คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : การข่มขืน (1)
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<
การข่มขืน (rape) เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำร้าย ซึ่งคนหนึ่งได้ใช้กำลังบังคับอีกคนหนึ่งให้มีเพศสัมพันธ์ด้วย ซึ่งขัดกับความต้องการหรือตั้งใจของคนๆนั้น อาจจำกัดความได้ว่า ใช้กำลังทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมจำนนในกิจกรรมทางเพศใดๆก็ตาม และนับเป็นอาชญากรรมทางเพศอีกอย่างหนึ่งที่มีความร้ายแรงที่สุด ในบางครั้งก็ยากในการฟ้องร้องดำเนินคดี ความรุนแรงทางเพศอาจเป็นอาชญากรรมที่ใช้ต่อสู้กัน ภายใต้กฎหมายสากล อาจไม่มีความยินยอมของอีกผู้หนึ่ง เนื่องมาจากการทำให้เสียอิสรภาพ ที่ต้องการจะใช้ กำลังข่มขู่ ใช้รุนแรง หรืออาจเป็นเพราะความสามารถในการยินยอมได้ถูกทำให้เป็นโมฆะ หรือ ไร้ความสำคัญไป ในบางกรณี เช่น การยังไม่มีพัฒนาการตามวัยที่สมควร ความมึนเมา การยังไม่บรรลุนิติภาวะ และบางทีการถูกขู่ ก็ทำให้ความยินยอมเป็นโมฆะไป
ไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจนที่จะแยกระหว่างการข่มขืน และการจู่โจมทำลายที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะเพศของคนหนึ่งหรือทั้งสองคนที่อยู่ในเหตุการณ์ เมื่อคำว่า “ข่มขืน” ถูกใช้ ความเข้าใจทางอาชญากรรมจะเป็นการใช้กำลังบังคับให้ทำกิจกรรมทางเพศอย่างใดอย่างหนึ่งและให้ร่วมประเวณี ในขณะที่การกระทำของอีกคนหนึ่งเพียงแค่สอดใส่อวัยวะเพศชายเข้าไปในช่องคลอดของฝ่ายหญิงเท่านั้น ในไม่กี่ปีมานี้ ได้มีหญิงผู้กระทำผิดในฐานข่มขืนเพศชาย ครั้งนี้จึงได้มีการแบ่งแยก ระหว่างการข่มขืน หรือขู่บังคับทางเพศ และคำจำกัดความทางกฎหมายในด้านอื่นๆ ในขอบเขตศาลบางแห่ง การข่มขืนอาจหมายถึง การที่ผู้กระทำสอดใส่วัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง มากกว่าการที่ใช้แค่ร่างกายของตัวเอง เข้าไปในอวัยวะเพศของคนที่เป็นเป้าหมาย ในบางแห่ง อย่างเช่นรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ไม่ใช้คำว่า “ข่มขืน” ในกฎหมาย
แต่จะใช้คำว่า “การกระทำผิดอาชญากรรมทางเพศ” (Criminal Sexual Conduct) สำหรับการกระทำที่อาจใช้ทางคำพูดที่เกี่ยวโยงกับ “การข่มขืน” หรือ “การล่วงละเมิดทางเพศ”
การข่มขืนผู้หญิงโดยผู้ชาย เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากที่สุด ประมาณ 91% ของเหยื่อการข่มขืนเป็นผู้หญิง, 9% เป็นผู้ชาย โดย 99% ของผู้ปฏิบัติการเป็นผู้ชาย
การข่มขืน ในฐานะมูลเหตุของสงคราม ย้อนกลับไปในสมัยโบราณ ไกลเท่าที่กับมีพูดถึงในคัมภีร์ไบเบิ้ล ทหารชาวอิสราเอล กรีก เปอร์เซีย และโรมัน มักจะข่มขืนผู้หญิงและเด็กชาย ในพื้นที่ที่เขาได้ครอบครอง ในยุคปัจจุบัน การข่มขืนถูกนับว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม เมื่อถูกทำโดยทหาร หรือกองกำลังมากถึง 80,000 คน ผู้หญิงที่ถูกข่มขืนโดยทหารญี่ปุ่นใน 6 สัปดาห์ของการฆ่าหมู่ในนานกิง คำพูดที่ว่า “ผู้หญิงที่ช่วยให้สบาย” เป็นคำนุ่มนวลที่ใช้ในการบังคับผู้หญิงประมาณ 200,000 คนให้เป็นโสเภณีในซ่องทหารญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ทหารกองทัพแดง ข่มขืนผู้หญิงประมาณ 2,000,000 คนของเยอรมันรวมถึง เด็ก ทหารโมร็อกโค ฝรั่งเศส รู้จักในนามของ กูเมียร์ (Goumiers) ได้ข่มขืนและทำอาชญากรรมสงครามอื่นๆหลังการสู้รบที่ Monte Cassino.
