ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ อาชญกรรม/ฆาตกรรม

    ลำดับตอนที่ #8 : การชันสูตรพลิกศพ (2)

    • อัปเดตล่าสุด 13 ต.ค. 53


    การตรวจสอบด้วยการพลิกศพ

    การชันสูตรพลิกศพคือการตรวจดูศพแต่เพียงภายนอก ซึ่งกฎหมายมีความมุ่งหมายให้ดำเนินการในสถานที่พบศพ ยกเว้นแต่ว่าการดูในสถานที่นั้นอาจจะทำให้การจราจรติดขัดมาก หรืออาจจะเป็นที่อุดจาด หรืออาจเป็นอันตรายต่อประชาชนทั่วไป ก็สามารถเคลื่อนย้ายไปทำยังสถานที่อื่นที่เหมาะสมได้ เห็นได้ว่าสภาพการจราจรในปัจจุบันทำให้อุบัติเหตุจราจรเกือบทุกรายต้องย้ายศพไปตรวจยังที่อื่นซึ่งก็มักจะเป็นสถานที่ผ่าศพนั่นเอง เมื่อแพทย์และพนักงานสอบสวนทำการชันสูตร ณ ที่พบศพ แพทย์และพนักงานสอบสวนต้องระวังไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อการตรวจหาพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุ

    ผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพ

    ตามพระราชบัญญัติการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ปี พ.ศ. 2542 กำหนดให้พนักงานสอบสวนภายในประเทศไทยคือเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ดำเนินการในการรับแจ้งเรื่องเมื่อมีผู้ตาย รวมทั้งเป็นผู้ดำเนินการติดต่อ ติดตามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งอาจจะเป็นแพทย์นิติเวชร่วมในการชันสูตรพลิกศพ หรือในบางครั้งอาจจะมีพนักงานอัยการและพนักงานฝายปกครองร่วมในการชันสูตรพลิกศพด้วยก็ได้ แล้วแต่กรณี

    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ระบุว่า "การชันสูตรพลิกศพ กรณีความตายผิดธรรมชาติ ให้เจ้าพนักงานสอบสวน แห่งท้องที่ที่พบศพนั้นอยู่กับสาธารณสุขจังหวัดหรือแพทย์ประจำสถานีอนามัย หรือแพทย์ประจำโรงพยาบาลเป็นผู้ชันสูตรพลิกศพ และให้ทำบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรนั้นไว้ ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ใช้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขประจำท้องที่หรือประจำตำบลให้เป็น หน้าที่ของ พนักงานสอบสวนแจ้งแก่ผู้มีหน้าที่ไปทำการชันสูตรพลิกศพทราบ" ดังนั้นผู้ทำการชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ได้แก่

    1.พนักงานสอบสวน                                             2.เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง

    3.แพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้แก่

    3.1แพทย์ประจำโรงพยาบาลของรัฐ

    3.2แพทย์ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

    3.3 แพทย์ประจำโรงพยาบาลเอกชน หรือแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์อาสาสมัครตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข

    แพทย์ที่ทำการชันสูตรพลิกศพ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมต้องมีใบชันสูตรบาดแผล ต้องแจ้งตำรวจตำรวจส่งใบชันสูตรมาให้ มีชื่อของผู้ป่วยระบุชื่อของสถานีตำรวจชัดเจน ได้รับอันตรายอย่างไรเกิดเหตุวันไหน มีการลงชื่อของสารวัตรผู้รับผิดชอบคดี ด้านหลังจะเป็นใบชันสูตรบาดแผลของโรงพยาบาลเอกชนหรือโรงพยาบาลไหนก็ได้ ที่มีแพทย์ทางนิติเวชดูแลอยู่ ถึงแม้ไม่มีแพทย์นิติเวชก็มีแพทย์ธรรมดาดูแลอยู่ สามารถเขียนรายงานใบชันสูตรให้แก่พนักงานสอบสวนได้

    แพทย์ทางนิติเวชจะมีประจำที่โรงพยาบาลศิริราชตลอด 24 ชั่วโมง สามารถไปถึงยังสถานที่ที่เกิดเหตุได้ตลอดเวลาเมื่อได้รับการแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในบางครั้งอาจมีแพทย์ฝึกหัดร่วมในการชันสูตรพลิกศพด้วย เพื่อให้มีความรู้ ความชำนาญ ใบชันสูตรเกี่ยวข้องกับแพทย์และเจ้าหน้าที่ตำรวจบ้านเรียกว่า Police System เป็นระบบตำรวจ แพทย์ทางนิติเวชในเมืองไทยมีประมาณ 50 คน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้แพทย์ทั่วๆไปในการร่วมชันสูตรพลิกศพด้วย หากแพทย์มีใบชันสูตรศพมาด้วย แพทย์ก็จะติดต่อพนักงานสอบสวนเพื่อทำงานและเขียนให้พนักงานสอบสวนเช่นสอบถามว่าหากมีการข่มขืนกระทำชำเรา ปรากฏอย่างนี้ยืนยันได้หรือไม่ว่า เป็นการร่วมประเวณีที่ชัดเจนหรือเป็นการที่พนักงานสอบสวนติดต่อแผนกชันสูตรศพ

    เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและแพทย์ทำการชันสูตรพลิกศพแล้ว ต้องเขียนรายงานการชันสูตรพลิกศพ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการระบุสาเหตุการตายเบื้องต้นของผู้ตาย โดยแพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพ ต้องมีหน้าที่ต้องส่งรายงานการชันสูตรพลิกศพให้พนักงานสอบสวนภายใน 7 วัน รวมทั้งสรุปข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ เช่น สาเหตุการตาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้ตายคือใคร ตาย ณ ที่ใด ตายเมื่อใด เป็นต้น และสามารถขอขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ๆ ละ ไม่เกิน 30 วัน สำหรับพนักงานสอบสวน มีหน้าที่ในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง มีหน้าที่ออกใบมรณะบัตรรับรองการตายให้แก่ญาติผู้ตาย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×