ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กฎหมายที่ควรรู้รอบตัวเรา

    ลำดับตอนที่ #6 : การหมั้น

    • อัปเดตล่าสุด 22 ก.ย. 65


    การหมั้น

    — — — — — — — — — — — — — —


    การหมั้น

    เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงกันว่า ชายและหญิงคู่หมั้น จะทำการสมรสกันในอนาคต แต่ไม่สามารถเอาสัญญาหมั้นมาฟ้องร้องบังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการสมรสได้

    เงื่อนไขสำคัญ

    1.การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ (มาตรา 1435) หากฝ่าฝืน การหมั้นนั้นตกเป็นโมฆะ

    (มาตรา 1435  วรรค 2)

    2.ถ้าฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถทำการหมั้นได้ด้วยตนเอง ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่าย ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องได้รับคำยินยอมจากบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองของทั้งสองฝ่ายด้วย

    3.ไม่สามารถหมั้นกับคนวิกลจริต หรือคนที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้

    4..ไม่สามารถหมั้นกับบุคคลผู้เป็นบุพการีได้

    5.ไม่สามารถหมั้นกับบุคคลที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว

    6.บุคคลที่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมแต่มารดา หรือบิดาเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถหมั้นกันได้

    7.บุคคลที่จะให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำการหมั้นได้แก่ บิดา และมารดา

    ของหมั้น (มาตรา 1437)

    ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงในขณะทำการหมั้นเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับฝ่ายหญิง

    สินสอด (มาตรา 1437)

    เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่ยินยอมให้ฝ่ายหญิงสมรสด้วย

    การผิดสัญญาหมั้น

    ถ้าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงคู่หมั้น ไม่ยอมทำการสมรสกับคู่หมั้นของตนโดยไม่มีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ถือว่าคู่หมั้นฝ่ายนั้นผิดสัญญาหมั้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×