ประวัติศาสตร์ของการข่มขืน
คำว่า “ข่มขืน” มีต้นกำเนิดมาจากคำกริยาภาษาลาตินว่า Rapare หมายถึง ฉวยไว้ หรือ เอามาโดยกำลัง คำนี้ในต้นกำเนิดไม่ได้มีความหมายทางเพศเลย และก็ยังคงใช้อย่างนี้เรื่อยมาในภาษาอังกฤษ
ประวัติศาสตร์ของการข่มขืนและการเปลี่ยนไปในความหมาย ค่อนข้างซับซ้อน ในกฎหมายโรมัน การข่มขืนถูกจัดอยู่ในอาชญากรรมของการก้าวล่วง ไม่เหมือนกับขโมยหรือโจรปล้น การข่มขืนถูกใช้ในความหมายที่ว่า “การกระทำผิดต่อสาธารณะ” ซึ่งขัดแย้งกับ “การกระทำผิดต่อบุคคล”
ซีซาร์ ออกัสตัส ออกกฎหมายปฏิรูปการข่มขืน ภายใต้กฎหมาย Lex lulia de vi publica ซึ่งมีนามสกุลของพระองค์ คือ “lulia” ที่อยู่ใต้กฎหมาย ประพฤติล่วงประเวณี Lex lulia de adulteriis ที่โรมฟ้องร้องต่ออาชญากรรมประเภทนี้ จักรพรรดิจัสติเนียนยังคงใช้กฎหมายนี้สำหรับเอาผิดผู้กระทำการข่มขืนตลอดศตวรรษที่ 6 ในอาณาจักรโรมันตะวันออก ในยุคโบราณตอนปลาย คำว่า Raptus หมายถึง การลักพาเรียกค่าไถ่, การหนีตามกันไป, การปล้น หรือการข่มขืน ในความหมายปัจจุบัน ความสับสนระหว่างคำนี้ ได้เกิดขึ้น เมื่อผู้เขียนจดหมายเหตุของคริสตจักรในสมัยแรก ใช้แยกแยะระหว่าง การหนีตามกันไปเอง โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก บิดามารดา และ การก้าวล่วง ทั้งสองอย่างนี้ มีบทลงโทษทางการเมือง โดยอาจจะถูกขับออกจากกลุ่มของครอบครัวหรือหมู่บ้านของผู้หญิงที่ได้ถูกลักพาตัวไป ถึงแม้ว่ากฎหมายฉบับนี้จะทำให้เกิดการลงโทษ การทำให้เสียโฉม หรือความตายแล้วก็ตาม
ผ่านส่วนต่างๆ ของประวัติศาสตร์ อาชญากรรมการข่มขืน ถูกมองน้อยกว่าว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการบังคับความต้องการของเพศหญิง แต่เป็นอาชญากรรมที่รุนแรงต่อทรัพย์สินของบุรุษ ผู้ที่เป็นเจ้าของเธอ ในอดีต เรื่องนี้ค่อนข้างจะจริงในกรณีของพรหมจารีที่มีคู่หมั้นไว้แล้ว ถ้าหากเสียความบริสุทธิ์ จะถูกมองว่าเสียคุณค่าอย่างรุนแรง ต่อสามีของเธอ ในกฎหมาย กรณีนี้ จะถือว่าการหมั้นโมฆะ และต้องมีการจ่ายค่าเสียหาย จากชายที่เป็นฝ่ายข่มขืน แก่ครอบครัวของฝ่ายหญิง ภายใต้กฎหมายของพระคัมภีร์ไบเบิ้ลในสมัยแรก ผู้ข่มขืน จะต้องแต่งงานกับผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน โดยไม่ต้องรับโทษ หากว่าพ่อของเธอยินยอม ในเรื่องของความรุนแรงต่อความต้องการของเพศหญิงนี้ แบ่งได้เป็นสองแบบ แบบแรก คือ ในความหมายของการข่มขืนกระทำชำเรา และอีกอันคือ การที่ผู้ชายผู้หญิงบังคับครอบครัวเขาให้พวกเขาได้แต่งงานกัน
ในยุคโบราณของกรีกและโรมันจนถึงยุคล่าอาณานิคม ข่มขืนเทียบคู่ไปได้กับ การลอบวางเพลิง, การขายชาติ และการฆาตกรรม เลยทีเดียว จะได้รับการลงโทษประหารชีวิต "คนที่ทำการข่มขืนจะต้องได้รับโทษประหารที่มีมากมายหลายแบบ ซึ่งก็ดูเหมือนว่าจะโหดร้าย เลือดสาด และ ณ เวลานั้น ก็น่าตื่นเต้น” ในศตวรรษที่ 12 ญาติของผู้เสียหาย จะถูกให้ทางเลือกที่จะประหารผู้กระทำผิดด้วยตัวพวกเขาเอง ในอังกฤษ ในศตวรรษที่ 14 ตอนต้น เหยื่อของการข่มขืน จะถูกคาดหวังให้ควักลูกตาหรือตีลูกอัณฑะของผู้กระทำผิดให้แตกด้วยตัวของเธอเอง
