย บางการศึกษาชี้ให้เห็นว่าในทฤษฏีวิวัฒนาการนั้น สำหรับเพศชายที่ขาดความสามารถในการชักจูงผู้หญิงให้ร่วมหลับนอนด้วยโดยไม่ใช้ความรุนแรงได้ส่งผ่านต่อมาทางยีนส์พันธุกรรม

    นักวิจารณ์สังคมชาวอเมริกันชื่อ คามิลล์ ปาเจลีย และนักสังคมชีววิทยาบางคน ได้โต้เถียงว่าพลังการโทษตัวเองของเหยื่อ อาจจะไม่มีส่วนประกอบทางจิตวิทยาเลยในบางกรณี ตัวอย่างของแบบแผนทางสังคมชีววิทยาชี้ให้เห็นว่าพวกเขาอาจจะได้รับถ่ายทอดทางยีนส์ สำหรับผู้ชายหรือผู้หญิงที่ยอมตัวให้อ่อนแอลงจนทำให้มีการข่มขืนได้ และนี่อาจเป็นหน้าตาของชีววิทยาว่าด้วยเรื่องสมาชิกในสายพันธุ์

    การสูญเสียการควบคุมและความเป็นส่วนตัว

    การข่มขืนถูกนับว่าเป็น อาชญากรรมของความรุนแรงและการควบคุมตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา นักวรรณคดีวิเคราะห์ทางจิตวิทยาอธิบาย การควบคุมว่าเป็นกุญแจในคำจำกัดความว่า ความเป็นสิทธิ์ส่วนตัวเช่น

    1. ความเป็นสิทธิ์ส่วนตัวไม่ใช่การหายไปของผู้ใดผู้หนึ่งจากการปรากฏตัวของอีกผู้หนึ่ง แต่การควบคุมเหนือคนที่เราติดต่อสัมพันธ์ด้วยต่างหาก ที่มี (ทำให้มีการหายไปของผู้หนึ่งผู้ใด) อยู่ด้วย” (Pedersen, D. 1997)

    2. การควบคุมที่เลือกได้จะเข้าถึงต่อผู้หนึ่งผู้ใดได้” (Margulis, 2003 )การควบคุมจำเป็นต้องมีเพื่อที่จะรู้ว่า

    2.1 อะไรที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อ การกำหนดชีวิตจิตใจที่ปกติ

    2.2 การมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างมีเสถียรภาพ

    2.3 การพัฒนาการของบุคคล (Pedersen, D. 1997)

    ความรุนแรงต่อความเป็นบุคคล หรือการ ควบคุมมาในหลายๆรูปแบบ สำหรับการบังคับทางเพศส่งผลต่อความทุกข์ทรมานใจเป็นรูปแบบหนึ่งที่เห็นได้ชัดแจ้งที่สุด เหยื่อหลายคนของการถูกข่มขืน ทรมานจากการกินผิดปกติ เช่น อะนอเร็กเซีย (anorexia) และ/หรือ การล้วงคอให้อาเจียน (บูลิเมีย, bulimia) ซึ่งก็ยังคงอยู่ในประเด็นของการควบคุม ด้วยเหตุนี้จึงมีบางคนโต้แย้งว่ามันดูสมเหตุสมผลกว่าที่จะบอกประเด็นว่าการขู่บังคับทางเพศว่าเป็นการก้าวล่วงความเป็นส่วนตัว (Mclean, D. 1995)

    คนคนนั้นรู้สึกสบายใจขึ้นเมื่อพูดถึงประเด็นก้าวล้ำความเป็นส่วนตัว และในการเน้นย้ำถึงว่า เขาและเธอมีสิทธิ์ที่จะได้รับความเคารพ... เขาเหล่านั้นก็จะเข้าใจการข่มขืนมากขึ้น เข้าใกล้การข่มขืนด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นสิทธิ์ส่วนตัวจะช่วยพวกเขาให้ไกลจากเรื่องตราบาปในสังคม   ศาลสูงสุดของสหรัฐฯที่ดูแล Kansas v. Hendrick ที่มีผู้ต้องหาข่มขู่ทางเพศสามารถที่จะกระทำผิดได้อีกหลังได้รับการปล่อยตัวออกจากคุก


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×