กฎหมายของอังกฤษระบุว่าการข่มขืนถือเป็นตัณหารุนแรง ขัดขืนต่อเพศหญิงและความต้องการของเธอ กฎหมายสามัญระบุว่า ตัณหานี้คือการสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศหญิง (และรวมถึงการกระทำอื่นๆภายนอก) อาชญากรรมการข่มขืนมีความแตกต่างในขอบข่ายที่ว่ามันมุ่งเน้นไปที่สภาพของจิตใจที่ไม่ได้มีการยินยอม และการกระทำที่ไม่มีการยินยอม นอกจากการกระทำของผู้ประพฤติผิด เหยื่อต้องแสดงหลักฐานการไม่มีการสมยอม ซึ่งถ้าหากยอม จะหมายถึงการที่แค่สามีได้หลับนอนกับภรรยาเท่านั้น ข้อความที่ได้ยินบ่อยๆในการตัดสิน กล่าวโดยผู้พิพากษาศาลสูงของท่านเซอร์ มัทธิว เฮลล์ ในศตวรรษที่ 17 ว่า “การข่มขืน... เป็นคำที่กล่าวได้ง่ายและยากที่จะพิสูจน์ และยากที่จะป้องกันได้โดยฝั่งที่ถูกกล่าวหา รวมทั้งฝั่งที่เป็นผู้แจ้งความ” ผู้พิพากษาเฮลล์ยังเป็นคนให้คำพูดที่ว่า “ในการข่มขืน ผู้ถูกข่มขืนต้องขึ้นศาล ไม่ใช่ผู้ข่มขืน” ความโน้มเอียงนี้ “ลงโทษคนถูกข่มขืน” ยังมีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีการปฏิรูประบบการตัดสินใหม่ที่จะกำจัดความเข้าใจที่ผิดนี้ไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ กฎหมายที่ไม่มีเพศ ได้ต่อสู้กับมุมมองเก่าๆที่ว่าการข่มขืนไม่เคยมีขึ้นกับเพศชาย ขณะที่ กฎหมายตัวอื่นอาจลืมบริบทนี้ไปด้วยซ้ำ
การพัฒนาทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการข่มขืนเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 นี้ รวมถึงการตัดสินใจที่โดดเด่นโดยศาลสากลของรวันดา ที่อธิบายการข่มขืนว่าเป็นอาวุธระหว่างสถาบันของสงครามล้างเผ่าพันธุ์ที่ทำอย่างจงใจและเป็นระบบ
ระบบการให้ความยุติธรรมเกี่ยวกับอาชญากรรมยุคใหม่ เป็นที่รู้กันว่าไม่มีความยุติธรรมต่อบุคคลผู้ตกเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงทางเพศ (Macdonalds, 2001) กฎหมายที่เป็นแบบฉบับของความไม่เท่าเทียมกันและ กฎหมายพื้นฐานรวมกัน ทำให้การข่มขืน เป็น “กระบวนการอาชญากรรมที่เหยื่อและพฤติกรรมของเธอต้องขึ้นเขียง ไม่ใช่ตัวผู้กระทำผิด” (Howard & Francis, 2000) ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในมุมมองของการขู่บังคับทางเพศ เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพลังหญิงอย่างกว้างขวาง และการให้คำจำกัดความ ว่าเป็นอาชญากรรมของอำนาจและการควบคุมมากกว่าความต้องการเรื่องเซ็กส์ล้วนๆ อย่างไรก็ตามผู้ถูกกระทำต้องขึ้นศาลในการข่มขืนหลายๆคดี การเคลื่อนไหวทางสิทธิเสรีภาพของผู้หญิงในปี 1970 ทำให้มีศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุข่มขืนแห่งแรก การเคลื่อนไหวนี้ถูกดูแลโดย
สถาบันระดับชาติเพื่อผู้หญิง National Organization for Women หรือ NOW
ศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยข่มขืนที่แรกๆอีกที่หนึ่ง ได้แก่ D.C. Rape Crisis Center เปิดในปี 1972 ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างความรู้สึกรและความเข้าใจร่วมกันของการข่มขืน และผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำ ในปี 1960 มีการเอ่ยถึงอัตราการแจ้งความผิดพลาด 20% ก่อนปี 1973 สถิติได้ลดลงมาอยู่ที่ 15%
หลังปี 1973 สำนักงานตำรวจนิวยอร์ก ใช้เจ้าหน้าที่ผู้หญิงสืบสวนผู้ถูกกระทำทางเพศและอัตราลดลงถึง 2% จากข้อมูลของ FBI (Decanis, 1993) การรายงานที่ผิดยากที่จะแปลความได้ การแปรเปลี่ยนไปตามสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งทำให้เกิด “ความผิดพลาด” ไม่ว่าจะหมายถึงอย่างไร ตำรวจหรือ DA มีจะพยายามหาหลักฐานมามากเพียงพอที่จะจับตัวมาขึ้นศาล แม้ว่าคดีจะตกไป หรือแม้ศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด หรือแม้ว่าผู้ถูกข่มขืนถอนฟ้องเอง ความเป็นไปได้ทั้งหมดนี้ ไม่ได้หมายความว่าการแจ้งความเป็นเท็จ เพราะผู้คนมักจะกล่าวว่าเป็นความผิดของเหยื่อผู้มาแจ้ง
(Writer's comment - ของไทยคือมูลณิธิปวีณาชิมิ?)
ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งของประวัติศาสตร์การข่มขืนคือการก่อตั้งมูลนิธิ RAINN ในปี 1994 โดย Tori Amos (ดารานักร้องชื่อดัง) และ Scott Berkowitz RAINN เป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ของการเคลื่อนไหวการช่วยผู้ประสบภัยข่มขืน และทำให้มีสายด่วนให้ความช่วยเหลือ เก็บสถิติ และให้ข้อมูลผ่านโทรทัศน์เป็นที่แรกๆ การข่มขืนแบบชายกับชาย ถูกปิดบังเป็นความลับเป็นเวลานานตามประวัติศาสตร์ ถือเป็นเรื่องน่าอายเพราะต้องถูกข่มขืนโดยผู้ชายอีกคนหนึ่ง นักจิตวิทยาชื่อ Dr. Sarah Crome ได้มีรายงานว่า การข่มขืนของผู้ชายน้อยกว่า 1 ใน 10 ถูกแจ้งความเข้ามา และโดยคนหมู่มาก กล่าวว่า เหยื่อของการถูกข่มขืนเพศชายไม่มีการช่วยเหลือและสนับสนุนมากเพียงพอ รวมถึงกฎหมายที่ไม่สามารถจัดการดูแลเรื่องนี้ได้อย่างเต็มที่
วัฒนธรรมทั่วโลกส่วนใหญ่ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ที่ผู้หญิงจะข่มขืนผู้ชายหรือผู้หญิงด้วยกันเองได้ บทลงโทษทางกฎหมายส่วนใหญ่ จึงไม่ได้ระบุลงไป ว่านี่คือการก่ออาชญากรรมร้ายด้วย การข่มขืนจะถูกจำกัดความด้วยทั่วไปว่า เป็นการสอดใส่เข้าไป กระทำโดยผู้ข่มขืน ในปี 2007 ในอาฟริกาใต้ กลุ่มของผู้หญิงสาวถูกแจ้งความว่าข่มขืนผู้ชายคนหนึ่ง อย่างไรก็ตามความมีอยู่ของเรื่องเหล่านี้ ยังถูกปกคลุมอยู่ด้วยเหตุการณ์ที่โดดเด่นกว่า ของเรื่องการข่มขืนปกติ และมักจะถูกอ้างถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกลุ่มเพศหญิงและความสนใจเกี่ยวกับเพศหญิง และเหตุการณ์ทางเพศ ในฐานะของความสนใจเพื่อเพิ่มความเข้าใจ จนกระทั่งบัดนี้ เรารู้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้มีความหมายแค่ที่เราได้เคยได้ยินทั่วไปเท่านั้น ต่อจากนี้เราจะได้รู้ว่า การข่มขืน มันมีความหมายมากกว่านั้น
การข่มขืนและสงคราม (เกิดขึ้นบ่อยมากค่ะในสมัยนั้น โดยเฉพาะคนทำเป็นพวกญี่ปุ่นO[]O ที่ซาดิสม์สุดๆ)
มีคำกล่าวว่ามีผู้หญิงประมาณ 200,000 คน ถูกข่มขืนระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพของบังคลาเทศโดยทหารชาวปากีสถาน แม้จะเป็นที่ถกเถียงกันมากก็ตาม Sarmila Bose และผู้หญิงอิสลามของ Bosnia ถูกข่มขืนโดยกองกำลังชาวเซิร์บ ระหว่างสงครามบอสเนีย การแพร่ข่าวลือเรื่องสงครามมักจะทำให้เกิดการปฏิบัติต่อประชากรในท้องที่หนึ่งๆ ไม่ดี โดยกองกำลังของศัตรู เพราะเหตุนี้มันจึงยากในทางปฏิบัติและในทางนโยบายทางการเมืองที่จะมองอย่างคมชัด ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกันแน่
ความคิดเห็น